ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

โทรศัพท์ตกน้ำ โทรศัพท์เปียกน้ำ ทำยังไงดี ? ซ่อมได้มั้ย ?

โทรศัพท์ตกน้ำ โทรศัพท์เปียกน้ำ ทำยังไงดี ? ซ่อมได้มั้ย ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 18,523
เขียนโดย :
0 %E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3+%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3+%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5+%3F+%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%A2+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

โทรศัพท์ตกน้ำ โทรศัพท์เปียกน้ำ ทำยังไงดี ? ซ่อมได้มั้ย?

โทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ตลาดตอนนี้ มักจะมีฟีเจอร์กันน้ำ แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ รุ่นที่ยังไม่มีคุณสมบัตินี้ ซึ่งถ้าใครหลายๆ คนทำพลาดน้ำหกใส่ หรือตกน้ำซักจุด คงต่างต้องอุทานตามๆ กันว่า "ซวยแล้ว" รูปที่ถ่ายเอาไว้ เบอร์โทรศัพท์ต่างๆ รวมไปถึงไฟล์งานที่บันทึกไว้ในเครื่อง ไหนจะพาสเวิร์ดบางบริการที่จำไม่ได้อีก ถ้ามีบันทึกไว้ในคลาวด์ก็ยังพอกู้มาได้ แต่ถ้าไม่มีละก็... "จบกัน"

บทความเกี่ยวกับ มือถือตกน้ำ อื่นๆ

แต่เอาจริงๆ อย่าเพิ่งหมดหวัง เมื่อมือถือตกน้ำ ไม่ได้แปลว่ามันจากเราไปทันที แต่ถ้าเราแก้ปัญหาเบื้องต้นได้เร็วและถูกต้อง ก็ยังพอจะนำกลับมาใช้งานได้อยู่

เกิดอะไรขึ้น ? เมื่อ โทรศัพท์ตกน้ำ หรือ เปียกน้ำ ?

ไม่ว่ามือถือจะแข็งแรงทนทานขนาดไหน หากเป็นรุ่นที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้กันน้ำ 'น้ำ' ก็ถือเป็นจุดอ่อนของมือถือเสมอ ซึ่งจะมีผลกับพอร์ตการใช้งาน ช่องแจ๊คเสียบหูฟัง และลำโพงทันที นอกจากนี้ น้ำจะไหลไปยังแผงวงจรทำให้เกิดพลังงานความร้อนสูงกว่าปกติจนเกิดอาการไหม้อีกด้วย

วิธีการที่เข้าใจผิดๆ บางอย่างอาจทำให้อาการหนักเข้าไปอีก อย่างเช่น การปล่อยให้มือถือที่ตกน้ำแห้งด้วยตัวเอง เพราะยิ่งปล่อยให้น้ำอยู่กับวงจรหรือคอยล์นานเท่าไหร่ ก็จะเกิดการกัดกร่อนมากขึ้นเท่านั้น

ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันอยู่พอสมควร เมื่อสมาร์ทโฟนตกน้ำหรือเปียกน้ำในบางกรณี ตัวระบบอาจยังไม่ได้แสดงอาการในทันที อย่างเช่นการนำมือถือไปใช้งานระหว่างอาบน้ำบ่อยๆ ทำให้ผู้ใช้งานนิ่งนอนใจ แต่ในอีกไม่กี่วันถัดมา กลายเป็นว่ามือถือกลับเปิดไม่ติดเสียแล้ว

อีกเรื่องหนึ่งที่ควรรู้ไว้ก็คือ ประเภทของน้ำที่ตกลงไป ถึงแม้ว่าการทำสมาร์ทโฟนตกส้วมอาจจะดูสกปรกอย่างรุนแรง แต่สิ่งที่แย่จริงๆ คือการให้มือถือที่ไม่ได้กันน้ำไปสัมผัสกับน้ำทะเล เพราะน้ำเค็มมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนมากกว่าน้ำจืดมาก เปอร์เซ็นต์การพ้นขีดอันตรายแก่ชีวิตของมือถือก็จะต่ำลงไปอีก

สิ่งที่ควรจะรีบทำเมื่อโทรศัพท์ตกน้ำ

ต่อไปนี้เป็นข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุมือถือตกน้ำ ที่ต้องท่องให้ขึ้นใจก่อนจะเกิดเหตุการณ์ขึ้น ซึ่งสิ่งที่ควรปฏิบัติ ก็เป็นวิธีการโดยทั่วไปที่เข้าใจไม่ยาก แต่สิ่งที่สำคัญก็คือข้อห้ามต่างๆ ที่ควรรู้เอาไว้ เพราะข้อห้ามส่วนใหญ่แล้ว ล้วนเป็นความเข้าใจผิดที่หลายๆ คนยังทำกันอยู่ทั้งสิ้น

ขั้นตอนการปฐมพยาบาลมือถือเบื้องต้น

  • รีบปิดมือถือ รวมทั้งนำสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่ติดอยู่กับมือถือออกให้หมด (ถ้ามี)
  • เช็คทุกพื้นผิวให้สะอาดด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์และเจลทำความสะอาด (ใส่ถุงมือด้วยถ้าจำเป็น)
  • ทำให้มือถือแห้งที่สุดเท่าที่จะทำได้ในตอนนั้น
  • ถอดทุกอย่างออก ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่ (ถ้าถอดได้), ซิมการ์ด หรือสายหูฟังต่างๆ
  • ตั้งมือถือไว้ในแนวตั้ง ถ้าถอดแบตเตอรี่ออกไม่ได้

สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด (และดันเป็นที่นิยมเสียด้วย)

  • ห้ามอบมือถือด้วยไมโครเวฟเด็ดขาด - มือถือไม่ใช่อาหาร และเสี่ยงต่อไฟไหม้อีกด้วย
  • ห้ามนำมือถือไปแช่ช่องแข็ง (ทำไมถึงทำนะ?) - เมื่อน้ำแข็งละลาย ก็กลายเป็นน้ำเข้าไปในมือถืออยู่ดี
  • ห้ามใช้ไดร์เป่าผม เป่าน้ำให้แห้งเด็ดขาด - ความร้อนจากไดร์ จะทำให้แผงวงจรไหม้อยู่ดี
  • ห้ามใช้ไอร้อนจากเครื่องทำความร้อนต่างๆ ทำให้แห้ง - ความร้อนไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็มีสิทธิ์ทำให้แผงวงจรไหม้
  • ห้ามนำไปแช่ข้าวสาร - แม้จะมีความเชื่อว่าข้าวสารจะช่วยดูดความชื้น แต่ผลการวิจัยก็ออกมาว่า มันก็ไม่ได้เร็วพอที่จะช่วยชีวิตมือถือจากการกัดกร่อนของน้ำอยู่ดี

ขั้นตอนต่อไป ก็ .. ส่งศูนย์บริการหรือร้านซ่อมโทรศัพท์ ที่น่าเชื่อถือเถอะ

การจะทำให้มือถือแห้งด้วยตัวเอง จริงๆ แล้วไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไหร่ เพราะจุดที่น้ำไปสร้างความเสียหาย อยู่ในส่วนของมือถือที่ปกติแล้วผู้ใช้งานอย่างเราๆ เข้าไปไม่ถึง นอกเสียจากว่าจะมีสกิลระดับช่างที่สามารถถอดวงจรมือถือออกมาทำความสะอาดได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ ส่งหามืออาชีพก็ดูเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกับมือถือสุดที่รักของเรามากที่สุด

ถ้าวงจรของมือถือไหม้ไปเรียบร้อยแล้ว (เปิดไม่ติด) ลองเช็คประกันสินค้าก่อนเลย ถ้ายังไม่หมดและเงื่อนไขประกันครอบคลุมเรื่องความเสียหายจากน้ำก็ถือว่ารอดตัวไป แต่ถ้าไม่มีประกันใดๆ ก็แน่นอนว่า ต้องเสียค่าซ่อม ค่าอะไหล่กันไปตามขั้นตอน

แต่ถ้ามือถือยังเปิดติด ก็ถือว่าโชคดีที่แผงวงจรยังไม่เสียหาย ถ้ามีอาการข้างเคียงเล็กๆ น้อยๆ ก็ซ่อมตามร้านหรือศูนย์บริการได้ตามสะดวก

ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าเกิดปัญหาแล้วมาตามแก้

แม้ว่ามือถือหลายๆ รุ่นจะมีเรื่องความทนทาน กันน้ำ กันกระแทกมาเป็นจุดขาย แต่จริงๆ แล้ว อุปกรณ์ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานแบบสมบุกสมบัน สิ่งที่เราควรทำมากที่สุดก็คือ การป้องกันไม่ให้มือถือพบเจอกับเหตุการณ์อย่างตกน้ำ หรือมีความชื้นเข้าไปทำลายตัวเครื่อง ก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุด และนี่เป็นคำแนะนำที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง 

ข้อปฏิบัติแนะนำในการหลีกเลี่ยงไม่ให้มือถือเสียหายจากการตกน้ำ

  • หาสมาร์ทโฟนกันน้ำ หรือเคสกันน้ำมาใช้งาน ซึ่งมาตรฐานอาจจะไม่ได้กันน้ำแบบ 100% โดยไม่เสียหาย แต่การป้องกันเบื้องต้นก็ช่วยให้อุ่นใจในระดับหนึ่ง
  • หลีกเลี่ยงไม่ใช้งานมือถือในสถานการณ์ที่เสี่ยง เก็บมือถือในกระเป๋าให้เรียบร้อย หรืออย่างน้อยๆ จับมือถือให้มั่นเมื่ออยู่ใกล้แหล่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นสระว่ายน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือกระทั่งอ่างบัวหน้าบ้าน
  • งดใช้มือถือในห้องน้ำถ้าไม่ได้อะไรเร่งด่วน ธุระอื่นๆ ควรจะรอได้มากกว่าธุระที่อยู่ตรงหน้า

วิธีการปฏิบัติเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยาก อย่างน้อยก็ดีกว่าเกิดเหตุขึ้นมาจริงๆ จากที่งดอะไรเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจต้องห่างกับมือถือเครื่องโปรดไปซักพัก เพื่อให้มือถือไปรักษาตัวจากอาการสำลักน้ำแทน


ที่มา : whoosh.com

0 %E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3+%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3+%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5+%3F+%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%A2+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
Content Editor สายโดรน ... ไม่ได้บินโดรนนะ แต่โดรนกระทำมาตล๊อดดด
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
29 มีนาคม 2558 19:15:56 (IP 171.97.14.xxx)
GUEST
Comment Bubble Triangle
เก่ง
ไม่