คำว่า SEO น่าจะเป็นคำที่อยู่คู่วงการอินเทอร์เน็ตมานาน แล้วมันคืออะไร ทำไมถึงได้ยินคำนี้กันบ่อยจัง มาไขความลับของคำว่า SEO กันดีกว่าว่ามันคืออะไร เพราะคำนี้น่าจะกระจายอยู่ในวงการการตลาด สื่อออนไลน์อยู่ไม่น้อยเลย
คำว่า SEO ย่อมาจากคำว่า "Search Engine Optimization" คือ วิธีการการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา ซึ่ง SEO มักใช้ในบทความบนเว็บไซต์ รูปภาพ คลิปวิดีโอที่ถูกค้นหาผ่านกูเกิล (Google Search Engine) ยิ่งเป็นสื่อออนไลน์ที่ใช้ทำการตลาดให้กับธุรกิจ แบรนด์สินค้า ยิ่งมีการทำ SEO ที่ขับเคี่ยว เข้มข้นมากเท่านั้น เพราะผลลัพธ์จากการทำ SEO คือ การช่วงชิงตำแหน่งแรก ๆ ในหน้ากูเกิลโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อโฆษณา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีโอกาสถูกผู้ใช้คลิกสูง นำไปสู่ยอดผู้ชมเว็บไซต์ที่มากขึ้น ยอดลูกค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้น และยอดสั่งซื้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นนั่นเอง
หลายคนเข้าใจว่า การทำ SEO คือการใส่คำค้นหา (Keyword) ยอดนิยมลงไปในหน้าเว็บไซต์ในปริมาณมาก ๆ แต่จริง ๆ แล้วมีขั้นตอนที่ละเอียดกว่านั้น ประกอบกับเกณฑ์การคัดเลือกบทความของ Google นั้นมีการอัปเดตอยู่เสมอ จึงทำให้การทำ SEO เป็นกระบวนการที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอด
ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:What_is_Search_engine_optimization%3F.jpg
โดยทั่วไปแล้ว บทความที่มักอยู่ในตำแหน่งแรก หน้าแรกของ Google Search Engine มีทั้งบทความที่เป็นประโยชน์ มีเนื้อหาน่าสนใจ, บทความที่วาง Keyword ยอดนิยมในปริมาณที่พอดี ผ่านเกณฑ์ของ Google ไปจนถึงบทความในเว็บไซต์ที่ผู้ใช้คนนั้นเปิดอ่านบ่อย ๆ แต่นอกจากเนื้อหา ส่วนประกอบในบทความแล้ว การจัดการหลังบ้านเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นโค้ด (Code) ปลั๊กอิน (Plug In) ส่วนเสริม (Extension) ใด ๆ ก็เป็นวิธีการทำ SEO เช่นกัน
หลักการทำงานของ SEO ไม่ได้มีแค่คำค้นหา (Keyword) ยอดฮิตในบทความเท่านั้น แต่ต้องจัดการส่วนประกอบอื่น ๆ ของเว็บไซต์ แพลตฟอร์มต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบดังต่อไปนี้
การทำ SEO แบบ On-Page คือเราจะทำ SEO บนหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ ทั้งตัวบทความ โค้ด ปลั๊กอินที่อยู่เบื้องหลัง เป็นต้น กล่าวง่ายๆ คือ เป็นปัจจัยภายใน (Internal Factor) เช่น
โดยทั่วไป หลาย ๆ ปัจจัยของการทำ On-Page SEO เช่น การทำพาดหัว เนื้อหาบทความให้มี Keyword ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไป แต่บางข้อก็เป็นปัจจัยเสริม เช่น หากในหน้าบทความมีปุ่มสำหรับแชร์ไปยังแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ก็จะช่วยเพิ่มจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม (Traffic) ของเว็บไซต์ได้, หากเนื้อหาบทความมีหัวข้อที่น่าสนใจ สำนวนน่าอ่าน ความยาวที่พอดี ไม่ยาวเกินไป ไม่สั้นจนไม่ได้ใจความ ก็ช่วยดึงดูดความสนใจผู้อ่านให้อ่านบทความอื่น ๆ ในเว็บต่อได้
การทำ SEO แบบ Off-Page SEO คือ การทำ SEO ที่เน้นปัจจัยภายนอก (External Factor) ที่อยู่นอกเหนือจากหน้าเว็บไซต์ของเราเอง ไม่ว่าจะเป็น
แต่จะอาศัยแรงจากผู้อ่านอย่างเดียวคงไม่พอ ก็ต้องพึ่งพาวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ การเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับเนื้อหานั้น ๆ การส่งต่อเนื้อหาผ่านอินฟลูเอนเซอร์ บุคคลที่มีชื่อเสียงไปยังกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการทำการตลาดเพื่อวิเคราะห์ว่ากลุ่มผู้อ่าน กลุ่มเป้าหมายเนื้อหาแต่ละรูปแบบจะเป็นใครได้บ้าง
การทำ SEO เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ของการทำบทความและสื่อออนไลน์ เพราะเมื่อผู้ใช้พิมพ์ค้นหาคำใด ๆ ลิงก์ที่ผู้ใช้มีโอกาสคลิกเข้าไปยังเว็บไซต์สูง ก็คือลิงก์แรก ลิงก์ที่ 2 นั่นเอง ฉะนั้น การทำ SEO จึงเป็นการแย่งชิงตำแหน่งแรก ๆ ในส่วนของหน้าแสดงผลลัพธ์การค้นหา (Search Engine Result Page - SERP) ของ เครื่องมือค้นหา (Search Engine) ชื่อดังอย่าง Google โดยไม่ต้องพึ่งการซื้อโฆษณาจาก Google Ads จึงเป็นหนทางประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์อีกอย่างของการทำ SEO ก็คือ เว็บไซต์ ร้านค้าออนไลน์ แพลตฟอร์มของธุรกิจใด ๆ ที่ต้องการลูกค้าจับจ่ายซื้อสินค้า ก็ต้องอาศัยการทำ SEO เพื่อดึงดูดลูกค้าเช่นกัน ซึ่งก็ต้องเริ่มตั้งแต่การสร้างความประทับใจให้ลูกค้าตั้งแต่เยี่ยมชมเว็บไซต์ นำเสนอสินค้าด้วยรูปภาพ Keyword น่าสนใจ หากสินค้านั้นตรงใจกลุ่มเป้าหมายและมาพร้อมราคาดี ๆ ก็สามารถสร้างลูกค้าใหม่ให้ธุรกิจได้ไม่ยาก
สำหรับสถิติการค้นหาข้อมูลของ Google Search อยู่ที่ 5,900 ล้านครั้ง และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดง่าย ๆ แต่ตำแหน่งที่เว็บไซต์ถูกเข้าถึงได้ง่ายมีไม่กี่ตำแหน่งเท่านั้น การทำ SEO จึงช่วยแย่งชิงตำแหน่งยอดนิยมอีกทางหนึ่ง
ในจำนวนผลลัพธ์ 92 ล้านผลลัพธ์ ตำแหน่งแรก ๆ ย่อมได้เปรียบเสมอ
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บางส่วนไม่ได้สนใจลิงก์ในตำแหน่งแรก ตำแหน่งที่สองเสมอไป เพราะจุดประสงค์ของผู้ใช้บางประเภทต้องการข้อมูลจากหลายเว็บไซต์มาเปรียบเทียบกัน เช่น ผู้ใช้ต้องการซื้อสินค้าชิ้นหนึ่ง จึงอ่านรีวิวจากหลาย ๆ เว็บไซต์ หรือดูวิดีโอรีวิวประกอบจากหลายช่องทาง นอกจากนี้ ผู้ใช้บางคนค้นหารีวิวสินค้าชนิดเดียวกันแต่คนละยี่ห้อเพื่อประกอบการตัดสินใจด้วย ซึ่งผู้ใช้เหล่านี้มีสิทธิที่จะใช้งาน Search Engine ไปจนถึงหน้า 2 หน้า 3 เลยทีเดียว
เพียงแต่ว่าผู้เขียนหรือเจ้าของเว็บไซต์ต้องทำ SEO ผ่าน Keyword บทความ รูปภาพ วิดีโอให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์กับผู้อ่านร่วมด้วยเช่นกัน เพราะ Google มีโอกาสที่จะคัดเลือกเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ขึ้นอันดับต้น ๆ มากกว่า
เพราะการทำ SEO เป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือค้นหา Keyword สำรวจกระแสว่าเนื้อหาคอนเทนต์นั้นได้รับความนิยมมากแค่ไหน เครื่องมือเช็คประสิทธิภาพเว็บไซต์ว่าดาวน์โหลดหน้าเว็บรวดเร็วแค่ไหน ฯลฯ มาดูกันว่าจะทำ SEO แต่ละครั้ง จะต้องใช้เครื่องมือแบบใดกันบ้าง
Google Search Console เป็นเครื่องมือที่รวบรวมข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์นั้น ๆ อย่างละเอียด สามารถแจกแจงข้อมูลแต่ละส่วนออกมาให้อ่านค่าง่าย ๆ ทั้งค่าที่จำนวนหน้าเว็บถูกแสดงผล (Impressions) จำนวนคลิกที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์, ค่าลำดับที่มีโอกาสอยู่ในหน้า Search Engine หน้าแรก (Average Position), ค่า Click-through Rate หรือ CTR คือ ค่าเฉลี่ยจากจำนวนการคลิกหารด้วยจำนวนการแสดงผลเว็บไซต์ คูณด้วย 100 ซึ่งค่า CTR นี้ ยิ่งสูงเท่าไหร่ ก็แปลว่ามีโอกาสที่ผู้ชมจะเข้ามาเห็นเว็บไซต์มากขึ้นเท่านั้น
ภาพจาก : https://developers.google.com/search/blog/2021/02/search-console-performance-discover-chrome?hl=th
นอกจากนี้ Google Search Console ยังใช้งานข้อมูลจากเว็บไซต์ของคุณให้เป็นประโยชน์ เช่นในภาพ คือการแสดงผลเว็บไซต์ผ่านส่วนของ Discover ใน Google Search Engine ซึ่งเป็นอีกช่องทางการเผยแพร่คอนเทนต์ชั้นดี เพราะกูเกิลรวบรวมข้อมูล ความสนใจจากผู้ใช้งาน และส่งคอนเทนต์ที่ค่อนข้างตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์นั้น ๆ ไปยังผู้ใช้งานนั่นเอง
คนทำเว็บไซต์ทุกคนต้องรู้จัก Google Analytic เพราะนี่ก็เป็นเครื่องมือรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลสถิติผู้ใช้งานว่าผู้เข้าถึงเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นใคร เพศ อายุ เข้าถึงเว็บไซต์ผ่านช่องทางใด (Google Search Engine, โซเชียลมีเดีย, เว็บไซต์อื่น ๆ หรือเข้าทางเว็บไซต์โดยตรง) ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ มือถือระบบปฏิบัติการอะไร ฯลฯ ส่วนใหญ่ Google Analytics ถูกใช้งานคู่กับ Google Search Console และเป็น 2 แพลตฟอร์มหลักในการเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ทรงพลังมาก ๆ
ภาพจาก : googleanalyticsthailand.com
Google Keyword Planner หนึ่งในแพลตฟอร์มค้นหา Keyword ที่เหมาะกับคอนเทนต์นั้น ๆ แต่จะใช้งานเจ้า Keyword Planner ได้ จะต้องมีบัญชี Google Ads เสียก่อน เพราะเกี่ยวข้องกับการทำโฆษณาบน Google ร่วมด้วย สามารถค้นหาได้ทั้ง Focus Keyword คำค้นหาแบบตรงเป้าเป๊ะ ๆ และ Longtail Keyword หรือคำค้นหาที่เป็นประโยค มีคำขยายเพิ่มเติม
ภาพจาก : https://support.google.com/google-ads/answer/9907498?hl=en
จะเห็นได้ว่า จากการค้นหาคำว่า Dry Skin ใน Google Keyword Planner จะพบคำค้นหาที่เกี่ยวข้อง ใกล้เคียง โยงถึงกันได้ รวมถึงจำนวนครั้งที่คำนั้น ๆ ถูกค้นหา คำดังกล่าวมีการแข่งขัน (Competition) กับคำอื่นมากน้อยแค่ไหน และถ้าซื้อ Google Ads ที่ใช้คำค้นหาแต่ละคำต้อง Bid ด้วยเงินจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะถูกนำไปคำนวณก่อนการตัดสินใจซื้อโฆษณา แต่ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลระดับนี้ ก็ยังมีเว็บไซต์ Keyword Planner อีกหลายเว็บที่น่าสนใจ
สำหรับ เว็บไซต์ Ubersuggest เรียกได้ว่าเป็นเว็บค้นหา Keyword ยอดนิยม และเป็นเว็บในดวงใจใครหลายคนรวมถึงผู้เขียน เพียงพิมพ์คำที่ต้องการลงไป แล้วเลือกประเทศที่ต้องการ เพื่อจำกัดพื้นที่ในการสำรวจ Keyword เพียงเท่านี้ ระบบก็จะค้นหาทั้ง Volume ปริมาณการค้นหาคำนั้น ๆ, Keyword Idea คำค้นหาที่ใกล้เคียงกับคำที่กำหนด, Content Idea ตัวอย่างเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เขียนเกี่ยวกับคำค้นหานั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นฟีเจอร์เฉพาะผู้ใช้งาน Free Version หากสมัครบัญชี Ubersuggest หรือเลือกใช้งานแพ็กเกจ (มีค่าใช้จ่าย) ก็จะมีฟีเจอร์อื่น ๆ ให้ใช้งานอีกเพียบ
การทำ SEO นั้น เรียกได้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากหากสนุกกับมัน ส่วนหนึ่งมาจากมาตรฐานการทำ SEO การคัดเลือกบทความ คอนเทนต์จาก Google ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงเป็นสิ่งที่คนทำเว็บไซต์ต้องอัปเดตข้อมูล ปรับปรุงเว็บกันแบบไม่มีวันหยุด แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เว็บไซต์ คอนเทนต์ของคุณมีผู้สนใจจำนวนมาจนก่อให้เกิดรายได้ รับรองว่าหายเหนื่อยอย่างแน่นอน
|
Web Content Editor ท่านหนึ่ง นิยมการเล่นมือถือเป็นชีวิตจิตใจ |