เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) ในปัจจุบันนี้ มีราคาที่ถูกกว่าในอดีตมาก คนธรรมดาที่ไม่ได้มีเงินถุงเงินถังก็สามารถซื้อหามาใช้งานกันได้ไม่ยาก ทำให้ในช่วงหลายปีมานี้ เราจะได้เห็นผลงานจากนักประดิษฐ์หน้าใหม่ หรือผู้ที่ชื่นชอบการทำอะไรด้วยตัวเอง (DIY) ออกมาให้เห็นมากมาย
โดยสำหรับ เทคโนโลยีของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing Technology) ในปัจจุบันนี้จะมีอยู่ประมาณ 7 ประเภท คือ
แต่จะมีอยู่เพียง 3 ประเภทเท่านั้น ที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุด คือ FDM, SLA และ SLS ในบทความนี้เราก็เลยอยากจะมาอธิบายว่ามันต่างกันอย่างไร ? แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อเสียตรงไหน ?
FDM Printing Time-lapse
คลิปจาก : : https://youtu.be/FqQAjkZOBeY
"FDM" ย่อมาจากคำว่า "Fused Deposition Modelling"
(บางครั้งก็เรียกว่า FFF (Fused Filament Fabrication)
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ แบบ FDM ถูกคิดค้น และจดสิทธิบัตรขึ้นมาโดย S. Scott Crump ผู้ก่อตั้งบริษัท Stratasys ตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) แล้วมันก็กลายเป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยมีเหตุผลมาจากความง่ายในการใช้งาน และราคาที่ถูกกว่าเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ แบบอื่น ๆ
รูปแบบการทำงานของ FDM มีความเรียบง่าย ใช้เทอร์โมพลาสติก เช่น PLA (Polylactic Acid) หรือ ABS (Acrylonitrile Butadiene Styrene) เป็นวัสดุในการพิมพ์ โดยในเครื่อง FDM จะมีหัวฉีดความร้อนที่สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำหน้าที่ฉีดพลาสติกที่ละลาย เพื่อขึ้นเป็นรูปทรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
SLA Printing Time-lapse
คลิปจาก : https://youtu.be/gZpeJ7EEXg0
"SLA" ย่อมาจากคำว่า "Stereolithography"
เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ แบบ SLA ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 2 รองจาก FDA แม้เราอาจจะรู้สึกว่ามันเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งถูกคิดค้นขึ้นมา แต่ในความเป็นจริง SLA นี่กล่าวได้ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เลยก็ว่าได้ ถูกจดสิทธิบัตรโดย Chuck Hull ตั้งแต่ในปี ค.ศ 1984 (พ.ศ.2527)
ผลงานที่ได้จากการพิมพ์ด้วยเทคโนโลยี SLA จะได้พื้นผิวที่มีความเรียบเนียน สวยงาม สามารถนำไปใช้ในการทำแม่พิมพ์ หรือชิ้นส่วนในอุุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ หรือจะพิมพ์โมเดลสำหรับตั้งโชว์เลยก็ยังได้
การทำงานของ SLA จะใช้วิธีการพิมพ์ที่แตกต่างจาก FDM อย่างสิ้นเชิง เครื่องพิมพ์ 3 มิติ แบบ SLA จะใช้เรซินเหลวที่มีความไวต่อแสงในการขึ้นรูป โดยใช้หลอด UV ฉายแสงลงไปบนพื้นผิวเรซินบริเวณที่ต้องการให้แข็งตัว แล้วทำซ้ำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเสร็จ
Selective Laser Sinterin
คลิปจาก : : https://youtu.be/te9OaSZ0kf8
"SLS" ย่อมาจากคำว่า "Selective Laser Sinterin"
เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ แบบ SLS เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ถูกพัฒนาขึ้น แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากตัวเครื่องพิมพ์ที่ราคายังค่อนข้างสูงมาก และมีขนาดใหญ่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งขึ้น
การทำงานจะใช้ลำแสงเลเซอร์ ในการหลอมผงวัสดุเพื่อให้หลอมเหลวขึ้นเป็นโครงสร้างโมเดลตามแบบที่กำหนดไว้ โดยทั้งหมดจะเกิดขึ้นภายในกล่องที่เป็นสภาพแวดล้อมปิด เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation)
สำหรับผงที่นำมาใช้ ส่วนใหญ่ก็จะใช้ไนลอน (Nylon) เนื่องจากมีคุณสมบัติที่โดดเด่นหลายอย่าง น้ำหนักเบา, แข็งแรง, ยืดหยุ่น, ทนทานต่อแรงกระแทก, ทนทานสารเคมี, ความร้อน, แสงยูวี, น้ำ และฝุ่น
เปรียบเทียบโมเดลที่ได้จากการพิมพ์ด้วยเทคนิคที่แตกต่างกัน
ภาพจาก https://www.zeal3dprinting.com.au/fdm-vs-sla-vs-sls-choose-right-3d-printing-technology/
เราเข้าใจคุณสมบัติพื้นฐานการทำงานของการพิมพ์ 3 มิติ รูปแแบบต่าง ๆ กันไปแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะมาเปรียบเทียบคุณสมบัติของ FDM, SLA และ SLS ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น
FDM | SLA | SLS | |
---|---|---|---|
หลักการทำงาน | หลอมพลาสติกเพื่อขึ้นรูป | ขึ้นรูปเรซินด้วยแสง UV | ใช้เลเซอร์หลอมขึ้นรูป |
วัสดุที่ใช้ | เทอร์โมพลาสติก เช่น ABS, PLA และ Nylon | เรซิน | ไนลอน |
การใช้ประโยชน์ | ขึ้นรูปโมเดลต้นได้รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ | โมเดลคุณภาพสูง สวยงามพร้อมใช้งาน สามารถใช้ในการทำแม่พิมพ์ ในงานต่าง ๆ ได้ | สร้างโมเดลสำหรับทดสอบการใช้งาน ชิ้นส่วนแบบ Custom
|
ความสมจริงตรงตามแบบ | ต่ำ | สูง | สูง |
ความละเอียด | ปานกลาง | ||
ความเรียบเนียน ของพื้นผิวโมเดล | |||
ความหนาของชั้นการพิมพ์ | 0.1 - 0.3 มม. | 0.05 - 0.15 มม. | 0.060 - 0.15 มม. |
ระดับความซับซ้อนที่พิมพ์ได้ | ต่ำ | ปานกลาง | สูง |
ความสะดวกในการพิมพ์ | ง่าย | ยากเมื่อเทียบกับ FDM | ยากเมื่อเทียบกับ FDM สูสีกับ SLA |
ความยากในการฝึกใช้งาน | ง่าย | ง่าย | ปานกลาง |
การพิมพ์โดยไม่ใช้โครงสร้างรับน้ำหนัก | จำเป็นต้องมี | ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ (แล้วแต่งาน) | ไม่จำเป็นต้องมี |
พิมพ์โครงสร้างที่สามารถเคลื่อนไหวได้ | อาจจะได้ (ขึ้นอยู่กับความซับซ้อน) | ไม่สามารถทำได้ | สามารถทำได้ |
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |