ในช่วงบ่ายๆ หรือเวลาที่ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเราต้องหาว หรือเมื่อเห็นคนรอบข้างหาวแล้วเราทำไมถึงหาวตาม ถึงแม้เราจะพยายามกลั้นไม่ให้หาวก็ไม่สามารถทำได้ ลองมาหาสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ในบทความกันเลย
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนักวิจัยก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดของการหาว (Yawn) ได้ แต่หลายคนคาดเดาว่าสาเหตุของการหาวอาจจะมาจากความอ่อนเพลีย, ความเมื่อยล้า หรือความง่วง เช่น เมื่อเราเหนื่อย เราจะไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ การหาวจะช่วยให้เราสามารถหายใจเข้าลึกๆ นำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น และในขณะที่หายใจออกก็นำเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกจากร่างกายได้มากขึ้นอีกด้วยเช่นกัน
ภาพจาก https://i0.wp.com/cdn-prod.medicalnewstoday.com/content/images/articles/317/317558/woman-yawning.jpg?w=1155&h=1533
หรืออาจเกิดจากกระบวนการสร้างความเย็นแก่สมอง การหาวอาจช่วยลดอุณหภูมิภายในสมองได้ โดยในขณะที่หาว จะเกิดการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณลำคอ ใบหน้า และศีรษะ ส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองได้รวดเร็วทำให้อุณหภูมิภายในสมองลดลง
ถึงแม้ว่านักวิจัยจะเคยคิดว่าการหาวเป็นเพียงสัญญาณบ่งบอกถึงความจำเป็นในการนอนหลับ แต่ตอนนี้พวกเขาเชื่อว่าการหาวอาจสามารถบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของความตื่นตัวหรือความเบื่อหน่ายได้ด้วย
ถึงในปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันว่าการหาวเป็นโรคติดต่อจริงหรือเปล่า แต่ก็มีการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่าอาจจะเป็นพฤติกรรมเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว โดยจะเกิดขึ้นเมื่อเวลาเราเห็นใครคนหนึ่งกำลังทำอะไรบางอย่างอยู่ เซลล์สมองกระจกเงา (Mirror Neuron) จะสั่งให้สมองทำงานเหมือนว่าเรากำลังทำสิ่งเดียวกับคนๆ นั้นอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อเราเห็นคนอื่นหาวเราจึงหาวตาม
ภาพจาก https://1v1d1e1lmiki1lgcvx32p49h8fe-wpengine.netdna-ssl.com/wp-content/uploads/2018/03/GettyImages-105781682.jpg
อีกสมมติฐานคือ การเข้าใจถึงอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับอารมณ์และความคิด ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยการสวมบทบาทความคิดและความรู้สึกของผู้อื่นให้เหมือนตนเองอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ ผ่านการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
แต่หากวิเคราะห์เซลล์สมองกระจกเงา (Mirror Neuron) ในกลุ่มคนที่เป็นโรคจิตเภท หรือกลุ่มที่เป็นออทิสติก กลับพบว่าทั้ง 2 กลุ่มไม่ค่อยหาวเมื่อเห็นคนรอบข้างหาว เนื่องจากบุคคลทั้ง 2 กลุ่มเป็นมักจะมีปัญหาในการเข้าสังคมและไม่มีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
ในปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) ได้มีการจัดงานศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดการหาว มีผู้ร่วมลงทะเบียนจำนวน 328 คน ภายในงานได้ให้ผู้เข้าร่วมทุกคนชมวิดีโอที่มีคนกำลังหาวความยาวประมาณ 3 นาที พบว่าผู้เข้าร่วมงานจำนวน 222 คนหาวติดต่อกันอย่างน้อย 1 ครั้ง
นอกจากนี้ การหาวยังสามารถแพร่กระจายข้ามสายพันธุ์ได้ เพราะจากการวิจัยของ School of Psychology, Birkbeck, University of London ที่ได้ทำการทดสอบเรื่องพฤติกรรมการหาวตามมนุษย์กับสุนัขที่มีอายุเฉลี่ย 6 ปี ทั้งหมด 29 ตัว โดยให้สุนัขอยู่ในห้องที่คุ้นเคยร่วมกับคนแปลกหน้า จากนั้นให้คนแปลกหน้าทำท่าหาวแบบมีเสียงและสบตากับสุนัข พบว่ามีสุนัขหาวตามมนุษย์จำนวน 21 ตัวจากทั้งหมด 29 ตัว หรือคิดเป็นร้อยละ 72
ภาพจาก https://royalsocietypublishing.org/doi/full/10.1098/rsbl.2008.0333#d3e293
ถึงแม้จะยังไม่มีการยืนยันว่าหาวว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่ แต่ก็มีนักวิจัยออกมาตั้งสมมติฐานแตกต่างกันไป เช่น อาจเกิดจากการที่ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย, ความง่วง หรือความเบื่อหน่าย รวมทั้งอาจเกิดจากพฤติกรรมเลียนแบบซึ่งเซลล์สมองกระจกเงา (Mirror Neuron) จะสั่งให้สมองเราทำงานเหมือนว่าเรากำลังทำสิ่งเดียวกับคนที่เรามองอยู่ แต่การหาวก็ไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายเรา ตรงกันข้ามอาจช่วยลดอุณหภูมิภายในสมอง และกระตุ้นการไหลเวียนเลือดได้ดีอีกด้วยนั่นเอง
|
หนี Coding มาเขียนบทความ |