ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

ไมโครโฟนแบบ Condenser, Dynamic, Ribbon, Carbon, Crystal และ Ceramic คืออะไร ? ต่างกันอย่างไร ?

ไมโครโฟนแบบ Condenser, Dynamic, Ribbon, Carbon, Crystal และ Ceramic คืออะไร ? ต่างกันอย่างไร ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 10,705
เขียนโดย :
0 %E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A+Condenser%2C+Dynamic%2C+Ribbon%2C+Carbon%2C+Crystal+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+Ceramic+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ไมโครโฟนมีกี่แบบ เหมาะกับการใช้งานแบบไหนบ้าง ?

ไมโครโฟน (Microphone) คือ อุปกรณ์สำคัญที่จะแปลงคลื่นเสียง กลายเป็นไฟฟ้าส่งสัญญาณไปยังเครื่องให้กำเนิดเสียง เมื่อพูดถึงการใช้งานแล้ว เดี๋ยวนี้มีความจำเป็นและประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะด้านการสื่อสาร การดนตรี การบันทึกเสียง อุตสาหกรรมหนัง และ ภาพยนตร์ เวทีการแสดง หรือ งานข่าวสาร และงานบันเทิงอื่น ๆ 

บทความเกี่ยวกับ ไมโครโฟน อื่นๆ

การเลือกซื้อไมโครโฟน เพื่อนำมาใช้งานด้านต่าง ๆ คุณภาพไม่ได้วัดจากแค่ของแพง หรือ ถูกเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของประเภทที่ต้องเลือกใช้งานตามความเหมาะสม โดยบทความนี้เราจะมาอธิบายถึง ชนิดของไมโครโฟน และความแตกต่างของแต่ละประเภทกัน เพื่อที่ผู้อ่านจะได้ซื้อใช้งานได้ง่าย ๆ

เนื้อหาภายในบทความ

รูปแบบของไมโครโฟน (Type of Microphone)

รูปแบบของไมโครโฟน

ปัจจุบันไมโครโฟนที่วางขายอยู่ในท้องตลาดถ้าไม่นับพวกยิบย่อยแบบ ไมค์ไร้สาย (Wireless Microphone) ไมค์สเตอริโอ (Stereo Microphones) ไมค์ถ่ายทำภาพยนต์ หรือ ไมค์ช็อตกัน (Shot Gun Microphone) เราสามารถแยกประเภทหลัก ๆ ตามคุณภาพเสียงอยู่ได้ไม่กี่ชนิด ประกอบไปด้วย 

ประเภทที่ยังมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

  • ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser Mic)
  • ไมโครโฟนชนิดไดนามิก (Dynamic Mic)
  • ไมโครโฟนชนิดริบบอน (Ribbon Mic)

ประเภทเก่าที่ไม่มีการใช้งานแล้ว

  • ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Mic)
  • ไมโครโฟนชนิดคริสตัล (Crystal Mic)
  • ไมโครโฟนชนิดเซรามิก (Ceramic Mic)

ความนิยมในท้องตลาดจริง ๆ มีอยู่ 2 ประเภทหลัก คือ Condenser Mic, Dynamic Mic โดย 2 ตัวนี้ยังมี Subcatagory ของตัวเองอีกมากมายที่เพิ่มคุณภาพเสียงในด้านต่าง ๆ  อย่าง ไมค์ช็อตกัน (Shot Gun Microphone) ก็จัดเป็น Condenser Mic เหมือนกัน ซึ่งเราจะไม่ได้ลงรายละเอียดเยอะมาก

ไมค์ช็อตกัน (Shot Gun Microphone)
 ไมค์ช็อตกัน (Shot Gun Microphone)

โดยทั่วไปไมโครโฟนแต่ละชนิดจะมีความต่างกันอยู่ที่ โครงสร้างของตัวให้กำเนิดไฟฟ้า และ ไดอะแฟรม (Diaphragm) ซึ่งทำหน้าที่ในการรับแรงสั่นสะเทือนของเสียง และ แปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งไปยังลำโพงหรือหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ความแตกต่างของโครงสร้างทำให้มันมีความไวต่อเสียงที่ต่างกัน รวมถึงลักษณะของโทนเสียงก็จะต่างกันไป ซึ่งเดี๋ยวเราจะอธิบายต่อจากนี้ไป

ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser Mic) คืออะไร ?

ไมค์คอนเดนเซอร์ (Condenser Mic) ไมค์ชนิดนี้ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

  • รูปแบบ Small Diaphragm
  • รูปแบบ Large Diaphragm

ความแตกต่างของมันนอกจากจะเป็นเรื่องของขนาดรูปร่างแล้วก็ยังมีเรื่องของฟังก์ชันอยู่บ้าง ส่วนมากไมค์ชนิดนี้จะเหมาะใช้ในการบันทึกเสียงภายในสตูดิโอ หรือ ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีเสียงรบกวน เพราะว่าสามารถเก็บรายละเอียดของเสียงได้ดีมาก มีความไวต่อเสียงสูง ให้เสียงใส กังวาน และชัดเจน 

ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser Mic)

หลักการทำงานของ ไมค์คอนเดนเซอร์ (Condenser Mic) ก็ง่าย ๆ คือการใช้แผ่นไดอะแฟรม ประกบด้วยแผ่นประจุวงจรไฟฟ้า เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับ ไดอะแฟรม จะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนและแปลงประจุเป็นสัญญาณเสียงส่งไปยังเครื่องเสียง

ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser Mic)
Small-Diaphragm Condenser Microphones / ภาพจาก : https://mynewmicrophone.com/best-small-diaphragm-condenser-microphones-under-500/

ข้อแตกต่างของ Small Diaphragm หรือเรียกอีกชื่อว่า Pencil Microphones เพราะรูปร่างของมันที่เป็นแท่งเหมือนดินสอ มีขนาดความกว้างของไดอะแฟรมที่เล็กรับเสียงได้ด้านเดียวคือที่ปลายหัวไมค์ สามารถตอบสนองต่อเสียงที่มีความถี่สูงได้ดีกว่า ซึ่งเหมาะใช้แก่การอัดเสียงเครื่องดนตรี ประเภทกีต้าร์ หรือ ไวโอลิน เอาไว้ใช้จ่อไมค์ใกล้เครื่องดนตรีเพื่อเก็บเสียง เป็นต้น

ไมโครโฟนแบบ Condenser, Dynamic, Ribbon, Carbon, Crystal และ Ceramic คืออะไร ? ต่างกันอย่างไร ?
ขอบคุณภาพจาก : https://www.amazon.com/Large-Diaphragm-Microphone-BOYA-Condenser-Recording/dp/B07QXY9CD4

ขณะที่ Large Diaphragm จะมีขนาดความกว้างของ Diaphragm ที่ใหญ่กว่า สามารถตอบสนองเก็บรายละเอียดของเสียงได้มาก และยังตอบสนองต่อเสียงย่านความถี่ต่ำได้ดี เลยนิยมใช้ในการอัดเสียงร้องเพลง หรือ อัดเสียงบรรยาย เพราะจะได้เสียงพูดที่ใส กังวาน ชัดเจน นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้อัดเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มต่ำได้ เช่น กลอง เป็นต้น

ไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Mic) คืออะไร ?

ไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Mic)

สำหรับ ไมโครโฟนไดนามิค (Dynamic Mic) โดยทั่วไปถ้าต้องการบันทึกเสียงที่มีช่วง แอมพลิจูด (Volume) ที่กว้าง หนักแน่น หรือดังมาก ๆ ให้คุณภาพเสียงที่ครอบคลุมทุกย่านความถี่ คนก็จะเลือกใช้ Dynamic Mic กัน เพราะว่ามีการตอบสนองต่อแรงสั่นสะเทือนของเสียงน้อย ทำให้สามารถจัดการต่อระดับความดังเสียง (Sound Pressure Level) ที่สูงขึ้นได้ดี โดยไม่เกิดความเสียหาย หรือ ผิดเพี้ยนไป เหมาะใช้งานในสถานที่ที่มีเสียงรบกวนมาก เพราะเสียง Noise จะเข้าไม่เยอะ

ตัวอย่างเช่น งานแถลงข่าว คอนเสิร์ต หรือการสัมภาษณ์ต่าง ๆ นอกสถานที่ แม้แต่ในสตูดิโออัดเสียงก็มีการใช้งานด้วย ถ้าเป็นดนตรีประเภทเฮฟวีเมทัล หรือ ดนตรีร็อกที่เสียงดนตรี และ คนร้องจะดังมาก ๆ นอกจากนี้ แร็ปเปอร์หลายคนก็ใช้ไมค์ Dynamic Mic เช่นกัน เพราะสไตล์บางคนจะชอบร้องเสียงทุ้ม เสียงดุ ก็จะร้องใกล้ไมค์ ถ้าอัดใกล้เกินจะทำให้เกิด Proximity Effect หรือทำให้ได้เสียงร้องจากช่วงคอ เสียงต่ำไม่ชัด ไม่เคลียร์ ดังนั้นจึงมีการใช้ Dynamic Mic มาช่วย

ไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Mic)
ขอบคุณภาพจาก : https://audiouniversityonline.com/types-of-microphones/

หลักการทำงานของ Dynamic Mic จะเรียกอีกอย่างว่า Moving Coil Microphones หรือ "ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าเคลื่อนที่" เพราะให้กำเนิดแรงดันไฟฟ้าที่เปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียงเมื่อขดลวดเคลื่อนสัมพันธ์กับแม่เหล็ก โดยไดอะแฟรมจะติดอยู่กับ ขดลวดที่พันรอบแม่เหล็กอีกที เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับ ไดอะแฟรม ขดลวดก็จะเคลื่อนไหว ไปตามแม่เหล็กและสร้างแรงดันไฟฟ้าขึ้นมานั่นเอง

ไมโครโฟนชนิดริบบอน (Ribbon Mic) คืออะไร ?

ไมโครโฟนริบบอน (Ribbon Mic) มีการใช้รูปแบบเฉพาะของ ไดอะแฟรม (Diaphragm) ที่ไม่เหมือนใคร ขณะที่ไมค์ชนิดอื่น ๆ ใช้แผ่นไดอะแฟรมอลูมิเนียมบาง ๆ ในการรับแรงสะสั่นสะเทือนของเสียง แต่แผ่นไดอะแฟรมของ Ribbon Mic ดันเป็นลักษณะของแผ่นโลหะที่มีรูปร่างเหมือน 'ริบบอน' แขวนอยู่ภายใน เพื่อรับแรงสั่นสะเทือนและเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า

ไมโครโฟนชนิดริบบอน (Ribbon Mic)
https://audiouniversityonline.com/types-of-microphones/

คุณสมบัติของเสียง ให้คุณภาพเสียงที่มีรายละเอียดสูง ใส กังวาน และ เป็นธรรมชาติกว่า Condenser Mic ส่วนมากในท้องตลาดสามารถรับเสียงได้ 2 ฝั่งได้ดีคือด้านหน้าและหลัง (Bidirectional) แต่เนื่องจากมันมีความบอบบางกว่า เพียงแค่เสียงที่ดังมากเกินไป หรือ ถ้าคุณทำหล่น ก็อาจทำให้แผ่น 'ริบบอน' เสียหายได้ ความนิยมส่วนใหญ่จึงตกเป็นของ Condenser Mic ที่ใช้งานได้คงทนกว่า

ไมโครโฟนชนิดริบบอน (Ribbon Mic)

โดย Ribbon Mic ก็เหมาะที่จะใช้สำหรับสตูดิโอเพลงที่มีสไตล์ความเป็น Vintage และแนว Country ที่ใช้การร้องเพลงด้วยโทนเสียงอบอุ่น ไพเราะเหมือนเพลงลูกกรุงบ้านเรา

ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Mic) คืออะไร ?

ไมโครโฟนคาร์บอน (Carbon Mic) เป็นประเภทของไมโครโฟนยุคเก่าแก่ ที่ใช้ในสมัยวงการวิทยุยังเฟื่องฟู โครงสร้างการทำงานของมันเมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือนจากเสียงกระทบกับไดอะแฟรม แรงสั่นสะเทือนจะส่งไปยังเม็ดคาร์บอนเพื่อทำปฏิกิริยาทำให้เกิดแรงต้านทานและเปลี่ยนค่ากระแสไฟฟ้าไปตามแรงต้านทาน ก่อนส่งไปยังขั้วไฟฟ้าวัสดุตัวนำเพื่อส่งสัญญาณเสียงไปยังอุปกรณ์ขยายเสียง

ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Mic)

เพราะเป็นไมค์รุ่นเก่า คุณภาพเสียงไม่ดี แถมยังกันเสียงรบกวนไม่ได้เลย ปัจจุบันก็เลยไม่มีการใช้งานกันแล้ว 

ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Mic)
ภาพจาก : https://www.shure.com/en-US/performance-production/louder/the-history-of-carbon-microphones-and-artifacts-from-the-shure-archives

ไมโครโฟนชนิดคริสตอล (Crystal Mic) คืออะไร ?

ไมค์คริสตอล (Crystal Mic) เรียกอีกชื่อว่า 'Piezoelectric Microphones' คุณสมบัติพิเศษคือการใช้แผ่นแร่คริสตอล กับ วัสเฟียโซอิเล็กทริก (Piezoelectric) ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า โดยเมื่อแผ่นไดอะแฟรมได้รับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงส่งผ่านไปยังคริสตัล จะทำให้คริสตัลเปลี่ยนรูป หรือ โค้งงอ ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อ เฟียโซอิเล็กทริก (Piezoelectric) จนเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียงไปที่อุปกรณ์รับเสียง

ไมค์ชนิดคริสตอล (Crystal Mic)

เรื่องคุณภาพการตอบสนองความถี่อยู่ในระดับย่านความถี่เสียงกลาง ไม่กว้าง ค่าความต้านทานในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับสูง (ค่า Impedance) ทำให้ส่งสัญญาณเสียงได้ไม่ดี ควบคุมคุณภาพเสียงยาก จึงไม่เหมาะใช้งานในระดับมืออาชีพ ปัจจุบันก็ไม่มีการใช้ไมค์ประเภทนี้แล้วด้วย

ไมค์ชนิดคริสตอล (Crystal Mic)
ภาพจาก : https://www.cxnetwork.com.au/the-history-of-crystal-microphones-and-artifacts-from-the-shure-archives/

ไมโครโฟนชนิดเซรามิก (Ceramic Mic) คืออะไร ?

ไมโครโฟนเซรามิก (Ceramic Mic) เรียกว่ามีความคล้ายคลึงกับรูปแบบของ Crystal Mic มาก ๆ เพียงแต่ต่างกันที่วัสดุเปลี่ยนจาก Crystal ไปใช้ Ceramic แทน เมื่อคลื่นเสียงปะทะกับแผ่นไดอะแฟรมทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน ส่งผลต่อการเปลี่ยนรูปของแผ่น Ceramic และทำปฏิกิริยาต่อ เฟียโซอิเล็กทริก (Piezoelectric) ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้า กลายเป็นสัญญาณเสียงส่งไปยังอุปกรณ์รับเสียง

เรื่องคุณภาพเสียงก็เทียบเท่ากับ Crystal Mic แต่ว่ามีความทนทานต่อความชื้น และอุณภูมิได้มากกว่า เพราะใช้วัสดุ Ceramic ปัจจุบันก็ไม่พบเห็นการใช้งานแล้วเช่นกัน

ไมโครโฟนชนิดเซรามิก (Ceramic Mic)
ภาพจาก : https://www.ebay.com/itm/Vintage-1950s-Shure-Brothers-245-ceramic-microphone-w-mic-clip-and-cable-4-/254814987154


ที่มา : audiouniversityonline.com , www.cxnetwork.com.au , www.shure.com , ledgernote.com

0 %E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A+Condenser%2C+Dynamic%2C+Ribbon%2C+Carbon%2C+Crystal+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+Ceramic+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น