เมื่อพูดถึงการนำเสนอข้อมูลที่ยุ่งยากและซับซ้อน ต่างคนก็ต่างมีกลวิธีที่แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมากแล้วมักจะมีการใช้เครื่องมือที่มีชื่อเรียกว่า แผนภูมิที่นำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ หรือ ไดอะแกรม (Diagram) เพื่อถ่ายทอดแนวคิดออกมาอย่างกระชับและเข้าใจง่าย เพียงใช้สัญลักษณ์ รูปภาพ และ ตัวอักษรเพียงไม่กี่ตัว โดยการสร้างแผนภูมิในรูปแบบต่าง ๆ ก็ยังเหมาะใช้ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา การทำงาน หรือใช้ในการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นข้อมูลทางเทคนิค หรือ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
เมื่อพูดถึงเครื่องมือ ไดอะแกรม (Diagram) ทั่วไปที่ได้รับความนิยม เราจะนึกถึงกันออกแค่ 1 - 2 รูปแบบเป็นอย่างต่ำ ซึ่งผมเชื่อว่าหนึ่งในนั้นจะต้องมี Mind Map และ Flowchart อย่างแน่นอน นั่นเพราะว่าเครื่องมือทั้งสองอย่างนี้ค่อนข้างจะใช้งานได้ง่าย และ สามารถปรับใช้ได้หลากหลาย โดยบทความนี้เราก็จะมา ทำความรู้จักกับ Mind Map และ Flowchart ว่ามันคืออะไร และ ไดอะแกรม 2 ตัวนี้มีการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างไร ?
Tony Buzan / ภาพจาก : https://www.irishtimes.com/business/how-tony-buzan-used-mind-maps-to-doodle-his-way-to-millions-1.2230977
Mind Map หรือ Mind Mapping ได้ถูกคิดค้นโดย โทนี่ บูซาน (Tony Buzan) นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ที่นำวิธีการเรียนรู้ของสมองมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ และ พัฒนาการจดบันทึกที่มีชื่อว่า Mind Map โดยเขาเองก็ได้รับแรงบันดาลใจ และ การพัฒนาวิธีนี้มาจากรูปแบบการจดบันทึกส่วนตัวของเหล่าบุคคลที่เป็นตำนานมากมายไม่ว่าจะเป็น เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci), อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) และ โจเซฟ ดี โนแวค (Joseph D. Novak)
คำว่า Mind Map แปลว่า "แผนภูมิความคิด" ตามหลักทฤษฎีของ 'โทนี่' ได้ระบุว่า การวิเคราะห์ข้อมูล หรือ จดบันทึกด้วย "แผนภูมิความคิด" จะสามารถช่วยกระตุ้นสมองให้กับมนุษย์ทั้งในด้านของการวิเคราะห์ การลำดับความสัมพันธ์ และ ความคิดสร้างสรรค์ มันเป็นวิธีการสร้างข้อมูลและเรียนรู้ที่อิสระ มีประสิทธิภาพมากกว่าการเขียนเรียงความ เนื่องจากไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับโครงสร้าง และ รูปประโยค เหมาะที่สุดในการช่วยวิเคราะห์และจดจำอย่างง่ายดาย รวมไปถึงใช้ในการสำเสนอแนวคิดให้ผู้อื่นสามารถเข้าได้โดยง่าย
ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนและนักศึกษาที่จดเลคเชอร์เวลาครูสอน, ผู้จัดการทีมการตลาดที่ต้องการนำเสนอแผนงานในทีมเพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์, นักเขียนที่กำลังจะเริ่มต้นเขียนหนังสือเรื่องใหม่และต้องการวางโครงสร้างของเนื้อเรื่อง หรือ แม้แต่องค์กรธุรกิจก็ยังต้องใช้ Mind Map ในการจำลองโมเดลแผนที่จะพัฒนาองค์กร เพื่อต่อยอดธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น
การเริ่มเขียน Mind Map ควรเริ่มต้นจากศูนย์กลางของกระดาษด้วยหัวข้อหลัก เช่น "การจำแนกสัตว์" เป็นต้น จากนั้นก็สร้างหัวข้อย่อยที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ และ ตรรกะ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลัก เช่น ประเภทของสัตว์แบ่งเป็น สัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ และ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เป็นต้น สุดท้าย ๆ ก็ค่อย ๆ แยกข้อมูลออกเป็นส่วนตามประเภทความสัมพันธ์ แตกกิ่งก้านเป็นลำดับชั้นและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เหมือนรูปแบบของการแตกกิ่งก้านต้นไม้ 1 ต้นที่มีกิ่งไม้ใหญ่ 10 ก้าน และ ประกอบด้วยกิ่งเล็กอีกเป็น 100 ก้านนั่นเอง (เหมือนการแตกสาขาของเซลล์สมองด้วย) บางคนอาจมีเสริมข้อมูลให้มีความน่าอ่านด้วยการเพิ่มรูปภาพ การแบ่งสี และการเล่นกับรูปทรงเลขาคณิตที่แตกต่าง
แฟรงค์ และ ลิเลียน กิลเบร็ธ ผู้คิดค้น Flowchart / ที่มาภาพ : https://ea.sornchei.net/home/theoristagedetail/2/1
Flowchart หรือ Process Flowchart ถูกคิดค้นโดย แฟรงค์ และ ลิเลียน กิลเบร็ธ (Frank and Lillian Gilbreth) ซึ่งเป็นคู่สามีภรรยาชาวอเมริกันที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยทั้งคู่ได้นำแผนผัง Flowchart ในการนำเสนอไอเดียเกี่ยวกับทฤษฎี Flowchart ต่อสมาคมวิศวกรเครื่องกลแห่งอเมริกา (American Society of Mechanical Engineers) ในปี ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) ซึ่งในตอนนั้นก็เป็นครั้งแรกที่ทุกคนได้รู้จักกับแผนผังรูปแบบนี้
และหลังจากนั้นเครื่องมือของครอบครัว 'กิลเบร็ธ' ก็ได้เข้าไปส่วนหนึ่งในหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว และ มันได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างผังเชื่อมโยงกระบวนการทำงานที่ได้รับความนิยมในทุกวงการ โดยเฉพาะ ด้าน IT ที่มักจะมีการใช้เพื่ออธิบายอัลกอริทึมการทำงานของคอมพิวเตอร์แบบเข้าใจง่าย ซึ่งค่อนข้างได้รับความนิยมมากเลยทีเดียว
ความหมายตรงตัวของ Flowchart คือ "แผนผังการทำงาน" โดยลักษณะเด่นของเครื่องมือนี้ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก มีองค์ประกอบเพียงแค่ข้อมูลลำดับการกระทำ และปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นขั้นตอนในแต่ละลำดับไปจนถึงผลลัพธ์ของตอนจบกระบวนการ โดยใช้สัญลักษณ์ให้ถูกต้อง และ การลากเส้นเพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน มันจะช่วยให้คุณเห็นภาพว่าจะเกิดอะไรขึ้นในทุกขั้นตอนของการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของแต่ละอย่าง และ ทำให้เราเข้าใจเหตุผลที่เชื่อมโยงกันในทุกขั้นตอนรวมไปถึงการทำให้เห็นข้อบกพร่องอีกด้วย
เช่นเดียวกับ "Mind Map" เครื่องมืออย่าง Flowchart สามารถถูกดัดแปลงไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้หลากหลาย และใช้เพื่ออธิบายกระบวนการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกระบวนการผลิตสินค้า, การบริหารองค์กร, แผนพัฒนาสินค้า, การทำงานของเครื่องจักร, การทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ Flowchart ก็อาจใช้อธิบายแผนผังโครงสร้างองค์กรตั้งแต่การทำงานของผู้บริหารระดับสูงไปจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการทั่วไปได้ด้วย เพื่อทำให้เข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของแต่ละคน
ตัวอย่าง Flowchart จริง / ภาพจาก : https://asq.org/quality-resources/flowchart
: ขั้นตอนการทำงาน 1 ขั้น | |
: ทิศทางของการทำงาน | |
: ขั้นตอนการทำงานที่มีเงื่อนไขแยกออกไปไม่ต่ำกว่า 2 ทิศทาง (ส่วนมากเขียนเป็นคำถาม และแบ่งทิศทางเป็น "ใช่" และ "ไม่") | |
: แทนการบอกขั้นตอนที่ต้องรอตรวจสอบ หรือ ใช้เวลามากกว่าเดิม | |
: เป็นจุดเชื่อมโยงของทิศทางที่เคยแยกออกไปแล้วกลับมารวมกันในขั้นตอนเดียว | |
: การรับหรือแสดงผล (มักใช้ร่วมกับ เพื่ออธิบายผลลัพธ์ที่แยกออกเป็น 2 ทาง) | |
: สัญลักษณ์เริ่มต้น และ จุดจบของผังงาน |
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |