ในโลกที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง พัฒนาต่อยอดขึ้นไปในทุก ๆ วินาที สิ่งหนึ่งที่เราอาจไม่เคยได้คิดถึงเลย แต่กำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้ นั่นก็คือ "E-Waste" ของเสียจากที่เกิดจากเทคโนโลยี
ทุกวันนี้เรากำลังใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ล่าสุดเปลี่ยนให้ทันในทุก ๆ ปี หรือ เปลี่ยนคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่เพื่อรองรับงานที่หนักขึ้น และทิ้งอุปกรณ์เก่าที่ไม่ใช้งานไปโดยไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า อุปกรณ์ที่เราใช้เพียงไม่นานเหล่านี้ กำลังเป็นระเบิดเวลาที่อาจส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของเรา? E-Waste กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลก
ดังนั้นแล้วในบทความนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ E-Waste ทั้งความหมาย, ประเภทของมัน, ผลกระทบ และอื่น ๆ อีกมากมายของ E-Waste ที่ไม่ใช่แค่ขยะของเสียธรรมดา ๆ แต่เป็นปัญหาสำคัญที่ควรใส่ใจ และทำความเข้าใจมากขึ้น เพื่อให้ตระหนักกับปัญหานี้มากยิ่งขึ้นกัน ...
คำว่า "E-Waste" ย่อมาจาก "Electronics Waste" หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า "ขยะอิเล็กทรอนิกส์" ซึ่งหมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถใช้งานได้ หรือหมดอายุการใช้งานไปแล้ว ซึ่งอาจเป็นอุปกรณ์ที่ถูกทิ้ง, รีไซเคิล หรือซ่อมแซมใหม่ เช่น โทรศัพท์มือถือที่เก่า หรือไม่สามารถใช้งานได้, คอมพิวเตอร์ที่พัง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่เสียหายเมื่อเวลาผ่านไป
และเมื่อผลิตภัณฑ์เหล่านี้หมดอายุการใช้งาน และถูกทิ้งไป พวกมันก็กลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ก่อให้เกิดปัญหาทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และสุขภาพหากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง การทิ้ง E-Waste อาจส่งผลให้สารพิษจากอุปกรณ์เหล่านั้นแพร่กระจายไปในดิน และน้ำได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดมลพิษ และท้ายที่สุดก็จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ และสัตว์ต่าง ๆ นั่นเอง
ภาพจาก : https://www.mitarsh.com/the-E-Waste-business-a-sustainable-solution-for-the-future/
E-Waste เป็นหนึ่งในประเภทขยะที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ด้วยผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่รวดเร็วทำให้เกิดการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก โดยผลสำรวจของ ILO (องค์การแรงงานระหว่างประเทศ) ในปี ค.ศ. 2022 (พ.ศ. 2565) ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีเพียงไม่ถึงหนึ่งในสี่ ที่ได้รับการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ทั้งที่ขยะประเภทนี้ยังคงซ่อนทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หากได้รับการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งปัญหาของ E-Waste ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย
ภาพจาก : https://th.wikipedia.org
สาเหตุสำคัญของปัญหานี้คือ E-Waste ได้กลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญของชุมชนในประเทศที่มีรายได้ต่ำ และปานกลาง ซึ่งมักขาดการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ และมีโครงสร้างพื้นฐานการรีไซเคิลที่ไม่ค่อยเหมาะสม ซึ่งการนำเอา E-Waste เข้ามาในชุมชนทำให้ ชาวบ้าน และเด็ก ๆ ในพื้นที่ต้องเผชิญความเสี่ยงจากสารพิษที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง การขาดความรู้ และการฝึกอบรมในการรีไซเคิลก็ยิ่งทำให้ปัญหานี้รุนแรงขึ้น
ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=Fbc6W4lJAcc
แม้ว่าจะมีมาตรการระหว่างประเทศที่ควบคุมการขนส่ง E-Waste ข้ามพรมแดน แต่การขนส่งที่ผิดกฎหมายก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ E-Waste ถูกนำไปทิ้งในประเทศที่ยังไม่พร้อมสำหรับการรีไซเคิล หรือจัดการอย่างมีมาตรฐาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มักมีสารพิษอันตรายอยู่เช่น ดีออกซิน (Dioxins), ตะกั่ว (Lead) และปรอท (Mercury) ซึ่งหากไม่ได้รับการรีไซเคิลในวิธีที่ถูกต้อง ก็จะส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง สิ่งนี้ทำให้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อปกป้องทั้งสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของมนุษย์เรา
ภาพจาก : https://www.holistichealthpc.com/blog/how-to-naturally-treat-and-remove-heavy-metals
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก ตามรายงานของ Platform for Accelerating the Circular Economy (PACE) ในปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2550) พบว่า 80% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกถูกทิ้งในหลุมฝังกลบ หรือรีไซเคิลในวิธีที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) ของทางอเมริกา ได้จำแนกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 10 ประเภทหลักก็จะมีดังนี้เลย
เช่น ตู้เย็น และ เครื่องซักผ้า
ภาพจาก : https://www.howardselectrical.co.uk/blog/post/top-essential-home-appliances-for-a-modern-lifestyle.html
เช่น ไมโครเวฟ และ เครื่องดูดฝุ่น
ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/File:Panasonic_NN-SD69LS_20220410.jpg
เช่น คอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊ก, เมาส์ และคีย์บอร์ด
ภาพจาก : https://stonetech1.com/computer-networking-fundamentals/
เช่น โทรศัพท์มือถือ และโทรทัศน์
ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Television
ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Shattered_light_fixture_3.jpg
ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Toy_Story_%E2%80%94_Close-up.jpg
ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:230317-Z-WF444-1039_-_Nellis_Air_Force_Base_hosts_119th_Fighter_Squadron_for_Red_Flag_23-2.jpg
เช่น เครื่องวัดความดัน และเครื่องตรวจสุขภาพ
ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Tube_%C3%A0_Rayon_X_dans_un_h%C3%B4pital_au_B%C3%A9nin_05.jpg
เช่น เครื่องตรวจจับควัน และเทอร์โมสตัต
ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Smoke_detector.JPG
ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Vending_Machines.jpg
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ประกอบไปด้วยโลหะ และธาตุมีค่ามากมาย ซึ่งการแยก และควบคุมโลหะเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ยาก และอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม การเผา หรือหลอมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถปล่อยสารตะกั่วออกมาซึ่งสะสมในหลุมฝังกลบ อีกทั้งก๊าซพิษที่เกิดจากการรีไซเคิล หรือกำจัดไม่ถูกวิธี ก็ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมลพิษปนเปื้อนแหล่งน้ำ
ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Agbogbloshie,_Ghana.jpg
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ มีสารพิษหลายชนิดที่สามารถทำลายสุขภาพมนุษย์ เช่น สารตะกั่ว, ปรอท และแคดเมียม ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และมีผลกระทบต่อระบบประสาท, หัวใจ, สมอง, ไต, ตับ และระบบสืบพันธุ์ ซึ่งการสัมผัสสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลเสียด้านโรคทางเดินหายใจ, เกิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ก่อให้เกิดมะเร็งในเด็ก และวัยรุ่น
ภาพจาก : https://www.researchgate.net/figure/Schematic-diagram-showing-various-effects-of-E-Waste-residue-left-in-the-soil-water-and_fig2_343222592
ในด้านที่อาจจะคิดไม่ถึง ก็คือการทิ้ง หรือรีไซเคิลสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ อย่างไม่ถูกต้อง สร้างความเสี่ยงต่อความมั่นคงทั้งในระดับชาติ และส่วนบุคคลเอง เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มักบรรจุข้อมูลที่สำคัญ และเป็นความลับ ซึ่งหากไม่ได้รับการลบออกก่อนทิ้ง ก็อาจเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล และการถูกแฮ็ก
ภาพจาก : https://www.ifixomaha.com/blog/repair-or-replace-your-smartphone-screen
การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste อย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ การรีไซเคิล และนำขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับมาใช้ใหม่ไม่เพียงแต่ช่วยลดปริมาณขยะ แต่ยังช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติด้วย โดยวิธีที่ได้รับการยอมรับ และได้ผลดีก็จะมีดังนี้
หลายบริษัทที่ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยมีศูนย์รับรีไซเคิลของตัวเอง หรือบางแห่งอาจมีโปรแกรมแลกซื้ออุปกรณ์ใหม่ในราคาลดพิเศษเมื่อส่งอุปกรณ์เก่ากลับไป ซึ่งการที่เราทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดปริมาณขยะ แต่ยังช่วยให้ผู้บริโภคได้รับข้อเสนอที่คุ้มค่า และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน
หลายโรงเรียน, มหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานภาครัฐ มักต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยังใช้งานได้ การบริจาคอุปกรณ์เหล่านี้ก็จะช่วยให้ของเก่ายังคงมีประโยชน์ และยังลดโอกาสที่อุปกรณ์จะถูกทิ้งอย่างไม่เหมาะสม ในทางกลับกันยังช่วยเพิ่มโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้อีกด้วย
การขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้วสามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น Facebook Marketplace หรือ Shopee ที่มีผู้ที่สนใจซื้ออุปกรณ์เก่าเพื่อนำไปใช้งานต่อ ไม่ว่าจะเป็นในด้านธุรกิจหรือการใช้งานส่วนตัว ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้เทคโนโลยีเก่ายังคงมีประโยชน์อยู่นั่นเอง
ทั้งนี้ ในประเทศไทยยังไม่มีศูนย์รีไซเคิลที่ได้รับการรับรองจาก Basel Action Network (BAN) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลมาตรฐานการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในระดับสากล แต่ก็ยังมีกระบวนการ และมาตรฐานการรีไซเคิลที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบจากการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างรับผิดชอบ โดยเลือกศูนย์รีไซเคิลของบริษัทเทคโนโลยี และร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำ เช่น AIS ที่รับกำจัด E-Waste ก็จะสามารถช่วยให้การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปในทางที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้
เว็บไซต์ของ AIS : https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/ais-ewaste/collection-channels
การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ถือเป็นปัญหาที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไม่ได้แค่เป็นของเสียธรรมดา แต่เต็มไปด้วยสารพิษที่อาจส่งผลกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของเรา หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ขยะเหล่านี้สามารถปล่อยสารพิษลงสู่ดิน และน้ำ ทำให้เกิดมลพิษที่อันตรายต่อชีวิตของสัตว์
ดังนั้น การใส่ใจในการจัดการ และทิ้ง E-Waste อย่างถูกต้อง เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ และเป็นวิธีที่ช่วยลดผลกระทบจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ สร้างสังคมที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยให้เทคโนโลยีที่ไม่ใช้แล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประโยชน์ ไม่ว่าจะรีไซเคิล, ขาย หรือบริจาคให้คนที่ต้องการ ช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ และทำให้โลกของเรามีความยั่งยืนขึ้นนั่นเอง
|