ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

8 วิธีดีลงาน กับลูกค้าเจ้าปัญหา หรือ ลูกค้าที่รับมือได้ยาก

8 วิธีดีลงาน กับลูกค้าเจ้าปัญหา หรือ ลูกค้าที่รับมือได้ยาก

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 39,511
เขียนโดย :
0 8+%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

8 วิธีดีลงาน กับลูกค้าเจ้าปัญหา หรือ ลูกค้าที่รับมือได้ยาก 
(8 Tips to deal with an arrogant client)

ในสมัยก่อน ลูกค้าคือพระเจ้า คือคำที่ไม่เกินจริงเท่าไหร่นัก แต่ในปัจจุบัน ลูกค้ามีมากมายหลายแบบ และผู้ที่รับงานก็มีอำนาจต่อรองมากขึ้น แต่ก็ยังไม่วายต้องรับมือกับบรรดาลูกค้าที่รับมือได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่เรื่องมาก, ชอบแก้งานกลางคัน, แก้เสร็จแล้วให้กลับไปทำเหมือนเดิมก่อนแก้, เพิ่มนิดนี่หน่อยจนบานปลาย ฯลฯ แล้วเราจะมี วิธีรับมือกับลูกค้าประเภทที่รับมือได้ยาก แบบนี้อย่างไรได้บ้าง ไปดูกันเลย ...

เนื้อหาภายในบทความ

  1. รวบรวมข้อมูลทั้งหมด พ่วงไว้ในเชนอีเมล
    (Document everything in an email chain)
  2. อธิบายเพิ่มเติมจากคำแนะนำ พร้อมผลลัพธ์ที่คาดหวัง
    (Describe your recommendations with expected results)
  3. ใช้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนสิ่งที่พูดไป
    (Use data to back up your claims)
  4. นำลูกค้าไปยังจุดที่ สามารถทำให้ความคาดหวังชัดเจนขึ้นได้
    (Put clients on the spot to clarify expectations)
  5. ปฏิเสธอย่างสุภาพ
    (Make your objections politely)
  6. อธิบายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในแง่มุมของมูลค่า
    (Explain steps in terms of value propositions)
  7. ลองเจรจาราคาอีกครั้ง
    (Renegotiate your prices)
  8. ให้ลูกค้าเซ็นชื่อทุกครั้ง ที่มีการร้องขอการเปลี่ยนแปลงใดใด
    (Have clients sign off on change requests officially)

1. รวบรวมข้อมูลทั้งหมด พ่วงไว้ในเชนอีเมล
(Document everything in an email chain)

ลูกค้าที่หัวแข็ง มักจะมีวิธีของตัวเองในการกำจัดสิ่งที่ตัวเองกังวลเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอนออกไป แถมบางครั้งก็ปัดความรับผิดชอบ ซึ่งลูกค้าประเภทนี้ การโต้แย้งไม่ใช่ทางออกในการโน้มน้าวให้เปลี่ยนใจมาเลือกอะไรอีกอย่างในเวลาที่ลูกค้าต้องการอีกอย่างอย่างแน่นอน ในกรณีแบบนี้ การรวบรวมเอกสารข้อมูลทั้งหมดไว้ในอีเมลเดียวกันแล้วส่งสำเนาไปให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดคือทางออก

รวบรวมข้อมูลทั้งหมด พ่วงไว้ในเชนอีเมล (Document everything in an email chain)
เครดิตภาพ : https://www.businessinsider.com/im-trapped-in-the-reply-all-email-chain-from-hell-and-its-all-facebooks-fault-2013-7

เวลาที่ทุกอย่างกลับตาลปัตร คุณจะได้มีหลักฐานไว้ยืนยันความเป็นมืออาชีพของคุณด้วยว่า เคยเสนอแนะข้อคิดเห็นดี ๆ ไปแล้วแต่โดนปัดตก หรือในตอนที่มีการกระทำการอะไรผิดพลาดจากทางฝั่งของลูกค้าโดยที่ไม่ผ่านคุณ ทุกคนก็จะได้รับรู้ผ่านทางอีเมลไปพร้อม ๆ กันว่า คุณบริสุทธิ์ (และไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของตัวคุณเอง)

2. อธิบายเพิ่มเติมจากคำแนะนำ พร้อมผลลัพธ์ที่คาดหวัง
(Describe your recommendations with expected results)

การแชร์คำแนะนำ, กลยุทธ์, หรือสิ่งอื่นใดผ่านการนำเสนอรายละเอียดที่ขีดเส้นใต้ไว้ว่าคุณคาดหวังอะไรจากแต่ละขั้นของการทำงาน ให้จัดการแชร์เอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไปให้บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนการเริ่มทำงานโปรเจกต์ใดใดก็ตาม

อธิบายเพิ่มเติมจากคำแนะนำ พร้อมผลลัพธ์ที่คาดหวัง (Describe your recommendations with expected results)
เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/project-team-collaborating-business-analytics_5699139.htm#query=discussing&position=8&from_view=search

นอกเหนือจากการแสดงให้เห็นถึงระดับความเชี่ยวชาญในการทำงานและความใส่ใจในรายละเอียดแล้ว วิธีนี้ยังเป็นการทำให้ลูกค้าทำตามในรูปแบบเดียวกันไปโดยปริยายในเวลาที่จะนำเสนอไอเดียหรือข้อคิดเห็นอื่น ๆ เพิ่มเติม ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ, การมองหาข้อผิดพลาด, และการที่เราสามารถปฏิเสธไอเดียอื่น ๆ ที่ไร้ประโยชน์ไปได้ง่าย (เพราะมีหลักฐานเก่าอ้างอิงอยู่ในอีเมลที่ทำงานร่วมกันมา)

3. ใช้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนสิ่งที่พูดไป
(Use data to back up your claims)

ไม่มีอะไรดีไปกว่าการหักล้างทฤษฎีและสมมติฐานต่าง ๆ นานาด้วยข้อมูลที่มี ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่คุณได้ประสบพบเจอมา อาจจะถูกปฏิเสธได้ง่าย แต่ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความเป็นจริงของข้อมูลที่มีได้อย่างแน่นอน การใช้เครื่องมืออย่าง โปรแกรม Microsoft Excel หรือ Numbers บนเครื่อง Mac เพื่อสร้างกราฟหรือชาร์ตขึ้นมาประกอบ ก็จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

ใช้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนสิ่งที่พูดไป (Use data to back up your claims)
เครดิตภาพ : https://www.apple.com/th/numbers/

4. นำลูกค้าไปยังจุดที่ สามารถทำให้ความคาดหวังชัดเจนขึ้นได้
(Put clients on the spot to clarify expectations)

ถ้าหากลูกค้าดื้อดึงที่จะดำเนินโปรเจกต์ไปในทางอื่นนอกเหนือจากที่เจรจากันไว้ ให้คุณจัดแจงขออีเมลจากลูกค้า โดยให้พวกเขาเขียนข้อเสนอแนะต่าง ๆ พร้อมผลลัพธ์แบบคร่าว ๆ ที่คาดหวังมา ถามคำถามให้ตรงประเด็น แล้วทำการแตกประเด็นแยกรายละเอียดออกมา ถ้าหากลูกค้าไม่สามารถให้ข้อมูลตามที่คุณถามได้ล่ะก็ ให้ลูกค้าหาคำตอบมาให้ได้ก่อนที่จะดำเนินการต่อ เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องวุ่นวายหาทางแก้ไขปัญหาสำรองแบบครอบจักรวาลด้วยตัวเอง

นำลูกค้าไปยังจุดที่ สามารถทำให้ความคาดหวังชัดเจนขึ้นได้ (Put clients on the spot to clarify expectations)
เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/analyzing-statistical-data-with-colleagues_5577464.htm#query=discussing&position=12&from_view=search

นอกจากนี้ วิธีดังกล่าวยังช่วยลดการนำเสนอข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เกินความจำเป็น เพราะแผนงานที่ลงรายละเอียดไปแล้ว จำเป็นต้องใช้การทำงานในด้านอื่น ๆ มาเสริมเพิ่มเติมอยู่แล้ว ซึ่งการทำงานแบบนี้ จะไม่ใช่ลักษณะการทำงานของลูกค้าประเภทนี้ (ที่มักเน้นผลลัพธ์ ไม่เน้นรายละเอียดกลางทาง) และช่วยป้องกันไม่ให้ลูกค้ามาขอแก้ไขงานที่ไม่จำเป็นในภายหลัง หลังจากที่เราส่งงานไปแล้วด้วย

5. ปฏิเสธอย่างสุภาพ
(Make your objections politely)

เมื่อลูกค้าผู้รับมือได้ยากของคุณปฏิเสธคำแนะนำต่าง ๆ และเริ่มเสนอแนวทางการทำงานอื่น ๆ ที่ไม่สามารถทำได้ ให้ปฏิเสธอย่างสุภาพ ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถพูดต่อเพื่อชี้เพื่อให้ลูกค้าเห็นถึงข้อผิดพลาดได้ ทว่า นั่นกลับจะเป็นการสร้างปัญหาให้มากขึ้นกว่าเดิม การยอมลดราวาศอกไปเงียบ ๆ คือทางออกที่ดีที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการมีดราม่าและปัญหาอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง

ปฏิเสธอย่างสุภาพ (Make your objections politely)
เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/two-human-outlines-against-shuttered-office-window-sitting-opposite-each-other-negotiating_5699234.htm#query=discussing&position=41&from_view=search

ถ้าคุณมีทักษะที่สามารถโน้มน้าวผู้อื่นอย่างโอบอ้อมอารีได้ ลูกค้าประเภทนี้ก็จะยอมเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของคุณมากขึ้น จำไว้ว่า ถ้าคุณต้องรับมือกับลูกค้าที่เอาความมั่นใจมาจากไหนก็ไม่รู้แบบผิด ๆ การที่คุณไปจี้จุดหรือชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดเหล่านั้น จะยิ่งเป็นการปะทุอารมณ์ให้หนักขึ้นกว่าเดิม และอาจทำให้ "งานงอก" เอาได้ง่าย ๆ

6. อธิบายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในแง่มุมของมูลค่า
(Explain steps in terms of value propositions)

หากการอธิบายของคุณ กลายเป็นการพูดเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา แถมลูกค้าก็แกล้งทำเมินเรื่องข้อมูลอ้างอิงของคุณ ลองใช้การพูดที่เน้นไปในแง่ของการตลาดดู อธิบายแต่ละขั้นตอนให้เห็นแผนงานว่าจะมีมูลค่าอย่างไรบ้าง พร้อมแจกแจงว่า ในแต่ละขั้นตอนจะได้รับอะไรจากการทำงานดังกล่าว และทำไมถึงจำเป็นที่จะต้องไปให้ถึงเป้าหมายนี้เพื่อให้คืบหน้าไปยังขั้นตอนต่อไปของโปรเจกต์

อธิบายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ในแง่มุมของมูลค่า (Explain steps in terms of value propositions)
เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/happy-young-asia-businessmen-businesswomen-meeting-brainstorming-ideas-about-new-paperwork-project-colleagues-working-together_15113176.htm#query=discussing&position=45&from_view=search

การใช้สำนวนการขายกับการอธิบายขั้นตอนในการทำงานอาจเป็นการเพิ่มภาระงานโดยไม่จำเป็น ถ้าเป็นการคุยกันภายใน ใช้เพียงศัพท์ที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย จะทำให้ลูกค้าเข้าใจกลยุทธ์โดยรวมได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการพูดคุยของคุณด้วยนะ

7. ลองเจรจาราคาอีกครั้ง (Renegotiate your prices)

ลูกค้าบางรายจะติดนิสัยชอบเปลี่ยนรายละเอียดยิบย่อยหลังจากที่คุยตกลงไอเดียการทำงานอะไรกันเสร็จสรรพเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจทำให้โปรเจกต์ที่วางไว้ผิดแผน แถมยังอาจทำให้ "งานงอก" เพิ่มมาฟรี ๆ อีกต่างหาก

ลองเจรจาราคาอีกครั้ง (Renegotiate your prices)
เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/cropped-view-professional-serious-finance-manager-holding-calculator-hands-checking-company-month-s-profits_8225521.htm#query=calculate&from_query=recalculate&position=4&from_view=search

ถ้าในกรณีแบบนี้ อย่าลังเลที่จะเอ่ยปากเตือนว่า การขอแก้ไขเพิ่มเติมที่ทำให้ต้องทำงานเพิ่ม จะมีการเรียกเก็บเงินเพิ่มเติมจากที่เจรจากันไว้ ก่อนที่จะตกปากรับคำว่าจะแก้ให้ การเจรจาราคาใหม่อีกรอบ จะช่วยให้ลูกค้าลดคำเรียกร้องยิบย่อยเกินความจำเป็นลงไปได้มาก

8. ให้ลูกค้าเซ็นชื่อทุกครั้ง ที่มีการร้องขอการเปลี่ยนแปลงใดใด
(Have clients sign off on change requests officially)

และข้อสุดท้าย หากลูกค้าปฏิเสธที่จะทำตามข้อตกลงที่ได้ทำกันเอาไว้แล้ว อย่าปล่อยให้ความคิดเห็นของลูกค้ามาเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้เริ่มไปแล้วตามชอบ เพราะลูกค้าที่คิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กล่าง มักโทษคนที่รับงานไปทำต่อเสมอทั้ง ๆ ที่ผลลัพธ์นั้นมาจากข้อเสนอของตัวเองที่มาเปลี่ยนแปลงทีหลัง ดังนั้น ถ้าลูกค้าเสนออะไรมา ให้จับลูกค้าเซ็นชื่อรับรองความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ลงบนเอกสารอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

ให้ลูกค้าเซ็นชื่อทุกครั้ง ที่มีการร้องขอการเปลี่ยนแปลงใดใด (Have clients sign off on change requests officially)
เครดิตภาพ : https://www.freepik.com/free-photo/happy-young-asian-couple-realtor-agent_3521653.htm#query=signing&position=5&from_view=search

การตกลงทำให้อะไรปากเปล่าเป็นสิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงด้วยประการทั้งปวง อย่าลืมจดโน้ตแนบไว้กับโปรเจกต์หากมีสัญญาอะไรอย่างอื่นเพิ่มเติมที่ต้องทำให้แล้วเสร็จควบคู่กันไป เพราะคุณสามารถเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นประโยชน์ในการพิจารณาเพิ่มเติมได้ในภายหลังถ้าหากโปรเจกต์มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น การใช้โปรแกรมหรือตัวช่วยเป็นแอปพลิเคชันต่าง ๆ ในการจัดการเกี่ยวกับโปรเจกต์และไทม์ไลน์ต่าง ๆ ก็จะช่วยให้การทำงานเป็นระบบระเบียบมากขึ้นด้วย


ที่มา : www.makeuseof.com

0 8+%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
เกมเมอร์หญิงทาสแมว ถ้าอยู่กับแมวแล้วจะน้วยแมวทั้งวัน
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น