ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

Copyleft คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรกับ Copyright

Copyleft คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรกับ Copyright

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 16,933
เขียนโดย :
0 Copyleft+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+Copyright
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

มารู้จักกับ Copyleft กัน

สำหรับคนที่ทำงานที่ต้องมีการ "สร้างสรรค์" สิ่งต่างๆ ขึ้นมา เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้สร้าง จึงมีการสร้างสิ่งที่เรียกว่า "ลิขสิทธิ์" (Copyright) ขึ้นมา โดยลิขสิทธิ์เป็นกฏหมายที่จะคุ้มครองผู้คิดค้นให้ได้รับสิทธิในการใช้งาน และการจำหน่าย

Copyleft คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรกับ Copyright

ลิขสิทธิ์ (Copyright) มีการคุ้มครองแบบจำกัดระยะเวลา แตกต่างกันไปตามแต่กฏหมายของแต่ละประเทศ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ลิขสิทธิ์จะหมดอายุภายในระยะเวลา 50 ถึง 100 ปี โดยนับจากหลังผู้คิดเสียชีวิต

แล้ว Copyleft ล่ะ?

คำว่า Copyleft แค่เห็นก็น่าจะเดาได้ไม่ยากว่าเป็นคำที่จงใจล้อเลียนกับคำว่า Copyright (Left แปลว่าซ้าย / Right แปลว่าขวา) แม้แต่สัญลักษณ์ยังคล้ายกัน แค่กลับด้านของตัวอักษร "C" เท่านั้นเอง

ทั้งนี้คำว่า Copyleft ยังไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยนะครับ

Copyleft คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรกับ Copyright

Copyleft เป็นการคุ้มครองชิ้นงานรูปแบบหนึ่ง งานที่คุ้มครองสิทธิแบบ Copyleft สามารถนำไปใช้แก้ไขดัดแปลงได้อย่างอิสระ หรือแม้แต่จะเอาไปทำขายต่อหารายได้ก็สามารถที่จะทำได้ แต่ว่า งานชิ้นใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นจะต้องคงรูปแบบเสรีภาพในการใช้งานไว้เหมือนกับงานต้นแบบ

ไอเดียหลักของ Copyleft คือ เพื่อป้องกันไม่ให้งานที่ถูกแจกจ่าย ถูกจำกัดสิทธิ์การใช้งานแบบอิสระในอนาคต

Copyleft แตกต่างจาก Public domain อย่างไร?

ทั้งสองอย่างนี้มีสิ่งที่เหมือนกัน คือ การอนุญาตให้นำงานที่สร้างขึ้นไปแก้ไข หรือดัดแปลงได้อย่างอิสระ แต่ว่า Copyleft จะให้เจ้าของสามารถสร้างเงื่อนไขทางด้านลิขสิทธิ์บางประการได้ โดยถ้าผู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมในงานอันมีลิขสิทธิ์นั้นไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขแล้ว จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

โดยส่วนใหญ่แล้ว งานแบบ Copyleft จะใช้ในงานที่แจกจ่ายให้ฟรี และต้องการให้มันฟรีตลอดไป เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ ในพวกโปรแกรมแบบ Open-source

เงื่อนไขเพื่อที่จะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้การคุ้มครองแบบ Copyleft นี้ ก็คือ การที่ผู้ที่ใช้สอยผลงานจะต้องรักษาสิทธิภายใต้ Copyleft นี้ไว้ดังเดิมอย่างถาวร 

ที่มา Copyleft?

ที่มาของคำว่า Copyleft ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว คำนี้่ปรากฏครั้งแรกใน Palo Alto Tiny BASIC (ภาษาคอมพิวเตอร์) ที่พัฒนาขึ้นโดย Li-Chen Wang แต่เหมือนว่านั่นจะเป็นอารมณ์ขันของเขาเท่านั้น ไม่ได้ถูกสร้างเป็นสัญญาอย่างเป็นทางการ

Copyleft คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างอย่างไรกับ Copyright

ส่วนแนวคิดของ Copyleft ที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นระเบียบคุ้มครองชิ้นงานนั้น ริเริ่มโดยชายที่ชื่อว่า Richard Stallman เขาเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ได้พัฒนาระบบ Lisp Interpreter ขึ้นมา (ระบบแปลคำสั่งของภาษา Lisp) ซึ่งต่อมาบริษัท Symbolics ได้ติดต่อขอนำ Lisp Interpreter ที่เขาพัฒนาขึ้นมาไปพัฒนาต่อ ซึ่งตัว Richard Stallman ก็ได้ให้สิทธิ์การใช้เป็นแบบสมบัติสาธารณะ (Public domain) คือ ใช้งานได้เลยเต็มที่ ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้งานใดๆ 

ในเวลาถัดมา บริษัท Symbolics ก็เอา Lisp Interpreter ไปพัฒนาต่อให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น หลังจากนั้น Richard ต้องการนำเอา Lisp Interpreter ที่ Symbolics ได้ปรับปรุงแล้วมาพัฒนาต่อ กลับถูกปฏิเสธ ทำให้ Richard รู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง

เขามองว่าพฤติกรรมการครอบครองกรรมสิทธิ์ซอฟต์แวร์แบบนี้ เป็นวัฒนธรรมกักตุนซอฟต์แวร์ที่ไม่ถูกต้อง เขาจึงได้ตัดสินใจสร้างสัญญาอนุญาตในรูปแบบของเขาเองขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า "Emacs General Public License" ซึ่งก็มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น GNU General Public License (GNU GPL หรือ GPL) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันบนโปรแกรมที่พัฒนาแบบ Open-source

Richard Stallman ได้แถลงการณ์เงื่อนไขของ GNU เอาไว้ในปี 1985 ว่า

GNU ไม่ใช่สมบัติสาธารณะ (Public domain) ทุกคนได้รับสิทธิ์ที่จะแก้ไข และแจกจ่าย แต่จะไม่มีใครได้รับอนุญาตให้จำกัดการแจกจ่ายได้ การแก้ไขที่เกิดขึ้นในอนาคตจะต้องให้สิทธิ์ใช้งานแบบ GNU ตลอดไป


ที่มา : en.wikipedia.org , en.wikipedia.org , en.wikipedia.org , th.wikipedia.org


0 Copyleft+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+Copyright
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น