หลายคนอาจไม่เคยทราบว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตของเราในทุก ๆ เวลา ถูกจัดเก็บเป็นไฟล์ข้อมูล (Log File) ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือ การเก็บ Log แล้วการเก็บข้อมูลในส่วนนี้ จัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด นอกจากผู้ใช้บริการแล้ว ยังมีส่วนใดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบ้าง มาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการเก็บ Log กัน
การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log File) คือ การรวบรวมและบันทึกข้อมูลทุกการเชื่อมต่อของทุก ๆ อุปกรณ์ของผู้รับบริการอินเทอร์เน็ต เป็น Log File เช่น ชนิดของบริการที่ใช้งาน, วันและเวลาที่ใช้งาน, เว็บไซต์ปลายทาง, การรับส่งอีเมล รวมถึงที่อยู่อีเมล (E-mail Address) ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเพื่อติดต่อ สื่อสารใด ๆ การเก็บ Log File ข้อมูลคือสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเมื่อเกิดคดีความหรือการกระทำผิด
ยกตัวอย่างง่าย ๆ การใช้งานเบราว์เซอร์เพื่อเปิดดูเว็บไซต์ ตัวโปรแกรมก็จะทำการบันทึกประวัติ (History) ว่าเข้าใช้งานเว็บไซต์ใด เมื่อวันที่เท่าไหร่ เวลาใด การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ก็มีหลักการคล้ายกัน แต่เป็นการข้อมูลที่เกิดขึ้นในกระบวนการนั้น ๆ อย่างละเอียด เช่น การส่งอีเมล 1 ฉบับ จะมีการเก็บข้อมูลที่อยู่อีเมล ข้อมูลที่แสดงสถานะการส่งอีเมลฉบับนั้น หมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) ของเครื่อที่ใช้ส่งอีเมล ฯลฯ โดยประโยชน์ของการเก็บ Log ก็คือ ใช้สำหรับตรวจสอบข้อมูลการใช้งาน หากเกิดปัญหาใด ๆ รายละเอียดใน Log จะช่วยเข้าถึงปัญหาได้ง่ายขึ้น
การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จะทำการผ่านผู้ให้บริการ ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดียเท่านั้น แต่รวมถึงกิจการห้างร้านต่าง ๆ ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ลูกค้าหรือผู้รับบริการ ไม่ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นส่วนประกอบหลัก สินค้าหลักขององค์กรนั้น ๆ หรือไม่ก็ตาม
โดยในเรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้นิยามความหมายขอคำว่า "ผู้ให้บริการ" ไว้ดังนี้
(1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น
โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนาม
หรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
ประเภทของผู้ให้บริการ | ตัวอย่างผู้ให้บริการ โปรแกรม เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน |
ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม และการกระจายภาพและเสียง (Telecommunication and Broadcast Carrier) |
|
ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Access Service Provider) |
|
ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ (Host Service Provider) |
|
ผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต |
|
ผู้ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ แอปพลิเคชันที่ทำให้บุคคลสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ (Online Application Store) |
|
ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงผู้ให้บริการในฐานะสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะมีระบบบอกรับสมาชิกหรือไม่ก็ตาม |
|
ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน แอพพลิเคชันต่าง ๆ (Content and Application Service Provider) |
|
ผู้ให้บริการเก็บพักข้อมูลในรูปแบบ ชั่วคราวหรือถาวรโดยมีระบบที่บริหาร จัดการข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต คลาวด์ (Cloud Computing Service Provider) ซึ่งได้ให้ บริการโดยตรงกับ ผู้ใช้บริการหรือผู้ใช้งาน (End User) |
|
ผู้ให้บริการดิจิทัล (Digital Service Provider) ที่ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการ |
|
จริง ๆ แล้ว ประเภทของข้อมูลที่ต้องทำการเก็บ Log มีจำนวนมาก แต่ข้อมูลที่หลายคนคุ้นเคยหรือใช้งานเป็นประจำ มีดังนี้
การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๖๔ ถือว่าเป็นดาบสองคม แม้จะเป็นหลักฐานชั้นดีในการสืบประวัติว่าผู้ใช้งานแต่ละคนมีพฤติกรรมบนโลกออนไลน์อย่างไรบ้าง เนื่องจากข้อมูลของผู้รับบริการทุกคนอยู่ในมือของผู้ใช้บริการ จึงทำให้ตรวจสอบปัญหา สืบค้นความจริงได้ง่าย แต่ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับติดตามพฤติกรรมและความเป็นส่วนตัวผ่านการใช้งานของผู้รับบริการได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในประกาศหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้ระบุชนิดของข้อมูลที่ต้องทำการเก็บ Log จำนวนมาก และนอกเหนือจากการเก็บ Log เป็นข้อมูลดิจิทัลแล้ว ยังมีมาตรการให้ผู้ให้บริการ ผู้ประกอบการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิดและบันทึกรายละเอียดการเข้าใช้งานของลูกค้า เพื่อการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนที่ชัดเจน
นอกจากนี้ นิยามของคำว่า "ผู้ให้บริการ" ในประกาศฉบับนี้ ไม่ได้จำกัดแค่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ คอมมูนิตี้ต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงตัวกลางที่เป็นทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เช่น การเก็บ Log ในโรงแรมที่มีบริการ Wi-Fi ทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโรงแรม ก็ต้องเก็บข้อมูลการใช้งานทั้งของลูกค้าที่มาเข้าพักและของพนักงานในโรงแรมนั้น ๆ เช่นกัน
ส่วนผู้รับบริการอย่างประชาชนที่ใช้อินเทอร์เน็ต ก็ได้รับผลกระทบจากการเก็บข้อมูลดังกล่าว เพราะผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียใด ๆ ก็ต้องจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าเช่นกัน และเมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวออกมาว่า แอปพลิเคชัน Clubhouse และ Telegram จะต้องเก็บข้อมูลของผู้รับบริการเช่นเดียวกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ
ซึ่งในไทยนั้น แอปพลิเคชัน Clubhouse และ Telegram ถูกใช้ในการสื่อสารเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมือง จึงทำให้เกิดกระแสว่านี่เป็นการจับตาประชาชนทุกฝีก้าวโดยองค์กรจากรัฐบาลหรือไม่ ? อีกทั้งยังมีการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งานแบบระบุตัวตน ทำให้ประชาชนบางส่วนมองว่านี่คือมาตรการที่ไม่ปลอดภัย ทั้งในกระบวนการจัดเก็บข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้ และนำไปสู่การจำกัดสิทธิในการแสดงความเห็นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ หรือไม่ ?
หลังจากที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) เรื่อง หลักเกณฑ์ การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๖๔ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 และมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นหลักการใหม่ที่เข้ามาแทนที่ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์ การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. ๒๕๕๐
ในประกาศฉบับนี้ ได้ระบุวิธีการการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
เห็นได้ว่า มีบุคลากรที่เข้าถึงข้อมูลส่วนนี้ได้จำนวนหนึ่ง และไม่สามารถแก้ไขข้อมูลดิบได้ ส่วนระยะเวลาของชุดข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ มีระยะเวลาดังนี้
การจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log File) เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อทราบถึงเบื้องลึก เบื้องหลังของการกระทำต่าง ๆ บนโลกอินเทอร์เน็ต มีทั้งประโยชน์สำหรับการสืบค้นข้อมูล ติดตามเหตุการณ์ต่าง ๆ มีเกณฑ์มาตรการรักษาความปลอดภัยคุ้มครองข้อมูล แต่กระบวนการดังกล่าวยังมีอีกหลายจุดที่น่ากังขา ทั้งความละเอียดของข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัย แม้ผู้ให้บริการจะต้องจัดเก็บข้อมูลส่วนนี้อย่างละเอียด และผู้รับบริการอย่างประชาชนอาจรู้สึกว่าถูกเข้าถึงความเป็นส่วนตัว แต่นั่นก็เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานโลกออนไลน์ของทุก ๆ คน
|
Web Content Editor ท่านหนึ่ง นิยมการเล่นมือถือเป็นชีวิตจิตใจ |