ทุกคนเคยสังเกต หรือไม่ ? เวลาที่เราเล่นเกมบนคอนโซลแล้วจอยสติ๊กของเราสั่น รู้สึกถึงแรงสะเทือน, อาจนุ่มนวล หรือกระแทกเบา ๆ ราวกับสัมผัสสิ่งของในเกม หรือข้อความเข้าแล้วโทรศัพท์ของเราสั่นได้ ซึ่งแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์เหล่านี้ ก็คือ "Haptic Technology" หรือภาษาไทยก็คือ "เทคโนโลยีสัมผัส" นั่นเอง
ภาพจาก : https://www.orientsoftware.com/blog/haptic-technology/
Haptic Technology เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรู้สึกถึงแรงกระทำบางอย่างผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งการรับรู้เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นผลจากการทำงานร่วมกันของ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และ ซอฟต์แวร์ (Software) ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ
ดังนั้น ในบทความนี้จะพาทุกคนไปดูความหมาย, หลักการทำงาน, ประเภทของ Haptic ตัวอย่างการใช้งาน และข้อดี-ข้อสังเกต ของ Haptic Technology เพื่อทำความเข้าใจถึงศักยภาพของเทคโนโลยีนี้อย่างชัดเจน ...
Haptic Technology หรือถ้าแปลตรงตัวเลยก็คือ เทคโนโลยีที่ให้การรับรู้ทางสัมผัส ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อจำลองความรู้สึกทางกายภาพ เช่น การสั่น, แรงกด, แรงดึง หรือแรงต้าน ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถ "รู้สึก" ได้ถึงแรงกระทำต่าง ๆ ขณะใช้งานอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอสัมผัสของโทรศัพท์, เกมวีอาร์ (VR Games) ,วิดีโอเกม หรือที่น่าสนใจอย่างการผ่าตัดทางไกล
ภาพจาก : https://thenextweb.com/news/this-haptic-device-uses-strings-to-let-you-feel-objects-in-vr
พื้นฐานของเทคโนโลยีนี้คือ การเลียนแบบกระบวนการรับรู้สัมผัสของมนุษย์ ซึ่งอาศัยระบบประสาทสัมผัส (Somatosensory System) บริเวณผิวหนังในการรับข้อมูล และจึงส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทไปยังสมองเพื่อแปลผล และตอบสนอง ดังนั้น Haptic Technology ทำหน้าที่เป็น "ตัวกลาง" ระหว่างมนุษย์ กับเครื่องจักร ที่กระตุ้นระบบรับรู้เหล่านี้ด้วยวิธีทางกล (Mechanical Stimulation)
โดยทั่วไปนั้นฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในระบบ Haptic มีหลายรูปแบบ เช่น มอเตอร์แบบหมุน (Eccentric Rotating Mass: ERM), มอเตอร์แบบสั่นในแนวตรง (Linear Resonant Actuator: LRA) หรือระบบที่ใช้คลื่นเสียง และลมในการกระตุ้นสัมผัสอีกด้วย และในส่วนซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่ควบคุมความแรง, ความถี่ และจังหวะของแรงสัมผัสให้สอดคล้องกันกับผู้ใช้ และระบบ หรือเกม
ภาพจาก : https://www.ricmotor.com/details/small-vibration-motor
ตัวอย่างการใช้งานที่เราพบได้ทั่วไปได้แก่ ระบบการสั่นเมื่อแตะหน้าจอโทรศัพท์ และปุ่มกดในเกม ที่ตอบสนองด้วยแรงสั่นเมื่อเรากด หรืออุปกรณ์ VR ที่ส่งแรงสะท้อนกลับเมื่อเราจับ หรือชนวัตถุในโลกเสมือน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลจากการออกแบบที่อาศัยหลักการของ Haptic เพื่อให้การโต้ตอบดู “สมจริง” มากที่สุด
ในส่วนประเภทของเทคโนโลยี Haptic ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน, ลักษณะการตอบสนอง (Feedback) และวิธีการกระตุ้นความรู้สึก (Modality) ซึ่งแต่ละประเภทมีจุดเด่น และบทบาทที่แตกต่างกัน ดังนี้
ในส่วนนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานต้องถือ หรือจับเอง เช่น จอยสติ๊ก หรือแขนกล ซึ่งให้แรงต้าน และอาจจะเป็นการสั่นสะเทือนกลับมา เพื่อที่จะจำลองความรู้สึกของการจับ, ยก หรือขยับวัตถุ ตัวอย่างการใช้งานที่น่าสนใจคือ ควบคุมหุ่นยนต์ระยะไกลในภารกิจที่มีความเสี่ยงต่อชีวิต เช่น เก็บกู้ระเบิด หรือซ่อมอุปกรณ์ในอวกาศ
ภาพจาก : https://th.aliexpress.com/item/1005004642095872.html?gatewayAdapt=glo2tha
ใช้ในอุปกรณ์ที่ตอบสนองต่อการสัมผัสโดยตรง ที่เห็นได้ชัดคือหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเกิดการสั่นเมื่อถูกแตะหากเราตั้งค่าไว้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้กำลังพัฒนาไปสู่การเลียนแบบพื้นผิว และเนื้อวัสดุ (Haptography) ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์สามารถ สัมผัสผ้าเสมือนจริงก่อนตัดสินใจซื้อได้ ซึ่งเป็นประโยชน์มาก
ภาพจาก : https://www.androidpolice.com/2020/11/15/what-are-haptics-and-why-are-they-such-an-important-part-of-your-smartphone-sponsored/
อุปกรณ์ชนิดนี้จะจำลองแรงสัมผัสผ่านแรงกด, แรงสั่น หรือแม้แต่ความร้อน โดยติดกับร่างกาย เช่น ถุงมือ VR หรือเสื้อแจ็คเก็ตที่สั่นได้
ภาพจาก : https://www.knoxlabs.com/products/quantum-gloves-by-manus
ให้ความรู้สึกของแรงกด หรือแรงต้านแบบลึกถึงกล้ามเนื้อ มักใช้ในอุปกรณ์ที่เลียนแบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย ตัวอย่างเช่น ชุดโครงกระดูกกล (Exoskeleton) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ฝึกทักษะ หรือเอาไปควบคุมหุ่นยนต์แบบละเอียด
ภาพจาก : https://haptic.al/axonvr-envisions-a-world-of-virtual-experiences-identical-to-real-life-5f3598a146d6?gi=188503801171
เป็นรูปแบบที่พบบ่อยที่สุด และเป็นแบบที่ง่ายที่สุด ใช้มอเตอร์ขนาดเล็กสร้างแรงสั่น เช่น ในสมาร์ทโฟน, คอนโทรลเลอร์เกม หรือในสมาร์ตวอทช์ ข้อดีคือ ประหยัดต้นทุน และควบคุมง่าย
ภาพจาก : https://www.idoc.eu/guides/en/apple/iphone-6/replacing-the-vibration-motor/150
ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นตัวรับสัมผัสบนผิวหนังโดยตรง เพื่อสร้างความรู้สึกที่ซับซ้อน และหลากหลาย โดยไม่ต้องใช้ชิ้นส่วนกลไกใด ๆ เหมาะกับการจำลองสัมผัสที่ละเอียดอ่อน แต่ยังควบคุมได้ยาก
ภาพจาก : https://www.intechopen.com/chapters/8626
ใช้คลื่นเสียงอัลตราโซนิกสร้างแรงสัมผัสในอากาศ โดยไม่ต้องสัมผัสตัวอุปกรณ์โดยตรง ทำให้ผู้ใช้รับรู้แรงสะท้อนที่ไม่ต้องแตะต้อง หรือสวมใส่อุปกรณ์ใด ๆ
ภาพจาก : https://euanfreeman.co.uk/ultrasound-haptics/
ใช้แผ่นเปลี่ยนอุณหภูมิที่แนบกับร่างกาย เช่น เพลเทียร์ (Peltier) เพื่อจำลองความร้อน หรือความเย็น มีข้อดีคือ ไม่ต้องการการสั่น หรือการเคลื่อนไหวใด ๆ แต่อาจใช้พลังงานสูง และควบคุมยาก
ภาพจาก : https://www.sameskydevices.com/blog/how-to-design-a-peltier-module-system
ใช้คลื่นแรงสั่นเพื่อสื่อสารข้อมูลคล้ายกับการจำแนกตามการตอบสนอง แต่อุปกรณ์ที่มีการสั่นไม่ได้หมายความว่าจะเป็น Haptic ทั้งหมด แต่จะต้องมีการออกแบบรูปแบบแรงสั่นเพื่อใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลให้ตรงตามเจตนา
ใช้อุปกรณ์ติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น ถุงมือ หรือแขนกล เพื่อจำลองการเคลื่อนไหวของวัตถุ
ใช้เสียง และแรงสั่น เพื่อเลียนแบบความรู้สึกของปุ่มกดเชิงกลจริง ๆ เช่น ปุ่มสวิตช์ไฟในแอปสมาร์ทโฮมที่สร้างเสียงเสมือนว่าผู้ใช้เปิดสวิตช์ไฟจริง ๆ
ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=KZeneTkR1Qw
Haptic Technology ช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกถึงแรงกระทำต่าง ๆ ซึ่งทำให้ประสบการณ์สมจริง โดยเฉพาะในระบบ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR), เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) หรือเกมที่เน้นให้ผู้เล่นมีส่วนร่วม
การมีแรงตอบสนองช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์ได้แม่นยำขึ้น ลดความผิดพลาด และเพิ่มความมั่นใจในการใช้งาน เช่น การควบคุมหุ่นยนต์จากระยะไกล ที่มีการสั่นเตือนเมื่อสัมผัสกับวัตถุ
สำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดด้านการมองเห็น หรือได้ยิน เทคโนโลยี Haptic ก็สามารถใช้เป็นช่องทางเสริมในการรับรู้ข้อมูลได้เช่นกัน ผ่านแรงสั่นสะเทือน แทนภาพ และเสียง
การออกแบบ และพัฒนาอุปกรณ์ Haptic ที่มีความแม่นยำสูงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน, วัสดุที่พิเศษ และงานวิศวกรรมเฉพาะทาง ทำให้ต้นทุนการผลิต และพัฒนาอยู่ในระดับที่สูง
บางระบบต้องใช้อุปกรณ์สวมใส่ที่อาจมีขนาดใหญ่ หนัก ไม่สะดวกในการใช้งานต่อเนื่อง
แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้า แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการจำลองสัมผัสที่ซับซ้อนอยู่ ยิ่งพื้นผิวที่ละเอียดมากต้องการความแม่นยำสูง ทำให้บางการใช้งานยังไม่สามารถเลียนแบบสัมผัสจริงได้ 100%
อุปกรณ์ Haptic บางประเภทอาจไม่สามารถทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันทั่วไปได้ ต้องมีการปรับแต่งระบบพัฒนาแยกเฉพาะ ซึ่งไม่สะดวกในการใช้งาน
ในวงการแพทย์ Haptic Technology มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในยุคที่การรักษาทางไกล (Telemedicine) และการผ่าตัดผ่านระบบเสมือน (Remote Surgery) กำลังเติบโต เทคโนโลยี Haptic เข้ามาช่วยเติมเต็ม "การรับรู้ทางกายภาพ" ที่ขาดหายไปในการรักษาระยะไกล ผ่านการจำลองแรงกด และแรงสัมผัส ที่แพทย์สามารถรับรู้ได้แม้ไม่ได้อยู่ใกล้ผู้ป่วยโดยตรง
ตัวอย่างการใช้งานที่พัฒนาไปแล้ว เช่น
ใช้ในการฝึกผ่าตัดผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง แพทย์สามารถรับแรงต้านจากเนื้อเยื่อเสมือนในระหว่างฝึกหัตถการได้
ภาพจาก : https://www.senseglove.com/three-research-examples-with-vr-haptic-gloves/
ใช้ในการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery) ซึ่งโดยปกติแพทย์จะไม่รู้สึกถึงแรงสัมผัสโดยตรง ทำการติดตั้งเซนเซอร์ และ Haptic Actuator ที่ช่วยส่งแรงตอบกลับเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด
ภาพจาก : https://www.odtmag.com/breaking-news/study-demonstrates-the-power-of-haptic-feedback-to-improve-surgical-education-patient-outcomes/
ในอุตสาหกรรมเกม Haptic Technology เป็นหนึ่งในกลไกที่สร้างประสบการณ์การเล่นให้สมจริงมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มต้นจากอุปกรณ์เสริมพื้นฐานอย่างจอยที่สั่นได้ในยุค 90 ไปจนถึงเทคโนโลยีล่าสุดในจอยคอนโทรลเลอร์ยุคใหม่ ๆ
ตัวอย่างที่ชัดเจน ได้แก่
ใช้ระบบ Haptic Feedback ขั้นสูงที่สามารถจำลองแรงสั่นในระดับต่าง ๆ เช่น การกดปุ่มที่มีแรงต้านเฉพาะ หรือความรู้สึกของ “ฝนตก” ผ่านแรงสั่นละเอียด ๆ ที่ปลายนิ้วผู้เล่น
ภาพจาก : https://www.asurion.com/connect/tech-tips/how-to-connect-ps5-controller-to-pc/
ทำให้ผู้เล่นรู้สึกถึงแรงต้านเมื่อยิงปืน หรือดึงคันธนูในเกม ทำให้การควบคุมมีมิติทางกายภาพที่สมจริงมากขึ้น
ภาพจาก : https://www.nme.com/news/gaming-news/ps5-controller-teardown-shows-its-adaptive-triggers-in-action-2808722
แม้ว่าเทคโนโลยี Haptic จะมีจุดเริ่มต้นมานานกว่าหลายทศวรรษแล้ว แต่พัฒนาการในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้ทำให้เทคโนโลยีนี้ก้าวกระโดดอย่างชัดเจน จากเดิมที่ใช้เพียงเพื่อเพิ่มความรู้สึกในเกม หรืออุปกรณ์พกพา ปัจจุบัน Haptic กลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของเทคโนโลยียุคใหม่
แนวโน้มในอนาคตชี้ให้เห็นว่า Haptic จะมีบทบาทที่กว้างขึ้น จากที่ได้เห็นกันไปว่า Haptic Technology ถูกนำมาใช้ไม่ว่าจะเป็นในเชิงการแพทย์ และการนำไปควบคุมหุ่นยนต์ ซึ่งทำให้เห็นประโยชน์ของ Haptic ที่มากกว่าการเล่นเกมไปอีก
การวิจัยในปัจจุบันมุ่งไปที่การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีความแม่นยำมากขึ้น, ขนาดเล็กลง และสามารถถ่ายทอดความรู้สึกที่ซับซ้อนกว่าเดิมได้ อย่างเช่น ให้ความรู้สึกถึง พื้นผิววัสดุ, ความร้อน หรือแรงดันอย่างละเอียดมากขึ้น ทำให้ Haptic กำลังจะกลายเป็นช่องทางหลักในการสร้างความรู้สึกเชิงดิจิทัล ที่สมจริงมากยิ่งขึ้น
|