ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

Motion Sickness คืออะไร ? ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหวนี้ จะแก้ไข หรือบรรเทาอาการได้อย่างไร ?

Motion Sickness คืออะไร ? ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหวนี้ จะแก้ไข หรือบรรเทาอาการได้อย่างไร ?
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-vector/sick-person-suffering-from-vertigo-feeling-confused-dizzy-head-ache-landing-page-flat-style_17294084.htm
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 17,038
เขียนโดย :
0 Motion+Sickness+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89+%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

Motion Sickness ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว คืออะไร ?
จะแก้, ป้องกัน, หรือบรรเทาอาการได้อย่างไร ?
(What is Motion Sickness ? How to avoid, prevent, or diagnose ?)

Motion Sickness ถือเป็นอาการป่วย หรือเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัดอายุ เพศ หรือวัย ซึ่งในปัจจุบันเรามักจะได้ยินว่ามีผู้คนป่วยเป็นอาการในลักษณะดังกล่าวกันมากขึ้น แม้กระทั่งในบรรดาคนที่ไม่ได้เดินทาง อย่างเช่นบรรดาเกมเมอร์ ที่แค่เล่นเกม ก็มีโอกาสที่จะเกิดภาวะนี้ขึ้นได้เช่นกัน แล้วมันเกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง ? จะสามารถกินยา, รักษา, หรือบรรเทาอาการที่ว่านี้ได้อย่างไร ? ไปอ่านต่อกันได้เลย

บทความเกี่ยวกับ Motion อื่นๆ

 

เนื้อหาภายในบทความ

 

Motion Sickness คืออะไร ? (What is Motion Sickness ?)

Motion Sickness หรือชื่อภาษาไทยว่า ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว สามารถเกิดได้จากรถยนต์, รถโดยสาร, รถไฟ, เครื่องบิน, หรือเรือ และยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุก หรือการเล่นเกมแบบ VR ได้ด้วย เพราะการเคลื่อนไหวของสิ่งอื่น ๆ รอบตัว สามารถทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้ทุกเมื่อ

อย่างไรก็ตาม Motion Sickness ไม่ได้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก็ทำให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ได้หลายอย่าง ซึ่งการวางแผนก่อนกระทำการใดก็ตามที่อาจทำให้เกิดภาวะนี้ได้ เช่น การเดินทางสัญจร ก็จะช่วยป้องกัน และบรรเทาความรุนแรงของผลข้างเคียงที่จะตามมาได้ ซึ่งปัจจัยที่อาจทำให้เกิดภาวะดังกล่าวก็เช่น

  • นั่งที่นั่งด้านหลังของรถโดยมองไม่เห็นทิวทัศน์ด้านนอก
  • อ่านหนังสือในรถ
  • ไม่ได้รับอากาศที่เพียงพอภายในรถ
  • การเล่นเกมที่มีการเคลื่อนที่หรือหันไปมาอย่างรวดเร็ว
  • การเล่นเกมหรือรับชมภาพยนตร์ที่มีการปรับใช้ Motion Blur เพื่อจำลองการเคลื่อนไหวให้สมจริง

Motion Sickness เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในผู้สูงวัย คนท้อง และเด็กในวัย 5 - 12 ปี และสามารถพบได้ปกติในผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน และอาจเป็นโดยกรรมพันธุ์ ซึ่งเมื่อการเคลื่อนไหวหยุดลง อาการดังกล่าวก็จะหายไปด้วย และจะค่อย ๆ รู้สึกดีขึ้นตามลำดับ ในบางเคส อาจเกิดได้จากปัญหาภายในหูชั้นใน อันเกิดจากมีของเหลวสะสม หรือติดเชื้อภายในหูได้ด้วย รวมทั้งโรคบางโรคอย่าง โรคพาร์กินสัน ก็สามารถทำให้เกิดอาการ Motion Sickness ได้เช่นกัน

Motion Sickness คืออะไร ?
เครดิตภาพ : https://health.clevelandclinic.org/motion-Sickness-best-fixes-if-traveling-makes-you-ill/

สาเหตุที่ทำให้เกิด Motion Sickness
(What causes Motion Sickness ?)

Motion Sickness นั้น เกิดจากความไม่สัมพันธ์กันระหว่างสิ่งที่คุณเห็น กับสิ่งที่คุณรู้สึก เช่น ขณะที่คุณอยู่ภายในรถ รถกำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้า แต่ตัวของคุณนิ่งอยู่กับที่ (เพราะนั่งอยู่บนเบาะเฉย ๆ) ซึ่งความไม่สมดุลนี้ เป็นตัวการหลักที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายขึ้นมา

สาเหตุที่ทำให้เกิด Motion Sickness
เครดิตภาพ : https://www.verywellhealth.com/seven-things-you-dont-know-about-motion-Sickness-1192151

ในบรรดาผู้ที่เล่นเกม หรือรับชมสื่อมีเดียต่าง ๆ แล้วเกิดอาการนี้ขึ้นมา ก็เกิดด้วยปัจจัยคล้าย ๆ กันนี้ด้วย กล่าวคือ สมองรับรู้ว่าคุณนั่งอยู่กับที่ แต่ประสาทสัมผัสการรับรู้อื่น ๆ ของคุณเช่น ตา กำลังรับชมหน้าจอที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องและสวนทางกับสิ่งที่ร่างกายเป็นอยู่ ส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ มึนงง ปวดศีรษะ และอาการอื่น ๆ ตามมา

อาการของ Motion Sickness
(Symptoms of Motion Sickness)

อาการของ Motion Sickness สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยไม่มีอาการแจ้งเตือนใดใดล่วงหน้า และสามารถแย่ลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งคุณอาจมีอาการปวดมวนท้อง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียน ใบหน้าและร่างกายซีดขาว ปวดศีรษะ เหงื่อไหลเย็น มึนงง หรือหงุดหงิดง่ายได้

อาการของ Motion Sickness
เครดิตภาพ : https://atriumhealth.org/dailydose/2020/10/13/dont-rock-the-boat-how-to-manage-motion-Sickness-for-comfortable-travel

วิธีรักษาอาการ Motion Sickness
(Motion Sickness Treatment)

วิธีรักษาอาการ Motion Sickness สามารถใช้ยาทั่วไปในการรักษาอาการที่เกิดจากภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหวได้ เช่น เบนาดริล (Benadryl), ดรามามีน (Dramamine), และ สโคโปลามีน (Scopolamine) โดยสมาคมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวของอเมริกา (AAFP) แนะนำให้ใช้สโคโปลามีนในการรักษา เพราะจะช่วยบรรเทาอาการปวดมวนท้องและอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ โดยไม่ทำให้ง่วงซึม

ยาสโคโปลามีน (Scopolamine) รักษาอาการ Motion Sickness
เครดิตภาพ : https://biggo.co.th/s/แผ่นแปะเมารถ/

ส่วนตัวยาประเภท แอนติฮิสตามีน (Antihistamines) (ในที่นี้จะยกตัวอย่างยี่ห้อ เบนาดริล) ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน แต่โดยปกติแล้วมักจะทำให้เกิดอาการง่วงซึมด้วย ส่วนประเภทที่ไม่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวจะไม่สามารถช่วยบรรเทาภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหวได้ และมียาอีกประเภทหนึ่งที่สามารถช่วยได้คือ แอนตี้เมติก (Antiemetic) หรือยาแก้อาเจียน ที่ช่วยรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนตามชื่อ

อย่างไรก็ตาม ตัวยาบางตัวต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่าย บางตัวก็สามารถสอบถามสั่งซื้อกับเภสัชกรที่ร้านขายยาได้เลย แต่ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าตัวไหนจะเหมาะกับอาการที่คุณเป็นอยู่มากที่สุด แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาก่อนดีกว่า

และถ้าคุณเริ่มมีอาการคลื่นไส้ แนะนำให้กินแครกเกอร์แบบธรรมดาจำนวนเล็กน้อย และดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำอัดลม 

สามารถหลีกเลี่ยง หรือป้องกันอาการ Motion Sickness ได้หรือไม่ ?
(Can Motion Sickness be prevented or avoided?)

ถ้าหากคุณรู้ตัวว่าอาจมีภาวะ Motion Sickness ในระหว่างเดินทาง ก็สามารถวางแผนการเดินทางแต่เนิ่น ๆ เพื่อรับมือกับอาการที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ เช่น

  • ทานยาป้องกันภาวะดังกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง
  • เลือกที่นั่งในการเดินทางให้เหมาะสม
    • การนั่งที่นั่งผู้โดยสารแถวหน้าภายในรถโดยสารคือที่นั่งที่ดีที่สุด
    • ในกรณีที่โดยสารทางเรือ ให้เลือกจุดที่อยู่บริเวณกลาง ๆ เรือเข้าไว้
    • ถ้าโดยสารเครื่องบิน ให้เลือกนั่งที่บริเวณปีกเครื่องบิน
    • ถ้าหากโดยสารรถไฟ ก็ให้นั่งติดกับหน้าต่างรถไฟแทน เพราะเป็นบริเวณที่เกิดการกระแทกน้อย แถวยังได้ชมวิวไปในตัวด้วย
    • หากโดยสารในเรือสำราญ ให้จองที่นั่งบริเวณด้านหน้าของเรือ หรือกลางเรือไว้ และเลือกรีเควสท์ห้องที่ใกล้กับระดับน้ำมากที่สุด
  • พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทมาก ๆ เช่น เปิดเครื่องปรับอากาศ ลดกระจกหน้าต่างรถลง เปิดช่องลมบนเครื่องบินให้หันมาที่เราตรง ๆ นั่งใกล้หน้าต่างเมื่อคุณอยู่ในเรือปิด
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ไม่ขับเรือสปีดโบ๊ท เพราะคลื่นและแรงกระแทกจะกระตุ้นให้เกิดอาการขึ้นมาได้ ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ให้ทานยาไว้ล่วงหน้าเลย
  • ไม่อ่านหนังสือขณะอยู่ในรถ เครื่องบิน หรือเรือ แต่ให้มองออกไปข้างนอกหน้าต่าง ชมวิวทิวทัศน์ หรือมองไปยังวัตถุที่ไกลออกไป
  • นอนลงเมื่อคุณเริ่มรู้สึกมีอาการ
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ ทั้งก่อนและระหว่างเดินทาง ให้กินอาหารในปริมาณน้อย และกินอาหารรสจืดแทน งดอาหารมัน เผ็ด หรืออาหารที่เป็นกรด ทั้งก่อนและระหว่างเดินทาง
  • ดื่มน้ำมาก ๆ รวมทั้งงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการรักษาในรูปแบบอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งในบางกรณี แพทย์อาจมีการให้สายวัดความดันมาเพื่อสวมกับข้อมือของคุณไว้

สามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันอาการ Motion Sickness ได้หรือไม่ ?
เครดิตภาพ : https://www.momtricks.com/babies/preventing-motion-Sickness-when-travelling/

ถ้าหากอาการของคุณยังคงเป็นอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน ไปพบแพทย์จะดีกว่า

วิธีหลีกเลี่ยง และป้องกันการป่วยที่เกิดจากวิดีโอเกม และสื่ออื่น ๆ
(How to avoid and prevent Motion Sickness from video games and other media ?)

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่เล่นเอง หรือเป็นผู้ที่รับชมก็ตาม การกระทำดังต่อไปนี้ สามารถช่วยให้คุณลดอาการคลื่นไส้ มึนงง และอาการอื่น ๆ จาก Motion Sickness ได้ไม่มากก็น้อย

  • รับชม หรือเล่นเกมในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ และมีอากาศถ่ายเทที่ดี
  • นั่งให้ห่างออกไปจากหน้าจอมากขึ้นอีกเท่าที่จะทำได้
  • พักชมหรือเล่นเป็นช่วง ๆ เพื่อไปสูดอากาศบริสุทธิ์ หรือพักดื่มน้ำสักแก้ว แล้วค่อยมาต่อสิ่งที่ทำค้างไว้
  • จำกัดเวลาในการเล่นเกมใหม่ หรือรับชมสื่อมีเดียใหม่เพื่อปรับตัวสักหน่อย เช่น ลองเล่นต่อเนื่องดูก่อนสัก 5 นาที หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ เพิ่มเวลาขึ้นมา
  • ใช้การปรับแต่งภายในเกมเข้าช่วย โดยมองหาการปรับแต่งในหัวข้ออาทิ Field of View (พื้นที่ในการมองเห็น), Sensitivity of Movement (ความละเอียดในการเคลื่อนไหว), หรือ Motion Blur (ระดับความเบลอในขณะเคลื่อนไหว) แล้วจัดการปรับแต่งจนกว่าคุณจะรู้สึกว่ามีอาการข้างเคียงเกิดขึ้นน้อยลง
  • เลือกเล่น หรือรับชมเกม ที่ใช้มุมมองบุคคลที่สามแทน
  • ใช้ยาแผนปัจจุบัน หรือวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ มาช่วยรักษาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น

วิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันการป่วยที่เกิดจากวิดีโอเกม และสื่ออื่น ๆ
เครดิตภาพ : https://www.gamedeveloper.com/audio/how-do-you-design-your-vr-game-around-motion-Sickness-constraints


ที่มา : familydoctor.org , www.webmd.com , en.wikipedia.org , www.dramamine.com , kidshealth.org

0 Motion+Sickness+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89+%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
เกมเมอร์หญิงทาสแมว ถ้าอยู่กับแมวแล้วจะน้วยแมวทั้งวัน
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น