YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่ยอดเยี่ยมในการแบ่งปันโมเมนต์วิดีโอดี ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจของตัวคุณเอง, งานอดิเรก, ศิลปะ, การท่องเที่ยว หรืออะไรก็ตาม ตราบใดที่คุณบันทึก หรือสร้างสรรค์มันขึ้นมาในรูปแบบวิดีโอ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องพึงระวังเอาไว้ ในเวลาที่เราจะอัปโหลดวิดีโออะไรสักอย่างขึ้นไปบนแพลตฟอร์ม YouTube ก็คือเรื่อง "ลิขสิทธิ์ (Copyright)"
โดยแพลตฟอร์ม YouTube นั้น ถือว่ามีความเข้มงวดในเรื่องลิขสิทธิ์ เป็นอย่างมาก ซึ่งจริงๆ แล้วลิขสิทธิ์นั้น ไม่ได้มีเฉพาะกับคลิปวิดีโออย่างเดียว แต่มันยังรวมไปถึง ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์, ลิขสิทธิ์เพลง, ลิขสิทธิ์ภาพวาด และอื่นๆ อีกมากมาย
ดังนั้น หากเราต้องการอัปโหลดวิดีโอบนแพลตฟอร์มนี้อย่างจริงจัง ก็ควรจะศึกษาเรื่องระบบลิขสิทธิ์ของ YouTube เอาไว้สักหน่อย เพราะหากคุณทำผิดกฏข้อบังคับเป็นเวลาหลายครั้ง คุณสามารถถูกลงโทษถึงขั้นถูกลบช่อง และวิดีโอทั้งหมดทิ้งได้เลย
หากคุณสร้างวิดีโอขึ้นมา แล้วทำการอัปโหลดขึ้นไปบน YouTube นั่นก็จะเป็นเนื้อหาของคุณ และคุณก็จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เนื้อหาดังกล่าวทันที นั่นหมายความว่า หากมีคนอื่นนำวิดีโอของคุณไปใช้ โดยที่ไม่ได้รับการอนุญาตจากคุณผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน บุคคลนั้นกำลังละเมิดลิขสิทธิ์ในวิดีโอของคุณอยู่
อย่างไรก็ตาม หากในวิดีโอของคุณมีการเนื้อหาที่คุณไม่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่ได้รับการอนุญาตให้มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นเพลงประกอบ, คลิปวิดีโอ, รูปภาพ ฯลฯ นั่นหมายความว่าคุณก็กำลังละเมิดลิขสิทธิ์อยู่เช่นกัน
สำหรับ YouTube แล้ว ลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก การไปลบหลู่มันไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เราควรพยายามทำตามกฏที่ถูกกำหนดไว้ให้ถูกต้องที่สุด แม้ทาง YouTube จะเปิดช่องให้แก้ต่างได้หากระบบตรวจพบว่าช่องของคุณมีการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่หากมีการละเมิดกฏเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ทาง YouTube อาจตัดสินใจลบบัญชีดังกล่าวทิ้งทันทีโดยไม่เปิดช่องให้ยื่นอุทธรณ์อีกต่อไป
บนแพลตฟอร์ม YouTube เมื่อระบบตรวจพบการละเมิดลิขสิทธิ์ จะมีการดำเนินการอยู่ 2 รูปแบบ คือ
เรามาทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Copyright Claim และ Copyright Strike กันก่อน
Copyright Claim นั้นหมายถึงการเรียกร้องลิขสิทธิ์ด้วย Content ID นั่นอาจทำให้คุณผู้อ่านเกิดคำถามตามมาว่า "แล้ว Content ID มันคืออะไร ?"
Content ID เป็นระบบอัตโนมัติที่ทาง YouTube ใช้ในการตรวจสอบวิดีโอทุกตัวที่ถูกอัปโหลดขึ้นไปบนแพลตฟอร์ม เพื่อให้แน่ใจว่าในวิดีโอดังกล่าวไม่มีเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ในคลิปวิดีโอดังกล่าว
มาดูยกตัวอย่างการทำงานของระบบ Content ID กันสักเล็กน้อย สมมติว่าคุณเป็นศิลปินที่อัปโหลดเพลงของคุณขึ้นไปบน YouTube แล้วคุณต้องการให้ YouTube ตรวจสอบว่าไม่มีคนอื่นนำเพลงของคุณไปใช้ หรือละเมิดลิขสิทธิ์เพลงของคุณ ทางตัวศิลปินจะต้องส่งไฟล์สำหรับใช้อ้างอิงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ให้กับทาง YouTube เช่น ไฟล์งานต้นฉบับของคุณ เพื่อให้ทางระบบ YouTube ตรวจสอบว่าคุณเป็นเจ้าของผลงานตัวจริงที่ครอบครองลิขสิทธิ์อยู่ หลังจากที่ผ่านการยืนยันแล้ว ผลงานของคุณก็จะได้รับการระบุ Content ID ลงในระบบ
ระบบ Content ID ใน YouTube จะทำหน้าที่สแกนวิดีโอทั้งหมดที่มีอยู่บนแพลตฟอร์ม และหากมันตรวจพบว่ามีวิดีโอที่ถูกอัปโหลดขึ้นไปมีข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ได้รับการระบุ Content ID เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ, เสียง หรือภาพนิ่งก็ตาม มันจะทำการเรียกร้องลิขสิทธิ์ Copyright Claim ให้กับผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติ แน่นอนว่า ทางตัวเจ้าของลิขสิทธิ์ ก็จะได้รับการแจ้งเตือนให้ทราบด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างแจ้งเตือน Copyright Claim
ภาพจาก : https://hellothematic.com/so-you-received-a-copyright-claim-on-your-youtube-video/
เรื่องสำคัญเกี่ยวกับ Copyright Claim ก็จะมีอยู่สองสามประการ
หากวิดีโอของคุณโดน Copyright Claim แต่คุณมั่นใจว่าคุณไม่ได้ทำอะไรผิด คุณสามารถยื่นข้อโต้แย้งเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ เนื่องจากระบบ Content ID นั้นเป็นระบบอัตโนมัติ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่จะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้
เมื่อคุณยื่นข้อโต้แย้งไป บุคคลที่ทางระบบ Content ID มองว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จะได้รับการแจ้งเตือน และมีเวลาตอบกลับมาภายใน 30 วัน ระหว่างนั้นคุณก็อดใจรอ และเตรียมหลักฐานสำหรับใช้พิสูจน์ความบริสุทธิ์รอไว้ก่อนเลย
Copyright Strike เป็นสิ่งที่ค่อนข้างร้ายแรงสำหรับผู้ทำ YouTube ที่โดนข้อหานี้เข้าไป เนื่องจากมันส่งผลกระทบต่อช่องของคุณ ไม่ได้แค่เพียงวิดีโอตัวเดียวเหมือนกับ Copyright Claim
การโดนแจ้ง Copyright Strike นั้นมีสาเหตุไม่ต่างจาก Copyright Claim มันจะเกิดขึ้นเมื่อคุณอัปโหลดวิดีโอที่มีเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นภาพ, เพลง, วิดีโอ หรืออะไรก็ตามที่คุณไม่ได้รับอนุญาต
เมื่อผู้ถือครองลิขสิทธิ์ได้รับแจ้งเตือนว่ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถเลือกที่จะดำเนินการสั่งให้ระบบดำเนินการ Copyright Strike ไปยังวิดีโอที่มีปัญหาได้ทันที ซึ่งจะส่งผลให้วิดีโอดังกล่าวถูกปิดกั้นการรับชม หรือลบออกจากเซิร์ฟเวอร์ นั่นหมายความว่าคุณจะไม่สามารถสร้างรายได้จากคลิปดังกล่าวได้อีกต่อไป แต่นั่นยังไม่ใช่ปัญหาหลักที่คุณต้องสนใจ
ตัวอย่างวิดีโอที่ถูก Copyright Strike
ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/YouTube_copyright_strike
บทลงโทษการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ถูกเรียกว่า Three-Strike ของ YouTube โดยมีที่มาจากการที่คุณสามารถโดนแจ้งข้อนี้ได้ 3 ครั้ง ก่อนที่ช่องของคุณจะถูกลบ
โดยหากคุณโดนแจ้งเตือน Copyright Strike เป็นครั้งแรก บัญชีของคุณจะไม่สามารถใช้คุณสมบัติไลฟ์สตรีมได้ และช่องของคุณก็จะไม่สามารถสร้างรายได้เป็นเวลาอย่างน้อย 90 วัน
ตัวอย่างแจ้งเตือน Copyright Strike
ภาพจาก : https://www.reddit.com/r/offlineTV/comments/s7pecd/important_yt_channel_httpswwwyoutubecomcairrickq/
หลังจากผ่านไป 90 วัน คุณสามารถไปเรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ได้จาก Copyright School ของ YouTube ซึ่งจะมีให้คุณตอบแบบสอบถามหลังรับชมจบ หากคุณสามารถตอบถูกได้หมด ช่องของคุณจะได้รับการล้างโทษ Copyright Strike ที่ได้รับมาทิ้งไป
ถ้าคุณโดน Copyright Strike ครั้งที่สองก่อนที่โทษจากครั้งแรกจะสิ้นสุดลง คุณก็จะโดนลงโทษเพิ่มต่อเนื่องเข้าไปอีก 90 วัน
แต่หากคุณโดน Copyright Strike ครั้งที่สามในระหว่างที่ถูกลงโทษอยู่ ช่องของคุณจะถูกลบทิ้งทันที วิดีโอทั้งหมดจะถูกลบออกจาก YouTube และบัญชีของคุณก็จะโดนแบนไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป แถมไม่สามารถสร้างช่องใหม่ได้อีกด้วย
หากคุณโดนข้อหา Copyright Strike การรับมือกับปัญหาจะมีอยู่ 3 วิธี
การที่คุณที่นำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ประกอบความคิดเห็น, ล้อเลียน, รีวิว หรือวิจารณ์ แสดงว่าวิดีโอของคุณมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาดังกล่าวให้ต่างไปจากเดิม และไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ คุณสามารถโต้แย้งกลับไปได้
ซึ่งไม่ว่าคุณจะเลือกรับมือด้วยวิธีการไหน อย่างไรก็ควรเตรียมใจเผื่อเอาไว้ในกรณีที่สถานการณ์เลวร้ายจนถึงขั้นถูกลบช่องเอาไว้ด้วย
แม้ว่าระบบลิขสิทธิ์ของ YouTube จะค่อนข้างเข้มงวด แต่มันก็มีประโยชน์ต่อคนผลิตคอนเทนท์เป็นอย่างมาก อย่าให้ความกลัวที่จะถูกลบช่องทำให้คุณไม่กล้าที่จะเริ่มทำช่องของตนเองล่ะ
ไม่แน่ว่า คุณอาจจะกลายเป็นหนึ่งในยูทูปเบอร์หน้าใหม่ที่ประสบความสำเร็จในอนาคตก็เป็นได้นะ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |