ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

RSS คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? มีมาตรฐานอะไรบ้าง ? และข้อดี-ข้อเสีย

RSS คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? มีมาตรฐานอะไรบ้าง ? และข้อดี-ข้อเสีย

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 1,208
เขียนโดย :
0 RSS+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

RSS คืออะไร ? (What is an RSS ?)

การเพิ่มจำนวนคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ก็เรื่องหนึ่ง แต่การทำให้คนที่เข้ามาแล้วยังอยู่ต่อ และกลับมาเยี่ยมชมอีกครั้งก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในฐานะเจ้าของเว็บไซต์แล้ว เราย่อมต้องการให้ผู้เข้าชมกลับมาอ่านเนื้อหาบนเว็บไซต์ หรือ Blog ของเราอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มยอดวิว ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากโฆษณา หรือขายสินค้า และบริการให้มากขึ้น หนึ่งในเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ชมกลับมาเยี่ยมเว็บไซต์ได้อีกครั้งคือการใช้ RSS

หากคุณเป็นคนที่คร่ำหวอดในการผลิตเนื้อหาดิจิทัล เชื่อว่าจะต้องเคยได้ยินคำว่า "RSS" ผ่านหูกันมาบ้างอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ ความนิยมในการใช้งาน RSS อาจจะไม่เฟื่องฟูเหมือนในอดีต แต่เว็บไซต์จำนวนมากก็ยังรองรับการทำงานของ RSS อยู่ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่า RSS คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? นั่นเอง

เนื้อหาภายในบทความ

RSS คืออะไร ? (What is RSS ?)

RSS ย่อมาจากคำว่า "Really Simple Syndication" หรือ "Rich Site Summary" คำนี้ถูกใช้แบบทับศัพท์ในภาษาไทย แต่ถ้าจะให้แปลก็มีความหมายประมาณว่า "การเผยแพร่แบบเรียบง่าย" โดยเว็บไซต์จะใช้ RSS Feed ในการส่งเนื้อหาไปยังอุปกรณ์, ซอฟต์แวร์, แอปพลิเคชัน หรืออุปกรณ์ที่รองรับ เพื่อให้มันสามารถอัปเดตข้อมูลต่าง ๆ ให้แบบอัตโนมัติ

RSS Feed เป็นรูปแบบข้อมูล XML ที่ใช้สำหรับในการกระจายข้อมูลที่มีการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงบ่อยจากเว็บไซต์ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปที่เว็บไซต์นั้น ๆ โดยนำมาเฉพาะหัวข้อข่าว เมื่อผู้ใช้คลิกลิงก์ก็จะแสดงรายละเอียดข่าวในเว็บต้นฉบับที่เรานำลิงก์มา Feed นั่นเอง

ความดีงามของ RSS Feed คือการทำมันทำให้ข้อมูลถูกแสดงผลอย่างเรียบง่าย ผู้ใช้สามารถมองหาเนื้อหาที่สนใจอ่านได้อย่างรวดเร็วกว่าการที่เข้าไปอ่านจากหน้าเว็บไซต์โดยตรง

เดิมที RSS Feed จะแสดงแค่ข้อความเท่านั้น เพื่อความรวดเร็วในการดึงข้อมูลมาแสดงผล แต่ด้วยความสามารถของเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ ทำให้ RSS Feed สามารถรองรับการแสดงผลรูปภาพ, วิดีโอ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบข้อความได้แล้ว

RSS คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? มีมาตรฐานอะไรบ้าง ? และข้อดี-ข้อเสีย

RSS ทำงานอย่างไร ? (How does RSS Work ?)

RSS เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถส่งแจ้งเตือนการเผยแพร่เนื้อหาบนเว็บไซต์ไปยังผู้ที่สมัครรับ RSS ได้ โดยเนื้อหาสามารถเป็นได้ทั้งข่าว, Blog โพสต์, รายงานสภาพอากาศ, พอดแคสต์ (Podcast) ฯลฯ

ในการเผยแพร่การแจ้งเตือนนี้ เจ้าของเว็บไซต์จะต้องสร้างไฟล์ข้อความที่อยู่ในรูปแบบ XML สำหรับ RSS Feed ขึ้นมา โดยในไฟล์ XML จะมีการบรรจุข้อมูลหัวข้อ, รายละเอียด และลิงก์ของแต่ละโพสต์ที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์เอาไว้ จากนั้นเวลาที่เว็บไซต์มีการอัปเดตเนื้อหาอะไรก็ตาม ข้อมูลจะถูกบันทึกลงไปในไฟล์ XML ดังกล่าวด้วย ซึ่งไฟล์ XML นี้จะถูกกำหนดมาตรฐานเอาไว้ด้วย เพื่อให้สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะใช้งานร่วมกับ RSS Reader ตัวไหนก็ตาม

เมื่อผู้เข้าชมเว็บไซต์มีความสนใจในเนื้อหาของเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ก็สามารถเลือกสมัครสมาชิก (Subscribe) กับระบบ RSS Feed เพื่อให้เนื้อหาถูกนำไปแสดงบน RSS Readers ที่ใช้งานอยู่ อย่าง เว็บไซต์ Thaiware.com เองก็มีระบบ RSS ให้เลือก Subscribe ได้เช่นกัน โดยแยกหมวดหมู่เนื้อหาอย่างละเอียด

RSS คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? มีมาตรฐานอะไรบ้าง ? และข้อดี-ข้อเสีย
ภาพจาก : https://www.thaiware.com/rss/

RSS Reader คืออะไร ? (What is RSS Reader ?)

RSS จะทำงานร่วมกับ RSS Reader เพื่อความครบถ้วนของเนื้อหา ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับ RSS Reader กันด้วยดีกว่า

RSS Reader เปรียบได้กับตู้รับอีเมล (Email Inbox) เมื่อผู้ใช้ตัดสินใจกดสมัครสมาชิก (Subscribe) รับ RSS Feed จากเว็บไซต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตัว RSS Reader จะสามารถแสดงเนื้อหาจากเว็บไซต์ที่คุณกดรับสมัครเอาไว้ในตัวแอปพลิเคชันได้ ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะอ่านเนื้อหาดังกล่าวได้จาก RSS Reader โดยตรง หรือจะคลิกเพื่อเปิดหน้าเว็บไซต์ได้ทันที หากเนื้อหาไหนถูกอ่านแล้ว ระบบของ RSS Reader ก็จะทำสัญลักษณ์ให้เราด้วยว่า มันถูกอ่านไปแล้ว

มีระบบ RSS Reader อยู่หลายแบบให้เลือกใช้งาน และรองรับหลายแพลตฟอร์ม มีเว็บไซต์ที่ให้บริการ RSS Reader แบบออนไลน์ ซึ่งเหมาะกับการใช้อ่าน Blog หรือโพสต์ในหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ, มีเป็นแอปพลิเคชันทั้งในคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน บางเจ้าทำงานผ่าน คลาวด์ (Cloud) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานได้ทุกแพลตฟอร์ม

RSS คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? มีมาตรฐานอะไรบ้าง ? และข้อดี-ข้อเสีย
ภาพจาก : https://www.getapp.com.au/software/112845/feedly

มาตรฐานของ RSS (RSS Standards)

ปัจจุบันนี้ มาตรฐานของ RSS ที่ถูกใช้งานอยู่ จะเป็น RSS เวอร์ชัน 2.0.11 ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก Advisory Board มาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) โดยมีการกำหนดค่าส่วนประกอบที่จำเป็นเอาไว้ดังนี้

สิ่งที่ต้องมี

องค์ประกอบ คำอธิบาย

ตัวอย่าง

ชื่อ

ชื่อของช่อง หากคุณมีเว็บไซต์ HTML ที่มีข้อมูลเดียวกันกับไฟล์ RSS ชื่อของช่องควรเป็นชื่อเดียวกับชื่อเว็บไซต์

ซอฟต์แวร์แนะนำ
https://software.thaiware.com
ลิงก์ URL ไปยังเว็บไซต์ HTML 

https://www.thaiware.com/rss

รายละเอียด

วลี หรือประโยคที่อธิบายเกี่ยวกับช่อง    แหล่งรวมซอฟต์แวร์น่าสนใจ

ส่วนเสริม (ไม่บังคับ)

องค์ประกอบ คำอธิบาย

ตัวอย่าง

ภาษา ภาษาที่ใช้ในเว็บไซต์

EN-TH

ลิขสิทธิ์

ประกาศลิขสิทธิ์สำหรับเนื้อหาในช่อง

Copyright Notice : Creative Commons Attribution 3.0 Copyright 1999-2024

การจัดการบรรณาธิการ

ที่อยู่อีเมลของผู้รับผิดชอบเนื้อหาบรรณาธิการ     writer@thaiware.com

เว็บมาสเตอร์

ที่อยู่อีเมลของผู้ดูแลเว็บไซต์   webmaster@thaiware.com
วันที่เผยแพร่

วันที่เนื้อหาถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์

เมื่อ : 4 กันยายน 2567
วันแก้ไขล่าสุด

ครั้งสุดท้ายที่เนื้อหามีการเปลี่ยนแปลง

แก้ไขล่าสุดเมื่อ : 15 กันยายน 2567
หมวดหมู่

ระบุ หมวดหมู่ของเนื้อหา โดยใช้กฎ -level category

Software
Generator

สตริงที่ระบุโปรแกรมที่ใช้สร้างเนื้อหา 

Thaiware Admin Control Panel Web Management System

เอกสาร URL รายละเอียดของ RSS ที่ใช้

https://www.rssboard.org/rss-special

คลาวด์

อนุญาตให้กระบวนการลงทะเบียนกับระบบคลาวด์เพื่อรับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการอัปเดต

 

ttl (Time to live)

จำนวนนาทีที่ระบุว่าสามารถ Cache ได้ ก่อนที่จะต้องรีเฟรชอีกครั้ง

60
ภาพ

ระบุภาพ GIF, JPEG หรือ PNG ที่สามารถแสดงได้   

เรตติ้ง

ระบุระดับเรตติ้งของภาพ ว่าเหมาะสมกับผู้ชมอายุเท่าไหร่

textInput

ระบุช่องป้อนข้อความที่สามารถแสดงพร้อมกับช่องได้

skipHours

กำหนดช่วงในการดึง Feed สำหรับระบบที่รองรับได้ โดยมีค่าเป็นตัวเลขระหว่าง 0 ถึง 23 ซึ่งแสดงเวลาเป็น GMT โดยระบบจะไม่สามารถดึง Feed ในชั่วโมงที่แสดงใน  ได้

skipDays

 เหมือน skipHours แต่กำหนดช่วงเวลาด้วยวันแทน ผ่านคำสั่ง 

ประวัติความเป็นมาของ RSS (A Brief History of RSS)

Really Simple Syndication (RSS) เป็นมาตรฐานที่เป็นส่วนหนึ่งของ Web Syndication (ข้อตกลงการให้สิทธิ์ในการเผยแพร่เนื้อหาระหว่างบริษัทอินเทอร์เน็ต โดยเมื่อบริษัทหนึ่งต้องการให้เนื้อหาถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทอื่นได้ แม้ส่วนใหญ่จะสามารถทำได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่บางครั้งอาจมีการแลกเปลี่ยนค่าธรรมเนียมด้วย เพื่อให้ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย) โดยมีความพยายามในการทำให้มันเป็นรูปเป็นร่างมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง

ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538)

แนวคิดพื้นฐานเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538)จากความร่วมมือระหว่าง รามนาธาน วี. คุฮา (Ramanathan V. Guha) และ Apple Advanced Technology Group (เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยของบริษัท Apple Computer) ที่ต้องการพัฒนา "Meta Content Framework (MCF)" ข้อกำหนดของรูปแบบเนื้อหา ในการจัดโครงสร้างข้อมูล เมทาดาตา (Metadata) เกี่ยวกับเว็บไซต์ และข้อมูลต่าง ๆ

ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542)

มาตรฐานแรกก่อนที่จะเป็น RSS มีชื่อว่า Resource Description Framework (RDF) เป็นระบบที่ทาง World Wide Web Consortium (W3C) องค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีหน้าที่พัฒนามาตรฐานสำหรับ www ให้การรับรอง ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย Dan Libby, Ramanathan V. Guha และ Eckart Walther ที่บริษัท Netscape ปล่อยออกมาสำหรับใช้งานกับ Portal ของ My.Netscaoe.Com ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) ซึ่งภายหลังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ RSS 0.9

หลังจากนั้นไม่นานในเดือน กรกฏาคม ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) Dan Libby  ได้เปิดตัวเวอร์ชันใหม่ RSS 0.91 ที่ทำให้ตัวมาตรฐานมีรูปแบบที่เรียบง่ายขึ้น โดยการลบองค์ประกอบบางส่วนของ RDF ออก และนำองค์ประกอบจากรูปแบบการเผยแพร่ของ Dave Winer เข้ามารวมด้วย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อรูปแบบจาก RDF เป็น Rich Site Summary (RSS) และได้สรุปการพัฒนารูปแบบเพิ่มเติมในเอกสารที่มีชื่อว่า "Futures document"

ค.ศ. 2000 - 2001 (พ.ศ. 2543 - 2544)

กล่าวได้ว่า Netscape เป็นบริษัทที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนา RSS เป็นอย่างมาก แต่มันก็ได้รับการยอมรับจากผู้พัฒนาเว็บไซต์จำนวนมากที่ต้องการให้ข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ของพวกเขา ถูก Feed มาแสดงผลที่ My.Netscape.Com รวมถึง RSS Portals เจ้าอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม Netscape ยุติการสนับสนุน RSS บนหน้า My.Netscape.Com ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544) หลังจากทาง AOL เจ้าของใหม่ได้เข้ามาปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริษัท ซึ่งมีการลบระบบ และเครื่องมือสนับสนุน RSS ออกไปด้วย เป็นการยุติบทบาทการพัฒนา RSS ของ Netscape ไปโดยปริยาย

ในตอนนั้นเองที่ RSS-DEV Working Group กลุ่มนักพัฒนาที่ไม่แสวงหาผลกำไร นำทีมโดย Rael Dornfest แล้วก็มี Dave Winer จากบริษัท UserLand Software ที่เป็นหนึ่งในผู้พัฒนารายแรก ๆ ที่พัฒนาเครื่องมืออ่าน RSS นอกเหนือไปจาก Netscape ได้เข้ามาสานงานต่อ โดยที่ Netscape ไม่ได้รู้เรื่อง หรือยินยอมแต่อย่างใด

Dave Winer ได้นำ RSS 0.91 มาปรับปรุง และเผยแพร่ มาตรฐานเวอร์ชันที่เขาได้แก้ไขบนหน้าเว็บไซต์ UserLand มีการอธิบายวิธีการใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ของบริษัทอย่างละเอียด แถมยังพยายามจดลิขสิทธิ์เป็นของตนเองอีกด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 (พ.ศ. 2544) 

ส่วนทาง RSS-DEV Working Group ที่มี Aaron Swartz, Ramanathan V. Guha ร่วมกับตัวแทนจากบริษัท O'Reilly Media และบริษัท Moreover ได้เปิดตัว RSS 1.0 ในธันวาคม ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) มีการนำคุณสมบัติของ RDF กลับมาใช้, เพิ่มการสนับสนุนระบบ XML namespaces และนำรูปแบบคำศัพท์ของ Metadata จาก Dublin Core มาใช้

ในช่วงเวลาเดียวกันของเดือนธันวาคม Dave Winer ได้เปิดตัว RSS 0.92 ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเล็กน้อย เพิ่มระบบ Enclosure Element ที่ช่วยให้ RSS Feed สามารถรองรับไฟล์เสียงได้ ซึ่งจุดประกายให้เกิดความนิยมในการทำ พอดแคสต์ Podcast อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ เขายังเผยแพร่ร่างเอกสารของ RSS 0.93 และ 0.94 ออกมาด้วย แต่ได้ถอดถอนไปในภายหลัง

ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2546) Dave Winer ได้ปล่อยอัปเดตครั้งใหญ่ RSS 2.0 ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อย่อจาก Rich Site Summary เป็น Really Simple Syndication, ลบ Attribute บางขนิดที่เคยเพิ่มเข้ามาใน RSS 0.94, รองรับ Name spaces ที่อยู่ใน Feed ของ RSS 2.0, สามารถทำงานร่วมกับ RSS 0.92 ได้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทั้งทาง Dave Winer และ RSS-DEV Working Group ต่างทำงานกันโดยที่ทาง Netscape ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเลย ทำให้ไม่มีใครสามารถอ้างสิทธิ์ว่ามาตรฐานของตน เป็นมาตรฐานทางการได้ เหตุการณ์นี้ได้นำพาไปสู่ข้อถกเถียงว่าควรจะใช้มาตรฐานใด เป็นมาตรฐานกลางกันแน่

ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546)

ท่ามกลางการถกเถียงทำให้เกิดมาตรฐานใหม่ที่ต้องการมาทดแทนเพื่อยุติข้อโต้แย้ง และข้อจำกัดต่างๆ ของ RSS มันมีชื่อว่า Atom Syndication Format เปิดตัวในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) และได้รับการยอมรับจากทางคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (Internet Engineering Task Force (IEFT)) ให้ใช้ในมาตรฐาน RFC 4287 เอกสารทางเทคนิคที่เผยแพร่โดย IEFT เพื่ออธิบายวิธีการ, พฤติกรรม, การวิจัย หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของอินเทอร์เน็ต และระบบที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546) Dave Winer และบริษัท UserLand Software ได้ยื่นจดลิขสิทธิ์ RSS 2.0 กับ Berkman Klein Center for Internet & Society ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พร้อมกับการจัดตั้ง RSS Advisory Board องค์กรอิสระที่มีหน้าที่ดูแลมาตรฐาน RSS

ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547)

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) Stephen Horlander นักออกแบบจาก Mozilla ได้ออกแบบโลโก้ RSS เพื่อใช้ใน เว็บเบราว์เซอร์ Firefox นั่นเอง

RSS คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? มีมาตรฐานอะไรบ้าง ? และข้อดี-ข้อเสีย
โลโก้ RSS
ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/RSS

ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548)

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) ทางทีมที่พัฒนา เว็บเบราว์เซอร์ Internet Explorer และ ซอฟต์แวร์จัดการอีเมล Outlook ของ Microsoft ได้ประกาศว่าจะนำไอคอน RSS ของ Firefox มาใช้งานด้วย เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) บริษัท Opera Software ก็ปฏิบัติตามมาติด ๆ ส่งผลให้โลโก้คลื่นวิทยุสีส้มกลายเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับสำหรับ RSS และ Atom Feed

ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549)

ปีถัดมา มกราคม ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) Rogers Cadenhead ได้จัดตั้ง RSS Advisory Board ใหม่อีกครั้ง โดยไม่มี Dave Winer เข้าร่วม เพื่อพัฒนา RSS ต่อไป และแก้ปัญหาความคลุมเครือต่าง ๆ

ข้อดี-ข้อเสียของ RSS (Pros and Cons of RSS Feed)

ข้อดี

  • ผู้ใช้ติดตามเนื้อหาใหม่ ๆ ได้ง่าย
  • ทำงานอัตโนมัติ ตั้งค่าทีเดียวจบ
  • เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์เนื้อหาที่ใช้ได้ฟรี
  • เพิ่มช่องทาง ในการทำลิงก์เชื่อมต่อ (Backlink) กลับมายังเว็บไซต์ของผู้ผลิตคอนเทนต์

ข้อสังเกต

  • ควบคุมการเผยแพร่เนื้อหาได้ยาก จนอาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนถูก สแปม (Spam) เป็นต้น
  • อาจเกิดการเผยแพร่เนื้อหาซ้ำได้ง่าย
  • ผู้เข้าชมเว็บไซต์โดยตรงอาจลดลง
  • Google ไม่ให้คะแนนแก่เว็บไซต์ จากการอ่านเนื้อหาผ่าน RSS

 


ที่มา : www.makeuseof.com , en.wikipedia.org , rss.com , www.lifewire.com , www.juicer.io , riverside.fm , www.spiceworks.com , help.brevo.com , www.rssboard.org , www.investopedia.com

0 RSS+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น