ในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน ไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส (°C) ตามสนธิสัญญาปารีส (Paris Agreement) ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลุ่มประเทศสมาชิกในสหประชาชาติ (ประเทศไทยก็เป็นสมาชิก) ได้ตกลงที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม ด้วยกันช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ลงครึ่งหนึ่งภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ 2573) และลดให้เหลือ "0" ในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593)
แต่ปัญหาคือ ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 0 ได้ แล้วบริษัทที่เป็นอย่างนั้นจะทำอย่างไร ? หนึ่งในคำตอบนั้นก็คือ "คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)" นั่นเอง
ว่าแต่ Carbon Credit คืออะไร ? เราจะมาทำความเข้าใจมันกันเถอะ ...
ก่อนจะทำความเข้าใจกับ Carbon Credit เราควรจะทำความรู้จักกับ Carbon Market กันเสียก่อน
จากการทำข้อตกลงในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ในปี ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) และสนธิสัญญาปารีส (Paris Agreement) ในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ที่หลายประเทศได้ตกลงร่วมกัน ที่จะการปล่อย CO2 ให้น้อยลง ซึ่งกฏข้อบังคับใหม่นี้ได้ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับแรงกดดัน และต้องหาทางแก้ไขปัญหาเพื่อลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การจะปรับลดปริมาณ CO2 ไม่ใช่เรื่องง่าย และบางธุรกิจอาจไม่สามารถทำได้ด้วยซ้ำ พวกเขาจึงต้องหาทางออกอื่น ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมคือการใช้ ตลาดคาร์บอน (Carbon Market) นั่นเอง
และสิ่งที่ Carbon Market ทำก็คือ เปลี่ยนอัตราการปล่อย CO2 ให้มีราคาขึ้นมา ซึ่งมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Carbon Credit และ Carbon Offset โดยเป็นการเปิด Carbon Market ได้ให้บริษัทที่สนใจสามารถซื้อ-ขาย ได้ด้วย
ภาพจาก : https://www.climateimpactx.com/marketplace
ตลาดในการซื้อขาย Carbon markets ก็จะมีการแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท คือ
ความแตกต่างที่สำคัญคือ ตลาดแรกมีไว้ควบคุมให้บริษัทสามารถปล่อย CO2 ได้ตามข้อตกลง ส่วนตลาดที่สองคือ หากทำตามกฏจนครบถ้วนแล้ว แต่ต้องการซื้อขายเพิ่มเติม หรือสิทธิ์ในการซื้อเต็มแล้ว ก็สามารถเลือกซื้อในตลาดอาสาแทนได้
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) และการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) เป็นคำที่มักถูกใช้แทนกันอยู่บ่อยครั้ง แต่อันที่จริง มันมีหลักการทำงานที่แตกต่างกัน
Carbon Credit เป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้ในการวัด และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย 1 Carbot Credit จะมีมูลค่าเท่ากับ 1 CO2e (CO2 ปริมาณ 1 ตัน)
สำหรับบริษัท หรือบุคคลทั่วไปสามารถสร้าง Carbon Credit ได้ด้วยการลงทุนในโครงการที่มีการลดปริมาณ CO2 หรือกำจัด CO2 ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเครดิตที่ได้มาสามารถนำไปซื้อขายได้ใน Carbon Market
ประโยชน์ของ Carbon Credit ก็คือเหมือนเป็นใบอนุญาตในการปล่อย CO2 โดยเมื่อบริษัทซื้อ Carbon Credit มา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วทางรัฐบาลจะเป็นผู้ขายให้ บริษัทดังกล่าวก็จะได้รับสิทธิ์ในการปล่อย CO2 จำนวน 1 ตัน และหากใช้ไม่ถึง ก็สามารถนำไปขายต่อให้กับบริษัทอื่น ๆ ได้
มาต่อกันที่ การชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset) กันบ้าง หากบริษัทมีระบบการทำงานที่สามารถกำจัด CO2 ออกจากชั้นบรรยากาศได้ดี บริษัทดังกล่าวก็จะได้ Carbon Offset ซึ่งสามารถนำไปขายให้กับบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องการลดค่าการปล่อย CO2 ของตนเองได้
หลักการของ Carbon Offset ก็มีเอาไว้เพื่อให้โครงการที่ไม่สามารถลดการปล่อยได้ นำเงินไปช่วยลงทุนให้กับโครงการที่พยายามกำจัด CO2 ในชั้นบรรยากาศนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น มีบริษัทอยู่ 2 แห่ง "บริษัท ก" และ "บริษัท ข" ทั้งคู่ได้รับสิทธิ์ในการปล่อย CO2 ได้แห่งละ 300 ตัน
อย่างไรก็ตาม หลังจากดำเนินการครบ 1 ปี ปรากฏว่าบริษัท ก ปล่อย CO2 ออกมา 400 ตัน ในขณะที่บริษัท ข ปรับโครงสร้าง จัดการพลังงานได้ดี ทำให้ปล่อย CO2 ออกมาเพียง 200 ตัน
เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับ และภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) เพิ่มเติม บริษัท ก สามารถชดเชยการปล่อย CO2 ที่เกินกำหนด ด้วยการซื้อเครดิตจากบริษัท ข ที่ยังเหลืออยู่อีก 100 ตัน นั่นเอง
ภาพจาก : https://palmetto.com/learning-center/blog/carbon-offset-guide-what-carbon-offsets-are-how-carbon-credits-work
Carbon Credit นั้น จัดว่ามีหลากหลายประเภท ต่างกันไปตามกระบวนการที่ได้รับ ที่ได้รับความนิยม ก็อย่างเช่น
เป็นระบบที่จะกำหนดสิทธิ์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่อนุญาตให้ปล่อยออกมาได้ บริษัทที่ปล่อย CO2 ได้ต่ำกว่าสิทธิ์ที่ได้มา จะสามารถนำเครดิตที่เหลือไปซื้อขายต่อได้
เป็นเครดิตที่ได้มาจากการผลิต หรือใช้พลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาด อย่างเช่น พลังงานลม, พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานน้ำ ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า
เป็นเครดิตที่ได้มาจากการปรับปรุง หรือพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถลดอัตราการใช้พลังงานได้ เช่น การนำระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะมาใช้ หรือเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ที่มีการใช้พลังงานในการทำงานน้อยลง
เครดิตชนิดนี้ได้มาจากการทำกิจกรรมที่ช่วยในการลดโลกร้อนได้ ซึ่งมีอยู่หลายอย่าง เช่น การปลูกป่า, การพัฒนาที่ดินด้วยการปลูกพืชที่สามารถกำจัด CO2 ได้ดี รวมไปถึงโครงการที่ช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติด้วย อย่างการป้องกันไฟป่า
เป็นเครดิตที่ได้จากการกำจัด CO2 ในชั้นบรรยากาศ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดักจับอากาศมากรอง การกักเก็บ CO2 ฯลฯ
สุดท้ายนี้ก็อยากจะบอกว่า Carbon Credit จัดว่ามีบทบาทสำคัญต่อการแก้ปัญหาโลกร้อน เพื่อให้สภาพแวดล้อมของโลกไม่แย่ลงไปมากกว่านี้ เป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนควรให้ความใส่ใจ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |