ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

เอาให้เคลียร์ เกมส์และหนังฉบับ Remaster Reboot และ Remake ต่างกันอย่างไร ?

เอาให้เคลียร์ เกมส์และหนังฉบับ Remaster Reboot และ Remake ต่างกันอย่างไร ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 9,992
เขียนโดย :
0 %E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A+Remaster+Reboot+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+Remake+%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เอาให้เคลียร์ เกมส์และหนังฉบับ Remaster Reboot และ Remake ต่างกันอย่างไร ?

เอาให้เคลียร์ เกมส์และหนังฉบับ Remaster Reboot และ Remake ต่างกันอย่างไร ?
ภาพซ้าย Resident Evil 1 ฉบับ Remastered, ภาพขวา Resident Evil 1 เวอร์ชันต้นฉบับ

ปัจจุบัน โลกของเกมส์และภาพยนตร์ การพัฒนาผลงานในรูปแบบรีโปรดักส์ (Re-product) หรือนำของเดิมมาทำใหม่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งทั้งหลาย อาทิ Remake, Reboot, Remaster ฯลฯ ก็ดูเป็นกระบวนการที่ได้รับความนิยมในระดับสูง โดยเบื้องต้น ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดของค่ายพัฒนาเกมส์/สร้างหนังได้รับ คือ งบในการสร้างที่น้อยลง เป็นต้น แต่ในสายตาของผู้บริโภคอย่างเราๆ นั้น ผู้เขียนว่าคงต้องมีบ้างแหละครับ ที่อาจจะเกิดความสับสนได้ว่า งานชิ้นนี้หรือชิ้นนั้น อยู่ในหมวดหมู่การรีโปรดักประเภทใด?

ด้วยเหตุนี้ ทางทีมงานไทยแวร์ จึงอยากจะขอนำเสนอทิปส์ที่น่าจะช่วยให้หลายคนกระจ่างมากยิ่งขึ้นครับ กับ เอาให้เคลียร์ เกมส์และหนังฉบับ Remaster Reboot และ Remake ต่างกันอย่างไร ? แต่มันจะมีอะไรบ้างนั้น ตามไปดูต่อกันได้เลย !

เนื้อหาภายในบทความ

การ Remake

เกม Remake

ซ้าย: Pokemon FireRed (เกมส์ฉบับรีเมค) ขวา: Pokemon Red (ต้นฉบับ)
ซ้าย: Pokemon FireRed (เกมส์ฉบับรีเมค) ขวา: Pokemon Red (ต้นฉบับ)

แบบฉบับของเกมส์ จะเป็นการนำโปรดักส์เดิมที่มีอยู่ มาพัฒนาในส่วนของประสิทธิภาพการแสดงผลเป็นหลัก (กราฟฟิก, เสียง ฯลฯ) ให้เหมาะสมตามยุคสมัย โดยในส่วนของเนื้อเรื่องจะยังคงเดิมหรืออาจมีเสริมเพิ่มเติมเข้ามาบ้าง ตามแต่ความเหมาะสมหรือตามช่องว่างที่ไม่สามารถเติมเต็มได้ในต้นฉบับ แต่กระนั้นด้านระบบการเล่น ก็จะถูกปรับปรุงให้เข้ากับดีไซน์การเล่นของเกมส์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น อาทิ Pokemon FireRed ที่เป็นภาครีเมคมาจาก Pokemon Red โดยจุดที่เพิ่มเติมเข้ามาในเกมส์ฉบับดังกล่าว จะเป็นบรรดาโปเกม่อน Gen 2 ที่ให้ผู้เล่นได้ตามจับได้ จากที่ในอดีตภาค Red ไม่มี และไอเทมประเภทเบอรี่ที่จะมอบสรรพคุณให้กับโปเกม่อนของเราและสร้างความได้เปรียบในการต่อสู้ (เป็นประเภทไอเทมที่ปรากฎครั้งแรกใน Pokemon Gold & Silver) เป็นต้น 

 

หนัง Remake

The Departed และ Infernal Affairs (2 คน 2 คม) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนของการรีเมค
The Departed และ Infernal Affairs (2 คน 2 คม) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนของการรีเมค

แบบฉบับของภาพยนตร์ ค่อนข้างคล้ายกับฝั่งของเกมส์ ที่ก็เป็นการนำโปรดักส์เดิมที่มีอยู่ มาดัดแปลงให้เข้ายุคเข้าสมัยมากขึ้นโดยที่วัตถุดิบหลักของเรื่องไม่หายไปไหน ทั้ง เส้นเรื่องหลัก ลักษณะเดิมของตัวละคร แนวหรือประเภทของหนัง แต่กระนั้นก็อาจจะปรับเปลี่ยนเพิ่มเสริมส่วนต่างๆ ที่ไม่กระทบกับวัตถุดิบหลักของภาพยนตร์ได้ เช่น The Mummy ฉบับรีเมคปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542) ที่ได้เพิ่มความเป็นภาพยนตร์แนวแอคชั่นเข้าไป จากแต่เดิมที่ภาคต้นฉบับปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) เป็นเพียงแนวสยองขวัญ แฟนตาซี หรือ The Departed ภาพยนตร์ที่รีเมคมาจาก Infernal Affairs (รู้จักกันในชื่อ 2 คน 2 คม) ที่ส่วนประกอบทั้งหลายของเรื่อง ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้มีกลิ่นอายความเป็นปุถุชนคนอเมริกัน (สบถคำหยาบคาย, วัฒนธรรมตะวันตกทั้งหลาย ฯลฯ) แต่โครงเรื่องหลักที่นำเสนอ (อันว่าด้วยการหักเหลี่ยมเฉือนคมของสายลับฝั่งตำรวจ และฝั่งเจ้าพ่อค้ายาที่ต่างก็แฝงตัวอยู่ในองค์กรของกันและกัน) ยังคงอยู่ 

สรุป: รีเมคคือการนำของเดิมที่มีอยู่ มาทำใหม่ เปลี่ยนนี่นั่นให้ทันยุคทันสมัยหรือจิปาถะได้ตามใจนึก หากแต่แก่นหรือโครงหลักยังต้องคงอยู่ครับ ง่ายๆ สั้นได้ใจความแค่นี้เลย 

การ Reboot

เกม Reboot

ซ้าย: DOOM ฉบับรีบูตปี 2016, ขวา: DOOM ต้นฉบับเมื่อปี 1993
ซ้าย: DOOM ฉบับรีบูตปี 2016, ขวา: DOOM ต้นฉบับเมื่อปี 1993

แบบฉบับของเกมส์ เป็นการนำโปรดักส์ที่ถูกทำออกมาหลายต่อหลายภาค เอามาสร้างใหม่โดยที่องค์ประกอบการเล่นหลักจะยังคงอยู่ และดัดแปลงระบบการเล่นของเกมส์สมัยใหม่ลงไปให้กับเข้ากัน เช่น DOOM (ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559)) ที่เป็นการนำซีรีย์เกมส์ยิงนรกแตกอย่าง DOOM 1993 มารีบูตใหม่ ที่ยังคงไว้ซึ่งแก่นการเล่นหลักอันเป็นเกมส์แนวยิงที่เน้นความต่อเนื่อง (ไม่ต้องรีโหลดกระสุน ค่าพลังชีวิตและเกราะป้องกันจะเพิ่มขึ้นทันทีเมื่อเก็บยารักษา/เสื้อเกราะ ความกว้างตื้นลึกของฉาก) ที่ได้ใส่ระบบอัพเกรด, ความลับหรือ Ester Egg, ฉากต่อสู้ที่มีความลึกตื้นสมจริง ฯลฯ 

หนัง Reboot

เอาให้เคลียร์ เกมส์และหนังฉบับ Remaster Reboot และ Remake ต่างกันอย่างไร ?
ซ้าย: Spider-Man (2002), กลาง: The Amazing Spider-Man (2012) ขวา: Spider-Man: Homecoming (2017)

แบบฉบับของภาพยนตร์ คล้ายกับแบบฉบับของเกมส์และคล้ายกับการรีเมค แต่จะแตกต่างออกไปตรงที่โปรดักส์ภาพยนตร์ที่จะนำมารีบูตนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์ที่เคยถูกทำออกมาแล้วหลายภาค หรือทางค่ายหนังต้นสังกัดไม่พึงพอใจกับผลงานก่อนหน้าสักเท่าไหร่ โดยการรีบูตจะสามารถปรับเปลี่ยนองค์ประกอบเสริมต่าง ๆ ได้ทั้งหมด (เนื้อเรื่อง, บทบาทตัวละคร ฯลฯ) แต่เค้าโครงหลักหรือแก่นของภาพยนตร์ที่มีมาในภาคก่อนหน้านี้ จะต้องยังคงอยู่ไม่มากก็น้อย เช่น The Amazing Spider-Man (ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)) ที่เป็นการรีบูตภาคจากปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ที่มีการปรับเปลี่ยนให้นางเอกของเรื่องเป็น เกว็น สเตซี่ (Gwen Stacy) คนรักคนแรกของไอแมงมุมตามแบบต้นฉบับคอมมิคจากแต่เดิมที่ในภาค ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) เป็น แมรี่ เจน วัตสัน (Mary Jane Watson) และได้เปลี่ยนวายร้ายจากคู่ปรับตลอดกาลอย่าง Green Goblin ให้เป็น Lizard พร้อมทั้งยังนำเสนอเนื้อเรื่องในช่วงมัธยมปลายเป็นหลักจากเดิมที่ครอบคลุมถึงวัยทำงาน เป็นต้น

สรุป: รีบูตจะมีความคล้ายคลึงกับรีเมคในแง่ของการปรับเปลี่ยนที่จะสอดใส่องค์ประกอบเสริมต่าง ๆ เข้ามาได้ตามใจนึก หากแต่โครงสร้างหลักหรือองค์ประกอบหลักจำต้องอยู่ครบและมักจะบอกเล่าเนื้อเรื่องไปยังจุดกำเนิดใหม่อีกครั้ง อีกทั้งการรีบูตจะคำนึงถึงอีกข้อหลัก ๆ ด้านการตลาด คือต้องเป็นเกมส์/ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงที่ยังสามารถต่อยอดได้อยู่ (ไม่ว่าผลงานก่อนหน้านี้จะดีหรือไม่ก็ตาม) ซึ่งโดยส่วนมากก็จะเป็นการนำโปรดักส์ที่มีมาหลายภาคมาทำการรีบูตครับ 

การ Remaster

เกม Remaster

ซ้าย: Crash Bandicoot ต้นฉบับปี 1996 ขวา: Crash Bandicoot N. Sane Trilogy (2017) ภ่าคฉบับรีมาสเตอร์ 
ซ้าย: Crash Bandicoot ต้นฉบับปี 1996 ขวา: Crash Bandicoot N. Sane Trilogy (2017) ภ่าคฉบับรีมาสเตอร์ 

แบบฉบับของเกมส์ รูปแบบดังกล่าวนี้ ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ เพราะเป็นเพียงการปรับปรุงพัฒนาด้านประสิทธิภาพการแสดงผลให้ทันยุคทันสมัยเป็นหลักเสียมากกว่า เช่น Crash Bandicoot N. Sane Trilogy หรือเกมส์เจ้าหนูแดง (หมาแดงก็ได้ตามแต่ใครจะคุ้น) ในฉบับรีมาสเตอร์ ที่ปรับกราฟฟิกให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ

หนัง Remaster

ฝั่งซ้ายคือ Star Wars: A New Hope ภาคต้นฉบับ (1977) ส่วนฝั่งขวาคือฉบับรีมาสเตอร์
ฝั่งซ้ายคือ Star Wars: A New Hope ภาคต้นฉบับ (1977) ส่วนฝั่งขวาคือฉบับรีมาสเตอร์

แบบฉบับของภาพยนตร์ เอาเข้าจริง ๆ ก็เหมือนฝั่งเกมส์แหละครับ ที่จะเป็นการปรับภาพของภาพยนตร์ให้ดีขึ้น และลบข้อผิดพลาดทางเทคนิคในงานภาพที่สมัยนั้น ยังไม่มีเครื่องมือชิ้นใดทำได้ ยกตัวอย่าง เช่น Star Wars : A New Hope (ต้นฉบับปี ค.ศ. 1977 (พ.ศ. 2520)) ที่ในฉบับแผ่นหนังบลูเรย์ปี ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) นั้น ได้ทำการปรับภาพและลบร่องรอยที่ไม่ลื่นตาจากการถ่ายทำด้วยเครืองมือสมัยก่อนออกไปพร้อมเพิ่มความละเอียดของภาพให้เป็น 4K (3840 × 2160) เป็นต้น

สรุป : รีมาสเตอร์คือการรีโปรดักส์ในเชิงประสิทธิภาพการแสดงผลเป็นหลัก แต่ในบางเกมส์/ภาพยนตร์ฉบับดังกล่าวนี้ ก็อาจมีการเสริมเติมแต่งระบบหรือฉากเพิ่มเติมต่าง ๆ ครับ


ที่มา : www.gamefaqs.com


0 %E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C+%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A+Remaster+Reboot+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+Remake+%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ทำไมไม่เรียกแมว! รักหนัง รักเกม ร๊ากกทุกคนนน ~ <3
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น