ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย

รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย
ภาพจาก : freepik.com (mockup.store) , storage.googleapis.com
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 7,595
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1+8+%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+Google+Map+%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94+%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด
(8 Recommended Google Map Tips & Tricks in Pandemic Situation)

จากสถานการณ์โรคระบาดในหลายประเทศ ทำให้การใช้ชีวิตของมนุษย์ทุกคนเปลี่ยนไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาอำนวยความสะดวกมากขึ้น ช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อ และยังประหยัดเวลาในการเดินทาง ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น แอปพลิเคชัน Google Maps ที่ติดมากับสมาร์ทโฟนแทบทุกเครื่อง ก็มีประโยชน์ในช่วงเวลาฉุกเฉินเป็นอย่างมาก ช่วยวางแผนการเดินทางได้เป็นอย่างดี แถมยังเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ขณะเดินทางอีกด้วย ส่วนมันมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันที่ด้านล่างนี้ได้เลย

บทความเกี่ยวกับ Google อื่นๆ

เนื้อหาภายในบทความ

  1. ค้นหา Timeline ประวัติการเดินทางย้อนหลัง
  2. หลีกเลี่ยงกลุ่มคนที่หนาแน่น ผ่าน Traffic
  3. ทราบจำนวนผู้ติดเชื้อคร่าว ๆ ด้วย Layers
  4. ค้นหาสถานที่ที่ต้องการได้ง่าย ๆ
  5. ลดการสัมผัสหน้าจอ เพิ่มการสั่งงานด้วยเสียง
  6. ค้นหาสถานที่ฉีดวัคซีนที่ใกล้ที่สุด (ยังใช้ไม่ได้ในไทย)
  7. ส่งตำแหน่งแบบเรียลไทม์ สดๆ ผ่าน Google Maps ได้
  8. แจ้งเตือนความปลอดภัยเมื่อออกนอกเส้นทาง (ยังใช้ไม่ได้ในไทย)

1. ค้นหา Timeline ประวัติการเดินทางย้อนหลัง

นับว่าเป็นฟีเจอร์ยอดฮิตที่สุดนอกจากการนำทางเลยก็ว่าได้ กับ Google Timeline การค้นหาประวัติการเดินทางผ่าน Google Maps เช็คได้อย่างละเอียดว่าใน 1 วันไปทำอะไร ที่ไหนมาบ้าง ด้วยรถยนต์ส่วนตัวหรือขนส่งสาธารณะ หรือวันนั้นอยู่บ้านทั้งวัน เพื่อตรวจสอบว่าเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โรคระบาดหรือไม่

ในส่วนของการใช้งาน ก็เพียงเข้าไปที่แอปพลิเคชัน Google Maps → เลือกที่ไอคอนมุมขวาบนที่แสดงอีเมล์ของตัวเอง แล้วเลือก Your Timeline สามารถระบุได้ทั้งกิจกรรมใน 1 วัน, สถานที่ที่ผ่านไป ขยายใหญ่ได้ถึงระดับจังหวัด ประเทศและโลก แต่แนะนำว่าให้เลือกดูแบบ Day จะสามารถเช็คได้ละเอียดที่สุด

รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย
วันที่เป็นวงกลมสีเทา คือ วันที่อยู่บ้านทั้งวัน
วันที่เป็นวงกลมสีขาว คือ วันที่มีการเดินทาง
รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย
แผนที่ระบุสถานที่และการเดินทางอย่างละเอียด

2. หลีกเลี่ยงกลุ่มคนที่หนาแน่น ผ่าน Traffic

เพราะในสถานการณ์โรคระบาดต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้ชีวิตแบบห่างกัน ไม่ควรไปในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการใกล้ชิดผู้คน รวมถึงเช็คการจราจรแบบ Real Time สามารถทำได้ด้วย Traffic เพียงเข้าไปที่ Google Maps > พิมพ์ในช่องค้นหาสถานที่ว่า Traffic หรือกด "ปุ่ม Layer" ด้านขวาบนแล้วเลือก Traffic แผนที่ก็จะแสดงเส้นทางทั้งสีเขียว คือ การจราจรปกติ, สีส้ม คือ การจราจรเริ่มหนาแน่, สีแดง คือ การจราจรเริ่มติดขัด มีปริมาณรถหนาแน่น และสีแดงเข้มที่แปลว่าการจราจรติดขัด นิ่งสนิท ควรหลีกเลี่ยง

และถึงแม้ว่าข้อมูลการจราจรเหล่านี้จะเกิดจากการใช้งานยานพาหนะส่วนตัว แต่ก็ช่วยให้คนเดินเท้าทราบข้อมูลว่าควรหลีกเลี่ยงเส้นทางไหน เพราะเป็นเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเต็มไปด้วยมลพิษ ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่นกัน

รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย

3. ทราบจำนวนผู้ติดเชื้อคร่าว ๆ ด้วย Layers

แต่ถ้าใครต้องการทราบจำนวนผู้ติดเชื้อ (อย่างในปัจจุบันก็คือ COVID-19) ทางกูเกิลก็ออกฟีเจอร์พิเศษอย่าง Layer หรือการแบ่งโซนแต่ละพื้นที่และประเทศว่า พื้นที่ใดมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากน้อยแค่ไหน โดยเริ่มจากการเข้าแอปพลิเคชัน Google Maps → กดที่ "ปุ่ม Layer" บริเวณขวาบน แล้วเลือก COVID-19 Info

โดยทาง Google Maps จะแสดงข้อมูลเคสผู้ติดเชื้อย้อนหลัง 7 วัน ต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน แนวโน้มที่ผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยืนยันแล้วและผู้เสียชีวิต ซึ่งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอยู่ในระดับ 0.9 มีจำนวนเคสน้อยมาก ๆ และแสดงผลเป็นสีเทา

รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย

แต่เมื่อย้ายมาดูทางฝั่งยุโรปและอเมริกา จะเห็นว่าแสดงผลหลายสีสลับกันไป ประกอบด้วย สีเหลืองอ่อน = จำนวนผู้ติดเชื้อ 1-10 คนต่อ 100,000 คน, สีส้ม = จำนวนผู้ติดเชื้อ 10-20 คนต่อ 100,000 คน, สีแสด = จำนวนผู้ติดเชื้อ 20-30 คนต่อ 100,000 คน, สีแดง = จำนวนผู้ติดเชื้อ 30-40 คนต่อ 100,000 คน และสีแดงเข้ม ที่แสดงพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ 40 คน ขึ้นไปต่อ 100,000 คน

4. ค้นหาสถานที่ที่ต้องการได้ง่าย ๆ

ส่วนใครที่ต้องการหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน เสี่ยงต่อการเจอเชื้อโรค แต่ก็ต้องออกไปทำธุระแบบรีบไป รีบกลับ ทาง Google Maps ก็ได้แนะนำวิธีที่น่าสนใจ ดังนี้

  • วางสถานที่ที่ต้องการจะไป และ add stop เพื่อเพิ่มจุดหมาย และให้ Google Maps วางแผนว่าไปเส้นทางใด เร็วที่สุด
  • ค้นหาสถานที่ที่จำเป็นต้องไปตาม Category ที่ Google จัดหมวดหมู่ไว้ เช่น หากต้องการซื้ออาหารนอกบ้าน ให้ค้นหาร้านอาหารที่รองรับ Takeout การซื้อกลับบ้าน และ Delivery มีบริการส่งถึงบ้าน, Groceries สำหรับซื้อของใช้จำเป็น, Hospital ค้นหาโรงพยาบาล คลินิกที่ใกล้ตัวที่สุด, Pharmacies ร้านขายยา ส่วนใครที่ต้องเติมเชื้อเพลิงให้ยานพาหนะ ให้เลือกหมวดหมู่ Gas หรือ Electric Vehicle charging สำหรับรถไฟฟ้า EV

  รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย
ตัวอย่างหมวดสถานที่ต่าง ๆ
ค้นหาง่าย ๆ เพียงกดครั้งเดียว

  รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย
ตัวอย่างสถานที่ยอดฮิตในปัจจุบัน
อย่างสถานีชาร์จไฟรถยนต์ EV

5. ลดการสัมผัสหน้าจอ เพิ่มการสั่งงานด้วยเสียง

อย่าลืมว่าเชื้อโรคหลาย ๆ ประเภทแพร่ได้ด้วยการสัมผัส ซึ่งสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ ก็เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคจำนวนมาก ถ้าใครคิดว่าการเช็ดทำความสะอาดสมาร์ทโฟน หรือใช้เจลล้างมือบ่อย ๆ อาจไม่พอ ขอแนะนำให้ใช้งาน Google Maps ร่วมกับ Google Assistant กันไปเลย หรือจะกด "ปุ่มรูปไมโครโฟน" ที่ช่องค้นหาสถานที่ใน Google Maps แล้วออกเสียงสถานที่นั้น ๆ ได้เลย

รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย
กด "ปุ่มไมโครโฟน" แล้วทำการสั่งงานด้วยเสียง
รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย
ได้ผลลัพธ์เหมือนกับการพิมพ์เพื่อค้นหา

6. ค้นหาสถานที่ฉีดวัคซีนที่ใกล้ที่สุด (ยังใช้ไม่ได้ในไทย)

ส่วนนี่เป็นฟีเจอร์ที่น่าสนใจที่สุด แต่กลับยังใช้ไม่ได้ซะอย่างนั้น สำหรับฟีเจอร์ค้นหาสถานที่รับฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่ใช้งานได้เฉพาะในบางรัฐที่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น เพียงพิมพ์ในช่องค้นหาสถานที่ว่า "COVID-19 Vaccine" หรือ "COVID-19 Testing" และตามด้วยชื่อสถานที่หรือชื่อเมืองนั้น ๆ เพื่อค้นหาสถานพยาบาลที่มีบริการตรวจเชื้อโควิดและฉีดวัคซีน เพื่อการป้องกันร่างกายไม่ให้ติดเชื้อโดยเร็วที่สุด

และนอกจากแผนที่จะแสดงพิกัดสถานที่แล้ว ยังมีปุ่นสำหรับนัดหมายออนไลน์ในตัว แต่ฟีเจอร์นี้ยังมีอยู่ในบางรัฐเท่านั้น ได้แก่  Arizona, Mississippi, Louisiana, และ Texas ซึ่งคาดว่าจะขยายการใช้งานฟีเจอร์นี้ไปในรัฐอื่น ๆ ต่อไป

รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย
https://blog.google/technology/health/vaccines-how-were-helping/

7. ส่งตำแหน่งแบบเรียลไทม์ สดๆ ผ่าน Google Maps ได้

นี่อาจจะไม่เกี่ยวกับการใช้งาน Google Maps ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดเท่าไหร่นัก แต่ก็เป็นฟีเจอร์ที่ใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ อย่างเช่นการส่งตำแหน่งที่อยู่ (Location) แบบเรียลไทม์สดๆ ให้กับผู้อื่นแบบส่วนตัว หรือจะแชร์ให้สมาชิกครอบครัวและกลุ่มเพื่อน ๆ ทราบก็ได้ เพียงกดที่ไอคอนอีเมล์มุมขวาบนแล้วเลือก Location Sharing เพื่อส่งเข้าที่ Contact ของคนอื่น ๆ หรือส่งเข้าแอปพลิเคชันแชทก็สามารถทำได้เช่นกัน

โดยมีให้เลือกทั้งแชร์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือแชร์ต่อไปยาว ๆ จนกว่าเราจะเข้าไปกด Stop หรือหยุดการแชร์พิกัด ซึ่งไม่ว่าเราจะเดินทางไปที่ไหน อีกฝ่ายก็จะทราบพิกัดของเราได้แบบสด ๆ ทันที

รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย

8. แจ้งเตือนความปลอดภัยเมื่อออกนอกเส้นทาง (ยังใช้ไม่ได้ในไทย)

อีกหนึ่งทิปส์ Google Maps สุดล้ำที่เปิดให้ใช้งานแล้วในประเทศอินเดียอย่างระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยเมื่อขับรถหรือโดยสารพาหนะแล้วเกิดเหตุการณ์ออกนอกเส้นทางที่วางไว้ ซึ่งฟีเจอร์นี้มีขึ้นสำหรับชาวอินเดียที่โดยสารรถแท็กซี่ แล้วเกิดเหตุการณ์คนขับพาออกนอกเส้นทาง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย

โดยในแผนที่จะทำการระบุพิกัดของผู้ใช้เมื่อเริ่มใช้บริการแท็กซี่ หากมีการออกนอกเส้นทางเกินรัศมี 500 เมตร ระบบของ Google จะทำการแจ้งให้ผู้ทราบ และมี "ปุ่ม Stay Safer" ในหน้าแผนที่ สำหรับแจ้งพิกัดให้คนในครอบครัวทราบอีกด้วย

รวม 8 เทคนิคการใช้ Google Map ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ให้อยู่กับมันได้อย่างปลอดภัย
https://beebom.com/google-maps-tricks/

เห็นแบบนี้แล้วก็ได้รู้ว่า แอปพลิเคชัน Google Maps มีประโยชน์ในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะช่วยนำทาง ช่วยค้นหาข้อมูลใกล้ตัวเมื่ออยู่นอกบ้านหรือในบ้าน หรือเช็คประวัติการเดินทางย้อนหลังก็สามารถทำได้ ยิ่งในช่วงโรคระบาดครองเมืองแบบนี้ ให้ Google Maps ช่วยวางแผนการเดินทางก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้การเดินทางใช้เวลาให้น้อยที่สุดนั่นเอง


ที่มา : www.tomsguide.com , support.google.com , beebom.com

0 %E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1+8+%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+Google+Map+%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%94+%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
Web Content Editor ท่านหนึ่ง นิยมการเล่นมือถือเป็นชีวิตจิตใจ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น