หนึ่งในภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยของประเทศไทยก็คือ เหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่จนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงถึง 2.27 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หรือในปี ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) เกิดมหาอุทกภัย ที่กินระยะเวลานานตั้งแต่ต้นปีถึงปลายปี และก็ไม่แน่ว่าในอนาคตจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่อีกหรือไม่ ? บทความนี้ เลยขอรวบรวม ช่องทางต่าง ๆ สำหรับเอาไว้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ไว้ให้อัปเดตกันอย่างต่อเนื่อง และหาทางรับมือได้ทันท่วงที
ช่องทางติดตามข่าวสารที่สะดวกที่สุดในตอนนี้ คงไม่พ้นอุปกรณ์มือถือ ที่สามารถเช็คข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งบรรดาผู้พัฒนา รวมทั้งสถาบันต่าง ๆ ก็ได้ทำ แอปพลิเคชันติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ออกมาให้ได้ใช้งานกัน เราจึงรวบรวมมาให้เรียบร้อยแล้ว
ดาวน์โหลดแอป ThaiWater สำหรับ iOS ได้ที่นี่ :
ดาวน์โหลดแอป ThaiWater สำหรับ Android ได้ที่นี่ :
แอปพลิเคชันแรกที่จะแนะนำก็คือ แอป ThaiWater ที่รายงานสถานการณ์อากาศและน้ำของประเทศไทย โดนใช้ข้อมูลจากโครงการ คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ โดยเป็นความร่วมมือจาก 37 หน่วยงาน เช่น DGA, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, NRCT, สกว., NECTEC, กฟผ., การประปา, กรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น
ภายในแอปพลิเคชัน มี dashboard ให้เห็นข้อมูลโดยรวม รวมทั้งมีเมนูแยกไปดู ปริมาณฝน, ระดับน้ำ, เขื่อน, รวมทั้งการคาดการณ์ฝนตก, คลื่น หรือพายุในรูปแบบวิดีโอให้เห็นภาพกันชัดๆ ซึ่งความน่าสนใจของแอปนี้ก็คือการแสดงผลปริมาณฝนหรือระดับน้ำบนแผนที่ทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน แอป ThaiWater มีให้บริการทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android
ดาวน์โหลดแอป DPM Reporter สำหรับ iOS ได้ที่นี่ :
ดาวน์โหลดแอป DPM Reporter สำหรับ Android ได้ที่นี่ :
แอปจากทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ในชื่อ แอป DPM Reporter ความน่าสนใจของแอปพลิเคชันนี้ คือ นอกจากภัยน้ำท่วมแล้ว ยังรวมไปถึงการอัปเดตสถานการณ์สาธารณะภัยอื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้ง วาตภัย ภัยหนาว อัคคีภัย ไฟป่า แผ่นดินไหว ดินถล่ม อาคารถล่ม ภัยจากคมนาคมขนส่ง ภัยสารเคมี วัตถุอันตราย ภัยจากการก่อความไม่สงบ ภัยทางถนน
ความน่าสนใจของแอป DPM Reporter ก็คือ ข้อมูลสาธารณะภัยต่าง ๆ ถูกรายงานในรูปแบบข่าวโดยหน่วยงาน DPM Reporter รวมทั้งผู้ใช้งานแอป ก็สามารถที่จะแจ้งข่าวเข้าไปได้ หากทำการสมัครสมาชิก (หรือเข้าสู่ระบบผ่านบัญชี Facebook) เสียดายที่ข้อมูลต่าง ๆ จากทั้งทางหน่วยงานเอง หรือผู้ใช้งานมีอยู่ไม่มาก เลยทำให้ แผนที่ข่าว (แผนที่แสดงข้อมูลในพื้นที่ต่าง ๆ) มีจำนวนข้อมูล รวมทั้งตัวเลขสถิติต่าง ๆ ให้อัปเดตเพียงน้อยนิด
ดาวน์โหลดแอป WMSC สำหรับ iOS ได้ที่นี่ :
ดาวน์โหลดแอป WMSC สำหรับ Android ได้ที่นี่ :
แอป WMSC หรือ ติดตามสถานการณ์น้ำกรมชลประทาน (ชื่อยาวหน่อย หากค้นหาใน Google Play Store) มีรายงานสถานการณ์น้ำต่าง ๆ ข้อมูลน้ำในอ่าง ข้อมูลน้ำฝน ข้อมูลน้ำท่า รวมไปถึงข้อมูลการเกษตร (ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูก)
ส่วนรูปแบบการนำเสนอข้อมูลของแอป WMSC จะเป็นรูปแบบเอกสารเป็นหน้า ๆ จากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถกำหนดวันที่เพื่อดึงข้อมูลเอกสารจากวันที่ระบุได้โดยตรง นอกเหนือจากนี้ ข้อมูลในเมนูบางส่วน จะเป็นการลิ้งตรงไปยังเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแทน ซึ่งบางหน้าเว็บไซต์ (หรือหน้าแรกของแอป) ก็จะมีสัดส่วนหน้าตาที่แปลก ๆ หน่อย เมื่อเปิดดูบนมือถือ
ดาวน์โหลดแอป DWR4THAI สำหรับ iOS ได้ที่นี่ :
ดาวน์โหลดแอป DWR4THAI สำหรับ Android ได้ที่นี่ :
แอป DWR4THAI จากกรมทรัพยากรน้ำ แอปนี้มีข้อมูล เตือนภัยน้ำหลากดินถล่ม ตามพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งพื้นที่ต้องเฝ้าระวัง แจ้งอัปเดตให้ทราบกัน นอกจากนี้ก็มี รายการการเฝ้าระวังติดตามน้ำ อัปเดตให้ทราบกันวันละ 2 รอบ (8.00 น. และ 15.00 น.) แจ้งปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ระดับน้ำในแม่น้ำโขง ข้อมูลระดับน้ำใน กทม. สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝนย้อนหลัง รวมทั้งมีข้อมูลจากกล้อง CCTV ติดตามสถานการณ์น้ำให้ผู้ใช้เข้าไปดูกล้องได้ด้วย (จากที่สุ่มลอง บางจุดใช้งานได้)
นอกจากนี้ภายในแอปมีส่วนบทความให้ความรู้เกี่ยวกับทางน้ำมาให้อ่าน และมีเมนูสำหรับแจ้งเหตุสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งให้ข้อมูลเป็นพิกัดแผนที่ (Location) โดยไม่ต้องสมัครสมาชิกได้ด้วย
ดาวน์โหลดแอป iTIC สำหรับ iOS ได้ที่นี่ :
ดาวน์โหลดแอป iTIC สำหรับ Android ได้ที่นี่ :
แอป iTIC เส้นทางจราจรอัจฉริยะที่อ้างอิงข้อมูลจาก Longdo Traffic แสดงเส้นทางจราจรได้แบบละเอียดยิบ ถนนเส้นไหน รถติดมากน้อยเพียงใด ถนนเส้นใดมีการก่อสร้าง เส้นไหนมีทางเบี่ยง ตรงไหนมีปิดจุดกลับรถ รวมทั้งสามารถดูกล้องทางหลวงสายต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ก็มีรายงานข้อมูลต่าง ๆ เช่น แจ้งข่าวคนหายบริเวณพื้นที่นี้ ข้อมูลคุณภาพอากาศ (AQI)
ในส่วนของน้ำท่วม ก็มีไอคอนแสดงเป็นพื้นที่มีสถานการณ์น้ำท่วม รวมทั้งมีระดับสีแสดงพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนในระดับต่าง ๆ อีกด้วย
ดาวน์โหลดแอป TVIS สำหรับ iOS ได้ที่นี่ :
ดาวน์โหลดแอป TVIS สำหรับ Android ได้ที่นี่ :
แอป TVIS หรือ Traffic Voice Information Service เป็นแอปพลิเคชันจากทาง NECTEC หลัก ๆ แล้วเป็นแอปบอกข้อมูลการจราจรบนท้องถนนว่าเส้นทางต่าง ๆ ถนนมีความหนาแน่นเพียงใด (คล้าย Google Maps) แสดงสถานที่ที่มีกล้องวงจรปิด (CCTV) บนท้องถนน รวบรวมข่าวบนโซเชียล อุบัติเหตุต่าง ๆ (จากทวิตเตอร์ JS100) มารายงานเป็นพิกัดให้ทราบในแผนที่ มีเส้นทางลัดแนะนำทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด และมีหมายเลขสายด่วนที่เกี่ยวกับการคมนาคมรวมไว้ให้
ภายใน Google Play Store ได้ระบุว่า "ปัจจุบันได้ทำการรวมข้อมูลน้ำท่วมเพื่อเป็นข่าวสารให้กับผู้ที่สนใจ โดยผ่านแหล่งต่างๆ เช่น กทม กรมทางหลวง ระดับน้ำเจ้าพระยา เป็นต้น" แต่จากที่ทดลอง (27 ก.ย. 64) ข้อมูลที่ใกล้เคียงที่สุดจะเป็น เมนู เรดาร์เฝ้าระวังน้ำฝน ที่แบ่งโซนเป็นพื้นที่สีต่าง ๆ รวมทั้งวงเรดาร์พื้นที่เฝ้าระวัง ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับน้ำท่วมอื่น ๆ ให้เห็น และฟีเจอร์แสดงกล้องวงจรปิด ก็ไม่ได้ปรากฏข้อมูลกล้องบนพื้นที่ใด ๆ ของแผนที่ด้วย
ดาวน์โหลดแอป RainViewer สำหรับ iOS ได้ที่นี่ :
ดาวน์โหลดแอป RainViewer สำหรับ Android ได้ที่นี่ :
แอป RainViewer เป็นแอปแสดงข้อมูลปริมาณผลบนแผนที่ โดยแบ่งเป็นแสดงข้อมูลฝนในอดีตและพยากรณ์อากาศภายในระยะเวลา 6 ชั่วโมง ด้วยความที่ แอป RainViewer ไม่ใช่แอปของหน่วยงานในประเทศไทย จึงสามารถตรวจสอบสภาพอากาศได้ทั่วโลก และไม่ได้บอกเพียงปริมาณฝนเท่านั้น แต่รวมไปถึงความหนาของเมฆและหิมะตกด้วย นอกจากนี้ก็มีโฆษณาภายในแอป ที่ต้องสมัครพรีเมียมถึงจะไม่ให้แสดงผลโฆษณาได้ รวมทั้งสามารถพยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้ถึง 48 ชั่วโมง และแอปสามารถทำงานได้เร็วขึ้น
ถ้าต้องการจะติดตามสถานการณ์น้ำท่วมผ่านแอปมือถือ ผู้เขียนแนะนำ แอป ThaiWater เพราะเกือบทุกแอปสามารถติดตามสถานการณ์น้ำท่วมผ่านการแสดงระดับน้ำบนแผนที่เหมือนกัน แต่สำหรับ ThaiWater ที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ มากที่สุดจึงมีข้อมูลอื่น ๆ ให้ได้อัปเดตสถานการณ์น้ำได้สะดวกที่สุด แต่ถ้าเอาแบบเอนกประสงค์ ก็เป็น แอป iTIC ที่นอกจากบอกข้อมูลปริมาณน้ำฝน สถานการณ์น้ำท่วมแล้ว ยังมีข้อมูลคุณภาพอากาศ แจ้งเส้นทางจราจรไม่ปกติ รวมทั้งดูกล้องทางหลวงได้อีกด้วย
จริง ๆ มีอีกแอปหนึ่งที่น่าสนใจ ชื่อว่า SWOC Water Level ที่กรมชลประทานพัฒนาขึ้นมาร่วมกับ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด ในปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) ไอเดียของแอปพลิเคชันนี้คือ ผู้ใช้งานสามารถถ่ายระดับน้ำในแม่น้ำเพื่อส่งข้อมูลให้ประเมินว่า ระดับน้ำอยู่ในสถานการณ์เฝ้าระวังหรือวิกฤติหรือไม่ ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ จะได้ประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุทกภัยได้เอง แต่ในปัจจุบันแอปดังกล่าว ไม่มีให้ดาวน์โหลดบน App Store แล้ว
แน่นอนว่าทางฝั่ง เว็บไซต์ก็มีบริการติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เช่นกัน ซึ่งมีหลายมิติมากกว่าทางฝั่งแอปพลิเคชันด้วย สำหรับใครที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์เป็นหลักแล้ว ลองมาดูช่องทางเหล่านี้กัน
ใช้บริการเว็บไซต์ Floodgistda ได้ที่นี่
ใช้บริการเว็บไซต์ Floodgistda เวอร์ชัน 2 ได้ที่นี่
เว็บไซต์ Floodgistda ที่แสดงผลข้อมูลน้ำท่วมในรูปแบบแผนที่ โดนมีข้อมูลน้ำท่วมในอดีตตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2549) ไว้ให้เปรียบเทียบด้วย ในสถานการณ์ปัจจุบัน สามารถเรียกดูในระยะเวลา 7 วันที่ผ่านมาได้
นอกจากนี้ Floodgistda ยังมีเครื่องมือใหม่คือ ระบบแผนที่ติดตามพื้นที่น้ำท่วมจากข้อมูลดาวเทียม เป็นเวอร์ชันที่ 2 ที่มีหน้าตาเรียบง่ายยิ่งขึ้นให้ใช้งานอีกด้วย ในแผนที่จะมีสถานีตรวจวัดข้อมูลน้ำแสดงให้เห็นและจะมีจุดสี ๆ แสดงสถานะด้วยว่าอยู่ในระดับใด ตั้งแต่ เฝ้าระวัง, เตรียมตัว ไปจนถึงอพยพ
ใช้บริการเว็บไซต์ สำนักการระบายน้ำ ได้ที่นี่
ตรวจสอบบริเวณน้ำท่วมขังบนถนนพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ที่นี่
เว็บไซต์ สำนักการระบายน้ำ ให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็นระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา รายงานน้ำท่วมขัง การจัดการคุณภาพน้ำ ปริมาณน้ำฝน เรดาร์ตรวจอากาศ รายงานสถานการณ์ประจำวัน
นอกจากนี้ก็มีเครื่องมือเป็นระบบตรวจวัดระดับน้ำ รวมทั้งในคลอง บนพื้นถนนและปริมาณน้ำฝน ให้เราสามารถเข้าถึงไปดูข้อมูลได้อีกด้วย
ตรวจสอบน้ำท่วมทางหลวง จากกรมทางหลวงชนบทได้ที่นี่
เครื่องมือตรวจสอบสภาพถนนทางหลวงที่เจอกับสถานการณ์น้ำท่วมของทาง กรมทางหลวงชนบท ผ่านทางแผนที่ Longdo Map ภายในเว็บไซต์จะแบ่งออกตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย มีไอคอนสีฟ้า (รถยังผ่านได้) และ สีแดง (รถไม่สามารถผ่านได้) แสดงทางหลวงที่มีสถานการณ์น้ำท่วม
ช่วงที่ผู้เขียนทดสอบ ตัวเว็บไม่สามารถแสดงผลแผนที่ได้ แต่ไอคอนต่าง ๆ ยังแสดงผลปกติ
-
ใช้บริการเว็บไซต์ Longdo Traffic และตรวจสอบสถานการณ์น้ำท่วมได้ที่นี่
บริการแผนที่ Longdo Traffic บนเว็บไซต์จาก Longdo Map มีการแสดงผลเหมือนแอป iTIC ทุกประการ (แอป iTIC ใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์นี้) ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลสภาพจราจร การตรวจดูกล้องบริเวณทางหลวง รายงานสถานการณ์ต่าง ๆ บนท้องถนน รวมไปถึงไอคอนรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ
ตรวจสอบพื้นที่ น้ำท่วมที่ประเทศไทย บน Google Maps ได้ที่นี่
Google ผู้รู้ทุกอย่าง ก็มีแทบทุกอย่างเช่นกัน สำหรับการตรวจสอบสถานการณ์น้ำท่วมก็มีกับเขาด้วย เพียงค้นหาคำว่า "น้ำท่วมที่ประเทศไทย" บน เว็บไซต์ Google Maps ก็จะมีไอคอนแสดงผลพื้นที่ที่ประสบสถานการณ์น้ำท่วมทันที (หรือจะกดผ่านลิ้งที่ผู้เขียนฝากไว้ด้านล่างก็ได้) แต่การให้ข้อมูลยังน้อยเกินไป มีเพียงไอคอนแสดงผลให้เห็นกว้าง ๆ เท่านั้น
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าทางฝั่งเว็บไซต์จะมีหลายมุม หลายมิติมากกว่าทางฝั่งแอปพลิเคชัน ถ้าให้แนะนำก็เป็น เว็บไซต์ Floodgristda ที่แม้ในเวอร์ชันแรกจะดูโบราณไปหน่อย แต่เวอร์ชันที่ 2 ก็ทำมาดูง่ายขึ้น เหมาะกับการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ได้ง่าย ดูว่าพื้นที่ของเรา หรือพื้นที่ใกล้เคียงมีสถานะเสี่ยงหรือยัง เพื่อจะเตรียมตัวกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้
เครื่องมือของสำนักระบายน้ำน่าสนใจ แต่ว่าดูได้ในเฉพาะพื้นที่กรุงเทพเท่านั้น ถ้าติดตั้งได้ทั่วประเทศก็จะดีมาก ส่วนกรมทางหลวงชนบทมีประโยชน์มากสำหรับการเดินทาง (แต่ไม่รู้ทำไมโหลดภาพแผนที่ไม่ขึ้น) ส่วน เว็บไซต์ Longdo Traffic ก็เหมือนกับแอป iTIC ที่กล่าวไปในหัวข้อก่อนหน้า เอนกประสงค์มาก ๆ
สำหรับ Google Maps หวังว่าจะมีข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น และเป็นประโยชน์ในเร็ว ๆ นี้ อย่างเช่น ฟังก์ชันการใช้งานในช่วงโรคระบาด
|
... |