ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างสามารถหาได้จากอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าคุณจะอยากฟักเพลง, ชมภาพยนตร์, เล่นเกม, หาหนังสืออ่าน, ชมภาพศิลปะ ฯลฯ ทุกอย่างเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ แต่หากมองกลับด้านไปอีกแง่มุมหนึ่ง นั่นก็ทำให้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นได้ง่ายด้วยเช่นกัน เป็นปัญหาปวดหัวของเหล่า Creator ผู้สร้างสรรค์ผลงานออกมา ลงทุนทำแทบตาย แต่ไม่ได้เงินสักบาท เพราะถูกโจรนำมาปล่อยให้ดาวน์โหลดฟรีบนอินเทอร์เน็ต เพียงคลิกเมาส์แค่ไม่กี่ครั้ง คุณก็สามารถค้นหาเพื่อดาวน์โหลดเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์จากอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย
นั่นทำให้มีการคิดค้นวิธีป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้กับสินค้าอยู่ในรูปแบบดิจิทัลขึ้นมา นั่นก็คือ Digital Rights Management หรือเรียกแบบย่อว่า DRM นั่นเอง ซึ่งถ้าแปลเป็นภาษาไทยตรง ๆ ก็คือ "การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล" (ข้อมูลจาก Wikipedia)
Digital Rights Management (DRM) ไม่แน่ใจว่ามีคำแปลเป็นภาษาไทยโดยเฉพาะหรือเปล่า แต่หากแปลตามตัวอักษรก็หมายถึง "การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล" มันเป็นระบบที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ และป้องกันการดัดแปลง หรือแจกจ่ายโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต
เป้าหมายของ Digital rights management (DRM) มีอยู่ 2 ประการ คือ
ซึ่งการจะบรรลุวัตถุประสงค์ของทั้งสองเป้าหมายที่กล่าวมาได้ จะมีแนวทางการทำอยู่ 4 วิธี ดังต่อไปนี้
แรกเริ่มเดิมที ระบบ DRM ก็ไม่ได้มีความซับซ้อนขนาดนี้นะ ไม่ได้ใช้แนวทางถึง 4 วิธี เหมือนในปัจจุบันนี้ โดยแต่ก่อนระบบ DRM จะใช้รหัสลับ (Secret Key) ในการเข้ารหัสเนื้อหาไม่ให้รับชมได้ เฉพาะผู้ที่มีรหัสลับเท่านั้น ถึงจะสามารถถอดรหัสเพื่อรับชมเนื้อหา แต่ปัญหาคือเจ้ารหัสลับที่ว่านี้มันง่ายต่อการคัดลอกไปแจกจ่าย มันจึงไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะปกป้องเนื้อหาจากการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ได้
ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็อย่างเช่น ระบบ Product Key ที่สมัยก่อนนิยมใช้งานกัน คนที่มีตัวติดตั้งซอฟต์แวร์แต่ไม่มี Product Key ที่แนบมาในกล่อง ก็ไม่สามารถติดตั้งได้ แต่อย่างที่ทราบกันว่า Product key นั้นแบ่งปันให้คนอื่นได้ง่ายมาก ๆ
ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีการนำกฏธุรกิจเพิ่มเข้าไปในกฏข้อบังคับของระบบ DRM อย่างเช่น จะใช้งานรหัสลับ (Secret key) ในเวลาไหนบ้าง และจะใช้มันได้ด้วยวิธีการใด หลังจากผ่านการปรับปรุงด้วยแนวคิดข้างต้นหลายต่อหลายครั้ง ในที่สุดมันก็กลายเป็นระบบ DRM อย่างที่เราเห็นกันอยู่ในทุกวันนี้
ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี Digital Rights Management (DRM) เป็นรากฐานที่สำคัญมากของการบริโภคสื่อในยุคดิจิทัล ไถ้าไม่มีมันล่ะก็ ผู้ผลิตหลายรายน่าจะสูญเสียรายได้จากการถูกละเมิดลิขสิทธิ์จนต้องเลิกกิจการไปหลายเจ้าเลยล่ะ จุดประสงค์ของ Digital Rights Management (DRM) นั้นมีอยู่หลายเหตุผล แต่ในภาพรวมแล้วก็จะอยู่ในคุณลักษณะ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
ตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ผู้ถือครองลิขสิทธิ์ก็ได้ตระหนักว่าจะต้องมีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นอย่างแน่นอน มีการคิดค้นวิธีแก้ปัญหาขึ้นมาหลายอย่าง ซึ่งในยุคแรกก็จะเป็นการป้องกันโดยใช้ซอฟต์แวร์เป็นหลัก (Software-based) เช่น มีระบบที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ใช้คัดลอกวิดีโอเกม หรือตัวระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นต้น
ซึ่งเหตุผลที่เกมลิขสิทธิ์แท้สมัยก่อนจำเป็นต้องใส่แผ่นขณะที่เล่นตลอดเวลาก็มาจากสาเหตุนี้นี่แหละ แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อดนตรี, ภาพยนตร์, โทรทัศน์, กีฬา ฯลฯ ได้ขยายพื้นที่เข้าสู่โลกดิจิทัล เจ้าของลิขสิทธิ์จึงจำเป็นหาวิธีป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์แบบใหม่ที่ใช้ทรัพยากรในการทำงานต่ำ และมีประสิทธิภาพสูงมาใช้
ช่วงเริ่มต้นของระบบ Digital Rights Management (DRM) มีการสรรหาวิธีป้องกันมาใช้หลายรูปแบบ เช่น การป้องกันแผ่นไม่ให้สามารถคัดลอกข้อมูลออกจากแผ่นได้, การใช้รหัสติดตั้งผลิตภัณฑ์ (Product Key), การจำกัดจำนวนครั้งที่สามารถติดตั้งได้ แน่นอนว่าวิธีการที่ว่ามา เอาจริง ๆ ก็ไม่ค่อยได้ผล และไม่ตอบโจทย์ต่อการใช้งานของสื่อดิจิทัลในปัจจุบัน จึงมีการพัฒนาระบบ Digital Rights Management (DRM) รูปแบบใหม่ขึ้นมา โดยมันจะมีหลักการทำงานเบื้องต้น ดังนี้
เนื่องจากการใช้ประยุกต์ระบบ Digital Rights Management (DRM) มีหลายรูปแบบ เทคโนโลยี DRM จึงถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่น สามารถปรับใช้ตามนโยบายที่มีความต้องการแตกต่างกันได้ และอย่าลืมว่าระบบ DRM ยังรองรับการใช้งานหลายแพลตฟอร์มอีกด้วย ทั้งบนสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, เครื่องเกมคอนโซล
ตัวอย่าง DRM ของระบบสตรีมมิ่ง
ภาพจาก : https://www.brightcove.com/en/resources/blog/dealing-drm-understanding-drm-and-how-produce-protected-content/
การออกแบบการกฏเกณฑ์ตรวจสอบให้ครอบคลุมกับเนื้อหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์, หนังสือ eBooks, เพลง, ภาพยนตร์, เกมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ จึงต้องมีความเรียบง่าย ใช้เวลาตรวจสอบน้อย แต่ได้ผลลัพธ์ที่ดี ส่วนใหญ่ก็จะตรวจสอบข้อมูลดังต่อไปนี้
อ่านมาตั้งยาว คุณผู้อ่านก็น่าจะรู้สึกว่า ระบบ Digital Rights Management (DRM) เป็นสิ่งดี ๆ ที่ช่วยป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่น่าจะมีชื่อเสีย(ง) นอกเสียจากว่า คุณเป็นโจรที่ต้องการละเมิดลิขสิทธิ์
แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนที่ใช้งานแบบถูกลิขสิทธิ์จำนวนไม่น้อยก็เกลียดชังระบบ Digital Rights Management (DRM) นะ
มันมีหลายเหตุผลที่ทำให้ระบบ DRM สามารถสร้างความหงุดหงิดให้กับผู้ใช้ หรือแม้แต่ทำตัวเป็นสปายแวร์ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เหตุการณ์ใหญ่ที่น่าจดจำ ก็อย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) ที่ Sony BGM ค่ายเพลงระดับโลก ถูกตรวจพบว่าระบบป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในแผ่น CD เพลงที่พวกเขาใช้นั้น มีการมัลแวร์ที่คอยตรวจจับข้อมูลพฤติกรรมการฟังเพลงของผู้ใช้ และยังขโมยอีเมลได้อีกต่างหาก
ปัจจุบันนี้ ปัญหา DRM ที่กวนใจผู้ใช้มากที่สุด น่าจะเป็นกลุ่มของนักเล่นเกม เพราะระบบป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์เกมนั้นสร้างปัญหากวนใจได้หลายอย่างมาก เช่น คุณเล่นเกมที่เป็นแบบเล่นคนเดียว (Single-player) แต่ระบบ DRM บังคับให้ผู้เล่นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ซึ่งบ่อยครั้งที่เซิร์ฟเวอร์ล่มจนทำให้เล่นไม่ได้อีกต่างหาก หรือ Denuvo ระบบป้องกัน DRM ที่มีชื่อเสีย(ง) ในเรื่องระบบเข้ารหัสที่ทำให้ระบบเกมมีประสิทธิภาพลดต่ำลงอย่างชัดเจน ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ผู้เล่นหลายคนไม่พอใจ ลองคิดตามว่า คนเล่นเกมเถื่อนที่ตัวเกมถูกถอดระบบ Denuvo ออก สามารถเล่นเกมได้อย่างลื่นไหล แต่คนที่จ่ายเงินซื้อของแท้ถูกลิขสิทธิ์มา ต้องเผชิญกับปัญหาดาวน์โหลดช้า เกมกระตุก เฟรมเรทตก แล้วจะไม่ให้ผู้เล่นบ่นได้อย่างไร ที่สำคัญ Denuvo ที่ว่านี้ก็ไม่สามารถป้องกันการแครกได้อยู่ดี นี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้หลายคนไม่ชอบระบบ DRM นั่นเอง
คลิกจาก https://www.youtube.com/channel/UCL1_0sz39cNePgx5MBtRAzQ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |