ในช่วงเวลาที่เชื้อไวรัสอย่างโควิด-19 (COVID-19) กำลังระบาดอย่างหนัก ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน โดยมี COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) เป็นเชื้อตัวหลักที่แพร่กระจายเร็ว แต่อาการของผู้ป่วยไม่รุนแรง และผู้ป่วยรายที่มีอาการน้อย ก็สามารถพักรักษาตัวอยู่บ้านได้ เพื่อลดความแอดอัดในสถานพยาบาล หรือที่เรียกว่าการกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) นั่นเอง
โดยสำหรับผู้ที่ตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด สามารถโทรสายด่วนของ สปสช. (สำนักงานหลักประกันสังคมแห่งชาติ) โทร. 1330 กด 14 และสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเข้าสู่กระบวนการ Home Isolation ภายใต้ความดูแลของแพทย์
การกักตัวที่บ้านของผู้ติดเชื้อ COVID-19 หรือเรียกว่า "Home Isolation" เกิดขึ้นเมื่อผู้ติดเชื้อมีอาการไม่รุนแรง และอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ว่าสามารถให้ผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ในที่พักของตัวเองได้ ร่วมกับที่ตัวผู้ป่วยต้องมีความยินยอมที่จะกักตัวอยู่ในที่พักด้วย
โดยหากที่พักอาศัยที่ใช้ในการกักตัว นั้นมีห้องพัก หรือห้องน้ำแยกต่างหากสำหรับผู้ป่วย ก็ช่วยลดความเสี่ยงที่สมาชิกคนอื่นจะติดเชื้อได้มาก แต่ถ้าไม่มีห้องพัก หรือห้องน้ำแยกเฉพาะสำหรับผู้ป่วย ก็มีหลายเรื่องที่ต้องทำอย่างระมัดระวัง อาทิ การแยกพื้นที่พักของผู้ป่วยเอาไว้โดยเฉพาะ การดูแลทำความสะอาดห้องน้ำที่ต้องใช้ร่วมกัน รวมถึงการจัดการเรื่องการไหลเวียนของอากาศในห้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อระหว่างกันลงให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติทั้งหมด ได้ถูกรวบรวมเอาไว้ในบทความนี้
โดยรายละเอียดของผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เข้าหลักเกณฑ์การทำ Home Isolation มีดังนี้
อุปกรณ์ที่ผู้ป่วย COVID-19 จะได้รับเพื่อใช้ในการเฝ้าระวังด้านสุขภาพเมื่อทำ Home Isolation ได้แก่
โดยประโยชน์ขอ
ง เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว คือการเฝ้าระวังอาการเชื้อลงปอด ที่ทำให้ปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดลดลง ซึ่งโดยปกติแล้ว ค่าออกซิเจนในกระแสเลือดอยู่ในช่วง 96-100% แต่ถ้าตัวเลขที่วัดได้จากเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว อยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่า ก็มีแนวโน้มที่เชื้อจะลงปอด
ผู้ป่วยต้องหมั่นสังเกตอาการของตนเอง วัดอุณหภูมิและวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว 2–3 ครั้งต่อวัน หากมีอาการแย่ลง และมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ มีไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส หายใจ หอบเหนื่อย วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้วได้น้อยกว่า 94% หรือไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ให้รีบติดต่อสถานพยาบาลที่รับการรักษาอยู่
นอกจากการประเมินอาการของผู้ป่วยด้วยปรอทวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วแล้ว ก็ยังมีการประเมินอาการโดยแพทย์ผ่านการพูดคุยบนระบบออนไลน์ รวมถึงการกิ
น ยาในแต่ละวันสำหรับการทำ Home Isolation ในกรณีที่ไม่มีห้องแยกเฉพาะให้กักตัว (อย่างเช่นการที่ต้องอยู่ร่วมกันในห้องพัก หรือในบ้านที่ไม่มีห้องแยกย่อย) ทำให้ผู้ติดเชื้อและสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว มีความจำเป็นต้องอาศัยร่วมอยู่ในห้องเดียวกัน ก็มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในประเด็นที่ว่านอกจากจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการแบ่งพื้นที่กักตัวของผู้ติดเชื้อออกจากพื้นที่อยู่อาศัยของคนอื่น ๆ ในห้องอย่างชัดเจนแล้ว
ควรจัดให้พื้นที่อยู่อาศัยของสมาชิกที่ยังไม่ติดเชื้อโควิดอยู่ เหนือลม (คือลมไม่พัดจากฝั่งกักตัวของผู้ติดเชื้อ มายังฝั่งที่อยู่อาศัยของสมาชิกครอบครัว) เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่เชื้อที่ล่องลอยมาในอากาศ ร่วมกับการเปิดพัดลมตั้งพื้นในห้องเอาไว้ตลอดเวลา เพื่อกำหนดทิ้งทางการไหลเวียนอากาศในห้องให้ระบายออกไปทางหน้าต่างได้อย่างเหมาะสม โดยมีรายละเอียดตามภาพดังต่อไปนี้
ขอบคุณภาพต้นฉบับจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
(มีการตัดส่วนภาพ เพื่อให้เห็นรายละเอียดชัดเจนขึ้น)
จากภาพจะเห็นว่าการจัดแบ่งโซนของผู้ติดเชื้อโควิดตามคำแนะนำของ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (เส้นประสีแดงในภาพ) อ้างอิงจากแนวประตู และหน้าต่างในห้องเป็นหลัก โดยที่การวางพัดลมตั้งพื้น 2 ตัว เปิดให้ทำงานตลอดเวลา โดยทิศทางลมไหลเข้าทางประตู และไหลออกทางหน้าต่าง และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ มีพื้นที่สีชมพูตรงประตูหน้าห้องที่เป็น พื้นที่กำหนดพิเศษ ที่เปิดให้ผู้ติดเชื้อผ่านเข้ามาได้ในเฉพาะในกรณีที่ต้องวางของ หรือออกจากห้องเท่านั้น
มีเรื่องที่น่าสนใจคือ การใช้ เครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) ที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรค จะช่วยลดความเสี่ยงในการทำ Home Isolation ลงได้ โดยมีอุปกรณ์ที่น่าสนคือ เครื่องฟอกอากาศไร้ฟิลเตอร์ Bionic Cube ที่มีตัวเครื่องขนาดเล็ก ตั้งวางบนโต๊ะหรือชั้นวางของในห้องได้ และผ่านการทดสอบว่าสามารถกำจัดเชื้อโรคได้จริงเกิน 99.99%
เมื่อจะต้องเดินทางไปโรงพยาบาลให้ใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือรถที่โรงพยาบาลมารับ ไม่ควรใช้รถสาธารณะ และทุกคนในรถต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่เดินทาง หากมีผู้ร่วมนั่งรถมาด้วย ให้เปิดหน้าต่างรถ เพื่อเพิ่มการระบายอากาศ ลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อโควิดภายในรถ
|
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง |