ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปวิดีโอ ติดภาพคนอื่นในที่สาธารณะ ได้หรือไม่ ? จะถ่ายอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย PDPA

ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปวิดีโอ ติดภาพคนอื่นในที่สาธารณะ ได้หรือไม่ ? จะถ่ายอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย PDPA

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 60,810
เขียนโดย :
0 %E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B-%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD+%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88+%3F+%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2+PDPA
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปวิดีโอ ติดภาพคนอื่นในที่สาธารณะ ได้หรือไม่ ?
ถ่ายอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย PDPA

หลังจากที่ กฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) มีผลบังคับใช้แล้ว หลาย ๆ คนที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ อาจจะสงสัยและกังวลว่าการถ่ายภาพ หรือ ถ่ายคลิป ในที่สาธารณะที่ถ่ายติดคนอื่น ๆ ในภาพ จะยังบันทึกภาพได้อยู่หรือไม่ ? และสามารถนำไปโพสต์ลงโซเชียลได้อยู่ไหม ? ถือเป็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หรือเปล่า ?

บทความเกี่ยวกับ PDPA อื่นๆ

ตอบสั้น ๆ คือ ถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นในที่สาธารณะยังสามารถทำได้ หากเป็นการถ่ายใช้งานเพื่อประโยชน์ส่วนตน และไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ที่ถูกถ่าย และไม่นำไปใช้ทางการค้า แบบนี้จะไม่ถือว่าผิดกฎ PDPA

แต่จริง ๆ การถ่ายภาพนั้นยังมีการแบ่งตามเหตุผลและลักษณะการใช้งานอีกหลายด้านที่ควรรู้ ดังนั้นเราไปทำความรู้จักกับข้อควรระวังของการถ่ายภาพในกฎหมาย PDPA ให้มากขึ้นกัน

คนทั่วไปถ่ายภาพไว้ดูเองสามารถทำได้ ไม่เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA*

*หมายเหตุ : เรื่องการถ่ายภาพมีหลายเงื่อนไข ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป

ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปวิดีโอ ติดภาพคนอื่นในที่สาธารณะ ได้หรือไม่ ? ถ่ายอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย PDPA

เนื้อหาภายในบทความ

 

PDPA คืออะไร ?
(What is PDPA ?)

PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งการจัดเก็บข้อมูล, บันทึกภาพ หรือ เผยแพร่ หากมีผู้นำเอาข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ไปใช้งานโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้ให้ความยินยอมก็จะสามารถร้องเรียนเพื่อดำเนินการทางกฎหมายกับบุคคลหรือนิติบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการนำเอาข้อมูลนั้น ๆ ไปใช้งานโดยพลการได้

อ่านเพิ่มเติม : PDPA คืออะไร ? PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีประโยชน์กับเราอย่างไร ?

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (กฎหมาย PDPA) พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) มีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022)

การถ่ายรูปในที่สาธารณะ เข้าข่าย PDPA หรือไม่ ?
(Is public photo shoot protected by PDPA ?)

การถ่ายรูปในที่สาธารณะ เข้าข่าย PDPA หรือไม่ ?

"การถ่ายรูปในที่สาธารณะที่เข้าข่าย PDPA คือ การทําเพื่อประกอบการงานอาชีพ (Professional Use)" เช่น การถ่ายเพื่อใช้ในการค้า ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา, บริษัทเอกชน หรือ รัฐ ถือว่าเข้าข่ายตามกฎหมาย PDPA จำเป็นต้องมีการขออนุญาตและความยินยอมจากบุคคลในภาพทุกครั้ง

การถ่ายรูปในที่สาธารณะ เข้าข่าย PDPA หรือไม่ ?

ส่วน "การถ่ายเพื่อใช้งานส่วนตัว (Personal Use)" ไม่เข้าข่าย PDPA ถึงแม้จะถ่ายติดผู้อื่นในภาพโดยไม่ได้ขออนุญาตก็สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพ หากถ่ายเพื่อใช้งานเพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ที่ถูกถ่าย และไม่นำไปใช้ทางการค้า ไม่ถือว่าผิดกฎ PDPA

ยกตัวอย่างเช่น การถ่ายตัวเอง, เซลฟี่ (Selfie), ถ่ายรูปเพื่อน, ถ่ายรูปหมู่, ครอบครัว และ คนรู้จัก เก็บภาพไว้ดูส่วนตัว หรือ แบ่งปันกับเพื่อนฝูง สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นสามารถถ่ายภาพได้ตามปกติ

สิ่งที่ควรระวัง : การนำรูปไปใช้ในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย จะผิดกฎหมายในรูปแบบอื่น ๆ
ซึ่งผู้ที่เสียหายสามารถฟ้องละเมิดทางแพ่งได้ โดยไม่ต้องใช้ PDPA

การนำรูป และคลิปวิดีโอที่ถ่ายติดคนอื่น​ โพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ทำได้ไหม ? (Can we post a stranger photo on social media ?)

ตามหลักการของกฎหมาย คือ "สามารถโพสต์และเผยแพร่ลงโซเชียลมีเดียได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว" ไม่ใช้เพื่อการแสวงหากำไรทางการค้า และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล 

การนำรูปและคลิปวิดีโอที่ถ่ายติดคนอื่น​ โพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ทำได้ไหม ?

ยกตัวอย่างเช่น การท่องเที่ยวในที่สาธารณะ หากเราถ่ายรูป หรือ คลิปวิดีโอ ที่มีบุคคลอื่น ๆ ติดอยู่ในภาพพื้นหลัง หากถ่ายโดยไม่เจตนา และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ที่ถูกถ่าย สามารถนำภาพมาโพสต์ลงโซเชียลมีเดียได้ อย่างไรก็ตามการถ่ายภาพเพื่อนำมาเผยแพร่ควรได้รับอนุญาตจากตัวบุคคลในภาพก่อนทุกครั้งเพื่อป้องกันการฟ้องร้องและกฎหมายด้านอื่น ๆ เช่น กฏหมายด้านลิขสิทธิ์ และ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

นอกจากนี้สิ่งที่ควรรู้คือ การบันทึกภาพ หรือ การนำคลิปและรูปภาพออกมาเผยแพร่ หากบุคคลในภาพไม่ยินยอมให้เผยแพร่ หากภาพถูกโพสต์ไปแล้ว สามารถขอให้ลบข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน

การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน และกล้องติดรถยนต์ หากไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิดกฎ PDPA หรือไม่ ? (Are CCTV and Dashcam installations in residence illegal without PDPA warning ?)

การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้านและกล้องติดรถยนต์ หากไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิดกฎ PDPA หรือไม่ ?

การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้านและพื้นที่อยู่อาศัย "ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากติดตั้งเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัย" กับตัวเจ้าของบ้าน รวมไปถึงกล้องติดรถยนต์ ที่ใช้เพื่อเป็นหลักฐาน ก็ไม่ผิดกฎ PDPA เช่นกัน อย่างไรก็ตามหากมีบุคคลที่นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เพื่อการค้า หารายได้ หรือ นำไปใช้ในกรณีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เพื่อส่วนตัว จะผิดกฏหมายทันที

ผู้ที่ถูกบันทึกภาพ-ถ่ายคลิปวิดีโอ ต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ หรือไม่ ? (Has a person in photo or video need to accept a usage everytime ?)

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกบันทึกภาพ-ถ่ายคลิปวิดีโอ ต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้ หรือไม่ ?

ตอบ ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว เข้าข่ายด้านล่างนี้

  1. เป็นการทำตามสัญญา 
  2. เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ 
  3. เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิต และ / หรือ ร่างกายของบุคคล 
  4. เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยหรือสถิติ 
  5. เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
  6. เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง 

ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป

การบันทึกภาพและวิดีโอ ที่สามารถทำได้ภายใต้กฎหมาย PDPA
(What types of photo and video can be recorded under PDPA ?)

หลายคนอาจจะยังสงสัยอยู่ ว่าจริง ๆ แล้วการถ่ายภาพแบบไหน ถ่ายได้ หรือ ไม่ได้บ้าง ? ซึ่งการบันทึกภาพและวิดีโอที่สามารถทำได้ภายใต้กฎหมาย PDPA นั้นถูกแบ่งออกตามเหตุผล และ ลักษณะการใช้งานต่าง ๆ ดังนี้

การบันทึกภาพและวิดีโอ ที่สามารถทำได้ภายใต้กฎหมาย PDPA
ขอบคุณข้อมูลจาก : อ.ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล

จากที่เห็นการถ่ายภาพทั่วไปนั้นสามารถทำได้ หากเป็นการถ่ายภาพเพื่อใช้งานส่วนตัว ไม่ใช้ทางการค้า และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น สามารถโพสต์และแบ่งปันให้กับเพื่อน ๆ ในโลกโซเชียลได้ตามปกติ ตราบใดที่ไม่นำรูปไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อทำให้ผู้อื่นเสียหาย ก็สามารถทำได้

ส่วนผู้ที่ทำงานด้านสื่อมวลชน นิติบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน นั้นต่างก็มีรายละเอียดและข้อควรระวังในด้านกฎหมายแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะอยู่ส่วนไหน ก็ควรให้เกียรติและเคารพสิทธิผู้อื่นในที่สาธารณะอยู่เสมอ

สุดท้ายนี้ กฎหมาย PDPA นั้นถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ การนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ หากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลทุกคนก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้


ที่มา : www.facebook.com , www.facebook.com , bigdata.go.th , thematter.co , www.facebook.com , www.bangkokbiznews.com

0 %E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B-%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD+%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88+%3F+%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2+PDPA
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ดูแล : Moderator    สมาชิก
It was just an ordinary day.
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
9 พฤษภาคม 2566 19:08:20 (IP 223.24.95.xxx)
GUEST
Comment Bubble Triangle
Ning
แอบถ่ายวีดีโอจากที่สูงแล้วว่าคนขับหลับทั้งที่มุมกล้องอยู่ด้านบนชัดๆแล้วเอาไปโพสต์ลงโซเชียลเราสามารถดำเนินกับคนถ่ายได้มั้ย เพราะทำให้คนขับเสียชื่อเสียงหมดและเธอก็ทำให้คนขับเขาอื่มละอายกันหมดทุกสาย