ทุกวันนี้โลกของเราเต็มไปด้วยข้อมูลที่ขับเคลื่อนในทุก ๆ ด้าน การที่หนึ่งธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ในยุคนี้ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจได้เลย และบทบาทที่สำคัญในการทำให้ข้อมูลเหล่านั้นกลายเป็นประโยชน์ก็คือ "นักวิเคราะห์ข้อมูล", "เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล" หรือ "Data Analyst" ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการรวบรวม, วิเคราะห์ และ ตีความข้อมูล (Data Analysis) เพื่อเอามาตัดสินใจเส้นทางของธุรกิจนั่นเอง
หากผู้อ่านท่านใดกำลังสนใจในอาชีพนี้อยู่ หรืออาจสงสัยว่าการเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลนั้นต้องมีทักษะอะไรบ้าง ? บทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับความหมาย, หน้าที่ของนักวิเคราะห์ข้อมูล, ความสำคัญของอาชีพนี้ และแนวทางการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่เส้นทางนี้ ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลย !
อันดับแรกเราจะต้องพูดถึง การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ก่อน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ข้อมูลที่รวบรวมมา ดึงเอาข้อมูลเชิงลึก ที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจให้ดีขึ้นได้ และในกระบวนการนี้ นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ก็จะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล, วิเคราะห์ และตีความผลลัพธ์ เพื่อให้ธุรกิจสามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้น ในการตัดสินใจทิศทางของการดำเนินธุรกิจได้
ภาพจาก : https://careerfoundry.com/en/blog/data-analytics/what-does-a-data-analyst-do/
การวิเคราะห์ข้อมูลมีบทบาทสำคัญในทุกภาคธุรกิจ เพราะข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไม่เพียงแค่ช่วยให้สามารถตัดสินใจได้แม่นยำขึ้น แต่ยังสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงาน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักวิเคราะห์ข้อมูลจึงมีบทบาทที่สำคัญในการนำข้อมูลที่มีอยู่มาสร้างคุณค่า และช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต ลดความเสี่ยงในการตัดสินใจต่าง ๆ
นักวิเคราะห์ข้อมูลมีหน้าที่หลักคือ การรวบรวมข้อมูล และตีความเพื่อหาคำตอบ แก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจง บางครั้งงานนี้ก็ต้องใช้เวลามากเพราะต้องทำงานกับข้อมูล และยังรวมไปถึงการที่จะต้องเตรียมตัวสื่อสารผลลัพธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจด้วย โดยการทำงานประจำวันของนักวิเคราะห์ข้อมูลมักจะมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
นักวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ อาจเป็นการทำแบบสำรวจ, ติดตามข้อมูลจากเว็บไซต์ หรือการซื้อข้อมูลมาจากผู้เชี่ยวชาญในการเก็บข้อมูลอีกทีหนึ่ง โดยต้องกำหนดแนวทางด้วยว่าจะศึกษาในเรื่องอะไร ? และรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้องกัน
ภาพจาก : https://medium.com/crowdforce-series/data-collection-in-4-simple-steps-5a89044597ef
ข้อมูลดิบที่ได้อาจมีข้อผิดพลาดอยู่ เช่น มีข้อมูลที่ซ้ำกัน หรือข้อมูลที่ดูผิดปกติ ดังนั้นการทำความสะอาดข้อมูลจึงเป็นการคัดกรองข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ออก เพื่อให้ข้อมูลที่เหลืออยู่สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องนั่นเอง
ภาพจาก : https://www.freepik.com
ขั้นตอนนี้นักวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องออกแบบโครงสร้างของฐานข้อมูล เช่น การเลือกประเภทข้อมูลที่ต้องการเก็บ, การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ และการตั้งค่าซอฟต์แวร์ให้ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ
การตีความข้อมูลหมายถึงการหาความเชื่อมโยง หรือรูปแบบ ที่สามารถนำไปใช้ตอบคำถาม หรือแก้ปัญหาที่ตั้งต้นเอาไว้ได้
ภาพจาก : https://medium.com/@karan_19206/what-is-data-interpretation-and-how-to-interpret-data-efficiently-b0519a69c45a
นักวิเคราะห์ข้อมูลต้องนำเสนอผลการวิเคราะห์ให้เข้าใจง่าย โดยใช้กราฟ, แผนภูมิ หรือรายงาน เพื่อสื่อสารข้อมูลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ตัดสินใจได้อีกทีหนึ่ง
ภาพจาก : https://www.impactio.com/blog/methods-for-presenting-statistical-data-in-an-easy-to-read-way
อันที่จริงแล้ว แนวทางการเป็น นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) นั้นสามารถเริ่มได้หลายทาง ไม่ว่าจะไปเรียนแล้วจบการศึกษาโดยตรง หรือการเรียนรู้เอาคอร์สเรียนต่าง ๆ แต่สิ่งที่สำคัญคือการประเมินทักษะที่เรามีอยู่แล้ว และพัฒนาทักษะใหม่ที่จำเป็น โดยได้สรุปทักษะที่จะต้องมีดังนี้
จากที่เราได้ดูทักษะที่จำเป็นในส่วนแรกไปแล้ว ต่อไปนี้คือ ลักษณะของเส้นทางที่หากทุกคนสนใจก็สามารถเลือกใช้ได้ ซึ่งสามารถปรับให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ และเวลาที่มีได้
หากเราเพิ่งเริ่มต้น หรืออยากเรียนรู้พื้นฐานของนักวิเคราะห์ข้อมูล ก็สามารถเลือกเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรที่สามารถสมัครเข้าศึกษาได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะออนไลน์ หรือออฟไลน์ หลักสูตรเหล่านี้จะสอนทักษะพื้นฐาน เช่น การใช้ SQL หรือการทำสถิติ พร้อมทั้งได้ลองทำโปรเจกต์จริง ๆ เพื่อสร้างผลงานเก็บเอาไว้ในพอร์ตโฟลิโอของเราได้
ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=fmLPS6FBbac
หากเราต้องการการศึกษาที่ลึกซึ้งขึ้น การเลือกลงเรียนปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการหางานให้กับเราได้ดีขึ้น ในบริษัทส่วนใหญ่ ปริญญาตรีเป็นสิ่งที่ควรมีสำหรับงานสายนี้ หลายมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่สอนไม่ว่าจะเป็นวิทยาการคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือแม้กระทั่ง วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ก็สอนงานด้านนี้เช่นกัน ดังนั้นหากเราสนใจงานด้านนี้แล้วยังเป็นนักเรียนมัธยมอยู่ ก็ควรเริ่มต้นจากการเรียนให้ตรงสายตั้งแต่แรกเลยนั่นเอง
ภาพจาก : https://www.freepik.com
หากว่าเราชอบเส้นทางที่ยืดหยุ่น ไม่ต้องการการอบรมที่เป็นทางการ การศึกษาด้วยตนเองก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีในการเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล เราสามารถเริ่มต้นจากการอ่านหนังสือ หรือบทความออนไลน์ที่ให้พื้นฐานที่ดี และเมื่อรู้สึกมั่นใจแล้ว ก็ลองทำโปรเจกต์แรกของตัวเองก่อนเพื่อสร้างโปรไฟล์ให้เรา
อาชีพ Data Analyst ในตอนนี้ยังคงเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูง และเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ Jobsdb ก็แสดงให้เห็นว่า เงินเดือนของนักวิเคราะห์ข้อมูลในประเทศไทยเฉลี่ยนั้นสามารถเริ่มต้นที่ประมาณ 27,000 บาท และสูงสุดได้ถึง 45,000 บาทต่อเดือน แต่ถ้าหากอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ก็มีโอกาสถึง 100,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ได้ไม่ยาก ตัวเลขเหล่านี้บ่งบอกถึงการเติบโตของอาชีพนี้ที่ยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดงาน
ภาพจาก : https://th.jobsdb.com/th/career-advice/role/data-analyst/salary
ในอนาคต อาชีพ Data Analyst ก็คาดว่าจะขยายตัวไปในหลายอุตสาหกรรมมากขึ้นอีก ทั้งในด้านการเงิน, การแพทย์, การตลาด รวมถึงการมีเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้อาชีพนี้ยังคงมีบทบาทสำคัญในโลกธุรกิจต่อไป
|