Dashboard คือหนึ่งในเครื่องมือสำคัญขององค์กรในการบริหาร การตัดสินใจทางธุรกิจ รวมถึงการหาช่องทางธุรกิจและตลาดใหม่ ๆ ได้ด้วย ดังนั้นการมี Dashboard ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ย่อมได้เปรียบ
การออกแบบ Dashboard ที่ดีนั้นมีอยู่สามขั้นตอนใหญ่ ๆ คือเริ่มจากการวางแผน การออกแบบจัดเรียงข้อมูลลงบนกระดานของเรา และการปรับปรุงคุณภาพในรายละเอียด
สำหรับช่วงแรกคือขั้นตอนการออกแบบนั้นมีสิ่งที่ต้องคำนึง 3 ประการคือ
ในเรื่องของการวางข้อมูลลงบน Dashboard ซึ่งเป็นเหมือนการวาดแผนที่ข้อมูลให้ผู้ใช้งานได้ “อ่าน” โดยมีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
ภาพจาก : Tableau Whitepaper 10 Best Practices for Building Effective Dashboards
ในเรื่องสุดท้ายคือการปรับปรุงในรายละเอียดของ Dashboard นั้น มีขั้นตอนคือ
ภาพจาก : Tableau Whitepaper 10 Best Practices for Building Effective Dashboards
ภาพจาก : https://youtu.be/YC3ncq8QdEY โดยทีม storytelling with data
พอดีว่าผมไปเจอ Dashboard หนึ่งที่เพิ่งได้รางวัล Information is Beautiful Awards (IIBAwards) จากสมาคม Data Visualization (datavisualizationsociety.org) ในหมวด Business Analytics ซึ่งงาน Dashboard นี้ได้รางวัลเหรียญทองแดงจากการประกวดเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา
เหตุผลที่จะพูดถึงเหรียญทองแดง ก็เพราะทีมที่ได้เหรียญทองเป็นงานเชิงทดลอง สวย แต่ไม่ได้เป็น Dashboard แบบที่เราเห็นกันทั่วไป ส่วนงานของทีมที่ได้เหรียญเงินก็เป็นงานแสดงข้อมูลเศรษฐกิจระดับนานาชาติ ไม่ได้ออกแบบเพื่อใช้งานทางด้านธุรกิจโดยตรงเหมือนกัน จริง ๆ ก็งงว่าทำไมสองงานนี้ถึงได้รางวัลเพราะมันไม่ได้ใช้ Information dashboard แบบที่เราคุ้นเคยเท่าไร
มาพูดถึงงานเหรียญทองแดงดีกว่าครับ เพราะงานนี้คือ Dashboard ที่เป็นตัวอย่างการใช้งานจริงในภาคธุรกิจในแผนกบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) นั่งเอง ซึ่งเจ้าของงานคือคุณ Pradeep Kumar G ฝากไว้ที่ Tableau Public มีหน้าตาแบบนี้ครับ
ภาพจาก : Tableau Public HR Attrition Dashboard ของ Pradeep Kumar G
หลายคนอาจจะสงสัยว่า Dashboard สีจืดแบบนี้ทำไมถูกใจกรรมการได้ เรามาดูคำอธิบายเหตุผลการให้รางวัลของ Dashboard นี้กันดีกว่าครับ
Dashboard นี้ถูกออกแบบเพื่อแสดงการข้อมูลการลาออก (Attrition) ของพนักงานในองค์กร ซึ่งแบบรายละเอียดปลีกย่อยลงไปตามแผนก ตำแหน่ง ข้อมูลส่วนตัวพนักงาน (Demographic) และคะแนนผลสำรวจ ข้อมูลพนักงานที่ลาออกจะเป็นเฉดสีส้มทั้งหมด ส่วนกลุ่มพนักงานที่ยังทำงานอยู่เป็นเฉดสีเทาถึงดำ
ในแง่ของหลักการการออกแบบก็ถือว่าตามมาตรฐานเลยครับ ตัวเลขที่เป็น KPI หลักจะวางด้านบน ได้แก่อัตราส่วนการลาออก (Attrition Rate) จำนวนคนที่ลาออก (Total Attrition) และจำนวนพนักงานในปัจจุบัน (Current Employees) เลขสามตัวนี้วางที่ฝั่งซ้ายบน เพราะคนทั่วไปเริ่มอ่าน Dashboard จากตรงนั้นก่อนตามหลักอักษรตัว Z
ถ้าดูข้อมูลจาก Dashboard จะเห็นว่าพนักงานจากแผนกวิจัยและพัฒนาลาออกเยอะที่สุด กลุ่มคนที่ลาออกส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง (แต่ในแง่อัตราส่วนถือว่าไม่ต่างกันมาก ถ้าดูจากชิ้นของแผนภูมิโดนัท) เรื่องอายุและอาชีพ ส่วนใหญ่อยู่ในวัยเริ่มทำงานคือ 25-34 ปี และมีการศึกษาระดับปริญญาตรี
คือจะเห็นว่าในแถวแรกของข้อมูลเรารู้ภาพรวมในเรื่องหน่วยงานที่มีคนออกเยอะ และภูมิหลังของคนเหล่านั้นพอประมาณแล้ว ถัดมาเราจะเห็นว่าแนวโน้มการลาออกมันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา และเราสามารถย้อนกลับไปดูตัวเลขพนักงานลาออกในช่วงเวลาแต่ละไตรมาส หรือแต่ละปีได้อีกด้วย
ข้อมูลที่สามารถปรับได้หลายช่วงเวลา ประกอบกับการมีเส้นเกณฑ์ (Benchmark Line) แสดงค่าเฉลี่ยแต่ละช่วงไว้ชัดเจนช่วยให้เราเข้าใจได้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร ดีขึ้นหรือแย่ลงแค่ไหน
ถัดมาในช่องข้อมูลสำรวจความคิดเห็นพนักงานโดยคนที่ลาออกส่วนใหญ่บอกว่าไม่พอใจกับสภาพแวดล้อมในองค์กร ให้คะแนนเรื่องนี้แค่ 1 แต้มมากถึง 72 คน รองลงมาก็เป็นเรื่องความพอใจในตำแหน่งหน้าที่ของตนเอง ซึ่งมีคนให้คะแนน 1 แต้มอยู่ 66 คน
ในส่วนสุดท้ายคือรายละเอียดพนักงานแต่ละคนที่ลาออกว่าคะแนนความพึงพอใจ คะแนนผลงาน รวมถึงเงินเดือนได้เท่าไร ก็คือการเจาะดูรายบุคคลเลยครับ
ทั้งหมดนี้ทำไมมันถึงดีในแง่การออกแบบ Business Analytics Dashboard ? ก็เพราะมันเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้สำรวจ เปิดด้วยภาพกว้างและเจาะลงไปถึงรายละเอียดได้ ยกตัวอย่างถ้าเราสนใจความแตกต่างของเพศพนักงานที่ลาออก เมื่อกรองข้อมูลเป็นกลุ่มเพศหญิงเทียบกับเพศชาย เรื่องการกระจายของอายุ ระดับการศึกษาก็ดูจะใกล้เคียงกัน แต่มีความต่างที่ชัดเจนในเรื่องผลสำรวจ
คือแม้ว่าทั้งสองกลุ่มจะเห็นตรงกันว่าสภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่โอเคเท่าไร แต่เรื่องที่เป็นปัญหาของพนักงานหญิงที่ลาออกจะมีเรื่องความสัมพันธ์ในที่ทำงานด้วย ในขณะที่พนักงานชายที่ลาออกไม่พอใจกับหน้าที่การงาน แต่ไม่มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์เลย การเจาะไปดูข้อมูลแบบนี้โดยใช้ Dashboard จะช่วยให้ผู้รับผิดชอบเห็นชัดเจนว่ามันมีรายละเอียดที่ต่างกันอย่างไร
สรุปคือ Dashboard นี้ถูกออกแบบเพื่อตอบคำถามว่าทำไมพนักงานถึงลาออก แล้วก็สามารถตอบคำถามนี้ได้ในระดับที่สามารถนำไปสนับสนุนการแก้ไขปัญหานั่นละครับ ถ้าฝ่าย HR อยากทำ Exit Interview ก็จะได้รู้ว่าควรเน้นที่ประเด็นไหนเมื่อพนักงานหญิงลาออก มีปัญหาดราม่ากับเพื่อนร่วมงานหรือไม่ แล้วจะแก้ไขอย่างไร หรืออาจจะทำแบบสำรวจเกี่ยวกับความพึงพอใจในหน้าที่การงานแบบละเอียดโดยเน้นหาสาเหตุจากพนักงานเพศชายก็ทำได้เช่นกัน
นี่ละครับ Dashboard ที่ดีเริ่มด้วยการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และสามารถเรียงร้อยเรื่องราวข้อมูลออกมาได้อย่างเป็นระบบ
นอกจากเหตุผลข้างต้นของกรรมการและส่วนที่ผมอธิบายเสริมด้วยนั้น กรรมการยังชื่นชมการเพิ่ม “SHOW ONLY ATTRITION” toggle button switch ด้านบน ให้ผู้ชมเลือกดูข้อมูลแค่พนักงานที่ลาออก (สีส้ม) หรือดูในภาพรวมได้ การดูแต่กลุ่มที่ลาออกอย่างเดียวช่วยให้เราโฟกัสได้ง่ายขึ้นนั่นเอง เหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ที่จริงช่วยปรับการรับรู้ของเราได้มากเลย
คุณ Pradeep Kumar G ออกแบบ Dashboard ไว้เยอะมากบน Tableau Public ได้รางวัลและมีชื่อเข้าชิงหลายรายการ นอกจาก IIBAwards แล้วก็ยังมี IronViz รางวัลใหญ่ของ Tableau Conference, Vizzie award ของ Tableau เช่นกัน
ลองไปดูผลงาน Dashboard สวย ๆ ของคุณ Pradeep Kumar G ได้ที่
|
ผู้เขียน DATA STORYTELLING IN MARKETING ใช้ดาต้าเล่าเรื่องแบบมืออาชีพ | ครูมหาวิทยาลัยใกล้ๆ กรุงเทพที่สนใจเทคโนโลยี การศึกษา และสิ่งที่เป็นไปได้เมื่อเอาสองเรื่องนี้มารวมกัน |