เชื่อว่าหลายคนคงประสบปัญหาที่ว่า เวลาเราซื้อ คอมพิวเตอร์ (PC) หรือ โน้ตบุ๊ก (Notebook) มาใหม่ ทางผู้ผลิตจะไม่ค่อยนิยมแบ่งไดร์ฟ หรือแบ่งพาทิชัน (Partition) มาให้ หากเราต้องการแบ่งพาร์ทิชัน ก็เลยต้องมาหาวิธีแบ่งพาทิชันเอาเอง
การทำ Partition บนฮาร์ดไดร์ฟ เป็นหนึ่งในกระบวนการพื้นฐานในการจัดการกับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ มันไม่เพียงแต่ช่วยในการจัดระเบียบข้อมูลที่เก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ, ลดความเสี่ยงในการสูญหายของข้อมูล และอำนวยความสะดวกในการจัดการให้กับผู้ใช้
บทความนี้จะอธิบายว่าการทำ Partition คืออะไร ? รวมถึงขั้นตอนการแบ่งพาร์ทิชันด้วยตนเองแบบง่าย ๆ ให้เข้าใจกัน
การทำพาร์ทิชัน (Partition) คือการแบ่งพื้นที่บน ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Drive หรือ HDD) หรือ Solid-State Drives (SSDs) ให้เป็นหน่วยย่อย ๆ ซึ่งส่งผลให้ตัว ระบบปฏิบัติการ (OS) และระบบไฟล์ (File System) จะจัดการพื้นที่ที่ถูกแยกออกมานั้น เสมือนกับว่ามันเป็นฮาร์ดดิสก์อีกตัวที่แยกออกจากกัน
พาร์ทิชันคือ เป็นพื้นที่ที่สามารถใช้จัดเก็บระบบปฏิบัติการ, แอปพลิเคชัน, ไฟล์ และข้อมูลต่าง ๆ ในการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ครั้งแรก มักจะเริ่มต้นด้วยการสร้างพาร์ทิชันขึ้นมาอย่างน้อยหนึ่งพาร์ทิชัน โดยถือว่าเป็นพาร์ทิชันหลักที่ใช้ในการจัดเก็บ OS และหากเราไม่ต้องการเก็บไฟล์ หรือติดตั้งโปรแกรมรวมไว้ในพาร์ทิชันเดียวกับ OS ก็สามารถแบ่งพาร์ทิชันเพิ่มเติมได้
ภาพจาก : https://www.sweetwater.com/sweetcare/articles/how-to-create-a-partition-on-mac-and-pc/
เราสามารถตัวจัดการพาร์ทิชัน (Disk Partition Manager) เพื่อสร้าง, ปรับขนาด, ลบ และจัดการพาร์ทิชัน โดยจะสิ่งที่เรียกว่าตารางพาร์ทิชัน (Partition Table) คอยบันทึกตำแหน่ง และขนาดของพาร์ทิชันแต่ละอัน ซึ่งละพาร์ทิชัน ทางตัวระบบปฏิบัติการก็จะมองเห็นเป็นดิสก์แยกออกจากกัน โดยระบบปฏิบัติการจะอ่านตารางพาร์ทิชันบนไดร์ฟก่อนเป็นสิ่งแรกเสมอ
เมื่อสร้างพาร์ทิชันแล้ว จะต้องฟอร์แมตระบบไฟล์ เช่น New Technology File System (NTFS) , FAT32 หรือ exFAT จากนั้นข้อมูล และไฟล์ จะสามารถถูกเขียนลงในระบบไฟล์บนพาร์ทิชันได้แล้ว
เมื่อผู้ใช้บูตเช้าสู้ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ กระบวนการแรกระบบจะไปยังเซกเตอร์ (Sector) แรกของฮาร์ดไดร์ฟ ซึ่งรวมถึงตารางพาร์ทิชันที่กำหนดจำนวนพาร์ทิชัน และที่อยู่ที่แต่ละพาร์ทิชันจะเริ่มต้น
ภาพจาก : https://www.techtarget.com/searchstorage/definition/partition
ส่วนสำคัญของการทำพาร์ทิชันคือ การกำหนดชนิดว่าเป็นพาร์ทิชันที่ทำงานได้ (Active Partition) หรือพาร์ทิชันที่สามารถบูตได้ (Boot Partition) โดยอย่างหลังเป็นพาร์ทิชันที่กำหนดให้เป็นที่อยู่ของระบบปฏิบัติการ (OS)
ในการเก็บข้อมูลระดับองค์กร การทำพาร์ทิชันช่วยให้สามารถทำ Short Stroking ได้ ซึ่งเป็นวิธีการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการวางตำแหน่งข้อมูลที่จำกัดการเคลื่อนไหวของหัวอ่าน/เขียนข้อมูล เพื่อให้มีการขยับน้อยลง อ่าน/เขียนข้อมูลได้เร็วขึ้น
อันที่จริง การแบ่งพาร์ทิชันมันก็ทำได้ไม่ยาก มี ซอฟต์แวร์บุคคลที่สาม (3rd-Party Software) ให้เลือกใช้ ในท้องตลาดอยู่มากมาย หรือใน ระบบปฏิบัติการ Windows ก็มีของดีใส่มาให้ใช้งานอยู่แล้ว นั่นคือ เครื่องมือ "Disk Management " หรือถ้าแปลเป็นไทยก็คือ "การจัดการดิสก์" นั่นเอง
ก่อนอื่น มาเริ่มจากการทำความรู้จักกันก่อนสักเล็กน้อย ว่าเครื่องมือ Disk Management ในระบบปฏิบัติการ Windows คืออะไร ?
Disk Management เป็นยูทิลิตี้ที่ Microsoft ใส่เข้ามาในระบบปฏิบัติการ Windows เป็นครั้งแรกในระบบปฏิบัติการ Windows XP และมันก็มีอยู่มาจนถึงระบบปฏิบัติการ Windows 11 ที่เป็นเวอร์ชันล่าสุด นั่นหมายความว่า วิธีการในบทความนี้สามารถนำไปใช้ได้กับระบบปฏิบัติการ Windows ได้แทบทุกเวอร์ชันเลย
คุณสมบัติที่ Disk Management ทำได้ จะประกอบไปด้วย
บนระบบปฏิบัติการ Windows 11 ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งาน Disk Management ได้หลายวิธี
ต่อมาเรามาดูวิธีใช้งาน Disk Management กัน โดยจะแบ่งตามรูปแบบสิ่งที่เราจะทำนะครับ จะทำอะไรได้บ้าง มาอ่านกัน
เอาไว้ใช้เวลาที่เราต้องการเปลี่ยน Drive Letter เช่น จาก ไดร์ฟ D: ไปเป็น ไดร์ฟ E: หรืออาจจะใช้ในกรณีที่เราติดตั้งไดร์ฟใหม่เพิ่มเข้าไปในระบบ แล้วระบบปฏิบัติการ Windows มองไม่เห็น ก็อาจเป็นเพราะตัวไดร์ฟยังไม่มี Drive Letter ของตัวเอง ก็ให้เราเข้ามาแก้ไข หรือเพิ่มได้ด้วยการคลิกขวาที่ไดร์ฟเป้าหมาย แล้วเลือก "เมนู Change Drive Letter and Paths..."
ในกรณีที่เราต้องการแบ่งพาร์ทิชันใหม่ เราจะเริ่มต้นจากการลดขนาดของพาร์ทิชันเดิมเสียก่อน แล้วนำพื้นที่ว่างที่ถูกแบ่งออกมา มาสร้างเป็นพาร์ทิชันใหม่ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการคลิกขวาที่พาร์ทิชันเป้าหมาย แล้วเลือก "เมนู Shrink Volume..."
จากนั้นรอระบบคำนวณพื้นที่บนไดร์ฟที่สามารถปรับลดได้สักครู่หนึ่ง
จากนั้น จะมีหน้าต่างให้เราปรับเพิ่มลดขนาดพาร์มิชันแสดงขึ้นมา โดยในแต่ละช่องมีความหมาย ดังนี้
หลังจากที่กำหนดค่าที่ต้องการได้แล้ว ให้คลิกที่ "ปุ่ม Shrink" เพื่อให้มันเริ่มดำเนินการ
หลังจากมันทำงานจนเสร็จ เราจะเห็นว่าพาร์ทิชันเดิมที่เราเลือกจะมีขนาดลดลง และมีพื้นที่ว่างใหม่เพิ่มขึ้นมา แต่สังเกตว่า มันจะมีแถบสีดำ และระบุว่า "Unallocated" เอาไว้อยู่ ซึ่งหมายถึงพื้นที่ไดร์ฟที่ระบบยังไม่ได้จัดการกำหนดพาร์ทิชัน มันจึงยังไม่สามารถใช้งานได้
พื้นที่ที่เกิดจากการ "Shrink" หรือพื้นที่ใน SSD หรือ HDD ตัวใหม่ที่เราติดตั้งเพิ่มเข้าไปใน ตัวระบบปฏิบัติการ Windows จะยังมองไม่เห็นในทันที เพราะไดร์ฟดังกล่าวตัวพื้นที่จะถูกจัดเป็น "Unallocated" เอาไว้อยู่ เราจะต้องทำให้ระบบรู้จักพื้นที่ดังกล่าวด้วยการสร้างพาร์ทิชันให้มันเสียก่อน ด้วยขั้นตอนดังนี้
เราก็จะเห็นพาร์ทิชันใหม่ปรากฏขึ้นมาแล้ว ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
หากเรารู้สึกว่ามีบางพาร์ทิชันที่ไม่ต้องการใช้งานแล้ว หรือความจุของพาร์ทิชันเริ่มไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ก็สามารถลบพาร์ทิชันทิ้ง แล้วนำพื้นที่มารวมกับพาร์ทิชันเดิมได้ โดยสามารถทำได้ด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 110
26 ตุลาคม 2560 21:09:24
|
||||||||||||||||||||
![]() |
คลิกขวาไดร์ฟ C: แล้วเข้า Extend volume ไม่ได้ครับ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรครับ
|
|||||||||||||||||||
ความคิดเห็นที่ 109
7 เมษายน 2560 13:47:33
|
||||||||||||||||||||
GUEST |
![]() |
seagram107
ลบdrive dไม่ได้
|
||||||||||||||||||
ความคิดเห็นที่ 108
9 พฤศจิกายน 2559 16:58:06
|
||||||||||||||||||||
GUEST |
![]() |
sanya
ถ้าตามขั้นตอนแล้ว ข้อมูลใน Drive C: จะยังคงอยู่เหมือนเดิมหรือเปล่าครับ (delete Drive D: แล้ว)
|
||||||||||||||||||
ความคิดเห็นที่ 107
10 ตุลาคม 2559 11:06:36
|
||||||||||||||||||||
GUEST |
![]() |
mook
แบ่งเสร็จสับเรียบร้อย พอรีเครื่องใหม่ กลายเป็นว่าเข้าวินโดวไม่ได้
|
||||||||||||||||||
ความคิดเห็นที่ 106
19 กันยายน 2559 22:03:16
|
||||||||||||||||||||
![]() |
|
|||||||||||||||||||
ความคิดเห็นที่ 105
20 สิงหาคม 2559 20:48:34
|
||||||||||||||||||||
GUEST |
![]() |
Sunlnwyo
ขอบคุณมากๆครับ มีประโยช มากกกก ครับ
|
||||||||||||||||||
ความคิดเห็นที่ 104
24 กรกฎาคม 2559 00:02:57
|
||||||||||||||||||||
GUEST |
![]() |
Leena
เดิม ผม มี ไดส C D E เรียงตามใน Disk Manageทีนี้ผม delete D ครับ แล้วจะสร้างไดสใหม่ (ตอนนี้ Free Space เรียงอยู่หน้า local drive) กดสร้างใหม่แล้วแต่มันขึ้นว่า There is not enough space available for complete this operation มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างครับ |
||||||||||||||||||
ความคิดเห็นที่ 103
13 มีนาคม 2559 21:21:13
|
||||||||||||||||||||
GUEST |
![]() |
AG39
พี่คะ หนูอยากจะแบ่งเนื้อที่ของไดร์ฟC มา ไดร์ฟ D ค่ะ ต้องทำอย่างไงคะ คือไดร์ฟD มันจะเต็มแล้วค่ะ แล้วก็มี Unallocated ว่างหนึ่งที่ ค่ะ จะเอามารวมไดร์ฟ D ได้ไหมคะ
|
||||||||||||||||||
ความคิดเห็นที่ 102
25 กุมภาพันธ์ 2559 11:40:31
|
||||||||||||||||||||
GUEST |
![]() |
หนิง
จะรวมไดร์ d เข้าไดร์ c คะ พอคลิกขวาที่ไดร์ d มันไม่ยอมให้ delete คะ
|
||||||||||||||||||
ความคิดเห็นที่ 101
12 กุมภาพันธ์ 2559 09:53:37
|
||||||||||||||||||||
GUEST |
![]() |
tingเ41110
ขอบคุณมากๆครับ
|
||||||||||||||||||