แชร์หน้าเว็บนี้ :
การเดินทางไปต่างประเทศนั้น สิ่งแรกที่เราต้องเตรียมคือการวางแผนเดินทางและจัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ แต่อีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้กัน ก็คือ หนังสือเดินทาง หรือที่เราเรียกกันว่า พาสปอร์ต (Passport) นั่นเอง หากเราอยู่ในต่างประเทศแล้วขาดเจ้าสมุดเล่มเล็กๆ นี้ไป อาจถูกจับเพราะไม่มีเอกสารที่ใช้ยืนยันตัวตนว่า เดินทางมาจากไหน เข้าประเทศเขาได้อย่างไร
ครั้งแรกที่รู้ว่าต้องไปทำหนังสือเดินทาง (Passport) แล้วนั้น บอกเลยว่าไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี จึงได้เข้าไปหาอ่านข้อมูลจากในเว็บไซต์หลักของทางกรมการกงสุล และโทรศัพท์ไปสอบถามจนทราบว่า ตามปกติการจองคิว มีสองวิธีคือ ไปต่อคิวหน้างาน กับจองคิวผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ ซึ่งการจองออนไลน์นั้น เร็วกว่าการไปต่อคิวที่หน้างาน เพราะว่าระบบจะจำกัดไว้ว่าหนึ่งวัน ทำได้กี่คน แต่ละช่วงเวลารับได้กี่คน ทำให้คนไม่ล้นหรือเยอะเกินไป
วันนี้เราก็เลยจะมาแนะนำ วิธีทำหนังสือเดินทางแบบง่ายๆ ผ่านช่องทางการจองคิวออนไลน์ล่วงหน้า ที่แสนสะดวกสบาย ให้ทุกคนได้ทราบถึงขั้นตอนวิธีทำตลอดจนเอกสารที่ต้องเตรียม ไปดูพร้อมๆ กันเลย และสำหรับคนที่ไม่อยากอ่านเยอะ ก็สามารถข้ามไปอ่านบทที่สนใจได้เลยนะครับ
อธิบายเกี่ยวกับประเภทของหนังสือเดินทางของไทย
ประเภทหนังสือเดินทางของไทย
ตอนนี้คงทราบความสำคัญของหนังสือเดินทาง (Passport) มาบ้างแล้วใช่ไหมครับ? หากใครที่ยังไม่ทราบ ก็ขออธิบายไว้ ณ ที่นี้เลยละกัน หนังสือเดินทาง ก็คือ เอกสารสำหรับใช้ยืนยันตัวตน ที่ทางหน่วยงานรัฐออกให้แก่พลเมืองของประเทศนั้นๆ เปรียบได้กับ "บัตรประชาชนสากล ที่ต้องพกติดตัวอยู่ตลอด เวลาเราอยู่ต่างแดน" ข้อมูลภายใน จะบอกว่าเราเป็นใคร ชื่อแซ่อะไร มาจากที่ไหน และเดินทางเข้าประเทศถูกต้องหรือไม่ ที่ต้องพกติดตัวไว้ ก็เพราะหากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจในต่างแดนเรียกตรวจ เราต้องมี หากไม่มีแล้วหล่ะก็... เราจะกลายเป็นต่างด้าวหนีเข้าประเทศเขาแน่นอน และอาจถูกเชิญไปนอนในลูกกรงถึงต่างแดนเลยก็เป็นได้
รู้หรือไม่ว่า หนังสือเดินทางของไทย มีอยู่ 4 ประเภท + 2 ประเภทพิเศษ ได้แก่
- หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีน้ำตาล) : มีอายุใช้งาน 5 ปี ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป
- หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม) : มีอายุใช้งาน 5 ปี ออกให้สำหรับข้าราชการ ใช้สำหรับงานราชการ หรือบุคคลอื่นที่ทำประโยชน์ให้แก่รัฐ
- หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด) : มีอายุใช้งาน 5 ปี ออกให้บุคคลสำคัญที่ทำงานให้กับรัฐ และพระบรมวงศ์ พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
- หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว) : ใช้งานได้ 1 ปี ออกให้ในกรณีที่หนังสือเดินทางเล่มเก่าสูญหายหรือหมดอายุ และมีความจำเป็นที่ต้องเดินทางไปยังต่างประเทศอย่างเร่งด่วน อย่างไรเสียหนังสือเดินทางชั่วคราว ก็มีข้อจำกัดก็คือ ไม่มี Machine Readable Bar Code ซึ่งนำไปขอวีซ่า (Visa) บางประเทศไม่ได้
หนังสือเดินทาง ประเภทพิเศษ
- หนังสือเดินทางพระภิกษุสามเณร : ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณร ที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ ตามนัยระเบียบของมหาเถรสมาคม
- หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ : ออกให้ชาวมุสลิมที่ต้องการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้ จะมีอายุใช้งาน 2 ปีเท่านั้น
เอกสารสำหรับใช้ทำหนังสือเดินทาง
เมื่อรู้ว่าหนังสือเดินทาง (Passport) มีกี่ประเภท แล้วเราต้องขอประเภทไหน ต่อมาเราจะมาดูว่าเอกสารที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง ตามปกติของการทำหนังสือเดินทางนั้น หากเราเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีบริบูรณ์) บอกเลยว่าทำง่ายสุดๆ ไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรมากมาย พกมาแค่บัตรประชาชนใบเดียวก็พอ แต่ถ้าเคยเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ก็ต้องเตรียมใบรับรองมาด้วยนะ และสำหรับน้องๆ หนูๆ ที่อายุยังไม่ถึง 20 ปีนั้น ต้องเตรียมเอกสารหลายรายการ และพ่อแม่ต้องไปทำด้วย สามารถดูรายการเอกสารได้จากด้านล่างนี้ได้เลย
- บุคคลบรรลุนิติภาวะ
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง (ไม่หมดอายุ) หรือ บัตรข้าราชการ (+สำเนาทะเบียนบ้านตัวจริง) ที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทย
- หากมีรายการแก้ไขชื่อ นามสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ที่ไม่ตรงกับบัตรประชาชน ให้นำหลักฐานการแก้ไขมาแสดงด้วย
- ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี (แรกเกิด - 14 ปี)
- สูติบัตรตัวจริง (สำเนาต้องมีการรับรองจากอำเภอ/เขต) หากมีบัตรประชาชนแล้ว ก็ต้องนำมาแสดงด้วย
- บิดาและมารดาต้องมาลงนามในหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ พร้อมกับแสดงบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง ณ วันที่ทำ
-
เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตร หรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาหรือมารดา เป็นต้น
-
ส่วนในกรณีต่างๆ เช่น กรณี บิดา มารดา ของผู้เยาว์เสียชีวิต, กรณีที่บิดา มารดา ของผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติที่มิได้จดทะเบียนสมรส, กรณีที่ไม่สามารถตามหา ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้, กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรส แต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้ ซึ่งกรณีเหล่านี้ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดงด้วย
- ผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
- บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง (ไม่หมดอายุ) หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทย
- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต และสำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครอง พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
- เอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น
ที่นี้ทุกคนก็ได้ทราบแล้วใช่ไหมว่า เอกสารที่เราต้องเตรียมมีอะไรบ้าง สำหรับคนบรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุเกิน 20 ปี) ก็สบายหน่อย แต่สำหรับน้องๆ หนูๆ ที่อายุยังไม่ถึง ผู้ปกครองต้องไปทำด้วยนะ แต่ถ้าไม่ว่างในวันที่ไป ก็ให้ไปที่ว่าการอำเภอ/เขต เพื่อทำเรื่องรับรองเอกสาร ในส่วนต่อไปเราจะไปดูวิธีการจองคิวล่วงหน้า ผ่านช่องทางออนไลน์กัน
วิธีการจองคิวทำหนังสือเดินทางล่วงหน้า แบบออนไลน์
ตามปกติ หากเราต้องการทำหนังสือเดินทาง (Passport) หลายคนไปต่อคิวรอตั้งแต่เช้าเพื่อให้ได้คิวแรกๆ หากว่าออกไปช่วงสายๆ คิวอาจเต็มจนทำให้เราไปเสียเที่ยวได้ แต่ในปัจจุบันมีช่องทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้เรามากยิ่งขึ้น ด้วยระบบจองคิวทำหนังสือเดินทางล่วง หน้าผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวดเร็วมากๆ เราแค่กรอกข้อมูลส่วนตัว พร้อมกับจองสถานที่ จองวันและเวลาที่ต้องการไว้ก่อน 1-5 วัน พอถึงวันจริงก็เดินเข้าไปทำได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลากรอกข้อมูล เพราะข้อมูลทุกอย่าง เรากรอกไว้ในเว็บแล้ว มาดูกันว่าวิธีการจองคิวออนไลน์ล่วงหน้าต้องทำอย่างไรบ้าง
- เข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.passport.in.th/
- อ่านข้อกำหนดทั้งหมดแล้วกดปุ่ม "เข้าสู่ระบบ"
- เลือกหัวข้อ "ลงทะเบียนทำ Passport"
- จากนั้นก็ Login บัญชีตามช่องทางต่างๆ แต่ถ้ายังไม่มีบัญชี ก็สมัครใหม่และกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วนถูกต้องเสียก่อน
- เลือกสถานที่จองคิวล่วงหน้า
- เลือกวัน (จองล่วงหน้าได้ 1 - 5 วัน)
- เลือกช่วงเวลา (จำกัดจำนวนคน ตามช่วงเวลา)
- เลือกวิธีรับหนังสือเดินทาง (รับเอง / ส่งไปรษณีย์ แบบลงทะเบียน 40 บาท หรือแบบ EMS 60 บาท)
- กรอกข้อมูลบุคคลอ้างอิง
- ยืนยันการจองคิว และรับ QR Code สำหรับนำไปแสดงให้เจ้าหน้าที่ตามวันและเวลาที่เลือกไว้
เห็นไหมครับว่า การจองคิวออนไลน์นั้นไม่ยากเลย เพียงแค่กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้อง แล้วเลือกสถานที่ วันและเวลาที่ต้องการ พร้อมกับยืนยันข้อมูลอีกนิดหน่อยก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย จากนั้นก็ไปตามวันนัดเท่านั้น แต่เราต้องไปก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที เผื่อเวลาไว้ดีกว่า
วิธีทำหนังสือเดินทาง
สำหรับวิธีทำหนังสือเดินทางที่หน้างานนั้นบอกเลยว่า ง่ายและรวดเร็วเอามากๆ ใช้เวลาการทำประมาณ 40 นาทีเท่านั้น เอาล่ะครับเรามาดูวิธีทำกันเลย เริ่มแรกให้เตรียมเอกสาร และ QR Code ที่มาจากการจองคิวออนไลน์ให้ครบ เดินทางไปถึงก่อนเวลานัดสัก 30 นาที จากนั้นสอบถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เลยว่า ช่องบริการสำหรับคนที่จองคิวออนไลน์ อยู่ทางไหน และแสดง QR Code ให้เจ้าหน้าที่สแกน ตามวิธีด้านล่าง
- เตรียมเอกสาร และเอา QR Code ให้เจ้าหน้าที่สแกน
- รับใบคำขอทำหนังสือเดินทาง พร้อมกับตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวว่าถูกต้องหรือไม่ (สำคัญ)
- เจ้าหน้าที่วัดส่วนสูงให้ และจะพาไปรอหน้าช่องบริการ เพื่อรอเรียกคิว
- เข้าไปยื่นใบคำขอพร้อมกับเอกสารที่เตรียมมา จากนั้นเจ้าหน้าที่จะขอเก็บลายนิ้วมือทั้งสองข้าง และถ่ายรูปหน้าตรง (ไม่ถูกใจ ขอถ่ายซ้ำได้)
- ชำระเงินค่าธรรมเนียม 1,000 บาท และแจ้งความจำนงว่า จะมารับเล่มหนังสือเดินทางเอง หรือให้จัดส่งผ่านไปรษณีย์ (ธรรมดา 40 บาท / EMS 60 บาท)
- รับใบเสร็จ และรอรับหนังสือเดินทาง 2-5 วัน
แค่เพียงหกขั้นตอนเท่านั้น เราก็กลับไปรอรับหนังสือเดินทางได้ทันทีเลย รวมๆ แล้วทุกขั้นตอนใช้เวลาไม่เกิน 40 นาที แต่สำหรับผู้เขียนใช้เวลาแค่ 15 นาทีเท่านั้น (คนน้อย ไม่ต้องรอคิว) นับได้ว่ารวดเร็วและสะดวกสบายสุดๆ นอกจากนี้หากใครที่ต้องการใช้หนังสือเดินทางแบบเร่งด่วนภายในวันเดียว แบบทำตอนเช้า รับเล่มตอนเย็น หรือรับในวันถัดไป ก็สามารถทำได้ด้วยนะ ส่วนนี้จะเสียค่าธรรมเนียมแพงกว่าปกติ 2-3 เท่าเลยทีเดียว แต่กระนั้นการทำหนังสือเดินทางแบบเร่งด่วนก็ต้องทำตามข้อกำหนดด้วยนะ ไปดูกันเลย
การทำหนังสือเดินทาง แบบรับเล่มภายในวันเดียวกัน (ทำตอนเช้า รับเล่มตอนเย็น)
- จัดเตรียมเอกสาร และหนังสือเดินทางเล่มเดิม (ถ้ามี)
- ต้องทำที่ กรมการกงสุลแจ้งวัฒนะ (กรุงเทพฯ) เท่านั้น
- ยื่นคำร้องให้เสร็จก่อน 12.00 น.
- ขอรับเล่มภายในเวลา 16.30 น. ในวันเดียวกัน
- เสียค่าธรรมเนียม 3,000 บาท (เพิ่มขึ้น 3 เท่าจากปกติ)
การทำหนังสือเดินทาง แบบรับเล่มในวันถัดไป (ทำวันนี้ รับเล่มพรุ่งนี้)
- จัดเตรียมเอกสาร และ หนังสือเดินทางเล่มเดิม (ถ้ามี)
- ทำได้ทุกสาขา (ยกเว้นศูนย์บริการเคลื่อนที่)
- กรณียื่นคำร้องก่อนเวลา 12.00 น. ขอรับเล่มได้ ในเวลา 9.00 น. ของวันถัดไป
- กรณียื่นคำร้องหลังเวลา 12.00 น. ขอรับเล่มได้ ในเวลา 12.00-16.30 น. ของวันถัดไป
- เสียค่าธรรมเนียม 2,000 บาท (เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปกติ)
สถานที่ทำหนังสือเดินทาง
สำหรับวิธีทำหนังสือเดินทางนั้นก็มีประมาณนี้ หากว่าใครที่สงสัย อยากจะติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ก็สามารถดูได้จากรายละเอียดเบอร์โทรศัพท์ และสถานที่ ได้จากด้านล่างนี้เลย
- กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 02-203-5000 กด 1 เพื่อติดต่อกรมการกงสุล
หรือ CALL CENTER หมายเลข 02-572-8442
- สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (รับทำเฉพาะหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น)
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (รับทำเฉพาะหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น)
ที่อยู่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (อาคารบี ประตูฝั่งทิศตะวันออก)
ชั้น 7 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 02-203-5000 ต่อ 49007,49009,49010,49017
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา-ศรีนครินทร์
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา-ศรีนครินทร์
ที่อยู่ ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ ชั้น 2 โซน E
โทรศัพท์ 02-136-3800, 02-136-3802 และ 093-010-5246 โทรสาร 02-136-3801
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
ที่อยู่ อาคาร SC Plaza สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) ถนนบรมราชชนนี
โทรศัพท์ 02-422-3431 โทรสาร 02-422-3432
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว มีนบุรี
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว มีนบุรี
ศูนย์การค้าบิ๊กซี สาขาสุวินทวงศ์
ที่อยู่ 29 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม. 10510
โทรศัพท์ 02-024-8362-63, 02-024-8365 โทรสาร 02-024-8361
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว MRT คลองเตย
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว MRT คลองเตย
สถานีรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) คลองเตย
ที่อยู่ ถนนพระราม 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม. 10110
โทรศัพท์ 02-024-8896, 093-010-5247 โทรสาร 02-024-8897
- สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์บริการการไปทำงานต่างประเทศ
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์บริการการไปทำงานต่างประเทศ (รับทำหนังสือเดินทางเฉพาะผู้ที่มีใบส่งตัวจากกรมการจัดหางานเท่านั้น)
ที่อยู่ อาคารประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ดินแดง กทม.
โทรศัพท์ 0-2245-9439,0-2245-1042 โทรสาร 0-2245-9438
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงใหม่
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงใหม่
ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ 053-112-291-2 โทรสาร 053-112-293
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงราย
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงราย
ที่อยู่ อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)หลังใหม่ ถนนศูนย์ราชการ ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57100
โทรศัพท์ 053-175375 โทรสาร 053-175374
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พิษณุโลก
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พิษณุโลก
ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทร 055-258-173, 055-258-155, 055-258-131, โทรสาร 055-258-117
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครสวรรค์
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครสวรรค์
ที่อยู่ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง
จังหวัดนครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์ 056-233-453, 056-233-454 โทรสาร056-233-452
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุดรธานี
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุดรธานี
ที่อยู่ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี (ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง)
ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ขอนแก่น
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ขอนแก่น
ที่อยู่ หอประชุมอำเภอเมืองขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทรศัพท์ 0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุบลราชธานี
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุบลราชธานี
ที่อยู่อาคารศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ชั้น 1 ด้านหลังฝั่งทิศตะวันตก จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 045-344581-2 โทรสาร 045-344646
E-mail : passport_ubon@hotmail.com
https://www.facebook.com/ubonpassport
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครราชสีมา
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครราชสีมา
ที่อยู่ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทยอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จันทบุรี
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จันทบุรี
ที่อยู่ อาคารลานค้าชุมชน ถ.เลียบเนิน ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
โทรศัพท์ 039-301-706-9 โทรสาร 039-301-707
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สุราษฎร์ธานี
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สุราษฎร์ธานี
ที่อยู่ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ 077-274940, 077-274942-3 โทรสาร 077-274941
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต
ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
โทรศัพท์ 076-222-080, 076-222-081, 076-222-083 โทรสาร 076-222-082
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สงขลา
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สงขลา
ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จ.สงขลา 90000
โทรศัพท์ 074-326-510 โทรสาร 074-326511
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ยะลา
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ยะลา
ที่อยู่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)
ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
โทรศัพท์ 073-274-526, 073-274-036, 073-274-037 โทรสาร 073-274-527
- สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พัทยา
คลิกเพื่อซ่อนหรือแสดงข้อความ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พัทยา
ที่อยู่ ศูนย์การค้าพัทยาอเวนิว ชั้น 1 ถนนพัทยาสาย 2
เลขที่ 399/9 หมู่ 10 ถนนพัทยาสาย 2 ตำบลหนองปรือ
อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
โทรศัพท์ 038-422438 โทรสาร 038-422437
ที่มา : www.consular.go.th , www.skyscanner.co.th , th.wikipedia.org , www.ratchakitcha.soc.go.th