ปลั๊กพ่วง (หรือปลั๊กราง) คำนี้อาจฟังดูไม่น่ามีอะไร อันละแค่ร้อยกว่าบาท ตามร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าก็ใช้ได้แล้ว แต่รู้ไหมว่า คุณกำลังอยู่ในความเสี่ยง เพลิงไหม้ - กระแสไฟฟ้าลัดวงจร
อ่านถึงตรงนี้ ก็อาจมีคนคิดว่า เอ๊ะ ตอนไปซื้อปลั๊กพ่วง ก็เห็นมีสติกเกอร์แปะ มอก. อยู่นี่น่า ก็น่าจะได้มาตรฐานแล้วไม่ใช่เหรอ? แต่คุณรู้ไหมว่า ที่แท้จริงแล้ว ที่เราเห็นแปะสติ๊กเกอร์บนปลั๊กก็คือ มอก. สายไฟ ไม่ใช่ มอก. ทั้งตัวปลั๊ก
ยกตัวอย่าง ปลั๊กพ่วงที่ขายตามร้านสะดวกซื้อ บนสติ้กเกอร์ระบุว่า ได้รับ มอก. สายไฟ คือบอกไม่หมด ที่จริงแล้ว ยังมี มอก. เต้ารับ มอก. สวิตซ์ และยังมี มอก. ที่เรายังไม่รู้อีกนะ วันนี้ เราก็เลยจะมาบอกเล่าถึง มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุด มอก.2432-2555 กันครับ
ก่อนอื่น ถามในฐานะผู้บริโภคทั่วไป เราต้องสนใจด้วยเหรอว่าปลั๊กพ่วงมีมาตรฐาน มอก. อะไร จะบอกว่า มันก็เหมือนเรากินอาหารเสริม ที่จะต้องมี อย. นั่นแหล่ะครับ มีเราก็มั่นใจใช่ไหมล่ะครับ
ในการซื้อปลั๊กรางโดยทั่วๆ ไป เรามักจะเห็นสติ้กเกอร์ ระบุ สายไฟ มี มอก. แต่อันที่จริงแล้ว มาตรฐาน มอก. ไม่ได้มีแค่สายไฟเท่านั้น แต่มี มอก. เต้าเสียบ มอก. สวิตซ์ แล้วก็มี มอก. ที่ควบคุมทั้งตัวปลั๊กรางทั้งชุด ในบทความนี้ ขอใช้คำว่า ปลั๊กพ่วง ขอให้เข้าใจตรงกันว่า หมายถึง ปลั๊กรางที่เราพูดกันในภาษาพูดทั่วๆ ไป
มาตรฐาน มอก.2432-2555 เป็นมาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตปลั๊กพ่วง ที่่จะต้องผลิตภายใต้ข้อกำหนดนี้เท่านั้น โดยปลั๊กพ่วงที่ผลิตตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป จะต้องตรงตามมาตรฐานนี้ แต่ที่เราเห็นตามร้านทั่วไป ณ ปัจจุบัน (พฤษภาคม 2561) ยังมีปลั๊กพ่วงที่ผลิตไว้ก่อนหน้านี้วางจำหน่ายอยู่ ซึ่งสต็อกที่มีตามร้าน น่าจะมีของขายไปได้อีกระยะหนึ่ง แต่ปลั๊กพ่วงที่ผลิตใหม่ หลังวันที่บอกจะไม่มีมาตรฐานเดิมอีกแล้ว เพราะจะต้องผลิตตามมาตรฐานใหม่ทั้งหมด
และสำหรับใครที่สงสัยว่า แล้วมอก. ฉบับใหม่นี้ กระทบอะไรกับชีวิตของคนทั่วๆ ไปอย่างเรา? ก็ต้องบอกว่า ใครที่มียี่ห้อปลั๊กพ่วงในดวงใจ เสียก็ซื้อแบรนด์ในดวงใจ โดยเฉพาะแบรนด์นอก ก็อาจจะต้องรีบหาซื้อมาตุน เพราะแบรนด์ต่างๆ ที่เราคุ้นเคยจะไม่ตรงตามมาตรฐานนี้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มาตรฐานนี้ ออกมาก็เพื่อสร้างมาตรฐานลดความเสี่ยงเพลิงไหม้ - ไฟฟ้าลัดวงจร ส่วนใหญ่ก็มาจาก เรื่องแรงดันไฟ กำลังไฟ โดยเฉพาะปลั๊กพ่วง ที่ไม่สามารถรองรับแรงดันไฟเกินจากที่จ่ายกระแสไฟฟ้าได้ ทำให้มีความเสี่ยงในการลัดวงจร เพราะสาเหตุฟิวส์ไม่ตัดไฟ
มอก. ฉบับใหม่ มีการกำหนดเรื่องแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 440V กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16A และถ้าไล่ดูมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก.2432-2555 ก็คือ อุปกรณ์ตัดไฟจะต้องไม่ใช้ฟิวส์ อันนี้ ปลั๊กพ่วงยี่ห้อที่่เราคุ้นเคยตามตลาดทั่วไป ไม่ผ่านคุณสมบัติข้อนี้ คือจะต้องใช้เป็น วงจรตัดไฟที่ไม่ใช่ฟิวส์
ถ้าซื้ออาหาร, ขนม, อาหารเสริมต้องดู อย. จะซื้อปลั๊กพ่วง ก็ต้องดูเครื่องหมาย มอก. ทุกครั้ง ซึ่งสัญลักษณ์ จะติดอยู่บนตัวปลั๊กเลย ไม่ใช่แค่สายไฟ หรือบนห่อพลาสติก
อันนี้แปลกไปจากปลั๊กพ่วงปกติที่เราเห็นขายตามท้องตลาดทั่วไป ที่มีปลั๊กเรามองเห็นรูโบ๋ๆ แต่อันนี้จะต้องมีตัวม่านมาปิดช่องปลั๊กหรือเต้ารับ เพื่อป้องกันนิ้วมือผู้ใช้สัมผัสกับแผ่นทองเหลืองด้านใน (ตามภาพ) แล้วก็จะต้องมีขั้วสายดินด้วย เพื่อความปลอดภัย
ฉนวนก็คือ ยางสีดำๆ รอบๆ ขาปลั๊ก เวลาเราเสียบปลั๊ก แล้วเผลอเอานิ้วไปแตะปลั๊กไฟ จะได้ปลอดภัย
ไม่หลวม พอดีกัน ไม่แน่น ไม่หลวมจนเกินไป หนึ่งในสาเหตุปลั๊กร้อนเพราะเต้าเสียบหลวมก็ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้
สำหรับปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 ช่องขึ้นไป จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน ใน มอก. ระบุชัดเจนว่า "ห้ามใช้ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน" แนะนำให้ดูปลั๊กที่มีเบรกเกอร์ในตัวครับ
สำหรับการเลือกซื้อนั้น เราจะต้องคิดคำนวณก่อนว่า เราเอาไปเสียบกับอุปกรณ์อะไร กินไฟเยอะแค่ไหน
ให้พิจารณาว่า เราใช้กับอุปกรณ์อะไร เช่น เครื่องปิ้งขนมปัง มีขนาดกำลังไฟ 700 วัตต์ ส่วนพัดลม ใช้กำลังไฟ 61 วัตต์ (เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้น จะมีระบุกำลังไฟไว้ด้านหลังหรือท้ายอุปกรณ์) ลองตรวจสอบดูครับ ว่าเรามีอุปกรณ์อะไรบ้างที่จะใช้กับปลั๊กพ่วงเดียวกัน เผื่อกำลังไฟไว้รองรับตอนเราเปิดพร้อมกันทุกอุปกรณ์ครับ
สาเหตุหนึ่งของไฟฟ้าลัดวงจร ก็เป็นเพราะเปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันหลายชิ้น แล้วสายไฟ รับโหลดกำลังไฟไม่ไหว ทำให้เกิดความร้อนบนปลั๊ก สายละลาย ลัดวงจร เกิดเพลิงไหม้ได้
ลืมปลั๊กแบน 2 ขา กับปลั๊กแบน 2 กลม 1 (หรือปลั๊กคอม) แบบเดิมๆ ทิ้งไปได้เลย เพราะมาตรฐาน
มอก. ฉบับใหม่ มีความแปลกตาเรามากที่สุดก็คือ เต้าเสียบต้องเป็นไปตาม มอก.166-2549 เป็นแบบ 3 ขากลม
ยืนยันความแปลกด้วยข้อความ "Type O is used exclusively in Thailand" อ้างอิงจาก เว็บไซต์ https://www.worldstandards.eu/electricity/plugs-and-sockets/o/
นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานสายไฟด้วย ทั้งพื้นที่หน้าตัดสายไฟ และความยาวสูงสุดของสายไฟอ่อน แต่ผู้ใช้ทั่วๆ ไปคงไม่ต้องพิจารณามากขนาดนั้น เอาเป็นว่า ครบถ้วนตามด้านบนก็พอแล้วครับ
รายละเอียดลึกๆ อ่านได้ที่ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/005/5.PDF
ก็เพราะว่า ความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้ - ไฟฟ้าลัดวงจร นั่นเองครับ รู้ไหมว่า หนึ่งในสาเหตุของเพลิงไหม้ ก็คือ ปลั๊กพ่วงไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ปลั๊กพ่วงชำรุด มีรอยขาด ไหม้ เสียบอุปกรณ์ใช้กระแสไฟเกินกว่าที่ปลั๊กพ่วงรองรับไหว
ย้ำว่า ให้ถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน เพราะปลั๊กพ่วงใช้ชั่วคราว ไม่ควรนำมาใช้ถาวร ปิดท้าย มาตรฐานใหม่ แม้จะยาก แต่ก็ปลอดภัย และที่แน่ๆ ราคาก็สูงกว่าเดิมด้วยครับ
|
ความคิดเห็นที่ 2
19 พฤษภาคม 2561 19:37:31
|
|||||||||||
มาตรฐานใหม่ของ มอก. เชื่อถือได้แค่ใหนครับ
ถ้าเทียบกับปลั๊กยี่ห้อต่างประะเทศที่ ที่มีมาตรฐานอยู่แล้ว และบางยี่ห้อประกาศหยุดจำหน่อยในประเทศไทย อย่าง cyber power, belkin หรือยี่ห้ออื่นๆ ปลั๊กที่ได้รับตรา มอก. บางยี่ห้อของไทยไม่มีคุณภาพเท่าไรเลยหรือไม่มีเลยก็ว่าได้ |
|||||||||||
ความคิดเห็นที่ 1
10 พฤษภาคม 2561 00:30:39
|
|||||||||||
GUEST |
นามที่ไม่รุ้จัก
เอ๊ะเดี๊ยวนะ ปลั๊กแบบเดิมๆ มันรูปร่างเหมือนสาย Adapter ของ Laptop เลยนะ แล้วมันควรเปลี่ยนใหม่ใหมเนี่ยยยยยยยย ใครก็ได้ตอบที คนเขียนบทความนี้ด้วยนะครับ ตอบด้วย ว่าควรเปลี่ยนสาย Adapter ของ Laptop ให้เข้ากับมาตรฐาน มอก. รึเปล่า ????😒😒😒😒
|
||||||||||