เมื่อเราซื้ออุปกรณ์อย่าง สมาร์ทโฟน กล้องดิจิทัล กล้องแอคชันแคม อย่าง กล้อง GoPro ฯลฯ อะไรทำนองนั้น ของอีกสิ่งหนึ่งที่เรามักจะต้องซื้อเพิ่มด้วยเพื่อมาใช้งานคู่กัน นั่นก็คือการ์ด "MicroSD"
การเลือกการ์ด MicroSD นั้น เป็นอะไรที่เราต้องให้ความใส่ใจกับมันมากพอสมควรเลยล่ะ ไม่ควรดูแค่ความจุ กับราคาเท่านั้น มันแพงก็ต้องมีสาเหตุ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดก็ต้องการการ์ด MicroSD ที่สเปกเหมาะสมด้วย เพื่อให้การทำงานของมันเป็นไปอย่างราบรื่น
บทความนี้ก็เลยจะมาสอนวิธีอ่านสเปกที่ระบุอยู่บนตัวการ์ด MicroSD กัน จะได้ซื้อหามาใช้กันได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของเรา
ภาพจาก https://shop.westerndigital.com/th-th/products/memory-cards/sandisk-high-endurance-uhs-i-microsd
การ์ด MicroSD ไม่ว่าอันไหนก็สามารถเสียบลงในช่องอ่าน MicroSD ได้ทั้งหมด แต่ใช่ว่ามันจะสามารถทำงานได้ทั้งหมดนะ ในปัจจุบันนี้มีการ์ด MicroSD อยู่ 4 รูปแบบ (หรือ Format) คือ
การ์ด MicroSD และการ์ด SD ใช้มาตรฐานเดียวกัน
ทุกรูปแบบถูกกำหนดมาตรฐานโดยกลุ่ม SD Association ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความแตกต่างกันดังนี้
ภาพจาก https://www.sdcard.org/consumers/choices/file_system/index.html
ว่าด้วยความจุก่อน เป็นเรื่องที่หลายคนสงสัย การ์ดแต่ละรูปแบบก็มีหลายความจุ อย่าง MicroSDXC ที่มีความจุตั้งแต่ 32 GB ถึง 2 TB ซึ่งอุปกรณ์แต่ละรุ่น ทางผู้ผลิตก็จะมีการระบุความจุที่รองรับความจุการ์ดต่างกันด้วย อย่างเช่น Samsung Galaxy S9 หากดูตามสเปกจะระบุว่ารองรับการ์ดความจุสูงสุด 400 GB เท่านั้น
คำถามคือ หากเราใส่การ์ด MicroSD ขนาดมากกว่านั้น เช่น 512 GB หรือ 1 TB จะเกิดอะไรขึ้น คำตอบก็คือ ใช้ได้ปกตินะครับ ไม่มีปัญหาตราบใดที่ใช้การ์ด "รูปแบบ" เดียวกับที่อุปกรณ์นั้นรองรับ แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่ ในกรณีที่ผู้ผลิตออกเฟิร์มแวร์มาบังคับไม่ให้อ่านการ์ดได้เกินความจุที่กำหนด ซึ่งก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ผู้ผลิตจะทำแบบนั้นนะ
แต่ละระบบปฏิบัติการใช้ระบบไฟล์ที่แตกต่างกันนะ อย่างเช่น MicroSDXC ใช้ระบบไฟล์แบบ exFAT เป็นค่าเริ่มต้น ซึ่งระบบปฏิบัติการ Windows รองรับมาหลายปีแล้ว แต่ macOS เพิ่งจะรองรับตอนเวอร์ชัน 10.6.5 (Snow Leopard) นี่เอง
ส่วน Android รองรับ FAT32/Ext3/Ext4 แต่ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะใช้ exFAT กันหมดแล้ว
SD | SDHC | SDXC | SDUC | |
ความจุ | 2GB | 2GB-32GB | 32GB-2TB | 2TB-128TB |
ระบบไฟล์ | FAT12, FAT6 | FAT32 | exFAT | exFAT |
สัญลักษณ์บนการ์ด |
การดูความเร็วของการ์ด MicroSD เป็นอะไรที่น่าสับสนพอสมควร มันมีแนวทางการวิเคราะห์ความเร็วอยู่อย่างน้อย 6 แนวทาง และผู้ผลิตการ์ดก็มักจะเลือกใช้ทั้งหมดที่มี (นั่นคือสาเหตุหลักที่เราเห็นสัญลักษณ์มากมายบนตัวการ์ด)
Speed Class ตัวเลขนี้จะเป็นตัวบอกความเร็วขั้นต่ำในการเขียนข้อมูลของการ์ดด้วยค่า "MB/s" ซึ่งมีอยู่ 4 คลาสด้วยกัน ดังต่อไปนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม : MBps คืออะไร ? และ MBps ต่างจาก Mbps อย่างไร ?
สัญลักษณ์ Speed Class
UHS Speed Class จะบอกความเร็วขั้นต่ำในการเขียนข้อมูลของตัวการ์ด MicroSD ที่รองรับ Bus Speed ของ UHS-I, UHS-II และ UHS-III ความจริงเหมือนก็เป็นค่าที่บอกข้อมูลลักษณะเดียวกับ Speed Class น่ะแหละ แต่เนื่องจากผู้ผลิตการ์ดนิยมใส่ทั้งสองสัญลักษณ์มาบนการ์ดเลย จึงขออธิบายแยกออกมาดีกว่า จะได้ไม่งงว่าทำไมมันซ้ำซ้อนกัน โดย UHS Speed Class จะมี 2 มาตรฐาน คือ
สัญลักษณ์ UHS Speed Class
ระบบ Bus interface จะเกี่ยวกับความเร็วในการรับส่งข้อมูล สำหรับ MicroSD จะมี Bus Interface ที่ใช้งานอยู่ 6 แบบ ซึ่งฮาร์ดแวร์ที่เราจะนำการ์ด MicroSD ไปใช้ ก็จะมี Interface ที่รองรับแตกต่างกัน แม้จะใช้งานการ์ดได้แน่นอน แต่ความเร็วจะถูกลดไปตาม Interface ของฮาร์ดแวร์นะ
เช่น ถ้าเราเอาการ์ดที่รองรับ UHS ไปใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่รองรับ ความเร็วก็จะเหลือเพียง 25MB/s เท่านั้น ซื้อมาก็ใช้ได้ แต่มันจะไม่คุ้มเงินนั่นเอง
Bus Interface | Format | สัญลักษณ์ | ฺBus Speed | เวอร์ชัน |
ความเร็วเริ่มต้น | SD, SDHC, SDXC,SDUC | 12.5MB/s | 1.01 | |
High Speed | SD, SDHC, SDXC,SDUC | 25MB/s | 1.10 | |
UHS-I | SDHC, SDXC,SDUC | 50MB/s (SDR50, DDR50) 104MB/s (SDR104) | 3.01 | |
UHS-II | SDHC, SDXC,SDUC | 156MB/s Full Duplex 312MB/s Half Duplex | 4.00 | |
UHS-III | SDHC, SDXC,SDUC | 312MB/s Full Duplex 624MB/s Full Duplex | 6.00 | |
SD Express | SDHC, SDXC,SDUC | 985MB/s PCIe Gen.3 × 1Lane | 7.00 | |
1970MB/s PCIe Gen.4 × 1 Lane PCIe Gen.3 × 2 Lane | 8.00 | |||
3940MB/s PCIe Gen.4 × 2 Lane |
การวัดความเร็วนี้เกิดขึ้นมาจากการที่ สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการ Android อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเลือกติดตั้งแอปพลิเคชันลงบนการ์ดหน่วยความจำได้ ซึ่งเป็นความสามารถที่มีประโยชน์กับสมาร์ทโฟนรุ่นที่ให้พื้นที่มาน้อย อย่างไรก็ตาม หากการ์ดมีความเร็วต่ำจะทำให้ประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีนัก จึงมีการสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา นั่นก็คือ Application Performance Class เพื่อให้ผู้ซื้อไปใช้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่าการ์ดนี้สามารถใช้ติดตั้งแอปพลิเคชันแล้วทำงานได้อย่างราบรื่น โดยมันมีอยู่ 2 ระดับ คือ
ภาพจาก https://www.sdcard.org/developers/overview/application/index.html
ตามสเปกแล้ว A2 จะดีกว่า A1 นะครับ แต่ราคาก็สูงกว่าด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การที่การ์ดระดับ A2 จะทำงานได้เต็มความสามารถ ตัวอุปกรณ์ที่เป็น Host จะต้องรองรับการทำงานด้วยเช่นกัน (ส่วนตัวเราคิดว่าการ์ด A1 ก็เพียงพอแล้ว)
สัญลักษณ์ Application Performance Class
ในส่วนของ Video Speed Class เป็นเรื่องที่ตากล้องต้องให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายถ่ายวิดีโอ ยิ่งความละเอียดที่เราต้องการบันทึกสูงเท่าไหร่ ก็จำเป็นจะต้องใช้ความเร็วในการเขียนข้อมูลลงในการ์ดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกซื้อ จึงมีมาตรฐาน Video Speed Class กำเนิดขึ้นมา โดยจะมีอยู่ 5 ระดับ ดังต่อไปนี้
สำหรับคนที่บันทึกวิดีโอแบบ Full HD การ์ดระดับ V30 ก็สามารถรับมือได้อย่างสบายๆ แต่ถ้าต้องการบันทึกความละเอียดระดับ 4K ก็ควรจะเลือกใช้การ์ดระดับ V60 หรือจะจัดเต็ม V90 เลยก็ได้
ภาพจาก https://www.sdcard.org/consumers/choices/speed_class/index.html
ผู้ผลิตการ์ดบางราย นอกเหนือจากการใส่สัญลักษณ์บอกความเร็วสูงสุด (MB/s) ที่ตัวสินค้าทำได้เอาไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม ความเร็วที่ระบุเอาไว้มักจะเป็นการทดสอบโดยผู้ผลิต ภายใต้สถานการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ มากกว่าจะเป็นการทดสอบด้วยการใช้งานจริง
มันมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความเร็วในการอ่าน และเขียนข้อมูลลงในการ์ด ไม่ว่าจะเป็นสเปกของอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบ หรือแม้แต่สาย USB ที่ใช้
อีกหนึ่งค่าที่ผู้ผลิตมักใส่เข้ามาด้วย คือการเทียบความเร็วของการ์ดกับแผ่น CD ความเร็วดั้งเดิมในการส่งข้อมูลของแผ่น CD อยู่ที่ 15KBps หลังจากนั้นเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น ผู้ผลิตก็ใช้คำในการโฆษณาว่า 2x, 4x, 16x... ในการบอกว่ามันเร็วกว่า 150 KBps กี่เท่าแล้ว
ซึ่งผู้ผลิตการ์ดบางรายก็ยังมีการเอาค่านี้มาใช้ในการบอกความเร็วของการ์ด MicroSD ด้วย และแน่นอนว่าความเร็วนี้จะเป็นการทดสอบภายในห้องทดลองเช่นเดียวกันกับ Rated Speed
ภาพจาก https://www.amazon.com/Lexar-Professional-1800x-microSDXC-UHS-II/dp/B07QM348D9/
ก็หวังว่าหลังอ่านบทความนี้จบ คุณผู้อ่านจะเข้าใจข้อมูลต่างๆ ที่ถูกระบุไว้บนตัวการ์ด และเลือกซื้อมาใช้งานได้อย่างถูกต้องตามความต้องการกันมากขึ้นนะครับ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |