สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ในปัจจุบันมาพร้อมกับแบตเตอรี่ที่มีความจุสูงๆ และเทคโนโลยีชาร์จด่วนที่ทำให้แบตเตอรี่ก้อนใหญ่ๆ มีพลังงานเต็ม 100% ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
และถึงแม้ว่าสมาร์ทโฟนที่ออกใหม่มาแต่ละรุ่นจะมีวัตต์บอกชัดเจนว่ารองรับการชาร์จด่วน 45W, 60W, 100W เช่น Xiaomi ขอสู้ศึก "ชาร์จเร็ว" เปิดตัวเทคโนโลยีชาร์จไร้สาย 80W หรือ OPPO เตรียมเปิดตัวเทคโนโลยีชาร์จไฟความเร็วสูง 125W แต่ ..
อะแดปเตอร์บางตัวกลับไม่มีหน่วยวัตต์ (Watt - W) ให้เห็นกัน
ทำให้เราไม่รู้ได้เลยว่า อะแดปเตอร์แต่ละตัวสามารถจ่ายไฟให้มือถือใช้ฟีเจอร์ชาร์จด่วนได้จริงหรือเปล่า ซึ่งปกติแล้วอะแดปเตอร์ที่ให้มากับตัวมือถือ ก็ควรจะมาพร้อมกับจำนวนวัตต์สูงสุดที่อุปกรณ์สามารถรองรับได้ แต่ก็มีบางแบรนด์ที่ให้วัตต์มาน้อยกว่าวัตต์สูงสุดที่อุปกรณ์รองรับหรือบางแบรนด์ก็ไม่ได้ให้มาเลย ที่ต้องซื้อเสริมแยกต่างหากเอา
ซึ่งการจะเลือกซื้ออะแดปเตอร์ให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีชาร์จด่วนได้ เราก็ควรรู้ว่าจำนวนวัตต์ที่อะแดปเตอร์จ่ายได้ตรงกับความต้องการของอุปกรณ์เรารึเปล่า จะได้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพภาพ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรบ้างล่ะ?
ถึงแม้ว่าบนอะแดปเตอร์จะไม่มีจำนวนวัตต์ (Watt) ให้เห็น แต่พลังงานในการจ่ายไฟฟ้าออก (Power Output) ของอะแดปเตอร์จะถูกแสดงด้วยโวลต์ (Volt) และแอมป์ (Amp) เราจึงควรมาทำความรู้กับหน่วยต่างๆ เหล่านี้ก่อน ซึ่งแต่ละหน่วยมีความหมาย ดังนี้
ถ้าลองเปรียบไฟฟ้าเป็นน้ำ โวลต์ก็คือแรงดันน้ำ แอมป์ก็คือปริมาณน้ำที่สามารถไหลผ่านท่อได้ ส่วนวัตต์ก็คือปริมาณน้ำทั้งหมดที่ถูกส่งออกมาด้วยโวลต์และแอมป์ หรือก็คือการนำโวลต์และแอมป์มาคูณกันนั่นเอง
ทีนี้จะรู้ได้อย่างไรว่า อะแดปเตอร์จ่ายไฟได้เท่ากับเทคโนโลยีชาร์จด่วนที่สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตรองรับมั้ย ก็สามารถหยิบอะแดปเตอร์ขึ้นมาดูฉลากด้านข้าง
โดยตรงการจ่ายไฟให้ดูที่ Output จะมีแจ้งพลังงานการจ่ายไฟทั้งจำนวนโวลต์ (V) และแอมป์ (A) ให้เรานำ 2 ค่านี้มาคูณกันได้เลย เช่น 5.0V / 3.0A ก็เท่ากับ 5x3 = 15 วัตต์ (W) นั่นเอง
ทีนี้ก็มาดูว่าอะแดปเตอร์แต่ละตัวรองรับการจ่ายไฟแรงแต่ไหน ก็แค่เอาโวลต์กับแอมป์มาคูณกัน
เครดิตภาพจาก : https://ktcables.com.au/2018/02/23/how-to-calculate-amps-watts-amp-hours-volts-hours-for-your-deep-cycle-batteries/
ภาพด้านบนถูกเรียกว่า กฏของโอห์ม ที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยต่างๆ ของกระแสไฟฟ้า ซึ่งนอกจากการนำมาหาค่า 'วัตต์' จาก 'โวลต์' และ 'แอมป์' แล้ว เราสามารถนำมาประยุกต์ในการหาค่า 'โวลต์' หรือ 'แอมป์' ได้ หากเรามีค่า 'วัตต์' และค่าใดค่าหนึ่งในสองค่าด้านบน ด้วยการจับมาหารกัน
*เอาจริงๆ แล้ว หากเป็นความรู้ลึกๆ เรื่องไฟฟ้า ทฤษฎี W = VA (หรือ W = V x A) นั้น ค่า W จะไม่ได้เท่ากับ VA เสมอไป โดยค่า W จะเรียกว่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง และ VA เรียกว่า กำลังไฟฟ้าที่ปรากฏ ถ้าให้อธิบายง่ายๆ ค่า W จะใช้กับอุปกรณ์ตัวรับไฟฟ้าว่ารับพลังงานได้มากแค่ไหน ส่วน VA มักจะใช้กับทางอุปกรณ์จ่ายไฟ ซึ่งการจ่ายไฟอาจจะไม่ได้เท่ากับไฟที่อุปกรณ์ต้องการเสมอไปที่อาจจะตกค้างระหว่างการขนส่ง นี่จึงอาจเป็นเหตุผลที่อะแดปเตอร์หลายๆ ตัวไม่ได้บอกค่าเป็น W แต่ใช้ V และ A แทน ซึ่งถ้าไม่ได้ลงลึกอะไรเราก็สามารถใช้สมการด้านบนในการหาค่าไฟคร่าวๆ ได้
แต่ค่าการจ่ายไฟ Output ไม่ได้มีแค่ค่าเดียว ยกตัวอย่างอะแดปเตอร์ Samsung Travel Adapter ในมือผู้เขียน มีค่า Output ถึง 2 มาตรฐาน และมาตรฐานถึง 2 ค่าอีกด้วย ได้แก่
Samsung Travel Adapter ที่มาพร้อมกับ Samsung Galaxy Note10+
ลองมาดูเรื่องมาตรฐานกันก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น PDO และ PPS โดยทั้ง 2 มาตรฐาน มีความหมายดังนี้
ส่วนที่แบ่งออกเป็นมาตรฐานละ 2 ค่า ก็อยู่ที่อุปกรณ์ ว่าอุปกรณ์นั้นๆ รองรับการจ่ายไฟระดับไหน มือถือขนาดเล็ก ก็ใช้การจ่ายไฟขนาดเล็ก ส่วนมือถือเรือธง หรือแท็บเล็ต ก็ใช้ระดับการจ่ายไฟขนาดใหญ่ ส่วนอุปกรณ์ไหนรองรับ PPS ก็ไปใช้การจ่ายไฟที่ถูกควบคุมผ่านชิปแทน
ซึ่งหลักการก็จะเหมือนกับความแตกต่างระหว่าง Quick Charge กับ USB Power Delivery (PD) ที่จะแบ่งเป็นเทคโนโลยีที่ชิปอุปกรณ์รองรับ กับเทคโนโลยีมาตรฐานกลางที่รองรับกับทุกแบตเตอรี่
ทางฝั่งอะแดปเตอร์มีการแบ่งระดับการจ่ายไฟ ซึ่งจะใช้ระดับไหนก็ขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่ของอุปกรณ์นั้นๆ รองรับ โดยในแบตเตอรี่ของมือถือรุ่นใหม่ๆ นั้นจะมีชิปที่ช่วยจัดการไฟที่ถูกป้อนเข้ามา ว่าสามารถรับได้มากน้อยแค่ไหน หากอะแดปเตอร์จ่ายไฟได้แรงกว่าที่แบตเตอรี่จะรองรับ ค่าไฟก็จะถูกปรับลงให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่ เราจึงสามารถใช้ที่ชาร์จไฟวัตต์สูงๆ ของอุปกรณ์ยี่ห้ออื่นๆ กับมือถือหรืออุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัย ส่วนอะแดปเตอร์ที่จ่ายไฟได้น้อยๆ ก็จะมีผลให้ชาร์จช้าเท่านั้นเอง
สำหรับเทคโนโลยีชาร์จด่วนเฉพาะของแต่ละอุปกรณ์ ไม่ได้มีมาตรฐานกลางเหมือนอย่างการชาร์จทั่วไป แต่ละยี่ห้อก็มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น Fast Charge, Quick Charge, Super Charge, Dash Charge ซึ่งแต่ละรุ่นก็ไม่สามารถใช้งานข้ามแพลตฟอร์มกันได้ ทำให้ถึงแม้ว่ามือถือเรากับเพื่อนจะมีชาร์จด่วนเหมือนกัน แต่ถ้าต่างยี่ห้อ ต่างเทคโนโลยีกัน การยืมอะแดปเตอร์มาใช้งาน ก็ทำให้ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีชาร์จด่วนได้นั่นเอง
|
... |