ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

จอ CRT, DLP, Plasma, LCD, LED, VA, IPS, OLED, QLED คืออะไร ? และข้อดี ข้อเสีย แต่ละชนิด

จอ CRT, DLP, Plasma, LCD, LED, VA, IPS, OLED, QLED คืออะไร ? และข้อดี ข้อเสีย แต่ละชนิด

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 29,133
เขียนโดย :
0 %E0%B8%88%E0%B8%AD+CRT%2C+DLP%2C+Plasma%2C+LCD%2C+LED%2C+VA%2C+IPS%2C+OLED%2C+QLED+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5+%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

จอ CRT, DLP, Plasma, LCD, LED, VA, IPS, OLED, QLED คืออะไร ? พร้อม ข้อดี ข้อเสีย ของหน้าจอแต่ละประเภท ?

ก่อนจะกลายมาเป็น โทรทัศน์ หรือ ทีวี (TV) ในปัจจุบัน ต้นกำเนิดของมันทั้งซับซ้อนและเกิดขึ้นในหลายประเทศ แต่ถ้าพูดถึง TV เครื่องแรกของโลกที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาได้สำเร็จ ต้องย้อนกลับไปในวันที่ 26 มกราคม ปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) นักประดิษฐ์ชาวสก็อตชื่อ จอห์น โลจี แบร์ด (John Logie Baird) เป็นบุคคลแรก ที่ได้จัดแสดงโชว์เครื่องที่มีความสามารถในการถ่ายทอดภาพที่อยู่ในห้องหนึ่งไปยังอีกห้องได้สำเร็จ จนสร้างความประหลาดใจต่อชาวอังกฤษในสมัยนั้น และเขาได้เรียกมันว่า "Televisor" หรือที่เรารู้จักกันในวันนี้ก็คือ "Television (โทรทัศน์)" หรือ "TV (ทีวี)"

บทความเกี่ยวกับ Monitor อื่นๆ

ภาพจากทีวี Televisor เครื่องแรกของโลก
ภาพแรกที่ถูกฉายผ่านเครื่อง Televisor ของ Baird / เป็นหน้าคนที่ไม่ระบุว่าคือใคร

ทว่าโทรทัศน์เครื่องแรกของ แบร์ด เป็นเพียงโทรทัศน์ระบบเชิงกล (Mechanical TV) ที่ทำให้เกิดภาพขาวดำ โดยใช้แผ่นดิสก์ ขับเคลื่อนด้วยระบบกลไก (Mechanic) หุ้มด้วยเลนส์ ทำหน้าที่สแกนภาพที่สะท้อนจากภายในและเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งผ่านไปยังเครื่องรับสัญญาณวิทยุ (Radio Receiver) และเปลี่ยนให้กลายเป็นสัญญาณภาพ ซึ่งภาพที่แสดงออกมาก็ยังถือว่ามีคุณภาพที่ยังต่ำมาก ๆ และไม่สามารถแยกแยะลักษณะของใบหน้าคนได้ดีเท่าที่ควร

พูดได้เต็มปากว่า สิ่งประดิษฐ์ของ แบร์ด ได้กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า 'ทีวี' เป็นครั้งแรกแต่มันก็ไม่ได้ ประสบความสำเร็จ กระทั่งในปี ค.ศ. 1931 (พ.ศ. 2474) ข้ามจาก 'สหราชอาณาจักร' มายัง 'สหรัฐอเมริกา' จอภาพแบบ CRT ระบบอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรก ก็ถูกประดิษฐ์ขึ้นสำเร็จ ด้วยฝีมือของชายที่มีชื่อว่า อัลเลน บี.ดูมอนต์ (Allen B.DuMont) ตั้งแต่นั้นมาระบบโทรทัศน์แบบมีกลไกของ Baird ก็โดนแทนที่ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างรวดเร็ว ซึ่งจอทีวีแบบ CRT นั่นเองก็ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของทีวีระบบอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน

จอภาพโทรทัศน์ แบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ หลัก ๆ ที่เราพบในตลาดได้ตอนนี้ก็จะมีจอ LCD, จอ LED, จอ OLED ตามด้วยจออื่น ๆ โดยแต่ละแบบนั้นมีความแตกต่างเฉพาะตัว ทั้งกลไกการทำงานและการออกแบบให้จอภาพสามารถทำงานและแสดงผลได้ มาลองดูกันว่าข้างในมันทำงานกันอย่างไร และ ส่งผลอะไรกับคุณภาพของจอ

เนื้อหาภายในบทความ

 

หน้าจอ CRT (Cathode-Ray Tube) คืออะไร ?

จอทีวี Cathode Ray Tube (CRT)

หน้าจอ CRT คือ หน้าจอภาพยุคแรก ๆ ที่ใช้งานได้จริง หรือที่เราคุ้นหูกันดีในชื่อ "จอตู้" พบมากในหน้าจอโทรทัศน์ยุคแรกๆ หรือแม้แต่ จอมอนิเตอร์ยุคแรกๆ เช่นกัน โดยจอประเภทนี้ใช้หลอดสุญญากาศชนิดพิเศษ (Cathode-Ray Tube) ยิงลำแสงอิเล็กตรอนผ่านแม่เหล็กที่ควบคุมทิศทางของแสงก่อนส่งไปยังแผงสี (Phosphor Screen) ที่เป็น สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นจุด ๆ นับล้านจุด และควบคุมการผสมสีต่าง ๆ สร้างเป็นภาพขึ้นมา

จอทีวี Cathode Ray Tube (CRT)

เนื่องจากจอตู้เป็นจอดั้งเดิมที่ถูกใช้มานาน และค่อนข้างมีขนาดที่ใหญ่เทอะทะ ประสิทธิภาพจอก็เทียบเท่ารูปแบบอื่น ๆ ไม่ได้ จึงเริ่มหายไปตามกาลเวลา

ข้อดี

  • ภาพมีความคมชัดที่สีดำ
  • ลดความล่าช้า (No Input Lag) ถ้าเป็นจอมอนิเตอร์จะดีสำหรับการเล่นเกม
  • ค่าเวลาตอบสนอง (Response Time) ต่ำ
    (ลด Motion Blur)

ข้อสังเกต

  • มีขนาดใหญ่ และหนัก
  • ใช้พลังงานสูง
  • ใช้ความร้อนสูง
  • ความละเอียดต่ำ

 

 

หน้าจอ DLP (Digital Light Processing) คืออะไร ?

จอทีวี Digital Light Processing (DLP)

หน้าจอ DLP หรือย่อมาจาก "Digital Light Processing" เป็นหน้าจอที่ ไม่ได้มีอยู่เพียงแค่ในเครื่องฉายภาพเท่านั้น แต่ยังถูกใช้ใน TV ด้วยเช่นกัน เพียงแต่ปัจจุบันได้เลิกผลิตไปแล้ว หลักการทำงานของ TV DLP มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ที่ชิปแบบ Digital Micromirror Device (DMD) ซึ่งบรรจุไปด้วยกระจกขนาดเล็ก 1.3 ล้านชิ้นเรียงกันเป็นพิกเซลและมีลักษณะเป็นบานพับได้ หลังจากแสงส่องผ่านฟิลเตอร์สี ก็จะวิ่งเข้าสู่ตัวชิป และ สะท้อนออกมาเป็นภาพต่าง ๆ

จอทีวี Digital Light Processing (DLP)

เนื่องจากคุณภาพของ DLP TV ไม่ได้ยอดเยี่ยมเท่ากับ LCD ที่มีความรวดเร็วในการตอบสนองกว่า ทำให้มันไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร ระบบ DLP จึงไม่ได้ถูกใช้กับ TV มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) แต่พบเห็นได้มากบนโปรเจคเตอร์ทั่วไป

ข้อดี

  • มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับระบบอื่น ๆ
  • ให้ความสว่างภาพดี

ข้อสังเกต

  • สู้คุณภาพความละเอียดระบบอื่น ๆ ไม่ได้ (ยกเว้น CRT)
  • รายละเอียดสีไม่ค่อยดี
  • มีขนาดใหญ่พอ ๆ หน้าจอ CRT

 

หน้าจอ Plasma คืออะไร ?

จอทีวี Plasma

หน้าจอ พลาสม่า (Plasma) เป็นจอที่มีต้นกำเนิดในยุค 90' เป็นหน้าจอที่ใช้เทคนิคแรงดันไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นแผงเซลที่บรรจุก๊าซ ซีนอน (Xenon) หรือ ก๊าซนีออน (Neon) ทำให้เกิดความร้อนและแปลงสภาพเป็น PLASMA ส่งแสงผ่านกระจกไปยังเซลเม็ดพิกเซลสีแดง เขียว และน้ำเงิน ที่เรียงกันเป็นตาราง โดยที่เซลพิกเซลก็จะมีการเคลือบสารเรืองแสงอีกฝั่งทำให้ PLASMA ที่ตกกระทบสะท้อนผ่านกระจกออกมาเป็นภาพที่หน้าจอ

จอทีวี Plasma
ขอบคุณภาพจาก https://www.techradar.com/news/plasma-tv

ข้อดี

  • เหมาะสำหรับห้องมืด มุมมองกว้าง
  • แสดงภาพฉากมืดได้เป็นอย่างดี
  • ให้ภาพที่ราบรื่น ไม่มีอาการเบลอของภาพ

ข้อสังเกต

  • ใช้พลังงานสูง กินไฟกว่าปกติมาก
  • มีความเสี่ยงอาการจอเบิร์นสูง

 

หน้าจอจอ LCD (Liquid Crystal Display) คืออะไร ?

จอทีวี Liquid Crystal Display (LCD)
กระบวนการทำงานจากขวาไปซ้าย (หลอดไฟ-กระจก-ขั้วไฟฟ้า-ผนึกเหลว-ผนึกสี-กระจก-ภาพ)

หน้าจอ LCD ย่อมาจากคำว่า "Liquid Crystal Display" เป็นหน้าจอที่ใช้วัสดุผนึกเหลวโปร่งแสง (Liquid-Crystal) ที่มีคุณสมบัติพิเศษเคลื่อนตัวหรือเรียงตัวใหม่ได้เมื่ออยู่ในสนามแม่เหล็ก โดยผนึกเหลวจะถูกเคลือบอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้าและผนึกสี 3 สี (แดง-เขียว-ฟ้า) ตามด้วยแผ่นกระจกโพลาไรซ์ 2 แผ่น ที่วางมุมตั้งฉากกับฝั่งตรงข้าม

โดยเมื่อมีการปล่อยแรงดันไฟฟ้าไปกระตุ้นที่ผนึก มันจะควบคุมให้ผนึกเหลวขยับตัวและเรียงตัวไปตามชั้นสี และทำให้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) ที่ส่องมาจากด้านหลังลอดผ่านตามการบิดตัวของผนึกเหลว ทำให้เกิดเป็นภาพต่าง ๆ ปรากฏขึ้นมาได้

จอทีวี Liquid Crystal Display (LCD)

เทคนิคนี้ทำให้จอทีวีสามารถ สร้างภาพที่มีความละเอียดสูงและใช้พลังงานไม่มาก แต่ข้อเสียคือมันไวต่ออุณหภูมิถ้าหากมีการปล่อยทิ้งไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือวางจอไว้ตากแดด อาจทำให้จอมีรอยด่างได้

ข้อดี

  • สามารถสร้างภาพที่มีความละเอียดสูง
  • สร้างเฉดสีที่หลากหลาย ให้สีที่แม่นยำ

ข้อสังเกต

  • แสดงผลภาพสีดำได้ไม่ดี
  • จำกัดความสว่างภาพ
  • ไวต่ออุณหภูมิหาก เจอความร้อนสูง จอจะเป็นลายด่าง

 

หน้าจอ LED (Light-Emitting Diode) คืออะไร ?

จอทีวี Light-emitting diode (LED)

หน้าจอ LED หรือที่ย่อมาจากคำว่า "Light Emitting Diode" มีความคล้ายกับจอ LCD และก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน แต่ที่แตกต่างกันคือ การเปลี่ยนจากหลอดไฟเรืองแสง ฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) กลายเป็นหลอด LED ขนาดเล็กแทน ข้อดีของหลอด LED คือมันสามารถจัดเรียงได้ทั่วทั้งขอบภาพ ทำให้จอภาพมีขนาดที่บางลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้าพูดถึงด้านราคาแล้ว จะมีราคาสูงกว่าจอ LCD

ข้อดี

  • ไฟจาก LED ให้แสงที่ดูเป็นธรรมชาติ
  • ประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดแบบเดิม

ข้อสังเกต

  • จอรุ่นแรก ๆ มีคุณภาพสีไม่ดี
  • แสงสว่างของหน้าจออาจไม่เท่ากัน

 

หน้าจอ VA (Vertical Alignment) และ IPS (In-Plane Switching) คืออะไร ?

จอทีวี Vertical Alignment (VA) และ In-plane switching (IPS)

หน้าจอ VA (Vertical Alignment) และ หน้าจอ IPS (In-plane Switching) เป็นการแบ่งประเภทของทีวี LCD และ LED อีกรูปแบบหนึ่งที่กระบวนการทำงานจะเหมือนกันทั้งหมดตามที่กล่าวมา เพียงแต่ว่าผนึกสีของ VA จะเรียงกันเป็นแนวตั้ง ส่วน IPS จะเรียงกันเป็นบั้ง ผลของการจัดวางรูปแบบที่ต่างกัน ทำให้แผงของ VA สามารถควบคุมการปิดกั้นแสงได้ดีกว่า IPS ส่วน IPS สามารถควบคุมความแม่นยำสีได้มากกว่า และควบคุมมุมมองความกว้างได้มากกว่า เวลามองจากด้านข้างจะเห็นสีที่ถูกต้องและแม่นยำกว่า

ข้อมูลเพิ่มเติม : เลือกจอคอมพิวเตอร์ยังไงดีนะ พาเนลแบบ TN, IPS หรือ VA มีข้อดี-ข้อเสีย แตกต่างกันอย่างไร ?

 
หน้าจอ VA
หน้าจอ IPS

ข้อดี

  • ภาพสว่างใส เปิดโปร่ง สดชื่น
  • รายละเอียดในที่มืดดี
  • คุมระดับความดำทั่วจอได้ดี
  • มุมมองกว้าง สีไม่เพี้ยน
  • อัตรารีเฟรซเรทสูง

ข้อสังเกต

  • มุมมองการรับชมไม่กว้างนัก
  • ค่าการตอบสนองสูง (เกิด Motion Blur)
  •  ควบคุมแสงดำไม่ดี ภาพสีดำจะสว่างกว่าปกติ

 

 
ชื่อ A
ชื่อ B

ข้อดี

  •  
  •  

ข้อสังเกต

  •  
  •  

 

 

หน้าจอ OLED (Organic Light-Emitting Diode) คืออะไร ?

จอทีวี Organic light-emitting diode (OLED)
ขอบคุณภาพจาก https://www.lifewire.com/comparing-qled-vs-oled-4683926

หน้าจอ OLED หรือที่ย่อมาจากคำว่า "Organic Light-Emitting Diode" เป็นหน้าจอที่ เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะมีคุณภาพสูงกว่าจอภาพที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ โดยจอ OLED จะใช้ฟิล์มคาร์บอน (Carbon Film) ที่สามารถเรืองแสงได้เมื่อเจอกับความร้อน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แสงไฟส่องจากด้านหลัง นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมเม็ดพิกเซลที่ให้แสงได้อย่างอิสระ ทำให้ได้ภาพและแสงสีที่คมชัดมากกว่าเดิม 

จอ CRT, DLP, Plasma, LCD, LED, VA, IPS, OLED, QLED คืออะไร ? และข้อดี ข้อเสีย แต่ละชนิด

หน้าจอ OLED นิยมนำไปใช้เป็น หน้าจอทีวี หรือที่เราเรียกว่า ทีวี OLED สามารถแสดงสีดำได้ลึกกว่า แและ มีอัตราส่วนคอนทราสต์ที่มากกว่า ในสภาพที่มีแสงรบกวน และขนาดจอยังบางเบากว่าเนื่องจากมีการลดชั้นตัวกรอง

ข้อดี

  • จอแสดงผลมีขนาดบางขึ้น หนาเพียงมิลลิเมตร เท่านั้น
  • ให้ภาพสีสันที่สดใส พร้อมความต่างสีสูง
  • ลดปัญหา Motion Blur ไม่เบลอ ไม่แตก ไม่สั่น

ข้อสังเกต

  • การผลิตยังมีราคาแพงกว่าแบบอื่นๆ
  • มีความเสี่ยงระดับปานกลาง ในการเกิดอาการจอเบิร์น

 

หน้าจอ QLED (Quantum Light-Emitting Diode) คืออะไร ?

จอทีวี Quantum Light-Emitting Diode (QLED)
ขอบคุณภาพจาก https://www.lifewire.com/comparing-qled-vs-oled-4683926

หน้าจอ QLED หรือ "Quantum Light-Emitting Diode" เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นานโดยซัมซุง (Samung) เป็น Next Generation ของ LCD และมีระบบการทำงานที่ซับซ้อนกว่า OLED มาก หัวใจสำคัญคือเทคนิคการใช้จุดควอนตัม (Quantum Dots) ซึ่งเป็นนาโนคริสตัลเทียมสี ๆ วางตัวเป็นชั้นเรียกว่า QDEF (Quantum Dot Enhancement Film) เมื่อแสงสะท้อนมาจากด้านหลังและทะลุผ่านจุดควอนตัม อนุภาคแสงที่ปล่อยออกมาจะสว่างมากขึ้น และ ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสีได้อีกด้วย กับช่วยลดความเสี่ยงของอาการจอไหม้ได้ด้วย แต่เมื่อเทียบกับ OLED แล้วอัตราส่วนคอนทราสต์ยังด้อยกว่า

จอทีวี Quantum Light-Emitting Diode (QLED)

ข้อดี

  • ให้ความสว่างภาพ และ สีภาพดีที่สุดตอนนี้
  • ลดความเสี่ยงอาการจอเบิร์นลงจาก OLED
  • อายุการใช้งานนานมาก

ข้อสังเกต

  • มีราคาสูง (แต่ราคาก็ยังถูกกว่า OLED)
  • สีดำมีความคมชัดน้อยกว่า OLED

 


ที่มา : www.howitworksdaily.com , en.wikipedia.org , en.wikipedia.org , en.wikipedia.org , www.youtube.com , www.lifewire.com , www.homestratosphere.com

0 %E0%B8%88%E0%B8%AD+CRT%2C+DLP%2C+Plasma%2C+LCD%2C+LED%2C+VA%2C+IPS%2C+OLED%2C+QLED+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5+%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น