หากคุณผู้อ่านกำลังมองหา โน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ มาใช้งาน เกมมิ่งโน้ตบุ๊กอาจจะเป็นตัวเลือกที่หลายคนให้ความสนใจ ไม่ว่าคุณจะต้องการซื้อมันมาเพื่อเล่นเกมเป็นหลักหรือไม่ก็ตาม เพราะเกมมิ่งโน้ตบุ๊กเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เหมือนเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในจุดกึ่งกลางระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ กับคอมพิวเตอร์พกพา
ข้อมูลเพิ่มเติม : แนะนำโน้ตบุ๊กน่าซื้อใช้โดยทีมงานไทยแวร์ (Recommended Notebook by Thaiware Team)
โดยจุดที่ทำให้เกมมิ่งโน้ตบุ๊ก แตกต่างจากโน้ตบุ๊กธรรมดา คือการที่มันมีการ์ดจอแยก (Dedicated Graphics Card) ใส่เข้ามาด้วย นอกเหนือไปจากการ์ดจอออนบอร์ด (Integrated Graphics Card) ที่มีอยู่ในซีพียู มีระบบระบายความร้อนคุณภาพดี และหน้าจอที่มี อัตรารีเฟรชเรท (Refresh Rate) สูง จนทำให้หลายคนมองข้ามข้อเสียด้านน้ำหนัก และแบตเตอรี่ที่ระยะเวลาใช้งานต่อรอบชาร์จต่ำกว่าได้
ซึ่งหากคุณค้นหาเกมมิ่งโน้ตบุ้กที่เป็นรุ่นใหม่ในปัจจุบันนี้ น่าจะเคยผ่านตากับคำโปรยที่ผู้ผลิตใช้ในการโฆษณาว่ามี "MUX Switch" กันมาบ้าง ซึ่งคำนี้เชื่อว่าหลายคนน่าจะยังไม่คุ้นหูกันเท่าไหร่ เกิดคำถามว่ามันคืออะไร ? หมายถึง สวิตช์ของคีย์บอร์ด (Keyboard Switch) หรือเปล่า ? แล้วถ้าจะซื้อเกมมิ่งโน้ตบุ๊กเครื่องใหม่มาใช้งาน จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคุณสมบัติ MUX Switch หรือไม่ ?
ในบทความนี้ เราเลยจะพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ MUX Switch ที่ผู้ผลิตเริ่มนำเข้ามาใส่ในโน็ตบุ๊กให้รู้จักกัน
เพื่อที่จะเข้าใจว่า MUX Switch ทำอะไรได้ ? คุณควรจะต้องเข้าใจเทคโนโลยี Nvidia Optimus (ใน AMD จะเรียกว่า "Switchable Graphic") เสียก่อน เพราะว่า MUX Swtich ในโน้ตบุ๊กเป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาของ Nvidia Optimus
ในเกมมิ่งโน้ตบุ้กจะมีการ์ดจออยู่ 2 ตัว คือ
แน่นอนว่า dGPU มีพลังประมวลผลที่ดีกว่า iGPU มาก แต่ก็สิ้นเปลืองพลังงานแบตเตอรี่มากเช่นกัน สำหรับอุปกรณ์พกพาที่มีข้อจำกัดด้านแบตเตอรี่ ทำให้การใช้งาน dGPU เป็นหลักเพียงตัวเดียว จึงไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ผลิตจึงคิดวิธีแก้ปัญหาด้วยการแบ่งหน้าที่ให้ iGPU รับผิดชอบงานกราฟิกเบา ๆ ส่วน dGPU จะทำงานต่อเมื่อต้องมีการประมวลผลกราฟิกหนัก ๆ เท่านั้น เช่น การเล่นเกม หรือเรนเดอร์วิดีโอ
ข้อมูลเพิ่มเติม : GPU คืออะไร ?
ซึ่งขั้นตอนการแบ่งหน้าที่ของการ์ดจอว่าควรจะใช้การ์ดจอตัวไหนในการทำงาน เกิดขึ้นได้โดยอาศัย Nvidia Optimus หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า MSHybrid
ภาพจาก : https://www.anandtech.com/show/15692/nvidia-details-dynamic-boost-tech-and-advanced-optimus
ถึงแม้ว่า Optimus จะมีประโยชน์ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการ์ดจอทั้ง dGPU และ iGPU ในการใช้งานโน้ตบุ๊ก ด้วยการสร้างความสมดุลที่ลงตัวระหว่างประสิทธิภาพด้านกราฟิก และอัตราการบริโภคพลังงานจากแบตเตอรี่ แต่มันก็ยังไม่สมบูรณ์แบบ
บนคอมพิวเตอร์แบบ Desktop ผู้ใช้งานจะเชื่อมต่อหน้าจอมอนิเตอร์เข้ากับการ์ดจอโดยตรง ในการรับสัญญาณภาพที่การ์ดจอได้ปล่อยออกมา แต่บนโน้ตบุ๊กเราทำแบบนั้นไม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ หน้าจอของโน้ตบุ๊กจะเชื่อมต่อกับ iGPU เป็นหลัก และสัญญาณภาพกราฟิกจาก dGPU จะต้องถูกส่งผ่าน iGPU ก่อน เพื่อแสดงผลภาพให้ปรากฏบนหน้าจอได้ ปัญหาที่เกิดขึ้น คือเกิดปัญหาคอขวด (Bottleneck) ที่ iGPU ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพลดต่ำลง และมีค่า Latency สูงขึ้น
ภาพจาก : https://jarrods.tech/what-is-a-mux-switch-for-gaming-laptops/
เพื่อแก้ไขปัญหาคอขวดใน iGPU ผู้ผลิตเกมมิ่งโน้ตบุ๊กจึงได้นำเอา MUX Switch เข้ามาใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
MUX เป็นคำย่อมาจากคำว่า "Multiplexer (ตัวเลือกข้อมูล)" มันเป็นชิปที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะเปิด หรือปิดการทำงานการเรนเดอร์กราฟิกจาก iGPU ได้ เพื่อรับสัญญาณภาพจาก : dGPU มาแสดงผลบนหน้าจอได้โดยตรง ถึงแม้ว่าการทำแบบนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่ออัตราการบริโภคพลังงานจากแบตเตอรี่ แต่มันก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้ค่า Latency ต่ำลงกว่าเดิมมาก
MUX Switch เป็นไมโครชิปที่ติดตั้งอยู่ในมาเธอร์บอร์ดของโน้ตบุ๊ก ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนการเชื่อมต่อระหว่างการ์ดจอกับจอมอนิเตอร์ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนทางฟิสิกส์เลย เมื่อสลับแล้วการ์ดจอ iGPU จะหายออกไปจากระบบปฏิบัติการเลย ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป โดยมีซอฟต์แวร์สำหรับให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานของชิป MUX Switch ได้
ภาพจาก : https://www.makeuseof.com/what-is-gaming-laptop-mux-switch-do-you-need-one/
นั่นหมายความว่า แม้ผู้ใช้จะใช้ซอฟต์แวร์ในการควบคุม MUX Switch แต่ถ้าภายในโน้ตบุ๊กไม่มีชิป MUX Switch ก็ไม่สามารถใช้งานได้ เพราะขาดชิปที่จะปรับการเชื่อมต่อ dGPU ไปยังหน้าจอแสดงผลโดยตรง
อย่างไรก็ตาม MUX Switch มันมีข้อจำกัดอยู่บ้าง คือการสลับการเชื่อมต่อด้วย MUX Swtich นี้จะต้องรีสตาร์ตโน้ตบุ๊กใหม่ทุกครั้งที่การตั้งค่าเกิดความเปลี่ยนแปลง แต่มันก็เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยที่คุ้มค่าที่จะแลกเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้เพิ่มมา
ข้อได้เปรียบอีกอย่างของ MUX Switch อีกอย่างคือ ทำให้หน้าจอแสดงผลของโน้ตบุ๊กสามารถใช้งานคุณสมบัติอย่าง G-Sync หรือ FreeSync ได้ด้วย ซึ่งหากเป็นเทคโนโลยีเดิมที่ต้องส่งสัญญาณภาพจาก : dGPU ไปยัง iGPU จะไม่สามารถใช้งานได้ (หน้าจอแสดงผลของโน้ตบุ๊กจะต้องรองรับด้วย)
ในส่วนของสิ่งแลกเปลี่ยนที่ได้มาจากการให้ dGPU ในโน้ตบุ๊กต่อกับจอแสดงผลโดยตรง คือเมื่อ iGPU ถูกตัดการเชื่อมต่อ โน๊ตบุ๊กก็จะทำงานโดยอาศัย dGPU เพียงอย่างเดียว ไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์ Desktop ทำให้อัตราการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่สูงขึ้นกว่าเดิมมาก การปรับใช้งานจึงขึ้นอยู่พฤติกรรมเป็นหลัก เช่น เสียบอะแดปเตอร์ใช้งานอยู่ที่บ้านก็ปรับให้ใช้ dGPU เพียงอย่างเดียวโดยตรงไปเลย เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่ แต่ถ้าพกไปทำงานนอกสถานที่ก็เลือกใช้งานผ่าน iGPU เหมือนเดิม
ภาพจาก : https://jarrods.tech/what-is-a-mux-switch-for-gaming-laptops/
ถ้าในโน้ตบุ๊กของคุณไม่มี MUX Switch ก็มีอีกทางเลือก คือการเอาหน้าจอมาต่อเข้ากับโน้ตบุ๊กผ่านพอร์ต DisplayPort หรือ HDMI ของ dGPU โดยตรง ซึ่งจะทำให้ข้อมูลถูกส่งออกจาก dGPU ไปยังหน้าจอโดนตรงโดยไม่ผ่าน iGPU ผลลัพธ์ก็เหมือนกับการใช้ MUX Switch นั่นเอง
ภาพจาก : https://sea.pcmag.com/laptops/44010/acers-new-predator-gaming-laptops-get-mini-led-panels-latest-silicon
คำตอบ คือ มี นั่นก็คือ "Advanced Optimus" ที่ทาง NVIDIA ได้นำเอา Optimus มาปรับปรุงใหม่ โดยนำข้อเสียของ MUX Switch มาแก้ไขให้ดีขึ้น โดย Advanced Optimus จะใช้ชิปที่สามารถสลับระหว่าง iGPU และ dGPU แบบฟิสิกส์ได้เหมือนกับที่ MUX Switch ทำเลย แต่ดีกว่าตรงที่ไม่จำเป็นต้องรีสตาร์ตคอมพิวเตอร์หลังเปลี่ยนการตั้งค่า ทำให้การใช้งานมีความราบรื่น และลดอัตราการบริโภคพลังงานจากแบตเตอรี่
แต่ข้อเสีย คือในปัจจุบันนี้ (ปี ค. 2022 (พ.ศ. 2565)) มีโน๊ตบุ๊กที่ใช้ชิป Advanced Optimus ให้เลือกเพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้น
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |