สำหรับ "แบบสำรวจ หรือ แบบสอบถาม (Survey or Questionnaire)" ก็เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่มีความสำคัญอย่างมาก เมื่อเรากล่าวถึงการจัดงานสัมมนาออนไลน์ (Online Webinar) หรืองานอีเวนท์ (Event) ต่าง ๆ เพราะมันเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการเก็บข้อมูลความคิดเห็น และกระแสตอบรับจากผู้เข้าร่วมงานนั่นเอง
โดยเมื่อ Webinar จบลง แต่งานของนักการตลาดยังไม่จบ เราต้องมาพิจารณาว่ามันออกมาดีหรือเปล่า ? ผู้เข้าร่วมงานมีความพึงพอใจขนาดไหน ? ซึ่งหากอาศัยแค่เพียงความรู้สึก ผลลัพธ์ก็มักจะมีความอคติทำให้มันขาดความแม่นยำ นักการตลาดที่ดีจะนำข้อมูลที่ได้จากการทำแบบสำรวจ เก็บความเห็นจากผู้เข้าร่วมงาน มาใช้วิเคราะห์ความสำเร็จของงาน เพื่อใช้ปรับปรุงการจัดงานในครั้งถัดไปให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม การออกแบบตัวแบบสอบถามให้ดีไม่ใช่เรื่องง่าย หากเราทำคำถามเยอะไป หรือถามอะไรที่ไม่เกี่ยวกับงาน ผู้ทำแบบสอบถามก็อาจรู้สึกไม่ดี และเลือกที่จะหยุดทำแบบสอบถามไปเลย
ในบทความนี้ เราเลยอยากจะมาแนะนำแนวทาง "คำถาม" ที่คุณผู้อ่านสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใส่ในแบบสอบถามสำหรับงาน Webinar ได้ จะมีคำถามอะไรบ้าง ? มาติดตามกันต่อได้เลย
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-vector/realistic-question-box-mockup_28846681.htm
เมื่อเราส่งแบบสอบถามออกไป เราย่อมคาดหวังว่าจะมีผู้ร่วมงานยอมเสียสละเวลาในการตอบแบบสอบถามส่งกลับมามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก่อนจะไปถึงตัวคำถาม มาศึกษาเทคนิคพื้นฐานในการออกแบบกันก่อนสักเล็กน้อย ว่าแบบสอบถามที่ดีควรมีลักษณะเป็นอย่างไร ?
เราควรเริ่มต้นด้วยคำถามที่สามารถตอบได้ง่าย ๆ เช่น จริง/เท็จ หรือมีตัวเลือกในการตอบให้ เทคนิคนี้ช่วยหลอกล่อให้ผู้ตอบรู้สึกอยากทำแบบทดสอบมากขึ้น เพราะรู้สึกว่ามันน่าจะเป็นแบบสอบถามสั้น ๆ ที่ใช้เวลาทำไม่นาน
ส่วนคำถามที่ผู้ตอบต้องใช้เวลาคิด ใช้เวลาในการตอบนาน เราควรเก็บไว้ในส่วนท้ายของแบบสอบถาม เพราะส่วนใหญ่ผู้ตอบจะรู้สึกว่าพวกเขาลงทุนเสียเวลาตอบคำถามมาไกลแล้ว ไหน ๆ ก็ไหน ๆ เสียเวลาเพิ่มอีกสักนิด ทำให้มันจบ ๆ ไปเลยก็ได้
แบบทดสอบที่ดีไม่ควรต้องใช้เวลาในการทำนาน เพราะแบบสอบถามที่ต้องใช้เวลาในการทำนาน จะมีผลให้ผู้ตอบไม่อยากทำต่อจนจบ หรือบางคนก็ตอบไปมั่ว ๆ เพื่อให้มันจบ ๆ ไป ส่งผลให้เราได้ข้อมูลที่ไม่มีคุณภาพกลับมา จากการวิจัยพบว่า หากแบบสอบถามต้องใช้เวลานานมากกว่า 20 นาทีในการทำ ข้อมูลก็จะมีคุณภาพแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น แบบสอบถามที่ดีจึงควรสามารถทำให้จบได้ภายในเวลาเฉลี่ยไม่เกิน 15 - 20 นาที
จำกัดตัวเลือกในการตอบ
หากเป็นคำถามแบบปลายปิด พยายามอย่าเปิดโอกาสให้ผู้ตอบมีทางเลือกในการตอบได้หลากหลาย ยิ่งตัวเลือกยิ่งทำให้ผู้ตอบได้รับประสบการณ์ในการทำแบบสอบถามแย่ขึ้น ในกรณีที่คำตอบมีความเป็นไปได้หลายด้าน เราสามารถเลือกใช้คำตอบ "อื่น ๆ" แล้วใส่ช่องพิมพ์คำตอบลงแทนเลย
ต่อไป เรามาดูตัวอย่างคำถามที่น่าสนใจสำหรับใช้ในแบบสอบถามกัน
คำถามสำหรับแบบสอบถามก่อนจัดงาน Webinar (Pre-Webinar Questions) เป็นวิธีที่ดีในการประเมินความสนใจของผู้ที่เข้าร่วมงาน เพื่อนำมาปรับใช้กับแผนการดำเนินการได้ ซึ่งช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้ที่เข้าร่วมงาน Webinar ได้ นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นให้พวกเขามาร่วมงาน Webinar เมื่อถึงวันที่กำหนดอีกด้วย.
สำหรับคำถามที่น่าใส่ในแบบสอบถามก่อนจัดงาน Webinar จะประกอบไปด้วย
คำถามนี้ช่วยให้คุณรู้ว่า ผู้เข้าร่วมงานอยากเจอกับวิทยากรคนไหนมากที่สุด ? ช่วยให้คุณสามารถวางแผนการจัดสรรเวลาให้ดียิ่งขึ้นได้ เช่น ปรับช่วงเวลาให้วิทยากรที่ได้รับความสนใจมากที่สุดมีโอกาสพูดนานขึ้น หรือเก็บข้อมูลเอาไว้เพื่อใช้พิจารณาว่างานในครั้งหน้า วิทยากรคนไหนที่สามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานให้เกิดความสนใจได้
คำถามนี้ช่วยให้คุณรู้ว่ามีผู้ชมจำนวนเท่าไหร่ ? ที่เคยเข้าร่วมงานที่คุณเคยจัดขึ้นมาก่อน แล้วยินดีที่จะกลับมาเข้าร่วมงานอีกครั้ง ซึ่งมันเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงจำนวนลูกค้าที่มีความภักดีต่อแบรนด์ของคุณ รวมทั้งยังแสดงให้เห็นว่า หัวข้องานที่คุณคัดเลือกมานั้น ตรงใจกับฐานผู้ชมที่คุณมีอยู่เข้าอย่างจัง
การสำรวจว่าผู้เข้าร่วมงาน Webinar ของเรานั้นได้ข้อมูลงานมาจากช่องทางไหน ? มันทำให้คุณรู้ว่าลูกค้าของคุณอาศัยอยู่บนแพลตฟอร์มไหนมากที่สุด มันจะช่วยให้ง่ายต่อการตัดสินใจ ว่าแพลตฟอร์มไหนที่นักการตลาดควรให้ความสำคัญมากที่สุด เพราะการเพิ่มโปรโมชันในแพลตฟอร์มที่มีลูกค้าอาศัยอยู่เยอะ สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้โดยตรง
คำถามนี้ช่วยไขปริศนาให้คุณรู้ว่า งาน Webinar ที่คุณจัดขึ้นนั้น อะไรเป็นจุดแข็งที่สามารถดึงดูดผู้ชมให้มาเข้าร่วมได้มากที่สุด ? ซึ่งเมื่อรู้คำตอบแล้ว ก็สามารถนำมันมาปรับใช้แผนการจัดงาน Webinar ให้ตอบโจทย์ความพึงพอใจของผู้ร่วมชมได้ดียิ่งขึ้น
ผู้เข้าร่วมงาน Webinar แต่ละคนย่อมมีอุปกรณ์ที่สามารถใช้ร่วมงานอยู่หลายประเภท บางคนใช้คอมพิวเตอร์, บางคนอาจใช้สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต แพลตฟอร์มที่คุณใช้จัดงาน Webinar ควรรองรับการเข้าร่วมงานได้จากอุปกรณ์ทั้งหมดที่ผู้ชมเลือกใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชมเกิดปัญหาไม่สามารถเข้าร่วมงานได้
มันอาจมีข้อมูลบางอย่างที่ผู้เข้าร่วมงานอยากรู้ แต่เป็นข้อมูลที่ยังไม่เคยเผยแพร่มาก่อนที่งาน Webinar จะมีขึ้น การที่เราถามคำถามที่ผู้เข้าร่วมงานอยากรู้ล่วงหน้า ช่วยให้เราสามารถเตรียมข้อมูลล่วงหน้าได้อย่างครบถ้วนไม่พลาดตกหล่น มั่นใจได้ว่าผู้เข้าร่วมงานจะได้รับข้อมูลที่พวกเขาสนใจอยากรู้อย่างแน่นอน
แม้แต่ในระหว่างที่กำลังจัดงาน Webinar อยู่ เราก็สามารถมีแบบสอบถามได้เช่นกัน โดยส่วนใหญ่จะเป็นคำถามในเชิงแก้ปัญหาให้แก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งเราอาจทำแบบสอบถามแยกออกมาเพื่อเปิดให้ผู้เข้าร่วมงาน สามารถทำมันได้ตลอดเวลาที่จัดงาน
ไม่ว่าเราจะเตรียมความพร้อมงานไว้ดีขนาดไหน ? ท้ายที่สุดแล้วมันก็มีปัญหาอะไรสักอย่างเกิดขึ้นอยู่ดี ซึ่งมันส่งผลให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี คำถามนี้ช่วยให้ปัญหาถูกหยิบยกขึ้นมา ฝ่ายเทคนิคที่เห็นก็สามารถนำไปแก้ไขปัญหาได้ทันที
สำหรับคำถามนี้ เหมาะที่จะส่งออกไปหาผู้ร่วมงานในช่วงเวลาที่งาน Webinar กำลังจะจบแล้ว มันเป็นคำถามที่ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าผู้ร่วมงานจะได้รับข้อมูลที่พวกเขาอยากรู้กลับไปอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ ยังทำให้พวกเขารู้สึกไม่ถูกมองข้าม เพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะอยากกลับมาร่วมงานที่เราอาจจัดขึ้นอีกครั้งในอนาคต
คำถามนี้ถือเป็นคำถามสำคัญที่เราควรใส่เอาไว้ในแบบสอบถามเสมอ เพราะมันเป็นคำถามปลายเปิดที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถถามคำถามอะไรก็ได้ที่พวกเขายังค้างคาใจอยู่ และเมื่อพวกเขาได้รับคำตอบที่ต้องการแล้ว ความพึงพอใจจะหนีไปไหนได้เล่า
แบบสอบถามที่ส่งไปให้ผู้ร่วมงานทำหลังที่งาน Webinar จบลงไปแล้ว ควรเลือกใส่เฉพาะคำถามที่สำคัญ คำตอบที่ได้ไม่ว่าจะเป็นในแง่ลบ หรือแง่บวก สามารถนำมาใช้ปรับปรุงการจัดงาน Webinar ให้คุณภาพดีขึ้นได้
นี่เป็นคำถามง่าย ๆ ที่เราควรถามเสมอ สำหรับคำตอบก็ควรกำหนดเป็นระดับคะแนนความพึงพอใจให้ผู้ทำแบบสอบถามสามารถเลือกได้ง่าย ๆ หากคนส่วนใหญ่รู้สึกพึงพอใจก็หมายความว่า การจัดงาน Webinar ของคุณมาถูกทิศทางแล้ว แต่ถ้าส่วนใหญ่ไม่ประทับใจ ก็หมายความว่าต้องมีอะไรสักอย่างที่คุณพลาด ซึ่งเราต้องหาทางแก้ไขก่อนที่จะเสียฐานผู้ชมไป
วิทยากรเป็นองค์ประกอบที่ส่งอิทธิพลต่องาน Webinar เป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่ไม่ว่าคุณจะจัดงานห่วยขนาดไหน แต่ถ้าวิทยากรที่คุณเชิญมามีฐานแฟนคลับเยอะ มีชื่อเสียงมาก งานก็ยังมีโอกาสประสบความสำเร็จได้
หากวิทยากรที่เราเชิญมาสามารถสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ร่วมงานได้ ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่พวกเขาจะมาเข้าร่วมงานครั้งถัดไปที่คุณจัด ดังนั้น ความพึงพอใจที่มีต่อตัววิทยากรจึงเป็นข้อมูลสำคัญที่เราควรถาม
ด้วยความที่ Webinar เป็นงานสัมมนาออนไลน์ มันเกิดขึ้นได้จากการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีหลายอย่าง ผู้ร่วมงานจะเข้าร่วมงานได้ก็ต้องใช้เทคโนโลยีบนคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนด้วยเช่นกัน มันอาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้ หากเทคโนโลยีที่คุณเลือกใช้ไม่รองรับกับเทคโนโลยีที่ผู้ร่วมงานมี หรืออาจเป็นปัญหาที่เกิดจากความไม่รู้ ขาดความเข้าใจ เราควรรวบรวมคำถามเหล่านี้มาเพื่อปรับปรุงระบบไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำอีกในอนาคต
ผู้เข้าร่วมงาน Webinar ส่วนใหญ่ก็จะมีความคาดหวังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นในด้านคุณภาพ หรือสาระที่ได้รับ แน่นอนว่าทางผู้จัดเองก็มีความต้องการที่จะตอบสนองให้ได้อย่างที่ถูกคาดหวังเอาไว้ คำถามนี้จะช่วยให้คุณรู้ว่า คุณจัดงานได้ดีตามที่ผู้เข้าร่วมคาดหวังเอาไว้มากขนาดไหน ?
ระบบเครือข่ายมีความสำคัญต่อผู้เข้าร่วมงาน Webinar เป็นอย่างมาก เราควรเตรียมเครื่องมือด้านเครือข่ายที่ดีให้สำหรับผู้เข้าร่วมงานได้ใช้ในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล กับผู้เข้าร่วมงานคนอื่น ๆ ข้อมูลที่ถูกแบ่งปันช่วยให้งาน Webinar ของคุณมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และเป็นพื้นที่สำหรับสร้างคอนเนคชันที่ดี
ขั้นตอนถัดมาหลังจากมีเครื่องมือด้านเครือข่ายที่ดีแล้ว เราควรเก็บข้อมูลด้วยว่าผู้เข้าร่วมมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมรายอื่นที่รู้จักกันภายในเครือข่ายระหว่างงาน Webinar หรือไม่ เพราะอย่างที่เราได้อธิบายไปในหัวข้อที่แล้ว ว่าหากมีการสื่อสารกันระหว่างผู้เข้าร่วมงานเกิดขึ้น มันจะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับงาน Webinar ที่คุณจัดได้เยอะเลย
หากผู้ร่วมงาน Webinar รู้สึกได้รู้จักบริษัทของคุณมากมากขึ้น มันก็เพิ่มโอกาสในการขายด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากสามารถถึงผู้ร่วมงาน Webinar ให้กลายมาเป็นลูกค้าของบริษัทได้ด้วย งานนี้ก็เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว
คำถามนี้ช่วยให้คุณค้นหาว่าอะไรที่ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เข้าร่วมงานได้มากที่สุด และอะไรที่เรายังทำได้ไม่ดี หรือไม่ถูกจริตของผู้เข้าร่วมงาน Webinar อะไรที่ดีก็เก็บมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก อะไรที่คนส่วนไม่ชอบก็อาจจะตัดออก หรือเปลี่ยนวิธีการนำเสนอใหม่ ๆ
ในการจัดงาน Webinar มีแพลตฟอร์มมากมายให้เลือกใช้บริการ ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็มักจะมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน หากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ร่วมงานของเรารู้สึกว่าแพลตฟอร์มที่เราเลือกใช้จัดงาน Webinar มันใช้งานยาก มันสามารถส่งผลกระทบไม่ให้พวกเขาอยากกลับมาร่วมงาน Webinar อีกครั้งในอนาคตได้
หากผู้เข้าร่วมงาน Webinar รู้สึกสนุก ได้สาระจากงานที่เราจัด โอกาสที่เขาจะแนะนำคนในครอบครัว หรือเพื่อน ๆ ให้มาร่วมงานในครั้งหน้าก็เพิ่มมากขึ้น นั่นหมายความว่างานของคุณจะเป็นที่รู้จักในวงกว้างกว่าเดิม มีคนสนใจเข้าร่วมงานเยอะขึ้น
นี่เป็นการถามแบบโต้ง ๆ ไปเลยเพื่อหาคำตอบว่าพวกเขาจะกลายเป็นลูกค้าผู้ภักดี ยินดีที่จะมาร่วมงาน Webinar ที่คุณจะจัดขึ้นในอนาคตอีกหรือไม่ ควรออกแบบคำตอบเป็นมาตรวัดไปเลย เช่น เข้าร่วมแน่นอน, ต้องดูหัวข้อก่อน, ไม่แน่ใจ, ไม่แน่นอน เป็นต้น
มันมีหนทางในการปรับปรุงงาน Webinar ให้ดีขึ้นได้เสมอ ซึ่งความเห็นจากผู้ร่วมงานนั้นมีค่า สามารถนำไปมาพัฒนาการจัดงานให้ดีขึ้นได้ ควรเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสามารถตอบคำถามนี้ได้อย่างอิสระ
หากมีโอกาสจัดงาน Webinar ก็อย่าลืมความสำคัญของแบบสอบถาม คัดสรรคำถามให้ดี เพื่อช่วยให้งาน Webinar ของเราออกมาดียิ่งขึ้นนะครับ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |