ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ คำว่า Accessibility (การเข้าถึง) เป็น คำเท่ๆ หรือวลีเก๋ ๆ (Buzzword) ที่กำลังมาแรงในอุตสาหกรรมเว็บไซต์เป็นอย่างมาก คนส่วนใหญ่อาจมีความเข้าใจเบื้องต้นว่า "Web Accessibility" นั้นหมายถึงอะไร ? แต่อาจจะยังไม่รู้รายละเอียดในเชิงลึกว่าตัวเว็บไซต์จะต้องมีคุณสมบัติอะไรอยู่บ้าง ถึงจะสามารถเรียกตัวเองว่าเป็นเว็บไซต์แบบ Web Accessibility ได้
โดนหลักพื้นฐาน เว็บไซต์ควรออกแบบมาให้ทุกคนสามารถเข้าถึงใช้งานได้ ไม่ว่าเราจะใช้ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, ภาษา, หรือใช้ภาษาอะไรก็ตาม แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมาเว็บไซต์ส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ สำหรับคนทั่วไปอาจจะไม่ได้มีปัญหาอะไรในการใช้งานเว็บไซต์
แต่สำหรับผู้ที่มีความพิการ อาจจะเป็นทางการได้ยิน, สายตา, ความเคลื่อนไหว หรือการรับรู้ พวกเขามักจะไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์ได้เหมือนกับคนปกติ
เว็บไซต์ถูกสร้างขึ้นมาทำลายกำแพงในการสื่อสาร และติดต่อหากันของมนุษย์ในโลกฟิสิกส์ ซึ่งผู้พิการก็ไม่ควรถูกละเลย พวกเขาก็ควรสามารถใช้งานเว็บไซต์ในการสื่อสารร่วมกับคนทั่วไปได้ด้วย ในอดีต ปัญหานี้ถูกมองข้าม ไม่มีใครให้ความสำคัญมากนัก
หากตัวเว็บไซต์, แอปพลิเคชัน, เทคโนโลยี หรือเครื่องมือถูกออกแบบมาไม่ดี หรือไม่ได้คำนึงว่า อาจมีผู้ใช้งานที่เป็นผู้พิการด้วยตั้งแต่แรก สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นกำแพงที่ปิดกั้นไม่ให้ผู้พิการใช้งานเว็บไซต์ได้
Web Accessibility จึงเป็นเหมือนหลักเกณฑ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่เป็นนักพัฒนา หรือองค์กร นำไปใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ และระบบต่าง ๆ ให้ออกมาแล้วทุกคนสามารถใช้งานได้อย่างแท้จริง
ในบทความนี้ เราเลยอยากจะมาเจาะรายละเอียดของ Web Accessibility ลงไปให้ลึกขึ้นกัน
Web Accessibility นั้นหมายถึงเว็บไซต์, เครื่องมือ รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบ และพัฒนาขึ้นมา โดยที่คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้พิการด้วย ว่าจะต้องยังคงสามารถใช้งานส่วนต่าง ๆ ได้เหมือนกับคนปกติ โดยคุณสมบัติขั้นพื้นฐานที่ควรทำได้คือ
โดย Web Accessibility จะครอบคลุมความทุพพลภาพทั้งหมดที่มีผลต่อการเข้าถึงการใช้งานเว็บไซต์ ประกอบไปด้วย
Web accessibility ไม่ได้มีประโยชน์แค่กับผู้ที่ทุพพลภาพเท่านั้น คนปกติก็ได้ประโยชน์จาก Web accessibility ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น
ในการพัฒนาเว็บไซต์ให้รองรับ Web Accessibility มันมีมาตรฐานที่เรียกว่า "Web Content Accessibility Guidelines (WCAG)" ที่ทาง Web Accessibility Initiative (WAI) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม World Wide Web Consortium (W3C) องค์กรระหว่างประเทศที่คอยกำกับดูแลมาตรฐานการทำงานของระบบ World Wide Web (WWW) ได้ประกาศเปิดตัว WCAG 1.0 เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999 (พ.ศ. 2542)
ในขณะที่เวอร์ชันล่าสุดจะเป็น WCAG 2.2 ที่เปิดตัวเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2023 (พ.ศ. 2566) โดยจะประกอบไปด้วยแนวทางปฏิบัติ (Guideline) ในการปฏิบัติ 13 ข้อ ซึ่งมีเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จ (Criteria) ทั้งหมด 86 อย่าง
ภาพจาก : https://www.orbitmedia.com/blog/web-accessibility/
โดยแนวทางปฏิบัติของ WCAG สามารถแบ่งออกเป็นหลักการ (Principle) ที่เรียกว่า "POUR" แบ่งเป็น 4 ส่วนได้ ดังต่อไปนี้
ผู้ขมจะต้องสามารถรับรู้ หรือเข้าใจถึงเนื้อหา และข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าเว็บไซต์ได้
โดยการ "รับรู้" ที่ว่านี้ ไม่จำเป็นต้องการ "รับรู้ผ่านการมองเห็นเท่านั้น" ผู้ชมที่มีความพิการทางสายตา ส่วนใหญ่จะใช้ซอฟต์แวร์ Screen reader ซึ่งที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนข้อความบนหน้าจอให้กลายเป็นเสียงพูด หรืออักษรเบรลล์ (Braille) ได้ เราควรพิจารณาถึงผู้ใช้กลุ่มนี้ด้วย ในเวลาที่เราต้องการสร้างเว็บไซต์ หรืออัปเดตข้อมูล
ในการใช้งานเว็บไซต์ ผู้ใช้งานทุกคนจะต้องใช้งานฟังก์ชันทุกอย่างที่เว็บไซต์มีให้ได้ครบทุกฟังก์ชัน ไม่ว่าจะเป็นการนำทางไปยังหน้าต่าง ๆ, คลิกลิงก์จากเมนู, คลิกเล่น/หยุดเพลง ฯลฯ
โดยทั่วไปแล้วเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเว็บไซต์เรียบ ๆ ที่ไม่ได้ใส่ฟังก์ชันเยอะเกินความจำเป็น ทำให้ลดโอกาสที่บางฟังก์ชันจะไปสร้างอุปสรรคในการใช้ให้กับผู้ที่มีความทุพพลภาพได้
เนื้อหาทั้งหมดที่ปรากฏบนเว็บไซต์ อันรวมถึงสไตล์ในการเขียน และออกแบบกราฟิก ควรง่ายต่อการทำความเข้าใจ การใช้คำที่ต้องตีความหมายในเชิงลึก หรือรูปแบบกราฟิกที่มีความซับซ้อน นอกจากจะทำให้ผู้ชมส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ หรือตีความผิดแล้ว มันยังส่งผลกระทบที่มีปัญหาด้านสติปัญญา หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาอีกด้วย
หลักการนี้ยังครอบคลุมไปถึงโครงสร้างของเว็บไซต์ด้วย หน้าเว็บไซต์ควรมีความระเบียบ และออกแบบให้นำทางได้ตามสัญชาตญาณ (Intuitively)
ความมั่นคงนั้นมีหลายด้าน ในด้านเนื้อหาก็อย่างเช่น เนื้อหาบนเว็บไซต์ควรมีความเข้าใจง่าย ไม่ว่าผู้ชมจะเป็นใครก็สามารถเข้าใจ ในด้านเทคโนโลยี เบื้องหลังการทำงานของเว็บไซต์ควรเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีมาตรฐานได้รับความนิยมแพร่หลาย เช่น การใช้ HTML จะช่วยให้ซอฟต์แวร์ประเภท Screen readers ทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะอ่านเนื้อหาที่โค้ดได้เลย โดยไม่ต้องไปทำการเปรียบเทียบกับรูปภาพ (การทำ OCR)
ภาพจาก : https://www.deque.com/blog/top-5-questions-asked-in-accessibility-trainings/
เว็บไซต์ที่ผ่านมาตรฐาน Web Content Accessibility Guidelines (WCAG) แล้ว จะได้รับการแบ่งระดับที่สอดคล้องกับ Web Accessibility ได้ออกเป็น 3 ระดับ คือ เลเวล A, AA และ AAA โดยหากคุณได้รับเลเวลสูง จะหมายถึงว่าคุณผ่าน Criteria ระดับที่ต่ำกว่า เช่น หากได้รับเลเวล AA นั่นหมายความว่าเว็บไซต์ของคุณผ่านมาตรฐาน WCAG ระดับ A
สำหรับความแตกต่างระหว่าง เลเวล A, AA และ AAA จะมีดังต่อไปนี้
เป็นระดับพื้นฐานที่เอื้อการใช้งานต่อผู้พิการ มีการออกแบบมาโดยตัดอุปสรรคบางอย่างที่สามารถขัดขวางการใช้จากผู้พิการออกไป แต่ยังไม่มากที่จะผ่านข้อกำหนด Americans With Disabilities Act (ADA) กฎหมายความเสมอภาคสำหรับคนพิการในสหรัฐอเมริกามาตรา 504 และ มาตรา 508 ได้ ตัวอย่างเช่น การเพิ่มรายละเอียดอธิบายภาพเป็นข้อความก็เป็นหนึ่งในเกณฑ์การผ่านของเลเวล A
ADA มาตรา 504 : ห้ามการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการโดยอ้างอิงถึงความพิการ ในซอฟต์แวร์ หรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนด้วยเงินทุนรัฐบาล
ADA มาตรา 508 : กำหนดว่าหน่วยงานรัฐบาลต้องปรับปรุงเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และเนื้อหาอื่น ๆ ในรูปแบบดิจิทัลให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงได้
สำหรับการจะได้รับรองเลเวล AA ตัวเว็บไซต์จะต้องสามารถผ่านเงื่อนไขของกฏหมาย ADA มาตรา 504 และ 508 ให้ครบทุกข้อ
เลเวลนี้เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีกำแพงในการเข้าถึงหลงเหลืออยู่เลย ถึงแม้ว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำได้ถึงระดับนี้ และมันก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำที่จะสามารถทำเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ทุกกลุ่ม
แต่ในเลเวล AAA จะทำให้เว็บไซต์ของคุณเข้าถึงกลุ่มคนต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น เพิ่มภาษามือเข้าไปในวิดีโอ ก็เป็นหนึ่งในข้อกำหนดของเลเวล AAA
สำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ และมีแผนที่จะปรับปรุงหน้าเว็บ การให้ความสำคัญกับ Web accessibility ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียว เพราะมันสามารถช่วยเพิ่มฐานผู้เข้าชมเว็บไซต์กลุ่มใหม่ให้คุณได้
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |