ในโลกที่อุตสาหกรรมเป็นสิ่งขับเคลื่อนทุกอย่าง เทคโนโลยี และการควบคุมอัตโนมัติกลายเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ "PLC" หรือ "Programmable Logic Controller" เป็นหนึ่งในระบบควบคุมอัตโนมัติที่ได้รับการยอมรับและใช้งานอย่างแพร่หลาย
ด้วยความสามารถในการควบคุมกระบวนการผลิตอย่างแม่นยำ PLC จึงเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของโรงงาน และระบบอุตสาหกรรมไปอย่างสิ้นเชิง และบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ PLC ทั้งความหมาย, หลักการทำงาน, ส่วนประกอบ, การโปรแกรม และข้อดี-ข้อสังเกต ของมันในโลกอุตสาหกรรมยุคปัจจุบัน
ภาพจาก : https://www.tpk-success.com/15044463/plc
PLC ย่อมาจาก Programmable Logic Controller เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ ซึ่งใช้ในการควบคุมกระบวนการทางไฟฟ้า และกลไกต่าง ๆ มักใช้ในงานด้านอุตสาหกรรม PLC บางทีก็เรียกว่า "คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม" (Industrial Computing Machine) เพราะเนื่องจากหน้าที่หลักของมันคือ การทำงานคล้ายกับคอมพิวเตอร์เฉพาะทางสำหรับงานอุตสาหกรรม
ภาพจาก : https://www.freepik.com/premium-vector/plc-programable-logic-controller-with-input-output-vector-flat-design_29580133.htm
PLC ทำหน้าที่ตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์อินพุต เช่น สัญญาณจากสวิตช์ไฟ จากนั้นจะตัดสินใจเพื่อควบคุมอุปกรณ์เอาต์พุตเช่น การเปิด หรือปิดไฟ PLC ยังถูกใช้ในการรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงงาน หรือจากสถานที่ห่างไกลไปยังระบบประมวลผลส่วนกลาง ซึ่งมักจะทำงานบนคอมพิวเตอร์ PLC ถูกใช้ในการตรวจสอบอุปกรณ์ รายงานสถานะต่าง ๆ รวมถึงวิเคราะห์ความผิดพลาดของเครื่องจักร และอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมอีกด้วย
PLC เป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบรีเลย์ลอจิก (Relay Logic System) ซึ่งเป็นระบบควบคุมที่ใช้ในการตรวจสอบ และควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สวิตช์, รีเลย์, ตัวจับเวลา, เครื่องกระตุ้น (Actuator) และมอเตอร์ ในระบบนี้ รีเลย์จะทำหน้าที่ดำเนินการทางลอจิกเรียกว่า "รีเลย์ลอจิก" ด้วยการเปิด หรือปิดขดลวดแม่เหล็กในวงจรไฟฟ้า
ภาพจาก : https://forum.digikey.com/t/relay-logic-for-industrial-control-panels-part-1/39441
รีเลย์สามารถเชื่อมต่อวงจรที่ใช้กระแสไฟ และแรงดันต่างกันได้ ทำให้ในอดีต มันเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับการควบคุม และประสานงานอุปกรณ์อัตโนมัติในอุตสาหกรรม แต่ข้อเสียของระบบรีเลย์ลอจิกคือ มันต้องใช้การเดินสายจำนวนมาก ทำให้ยุ่งยากในการบำรุงรักษา เนื่องจากมีสายไฟจำนวนมหาศาล
ภาพจาก : https://www.reddit.com/r/PLC/comments/jl8rdy/recently_someone_asked_on_here_if_any_of_us_used/
ขณะที่ PLC ใช้ซอฟต์แวร์ในการจัดการลอจิก ซึ่งช่วยให้ PLC ทำงานได้อย่างแม่นยำ และออกแบบได้ซับซ้อนกว่า PLC ช่วยแก้ไขข้อเสียของระบบรีเลย์ลอจิกที่มีความยุ่งยากในการเดินสาย และบำรุงรักษา เนื่องจาก PLC ใช้การเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมอุปกรณ์ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยน และอัปเดตโปรแกรมได้ง่ายกว่า ไม่ต้องปรับวงจร หรือเปลี่ยนสายไฟใหม่ทั้งหมด
ภาพจาก : https://gripmech.com/GripMechactronics/Panel_Building
PLC มีหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุต เช่น เซนเซอร์ หรือสวิตช์ จากนั้นประมวลผล และส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์เอาต์พุตเช่น มอเตอร์ หรือวาล์ว ส่วนประกอบของ PLC แต่ละส่วนทำงานร่วมกันเพื่อให้ระบบควบคุมทำงานได้อย่างราบรื่น
ภาพจาก : https://www.realpars.com/blog/plc-hardware
ภาพจาก : https://www.realpars.com/blog/plc-hardware
Rack เปรียบเสมือนโครงสร้างที่เชื่อมโยงทุกส่วนของ PLC เข้าด้วยกัน โดย Rack จะมีตำแหน่งสำหรับใส่โมดูลต่าง ๆ เช่น CPU, โมดูลอินพุต/เอาต์พุต (I/O Modules) และแหล่งจ่ายไฟ หน้าที่ของ Rack คือการจัดกลุ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกันได้ เสมือนกับโครงรถยนต์ที่รองรับส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถ
Power Supply ทำหน้าที่แปลง ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่จ่ายมาจากแหล่งจ่ายภายนอก ให้กลายเป็น ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ซึ่งเป็นกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการทำงานของ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) และโมดูล I/O ต่าง ๆ
CPU ถือเป็นหัวใจของ PLC ทำหน้าที่ประมวลผลทุกกระบวนการที่เกิดขึ้น CPU ของ PLC มีสองโหมดหลัก ได้แก่
ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งผ่านระบบบัส (Control Bus System) ที่ทำหน้าที่รับ และส่งข้อมูลระหว่าง CPU กับส่วนอื่น ๆ ของ PLC
ภาพจาก : https://www.realpars.com/blog/plc-hardware
โมดูลเหล่านี้ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง PLC และอุปกรณ์ภายนอก โดยจะมีทั้งอินพุต และเอาต์พุตที่รับข้อมูลจากเซนเซอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ
อุปกรณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ PLC จะทำตาม โปรแกรมเหล่านี้เขียนบนคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์พิเศษ และจากนั้นจะถูกโหลดเข้าสู่ PLC ผ่านการเชื่อมต่อ โปรแกรมจะกำหนดวิธีการทำงานของอินพุต-เอาต์พุต และวิธีการประมวลผลข้อมูลของ CPU หน่วยความจำ และการสื่อสาร
หน่วยความจำที่เก็บข้อมูลระบบปฏิบัติการ และไดรเวอร์สำหรับการทำงานพื้นฐานของ PLC
เก็บข้อมูลสถานะของอินพุต และเอาต์พุต รวมถึงโปรแกรมควบคุมการทำงานต่าง ๆ ที่ถูกเขียนลงใน PLC
การสื่อสารใน PLC มักจะใช้มาตรฐาน RS-232 ซึ่งเป็นโปรโตคอลการสื่อสารแบบอนุกรมที่ใช้ในการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ภายนอก เช่น เครื่องพิมพ์ หรือเครือข่ายควบคุมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีโปรโตคอลการสื่อสารเครือข่ายอื่น ๆ เช่น Ethernet TCP/IP และ Modbus ที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
PLC มีขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอนหลักดังนี้
ตรวจสอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์อินพุตที่เชื่อมต่อ เช่น ตรวจสอบว่าสวิตช์ถูกเปิด หรือปิดอยู่
PLC จะประมวลผลตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ซึ่งบอกว่าเมื่ออินพุตอยู่ในสถานะใด ควรจะส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์เอาต์พุตอย่างไร
สั่งการอุปกรณ์เอาต์พุต เช่น สั่งเปิดมอเตอร์ หรือปิดวาล์วตามผลลัพธ์จากการประมวลผล
PLC จะทำการวิเคราะห์ และตรวจสอบสถานะภายในของระบบ เช่น ตรวจสอบข้อผิดพลาด หรือความผิดปกติในกระบวนการทำงาน
HMI เป็นอินเทอร์เฟสที่ผู้ควบคุมใช้เพื่อสั่งการ และตรวจสอบกระบวนการต่าง ๆ ในโรงงานแบบเรียลไทม์ โดย HMI จะทำหน้าที่เป็น "แดชบอร์ด" สำหรับผู้ควบคุม ให้สามารถดูข้อมูลสถานะ และปรับเปลี่ยนคำสั่งการทำงานของ PLC ได้ทันที เช่น การเปิด-ปิดเครื่องจักร หรือวาล์ว
ภาพจาก : https://www.primusthai.com/primus/product?productID=168
PLC ถูกใช้ในการควบคุมกระบวนการอัตโนมัติหลากหลายประเภท เช่น ควบคุมการทำงานของลิฟต์ หรือการเปิด-ปิดสวิตช์ไฟในอาคารอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังใช้ในการตรวจสอบกล้องวงจรปิด, อุปกรณ์เตือนอัตโนมัติ, การควบคุมไฟจราจร และกระบวนการอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การตัดกระจก และกระดาษ
ภาพจาก : https://www.mecalux.com/blog/plc-automation
PLC จะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลเรียลไทม์ เช่น เวลาที่อุปกรณ์ทำงาน, อุณหภูมิการทำงาน และสถิติการใช้งานต่าง ๆ อีกทั้งยังควบคุมการเริ่มต้น และหยุดกระบวนการ พร้อมทั้งแจ้งเตือนหากเครื่องจักรเกิดปัญหา PLC ถูกนำมาใช้ในงานประกอบสินค้าบรรจุภัณฑ์, ควบคุมการเคลื่อนไหว, ควบคุมการผลิต, วินิจฉัยเครื่องจักร, ทดสอบกระบวนการ โรงงานของอุตสาหกรรม
การเขียนโปรแกรม PLC ใช้ภาษาหลายประเภทที่เหมาะสมกับลักษณะของงาน และความถนัดของผู้ใช้ ซึ่งภาษาหลัก ๆ ก็ได้แก่
เป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุด รูปแบบคล้ายแผนผังวงจรไฟฟ้า ช่วยให้ผู้ที่คุ้นเคยกับระบบรีเลย์ และวงจรไฟฟ้าเข้าใจง่าย โปรแกรมแสดงการเชื่อมต่อของ "คอนแทกต์" (Contact) และ "คอยล์" (Coil) เพื่อควบคุมการเปิด-ปิดอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามลอจิกที่กำหนด
ภาพจาก : https://www.realpars.com/blog/plc-programming-languages
ใช้สัญลักษณ์เป็นบล็อกที่เชื่อมโยงกัน โดยบล็อกแต่ละตัวจะมีฟังก์ชันเฉพาะ เช่น รับข้อมูลอินพุต และส่งเอาต์พุต การเชื่อมต่อบล็อกเหล่านี้ทำให้ง่ายต่อการสร้างระบบควบคุมซับซ้อน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการแสดงผลในรูปแบบกราฟิก
ภาพจาก : https://www.realpars.com/blog/plc-programming-languages
เป็นภาษาแบบข้อความ (Text-Based) ที่คล้ายกับภาษาคอมพิวเตอร์ทั่วไป เช่น C หรือ Pascal เหมาะสำหรับงานที่ซับซ้อน และมีเงื่อนไขหลากหลาย เช่น การคำนวณหรือการควบคุมเชิงตรรกะที่ต้องใช้คำสั่ง "If-Else" หรือ "Loops"
ภาพจาก : https://www.realpars.com/blog/plc-programming-languages
ใช้สำหรับออกแบบกระบวนการที่มีลำดับขั้นตอนชัดเจน โดยแต่ละขั้นตอนจะมีเงื่อนไขการทำงานเฉพาะ เช่น การเริ่มต้นหรือหยุดเครื่องจักร เหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมกระบวนการที่มีลำดับขั้นหลายขั้นตอน
ภาพจาก : https://www.realpars.com/blog/plc-programming-languages
เป็นภาษาคำสั่งสั้น ๆ คล้ายกับ Assembly Language การเขียนโปรแกรมด้วย IL เหมาะกับงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง และใช้หน่วยความจำน้อย
ภาพจาก : https://www.realpars.com/blog/plc-programming-languages
ขั้นแรกคือต้องออกแบบลอจิกที่ใช้ควบคุมกระบวนการทั้งหมด กำหนดว่าเมื่ออินพุตทำงานอย่างไร เอาต์พุตควรทำงานอย่างไร เช่น กำหนดให้เปิด-ปิดอุปกรณ์ตามสถานะของเซนเซอร์ หรือเงื่อนไขต่าง ๆ การออกแบบลอจิกที่ดี จะช่วยให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพ และแม่นยำ
หลังจากออกแบบลอจิกเสร็จ ผู้เขียนจะใช้โปรแกรมสำหรับเขียนคำสั่งที่กำหนด สามารถเลือกภาษาที่เหมาะสมกับงาน เช่น Ladder Logic หรือ Function Block Diagram เพื่อทำให้โปรแกรมสามารถควบคุมอุปกรณ์ตามลอจิกที่ได้ออกแบบไว้
เมื่อลงมือเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว จำเป็นต้องทำการทดสอบโดยใช้ เครื่องมือจำลอง (Simulation) ก่อน เพื่อดูว่าโปรแกรมที่เขียนทำงานได้ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ การทดสอบด้วย Simulation ช่วยลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดในการใช้งานจริง และไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จริงในช่วงแรก
เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบแล้ว และมั่นใจว่าไม่มีข้อผิดพลาด จะทำการดาวน์โหลดโปรแกรมเข้าสู่ PLC ผ่านสายเชื่อมต่อ หรือเครือข่าย จากนั้น PLC จะทำงานตามคำสั่งที่ได้รับจากโปรแกรมที่เขียนขึ้น การดาวน์โหลดนี้ทำให้ PLC สามารถเริ่มควบคุมอุปกรณ์จริงตามที่ออกแบบไว้
หลังจากดาวน์โหลดโปรแกรมแล้ว ต้องทำการตรวจสอบการทำงานจริงของระบบเพื่อให้แน่ใจว่าโปรแกรมทำงานตามที่ต้องการ หากพบข้อผิดพลาด หรือมีจุดที่ต้องปรับปรุง ก็สามารถแก้ไขโปรแกรม และดาวน์โหลดใหม่ได้ทันที ขั้นตอนนี้ช่วยให้การทำงานของ PLC มีความยืดหยุ่น และปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์
PLC เป็นหัวใจสำคัญในการควบคุมกระบวนการอัตโนมัติในอุตสาหกรรม ช่วยให้การผลิตมีความแม่นยำและประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบ PLC ได้รับการพัฒนามาแทนที่ระบบรีเลย์ลอจิก ทำให้ลดความยุ่งยากในการเดินสายไฟ และบำรุงรักษา มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาหลากหลาย ซึ่งทำให้สามารถควบคุมกระบวนการซับซ้อนได้สะดวก และรวดเร็ว
นอกจากนี้ PLC ยังทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรง ทำให้เป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการระบบควบคุมที่เสถียรและเชื่อถือได้ แม้ PLC จะมีข้อดีมากมายแต่ก็ยังมีข้อสังเกต เช่น ค่าใช้จ่ายสูง และการซ่อมบำรุงที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ แค่อย่างไรก็ตามด้วยความสามารถ และประสิทธิภาพของมัน จึงทำให้ PLC เป็นเครื่องมือสำคัญในอุตสาหกรรมสมัยปัจจุบันนั่นเอง"
|