โทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ตลาดตอนนี้ มักจะมีฟีเจอร์กันน้ำ แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ รุ่นที่ยังไม่มีคุณสมบัตินี้ ซึ่งถ้าใครหลายๆ คนทำพลาดน้ำหกใส่ หรือตกน้ำซักจุด คงต่างต้องอุทานตามๆ กันว่า "ซวยแล้ว" รูปที่ถ่ายเอาไว้ เบอร์โทรศัพท์ต่างๆ รวมไปถึงไฟล์งานที่บันทึกไว้ในเครื่อง ไหนจะพาสเวิร์ดบางบริการที่จำไม่ได้อีก ถ้ามีบันทึกไว้ในคลาวด์ก็ยังพอกู้มาได้ แต่ถ้าไม่มีละก็... "จบกัน"
แต่เอาจริงๆ อย่าเพิ่งหมดหวัง เมื่อมือถือตกน้ำ ไม่ได้แปลว่ามันจากเราไปทันที แต่ถ้าเราแก้ปัญหาเบื้องต้นได้เร็วและถูกต้อง ก็ยังพอจะนำกลับมาใช้งานได้อยู่
ไม่ว่ามือถือจะแข็งแรงทนทานขนาดไหน หากเป็นรุ่นที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้กันน้ำ 'น้ำ' ก็ถือเป็นจุดอ่อนของมือถือเสมอ ซึ่งจะมีผลกับพอร์ตการใช้งาน ช่องแจ๊คเสียบหูฟัง และลำโพงทันที นอกจากนี้ น้ำจะไหลไปยังแผงวงจรทำให้เกิดพลังงานความร้อนสูงกว่าปกติจนเกิดอาการไหม้อีกด้วย
วิธีการที่เข้าใจผิดๆ บางอย่างอาจทำให้อาการหนักเข้าไปอีก อย่างเช่น การปล่อยให้มือถือที่ตกน้ำแห้งด้วยตัวเอง เพราะยิ่งปล่อยให้น้ำอยู่กับวงจรหรือคอยล์นานเท่าไหร่ ก็จะเกิดการกัดกร่อนมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันอยู่พอสมควร เมื่อสมาร์ทโฟนตกน้ำหรือเปียกน้ำในบางกรณี ตัวระบบอาจยังไม่ได้แสดงอาการในทันที อย่างเช่นการนำมือถือไปใช้งานระหว่างอาบน้ำบ่อยๆ ทำให้ผู้ใช้งานนิ่งนอนใจ แต่ในอีกไม่กี่วันถัดมา กลายเป็นว่ามือถือกลับเปิดไม่ติดเสียแล้ว
อีกเรื่องหนึ่งที่ควรรู้ไว้ก็คือ ประเภทของน้ำที่ตกลงไป ถึงแม้ว่าการทำสมาร์ทโฟนตกส้วมอาจจะดูสกปรกอย่างรุนแรง แต่สิ่งที่แย่จริงๆ คือการให้มือถือที่ไม่ได้กันน้ำไปสัมผัสกับน้ำทะเล เพราะน้ำเค็มมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนมากกว่าน้ำจืดมาก เปอร์เซ็นต์การพ้นขีดอันตรายแก่ชีวิตของมือถือก็จะต่ำลงไปอีก
ต่อไปนี้เป็นข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุมือถือตกน้ำ ที่ต้องท่องให้ขึ้นใจก่อนจะเกิดเหตุการณ์ขึ้น ซึ่งสิ่งที่ควรปฏิบัติ ก็เป็นวิธีการโดยทั่วไปที่เข้าใจไม่ยาก แต่สิ่งที่สำคัญก็คือข้อห้ามต่างๆ ที่ควรรู้เอาไว้ เพราะข้อห้ามส่วนใหญ่แล้ว ล้วนเป็นความเข้าใจผิดที่หลายๆ คนยังทำกันอยู่ทั้งสิ้น
การจะทำให้มือถือแห้งด้วยตัวเอง จริงๆ แล้วไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไหร่ เพราะจุดที่น้ำไปสร้างความเสียหาย อยู่ในส่วนของมือถือที่ปกติแล้วผู้ใช้งานอย่างเราๆ เข้าไปไม่ถึง นอกเสียจากว่าจะมีสกิลระดับช่างที่สามารถถอดวงจรมือถือออกมาทำความสะอาดได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ ส่งหามืออาชีพก็ดูเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกับมือถือสุดที่รักของเรามากที่สุด
ถ้าวงจรของมือถือไหม้ไปเรียบร้อยแล้ว (เปิดไม่ติด) ลองเช็คประกันสินค้าก่อนเลย ถ้ายังไม่หมดและเงื่อนไขประกันครอบคลุมเรื่องความเสียหายจากน้ำก็ถือว่ารอดตัวไป แต่ถ้าไม่มีประกันใดๆ ก็แน่นอนว่า ต้องเสียค่าซ่อม ค่าอะไหล่กันไปตามขั้นตอน
แต่ถ้ามือถือยังเปิดติด ก็ถือว่าโชคดีที่แผงวงจรยังไม่เสียหาย ถ้ามีอาการข้างเคียงเล็กๆ น้อยๆ ก็ซ่อมตามร้านหรือศูนย์บริการได้ตามสะดวก
แม้ว่ามือถือหลายๆ รุ่นจะมีเรื่องความทนทาน กันน้ำ กันกระแทกมาเป็นจุดขาย แต่จริงๆ แล้ว อุปกรณ์ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานแบบสมบุกสมบัน สิ่งที่เราควรทำมากที่สุดก็คือ การป้องกันไม่ให้มือถือพบเจอกับเหตุการณ์อย่างตกน้ำ หรือมีความชื้นเข้าไปทำลายตัวเครื่อง ก็เป็นสิ่งที่ดีที่สุด และนี่เป็นคำแนะนำที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง
วิธีการปฏิบัติเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยาก อย่างน้อยก็ดีกว่าเกิดเหตุขึ้นมาจริงๆ จากที่งดอะไรเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจต้องห่างกับมือถือเครื่องโปรดไปซักพัก เพื่อให้มือถือไปรักษาตัวจากอาการสำลักน้ำแทน
|
... |
ความคิดเห็นที่ 1
29 มีนาคม 2558 19:15:56
|
||
GUEST |
เก่ง
ไม่
|
|