ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

HTTP Status Code คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? พร้อมวิธีแก้ปัญหา ที่เจอบ่อย

HTTP Status Code คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? พร้อมวิธีแก้ปัญหา ที่เจอบ่อย

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 116,380
เขียนโดย :
0 HTTP+Status+Code+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%3F+%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

HTTP Status Code คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ?
พร้อมวิธีแก้ปัญหา HTTP Status Code ที่เจอบ่อย

คำว่า "HTTP" นั้นย่อมาจากคำว่า "Hypertext Transfer Protocol" มันเป็นโปรโตคอลในระดับแอปพลิเคชัน (Application Layer) ในระดับที่ 7 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดของ OSI Model (Open Systems Interconnection Model) ซึ่งเป็นรากฐานของการสื่อสารที่ WWW (World Wide Web) ใช้ในการรับส่งข้อมูล

บทความเกี่ยวกับ Error Code อื่นๆ

แต่ถ้าหากการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องแม่ข่าย (Server) กับเครื่องลูกข่าย (Client) เกิดมีปัญหาขึ้นมา แทนที่จะหน้าเว็บไซต์จะแสดงผลตามปกติ ผู้ใช้ก็จะเจอกับ HTTP Status Code ในรูปแบบต่างๆ แทน

โดยรหัส HTTP Status Code ถูกดูแล และควบคุม โดยองค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (Internet Assigned Numbers Authority - IANA)) รหัสถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. 1xx ข้อมูลได้รับการตอบสนอง
    ได้รับคำขอข้อมูล (Request), กำลังดำเนินการต่อ
  2. 2xx เป็นผลสำเร็จ
    ได้รับคำขอข้อมูลสำเร็จ, เข้าใจ และยอมรับคำขอเป็นที่เรียบร้อย
  3. 3xx เปลี่ยนเส้นทาง
    มีความจำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการตามคำขอ
  4. 4xx มีข้อผิดพลาดที่ฝั่ง Client
    คำขอมีวากยสัมพันธ์ (Syntax) ที่ผิดพลาด หรือไม่สามารถทำตามคำขอได้
  5. 5xx มีข้อผิดพลาดที่ฝั่ง Server
    เซิร์ฟเวอร์ล้มเหลวในการดำเนินการตามคำขอที่ถูกต้องได้

เนื้อหาภายในบทความ

 1xx Informational Response (ข้อมูลได้รับการตอบสนอง)

การที่ข้อมูลได้รับการตอบสนอง เป็นตัวชี้วัดว่าคำขอได้รับ และ Server ก็เข้าใจแล้ว แต่มันมีปัญหาในระหว่างที่คำขอกำลังดำเนินการ ทำให้ทางฝั่ง Client ต้องรอผลตอบรับจากทาง Server รหัสในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย

100 Continue (ดำเนินการต่อ)

Server ได้รับคำขอในส่วน Headers แล้ว ทาง Client ควรดำเนินการต่อเพื่อส่งคำขอในส่วนของ Body อย่างไรก็ตาม การส่งคำขอ Body ขนาดใหญ่ตามไปหลังจากที่คำขอถูกปฏิเสธ เนื่องจากคำขอของ Header ไม่เหมาะสม จะเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทาง Client ควรจะส่งคำขอ Header ที่ถูกต้องไปใหม่

101 Switching Protocols (เปลี่ยนโปรโตคอล)

101 Switching Protocols หมายความว่า ผู้ส่งคำขอได้แจ้งให้ Server เปลี่ยนโปรโตคอล และทาง Server ก็ยอมทำตามคำขอ

102 Processing (กำลังประมวลผล)

คำขอจาก WebDAV (Web-based Distributed Authoring and Versioning เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการอ่าน-เขียน ไฟล์บน Server) อาจจะมีคำขอย่อย (Sub-Requests) อยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องใช้เวลาในการทำคำขอให้เสร็จสมบูรณ์นานขึ้น

รหัส 102 Processing บ่งบอกว่า Server ได้รับคำขอ และกำลังประมวลผลตามคำขออยู่ แต่ยังไม่มีการตอบสนองกลับมาในเวลานี้ และยังช่วยป้องกันไม่ให้ทาง Client เข้าใจว่าคำขอเดินทางไม่ไปถึง Server

103 Early Hints (คำใบ้ก่อนกาล)

ใช้ในการส่งคืนคำตอบสนองของ Headers บางส่วนมาก่อนที่ข้อมูลทั้งหมดจะส่งมา

2xx Success (สำเร็จ)

รหัส 2xx บ่งบอกว่า Server ได้รับคำขอจาก Client เข้าใจ เข้าใจคำขอ และยอมรับแล้ว

200 OK (โอเค)

เป็นการตอบสนองแบบมาตรฐานเมื่อคำขอ HTTP ประสบความสำเร็จ โดยการตอบสนองจะขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการส่งคำขอด้วย

201 Created (สร้าง)

คำขอได้รับการตอบสนองแล้ว เริ่มสร้างทรัพยากรใหม่ขึ้นมา

202 Accepted (ยอมรับ)

คำขอได้รับและกำลังประมวลผลอยู่ แต่ยังดำเนินการไม่เสร็จ ท้ายที่สุดแล้วคำขออาจจะดำเนินการต่อจนเสร็จ หรือไม่สำเร็จก็ได้

203 Non-Authoritative Information (ข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต)

Server เป็น Transforming proxy (เช่น มีการใช้ Web accelerator) ที่ได้รับ 200 OK จากต้นฉบับ แต่มีการส่งคืนค่าการตอบสนองแบบที่ได้รับการแก้ไขกลับมา

204 No Content (ไม่มีเนื้อหา)

Server ประมวลผลคำขอเสร็จแล้ว และยังไม่ส่งคืนเนื้อหาใด ๆ กลับมา

205 Reset Content (รีเซ็ตเนื้อหา)

Server ประมวลผลคำขอเสร็จแล้ว และเรียกร้องให้ผู้ส่งคำขอรีเซ็ตมุมมองเอกสาร และยังไม่ส่งคืนเนื้อหาใด ๆ กลับมา

206 Partial Content (เนื้อหาบางส่วน)

Server กำลังส่งมอบทรัพยากรมาเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากขอบเขตของ Header ที่ Client ส่งมา มีการกำหนดให้ดาวน์โหลดต่อได้ แม้ถูกขัดจังหวะ หรือแยกการดาวน์โหลดออกเป็นหลายส่วนพร้อมกัน

207 Multi-Status (หลากหลายสถานะ)

เนื้อหาของข้อความที่ตามมา เป็นข้อความเริ่มต้นแบบ XML และมีรหัสการตอบกลับอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับจำนวน Sub-requests ที่มีอยู่

208 Already Reported (รายงานเป็นที่เรียบร้อย)

คำขอที่มีอยู่ใน DAV ที่ได้รับการแจกแจงการตอบสนองไปแล้ว จะไม่ถูกนำกลับมาอีกครั้ง

226 IM Used

Server ได้ดำเนินการคำขอทรัพยากรให้เรียบร้อยแล้ว และคำตอบสนองได้แสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ทั้งหมด หรือบางส่วนของทรัพยากร

3xx Redirection (การเปลี่ยนเส้นทาง)

สำหรับรหัสในกลุ่มนี้ จะบ่งชึ้ว่าทาง Client จำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้คำขอเสร็จสมบูรณ์  โดนส่วนใหญ่ก็จะใช้เมื่อมีการ URL redirection

300 Multiple Choices (หลายตัวเลือก)

300 Multiple Choices เป็นรหัสที่บ่งชี้ว่ามีตัวเลือกหลายทางในทรัพยากรที่ทาง Client สามารถเลือกได้ (ผ่านระบบ Agent-driven content negotiation) ตัวอย่างเช่น มีตัวเลือกสำหรับฟอร์แมทวิดีโอ, รายการส่วนขยายไฟล์ ฯลฯ

301 Moved Permanently (ย้ายถาวร)

หมายความว่าคำขอในปัจจุบันรวมถึงในอนาคต จะถูกพาไปยังตำแหน่ง URI (Uniform Resource Identifier : มาตรฐานการอ้างอิงรูปแบบการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ) ที่กำหนด

302 Found (พบแล้ว)

302 Found หรือที่ก่อนหน้านี้ใช้คำว่า Moved temporarily เป็นการบอกให้ Client ค้นหา URL อื่น ก่อนหน้านี้ รหัสเคยถูกแทนที่ด้วย 303 และ 307

แต่เบราว์เซอร์ในปัจจุบันนิยมใช้รหัส 302 ที่รวมเอาคุณสมบัติของ 303 See Other (ดูอื่น ๆ) เอาไว้ด้วยกัน ซึ่ง Web applications และ Frameworks บางตัวก็ใช้รหัส 302 ราวกับว่ามันเป็นรหัส 303 ด้วยซ้ำ

303 See Other (ดูอื่น ๆ)

เป็นการตอบสนองไปยังคำขอที่พบได้ใน URI อื่น เมื่อมีการใช้ GET mothod เมื่อได้รับการตอบสนองไปยัง POST (หรือ PUT/DELETE) ทาง Client จะสันนิษฐานว่า Server ได้รับข้อมูลแล้ว และกำลังส่งคำขอใหม่ไปยัง URI ที่กำหนด

304 Not Modified (ไม่ได้แก้ไข)

บ่งชี้ว่าทรัพยากรไม่มีความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ที่มีคำขอจาก Headers ทำให้ทาง Client ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดข้อมูลใหม่อีกครั้ง

305 Use Proxy (ใช้ Proxy)

ทรัพยากรที่ร้องขอจำเป็นต้องส่งผ่าน Proxy เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย HTTP Clients หลายราย เช่น โปรแกรม Google Chrome, โปรแกรม Mozilla Firefox จะไม่ยอมรับรหัสนี้

306  Switch Proxy (เปลี่ยน Proxy)

ปัจจุบัน ไม่มีการใช้งานแล้ว เดิมหมายถึง คำขอที่ต้องใช้ Proxy ที่ถูกกำหนดเอาไว้

307 Temporary Redirect (เปลี่ยนเส้นทางชั่วคราว)

ในกรณีนี้ คำขอจะมีการทำซ้ำด้วย URI ตัวอื่น อย่างไรก็ตาม คำขอที่เกิดขึ้นตามมาในอนาคตควรจะใช้ URI ดั้งเดิม

308 Permanent Redirect (เปลี่ยนเส้นทางถาวร)

คำขอ และคำขอที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ควรดำเนินการซ้ำโดยใช้ URI ที่แตกต่างไปจากเดิม รหัส 307 และ 308 จะมีการทำงานที่คล้ายคลึงกับรหัส 301 และ 302 แต่มันจะไม่อนุญาตให้เปลี่ยน HTTP Method

4xx Client Error (Client ผิดพลาด)

รหัสสถานะในกลุ่มนี้จะใช้เมื่อเจอข้อผิดพลาดที่มีสาเหตุมาจากทางฝั่ง Client ยกเว้นว่าเป็นการตอบสนองต่อคำขอของ Header 

400 Bad Request (คำขอไม่ถูกต้อง)

Server ไม่สามารถ หรือไม่ดำเนินการตามคำขอเนื่องจากมีข้อผิดพลาดจากทาง Client (เช่น คำขอผิดรูปแบบ, ขนาดใหญ่เกินไป ฯลฯ)

HTTP Status Code คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? พร้อมวิธีแก้ปัญหา ที่เจอบ่อย
ภาพจาก http://www.howusewindows.com/what-is-a-400-bad-request-error-and-how-can-i-fix-it.html

401 Unauthorized (ไม่ได้รับอนุญาต)

มีความเหมือนกับ 403 Forbidden (หวงห้าม) แต่ 401 Unauthorized จะใช้เฉพาะเมื่อจำเป็นต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์ (Authentication) แต่ว่าล้มเหลว หรือยังไม่ได้รับการยืนยัน

HTTP Status Code คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? พร้อมวิธีแก้ปัญหา ที่เจอบ่อย
ภาพจาก https://community.appian.com/discussions/f/general/10103/error-401---unauthorized

402 Payment Required (ต้องชำระเงินก่อน)

รหัสนี้ถูกสงวนไว้ใช้งานในอนาคต โดยมีความตั้งใจว่ารหัสนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ในระบบจ่ายเงินดิจิทัล หรือชำระเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ (Micropayment) 

403 Forbidden (หวงห้าม)

รหัสนี้บ่งบอกว่า Server เข้าใจ และมีข้อมูลที่คำขอต้องการอยู่ แต่ทาง Server ปฏิเสธที่จะดำเนินการต่อ โดยอาจจะเป็นเพราะผู้ส่งคำขอไม่ได้รับการอนุญาต หรือพยายามส่งคำขอที่ละเมิดสิทธิ์บางอย่างที่ถูกตั้งกฏเอาไว้

404 Not Found (ไม่พบ)

นี่เป็นโค้ดยอดฮิตที่แวะเวียนมาให้เห็นหน้าค่าตากันอยู่บ่อย ๆ เวลาที่เรากรอกที่อยู่ URL ผิด หรือที่อยู่เว็บไซต์นั้นไม่มีอยู่จริง รหัสนี้เป็นการบ่งบอกว่าทรัพยากรที่ถูกส่งคำขอไม่มีอยู่บน Server

HTTP Status Code คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? พร้อมวิธีแก้ปัญหา ที่เจอบ่อย
ภาพจาก https://www.youtube.com/watch?v=Hbdk2_1ZU3o

405 Method Not Allowed (วิธีที่ใช้ไม่ได้รับการอนุญาต)

หมายความว่าทรัพยากรที่มีอยู่ไม่รองรับกับวิธีการที่คำขอใช้ เช่น ใช้คำขอแบบ PUT กับทรัพยากรที่อ่านได้อย่างเดียว (Read-Only Resource)

406 Not Acceptable (ไม่ยอมรับ)

คำร้องขอทรัพยากร ยอมรับเฉพาะด้านการสร้างเนื้อหาเท่านั้น ไม่ยอมรับคำขอที่เป็น Header

407 Proxy Authentication Required (ต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์ผ่าน Proxy)

ตัว Client ต้องตรวจสอบสิทธิ์ของตัวมันเองผ่าน Proxy ก่อน

408 Request Timeout (คำขอหมดเวลา)

รหัสนี้หมายความว่า Client ไม่ได้ส่งคำขอมาภายในระยะเวลาที่ Server ได้กำเนิดเอาไว้ ทาง Client อาจจะส่งคำขอซ้ำใหม่ได้อีกครั้งในภายหลัง

HTTP Status Code คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? พร้อมวิธีแก้ปัญหา ที่เจอบ่อย
ภาพจาก https://tech-banker.com/how-to-fix-a-408-request-timeout-error/

409 Conflict (ความขัดแย้ง)

บ่งชี้ว่าคำขอไม่สามารถดำเนินการได้เพราะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นกับทรัพยากร เช่น มีการแก้ไขข้อมูล ในขณะที่มีการอัปเดตข้อมูลพร้อมกันหลายรายการ

410 Gone (หายไปแล้ว)

บอกว่าทรัพยากรที่ร้องขอนั้นไม่มีอยู่แล้ว และจะไม่มีการนำกลับมาอีกครั้ง รหัสนี้จะใช้ในกรณีที่ข้อมูลดังกล่าวถูกลบออกจาก Server อย่างถาวร ทาง Client ไม่ควรส่งคำร้องมาอีกในอนาคต ตามหลักการ Client อย่าง Search engine ควรลบข้อมูลดังกล่าวออกจากดรรชนี แต่ในทางปฏิบัติเครื่องมือค้นหา (Search Engine) ก็ไม่จำเป็นต้องลบก็ได้ แล้วใช้รหัส 404 Not Found แทน

411 Length Required (ความยาวที่ต้องการ)

คำขอนี้ไม่ได้ระบุความยาวของเนื้อหา ซึ่งจำเป็นต่อการขอทรัพยากร

412 Precondition Failed (เงื่อนไขเบื้องต้นล้มเหลว)

คุณสมบัติของ Server ไม่ตรงตามเงื่อนไขที่ผู้ส่งคำขอกำหนดเอาไว้ใน Header

413 Payload Too Large (Payload ใหญ่เกินไป)

คำขอมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ Server จะยินยอม หรือสามารถดำเนินการให้ได้ เดิมที รหัสนี้ถูกเรียกว่า "Request Entity Too Large"

414 URI Too Long (URI ยาวเกินไป)

ความยาวของ URI ที่ถูกกำหนดเอาไว้มีความยาวเกินกว่าที่ Server จะดำเนินการได้ มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่อมีคำขอ GET ที่มีการเข้ารหัส Query-String แบบเข้ารหัสเอาไว้เป็นจำนวนมาก เดิมที รหัสนี้ถูกเรียกว่า "Request-URI Too Long"

415 Unsupported Media Type (เป็นสื่อที่ไม่รองรับ)

ในคำขอมีไฟล์มัลติมีเดียที่ทาง Server ไม่สนับสนุนอยู่ ตัวอย่างเช่น ทาง Client อัปโหลดไฟล์ภาพ svg+xml ขึ้นไป แต่ Server ไม่รองรับไฟล์นามสกุลดังกล่าว

416 Range Not Satisfiable

ทาง Client ร้องขอส่วนหนึ่งของไฟล์ (Byte Serving) แต่ Server ไม่สามารถส่งไฟล์ได้ตามที่ร้องขอมาได้ ตัวอย่างเช่น Client ยื่นคำร้องขอดูไฟล์ในตำแหน่งที่ไกลเกินกว่าไฟล์จริงที่มีอยู่

417 Expectation Failed (ไม่สามารถทำตามที่คาดหวังได้)

Server ไม่สามารถทำตามความต้องการตามที่คำขอ Header ถูกส่งเข้ามาได้

418 I'm a teapot (ฉันเป็นกาน้ำชา)

รหัสนี้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นรหัสเอาฮาที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเล่นมุขในวันโกหก (April Fools' jokes) เท่านั้นเอง รหัสนี้ระบุว่า กาน้ำชาจะถูกส่งคืน แล้วขอให้ชงกาแฟให้แทน 

มีบางเว็บไซต์ใช้รหัสนี้เป็น Easter Egg แม้แต่ใน Google.com ก็มีนะ ดังภาพด้านล่าง

HTTP Status Code คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? พร้อมวิธีแก้ปัญหา ที่เจอบ่อย
ภาพจาก : https://searchengineland.com/new-google-easter-egg-seo-geeks-server-status-418-im-teapot-201739

421 Misdirected Request (คำขอผิดเส้นทาง)

คำขอที่ส่งไปยัง Server ที่ไม่สามารถตอบสนองต่อคำขอได้

422 Unprocessable Entity (ไม่สามารถประมวลผล Entity ได้)

รูปแบบคำขอมีความถูกต้อง แต่ไม่สามารถทำตามที่ต้องการได้เนื่องจาก Semantic errors 

423 Locked (ล็อก)

ทรัพยากรที่ต้องการเข้าถึงถูกล็อกเอาไว้อยู่

424 Failed Dependency (การพึ่งพาล้มเหลว)

คำขอล้มเหลวเพราะมันต้องพึ่งพาคำขออื่นด้วย และคำขอนั้นล้มเหลว

425 Too Early (ยังเร็วเกินไป)

บ่งชี้ว่า Server ไม่ต้องการเสี่ยงดำเนินการตามคำขอ ที่มีโอกาสถูกขอซ้ำเข้ามาอีกครั้ง

426 Upgrade Required (จำเป็นต้องอัปเกรด)

Client ควรเปลี่ยนไปใช้โปรโตคอลตัวอื่น อย่างเช่น TLS/1.3 ซึ่งถูกระบุเอาไว้ใน Upgrade Header

428 Precondition Required (มีเงื่อนไขเบื้องต้นที่จำเป็น)

Server ต้นทางต้องการให้คำขอตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้การอัปเดตเกิดข้อผิดพลาด

429 Too Many Requests (มีคำขอมากเกินไป)

ผู้ใช้ส่งคำขอมากเกินไปภายในเวลาที่กำหนด มีไว้เพื่อใช้ในการลดภาระของ Server

431 Request Header Fields Too Large (คำขอ Header มีขนาดใหญ่เกินไป)

Server ไม่ยินยอมดำเนินการตามคำขอ เนื่องจาก Header บางส่วน หรือทั้งหมด มีขนาดใหญ่เกินไป

451 Unavailable For Legal Reasons (ไม่พร้อมใช้งานด้วยเหตุผลด้านกฏหมาย)

การทำงานของ Server ถูกข้อบังคับด้านกฏหมาย ให้ปฏิเสธการเข้าถึงทรัพยากรบางส่วน หรือทั้งหมด

5xx Server Errors (เซิร์ฟเวอร์ผิดพลาด)

รหัสสถานะที่เริ่มต้นด้วยเลข "5" เป็นการบ่งบอกว่า Server ได้รับรู้แล้วว่ากำลังเผชิญหน้ากับปัญหา หรือไม่สามารถดำเนินการตามคำขอที่รับมาได้ โดย Server ควรให้คำอธิบายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมชี้แจงด้วยว่าเป็นปัญหาชั่วคราว หรือถาวร เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบ

500 Internal Server Error (พบข้อผิดพลาดภายในเซิร์ฟเวอร์)

ข้อความแจ้งเตือนที่มักถูกใช้อยู่เป็นประจำ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด และไม่มีข้อความใดที่เหมาะสม

HTTP Status Code คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? พร้อมวิธีแก้ปัญหา ที่เจอบ่อย
ภาพจาก https://stackoverflow.com/questions/47766688/500-internal-server-error-on-signing-page-in-vsts/47768058

501 Not Implemented

Server ไม่เข้าใจวิธีการที่คำขอส่งเข้ามา หรือขาดความสามารถที่จะทำตามคำขอนั้นได้ มักใช้กับคุณสมบัติที่กำลังจะเพิ่มเข้ามาในอนาคต

502 Bad Gateway

Server ที่ทำตัวเป็น Gateway หรือ Proxy ได้รับการตอบสนองที่ไม่ถูกต้องจาก Server ต้นทาง

HTTP Status Code คืออะไร ? มีอะไรบ้าง ? พร้อมวิธีแก้ปัญหา ที่เจอบ่อย
ภาพจาก https://david07russel.medium.com/error-502-what-its-meaning-and-what-are-the-solutions-50e94a6fcd71

503 Service Unavailable (บริการไม่พร้อมใช้งาน)

Server ไม่สามารถดำเนินการตามคำขอได้ สาเหตุอาจจะมาจากมีภาระการทำงานหนักเกินกว่าจะรับไหว หรืออยู่ในช่วงบำรุงรักษา ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแค่เพียงชั่วคราว

504 Gateway Timeout

Server ที่ทำตัวเป็น Gateway หรือ Proxy ไม่ได้รับการตอบสนองภายในเวลาที่กำหนดจาก Server ต้นทาง 

505 HTTP Version Not Supported (ไม่รองรับ HTTP เวอร์ชันที่ใช้งาน)

Server ไม่รองรับ HTTP protocol เวอร์ชันที่คำขอใช้ส่งเข้ามา

506 Variant Also Negotiates

Transparent Content Negotiation สำหรับตอนสนองต่อคำขอแบบ Circular Reference (การกำหนดตำแหน่งอ้างอิงแบบวงกลม)

507 Insufficient Storage (พื้นที่เก็บข้อมูลไม่เพียงพอ) 

Server ไม่สามารถจัดเก็บ "ตัวแทน" ที่จำเป็นในการดำเนินการตามคำขอได้ 

508 Loop Detected (ตรวจพบลูป)

Server ตรวจพบการทำงานแบบลูปในขณะที่กำลังประมวลผลคำขอ (ใช้แทนรหัส 208 Already Reported)

510 Not Extended (ไม่ขยาย)

จำเป็นต้องมีส่วนขยายเพิ่มเติมสำหรับคำขอ เพื่อให้ Server ดำเนินการตามคำขอได้สำเร็จ

511 Network Authentication Require ( เครือข่ายต้องผ่านการรับรองก่อน)

Client จำเป็นต้องผ่านการรับรองก่อน (Authentication) ในการเข้าถึงเครือข่าย

รายการ Unofficial Code (รหัสที่ไม่เป็นทางการ) ที่น่าสนใจ

รหัสที่กล่าวไปด้านบนเป็นรหัสที่มี IANA ควบคุม แต่มันก็ยังมีอีกหลายรหัสที่มีการใช้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น

218 This is fine (Apache Web Server)

ใช้เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เพื่ออนุญาตให้ Response bodies ส่งผ่าน Apache ได้เมื่อมีการเปิดใช้งาน ProxyErrorOverride เอาไว้ ซึ่ง Apache มันจะทำการยกเลิกรหัส 4xx หรือ 5xx โดยอัตโนมัติ

420 Enhance Your Calm (Twitter)

รหัสนี้เคยถูกใช้ใน Twitter Search เวอร์ชัน 1 และใน Trends API เมื่อ Client เริ่มเข้าสู่สถานะ Rate limited เพื่อจำกัด Bandwidth แต่ภายหลังได้เปลี่ยนไปใช้รหัส 429 Too Many Requests แทน

450 Blocked by Windows Parental Controls (Microsoft)

เป็นรหัสที่ทาง Microsoft ใช้เมื่อหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการเข้าถึงถูกปิดกั้นด้วยระบบ Windows Parental Controls

526 Invalid SSL Certificate

รหัสนี้ใช้โดย Cloudflare และ Cloud Foundry เพื่อบ่งชี้ว่าการยืนยันใบรับรอง SSL/TLS ไม่ประสบผลสำเร็จ

รายการ Unofficial Code (รหัสที่ไม่เป็นทางการ) ทั้งหมดที่มี

Unofficial codes

  • 103 Checkpoint
  • 218 This is fine (Apache Web Server)
  • 419 Page Expired (Laravel Framework)
  • 420 Method Failure (Spring Framework)
  • 420 Enhance Your Calm (Twitter)
  • 430 Request Header Fields Too Large (Shopify)
  • 450 Blocked by Windows Parental Controls (Microsoft)
  • 498 Invalid Token (Esri)
  • 499 Token Required (Esri)
  • 509 Bandwidth Limit Exceeded (Apache Web Server/cPanel)
  • 526 Invalid SSL Certificate
  • 529 Site is overloaded
  • 530 Site is frozen
  • 598 (Informal convention) Network read timeout error

Internet Information Services

  • 440 Login Time-out
  • 449 Retry With
  • 451 Redirect

nginx

  • 444 No Response
  • 494 Request header too large
  • 495 SSL Certificate Error
  • 496 SSL Certificate Required
  • 497 HTTP Request Sent to HTTPS Port
  • 499 Client Closed Request

Cloudflare

  • 520 Web Server Returned an Unknown Error
  • 521 Web Server Is Down
  • 522 Connection Timed Out
  • 523 Origin Is Unreachable
  • 524 A Timeout Occurred
  • 525 SSL Handshake Failed
  • 526 Invalid SSL Certificate
  • 527 Railgun Error
  • 530 Error 530 is returned along with a 1xxx error

AWS Elastic Load Balancer

  • 460
  • 463
  • 561 Unauthorized

วิธีแก้ปัญหา HTTP Error Code ที่เจอเป็นประจำ

HTTP Error 400 Bad Request

ข้อผิดพลาดนี้อาจปรากฏได้หลายรูปแบบดังต่อไปนี้

  • 400 Bad Request
  • Bad Request. Your browser sent a request that this server could not understand.
  • Bad Request – Invalid URL
  • HTTP Error 400 – Bad Request
  • Bad Request: Error 400
  • HTTP Error 400 – The request hostname is invalid.
  • 400 – Bad Request. The Request could not be understood by the server due to malformed syntax. The client should not repeat the request without modifications.

รหัสนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคำขอที่คุณส่งไปยัง Server มีข้อผิดพลาดบางอย่าง หรือมีความเสียหาย ทำให้ Server ไม่เข้าใจว่าคุณต้องการอะไร บ่อยครั้งที่เกิดจากการที่คุณพิมพ์ URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการเข้าใช้งานผิด

วิธีแก้ไข HTTP Error 400 Bad Request

  • ตรวจสอบว่าพิมพ์ URL ถูกต้อง
  • หากมั่นใจว่าพิมพ์ถูกต้องแล้ว แต่ยังเข้าไม่ได้ ให้พยายามลบ เว็บคุกกี้ (Web Cookie) และ เว็บแคช (Web Cache) ออกจาก เว็บเบราว์เซอร์ (ใน Settings ของ เว็บเบราว์เซอร์ จะมีให้ลบ)
  • หากปัญหาไม่หาย บางทีปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณแล้ว แต่เป็นที่เจ้าของเว็บไซต์
  • หากเข้าไม่ได้ทุกเว็บไซต์ ปัญหาน่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ของคุณ, การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตขัดข้อง หรือ ISP มีปัญหา

HTTP Error 401 Unauthorized

รหัสนี้จะแสดงเมื่อคุณพยายามเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ที่จะไม่สามารถแสดงผลได้จนกว่าจะมีการเข้าสู่ระบบด้วยบัญชี และรหัสผ่านก่อน ถ้าเห็นรหัสนี้ คือ การเข้าสู่ระบบของคุณได้หมดอายุ หรือไม่ก็กรอกข้อมูลผิด

ข้อผิดพลาดนี้อาจปรากฏได้หลายรูปแบบดังต่อไปนี้

  • 401 Unauthorized
  • Authorization Required
  • HTTP Error 401 – Unauthorized 

วิธีแก้ไข HTTP Error 401 Unauthorized

  • ตรวจสอบว่าพิมพ์ URL ถูกต้อง
  • ตรวจสอบบัญชี และรหัสผ่านที่ใช้เข้าระบบให้รอบคอบอีกครั้ง
  • หากมั่นใจว่าทุกอย่างถูกต้อง ให้ติดต่อ Webmaster เพื่อขอความช่วยเหลือ

HTTP Error 403 Forbidden

ถ้าเปรียบเว็บไซต์เหมือนบ้านของคนอื่น เวลาที่คุณจะเข้าบ้านเขา ก็ต้องขออนุญาตก่อนเข้าบ้านเขาเสียก่อน ซึ่งเจ้าตัวโค้ด Error 403 ตัวนี้ก็เช่นกัน มันคือโค้ดที่บอกว่า คุณไม่สามารถเข้าสู้หน้าเว็บไซต์นั้นได้ เพราะเจ้าของไม่อนุญาต

ข้อผิดพลาดนี้อาจปรากฏได้หลายรูปแบบดังต่อไปนี้

  • 403 Forbidden
  • HTTP 403
  • Forbidden: You don’t have permission to access [directory] on this server.
  • Forbidden
  • Error 403
  • HTTP Error 403.14 – Forbidden
  • Error 403 – Forbidden
  • HTTP Error 403 – Forbidden

วิธีแก้ไข HTTP Error 403 Forbidden

  • ตรวจสอบว่าพิมพ์ URL ถูกต้อง 
  • ลบ Web Cookie และ Web Cache ออกจากเว็บเบราว์เซอร์
    (ใน Settings ของเว็บเบราว์เซอร์จะมีให้ลบ)
  • อาจเป็นปัญหาที่ ISP หรือ IP Address ของคุณถูกปิดกั้นจากเว็บไซต์
  • ไปพักก่อน แล้วพอเวลาผ่านไปสักพัก ค่อยลองเปิดดูอีกครั้ง

 HTTP Error 404 Not Found 

รหัสยอดนิยมที่แวะเวียนมาให้เห็นหน้าค่าตากันอยู่บ่อย ๆ เวลาที่เรากรอกที่อยู่ URL ผิด หรือที่อยู่เว็บไซต์นั้นไม่มีอยู่จริง (หาย หรือ ปิดไป) จาก Server แล้ว

ข้อผิดพลาดนี้อาจปรากฏได้หลายรูปแบบดังต่อไปนี้

  • 404 Error
  • 404 Not Found
  • Error 404
  • The requested URL was not found on this server.
  • HTTP 404
  • Error 404 Not Found
  • 404 File or Directory Not Found
  • HTTP 404 Not Found
  • 404 Page Not Found

วิธีแก้ไข Error 404 Not Found 

  • ลองรีเฟรชหน้าเว็บไซต์ และตรวจสอบ URL ให้ละเอียดว่าไม่มีอะไรผิด
  • ลองเสิร์ชชื่อเว็บไซต์ผ่าน Google แทนที่จะเข้าโดยตรง บางทีเจ้าของเว็บไซต์อาจจะทำการเปลี่ยนที่อยู่ใหม่แล้วลืมทำระบบ Redirect
  • ลบ Web Cookie และ Web Cache ออกจากเว็บเบราว์เซอร์
    (ใน Settings ของเว็บเบราว์เซอร์จะมีให้ลบ)
  • ติดต่อ Webmaster เพื่อขอความช่วยเหลือ

HTTP Error 500 Internal Server Error

Error 500 Internal Server Error เป็นอีกหนึ่งรหัสที่ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ เจอกันเป็นประจำตอนที่เว็บไซต์มีปัญหา ต้นตอของปัญหานี้เกิดจาก Server ไม่พร้อมให้บริการ หรือกำลังมีปัญหาอยู่ ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ได้ อย่างไรก็ตาม รหัสนี้ไม่ได้ระบุชัดเจนว่ามีปัญหาอะไร มันแจ้งแค่ว่ากำลังมีปัญหาเท่านั้น

โค้ด Error 500 นี้ แก้ปัญหาไม่ได้เพราะเกิดขึ้นที่ Server ทำได้แค่เพียงแค่ รอจนกว่าทาง Server จะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ  ถึงจะสามารถเข้าดูได้ 

ข้อผิดพลาดนี้อาจปรากฏได้หลายรูปแบบดังต่อไปนี้

  • 500 Internal Server Error
  • HTTP 500 – Internal Server Error
  • Temporary Error (500)
  • Internal Server Error
  • HTTP 500 Internal Error
  • 500 Error
  • HTTP Error 500
  • 500. That’s an error.

วิธีแก้ไข Error 500 Internal Server Error

  • ลองรีเฟรชหน้าเว็บไซต์ไปเรื่อย ๆ
  • ไปพักก่อน แล้วพอเวลาผ่านไปสักพัก ค่อยลองเปิดดูอีกครั้ง
  • ติดต่อ Webmaster เพื่อขอความช่วยเหลือ

HTTP Error 501 Not Implemented

รหัสนี้บ่งบอกว่าเว็บไซต์กำลัง Overload, Server หมดอายุ หรือไม่ก็ทางฝั่ง Server ไม่สามารถตอบสนองต่อคำขอที่เว็บเบราว์เซอร์ส่งไปได้

วิธีแก้ไข Error 501 Not Implemented

  • ทำอะไรไม่ได้นอกจากติดต่อ Webmaster เพื่อขอความช่วยเหลือเท่านั้น

HTTP Error 502 Bad Gateway 

รหัสนี้ หมายความว่า มีการสื่อสารผิดพลาดระหว่าง Server หนึ่ง กับอีก Server หนึ่ง โดยข้อผิดพลาดนี้อาจปรากฏได้หลายรูปแบบดังต่อไปนี้

  • 502 Bad Gateway
  • Error 502
  • Temporary Error (502)
  • 502 Service Temporarily Overloaded
  • 502 Proxy Error
  • 502 Server Error: The server encountered a temporary error and could complete your request.
  • HTTP Error 502 – Bad Gateway
  • 502. That’s an error.
  • Bad Gateway: The proxy server received an invalid response from an upstream error.

วิธีแก้ไข Error 502 Bad Gateway 

  • ปัญหานี้ ความจริงอาจไม่มีข้อผิดพลาดอะไรเกิดขึ้นเลย แต่เว็บเบราว์เซอร์ดันคิดว่ามี ลองเปิดหน้าเว็บใหม่อีกครั้ง หรือเปิดเว็บในหน้าต่างใหม่
  • ลบ Web Cookie และ Web Cache ออกจากเว็บเบราว์เซอร์
    (ใน Settings ของเว็บเบราว์เซอร์จะมีให้ลบ)
  • ลองใช้งาน Safe Mode (อ่านวิธีได้ที่ https://tips.thaiware.com/1319.html)
  • ลองเปลี่ยนเว็บเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน
  • ลองรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์, โมเด็ม และเราเตอร์
  • ติดต่อ Webmaster หรือ ISP เพื่อขอความช่วยเหลือ

HTTP Error 503 Service Unavailable

รหัสนี้บ่งบอกว่าเว็บไซต์ไม่พร้อมใช้งาน อาจจะด้วยเพราะ Server กำลัง Overload หรือไม่ก็กำลังบำรุงรักษาอยู่

ข้อผิดพลาดนี้อาจปรากฏได้หลายรูปแบบดังต่อไปนี้

  • 503 Service Unavailable
  • HTTP 503
  • 503 Error
  • Error 503 Service Unavailable
  • Service Unavailable – DNS Failure
  • 503 Service Temporarily Unavailable

วิธีแก้ไข Error 503 Service Unavailable

  • ลองเปิดหน้าเว็บใหม่อีกครั้ง หรือเปิดเว็บในหน้าต่างใหม่
  • ลองรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์, โมเด็ม และเราเตอร์
  • ติดต่อ Webmaster เพื่อขอความช่วยเหลือ

ที่มา : www.w3.org , umbraco.com , en.wikipedia.org , frozenfire.com , en.wikipedia.org

0 HTTP+Status+Code+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%3F+%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น