หากรู้สึกว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่เริ่มทำงานได้ช้าลง ประมวลผลช้า, เปิดไฟล์รอนาน มันอาจจะเป็นสัญญาณว่าเราจะอัพเกรดเครื่องใหม่แล้ว สำหรับคนที่มีเงินถุงเงินถังก็ไม่ต้องคิดมาก เปลี่ยนทุกอย่างเป็นรุ่นล่าสุดก็จบ แต่สำหรับคนที่งบน้อย ต้องการอัพเกรดเพียงบางส่วน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีขึ้น มาดูกันดีกว่าว่าควรอัพเกรดชิ้นไหนก่อนดี
การเพิ่มขนาดหน่วยความจำ (แรม) เป็นการอัพเกรดที่ง่ายและเห็นผลอย่างรวดเร็ว สามารถเพิ่มได้ตัวเองอย่างง่ายดาย ไม่ต่างอะไรจากการเสียบตลับเกม
เวลาที่คอมพิวเตอร์ประมวลผลงานใหญ่ๆ อย่างการเรนเดอร์วิดีโอ หรือเล่นเกมกราฟิกสูงๆ หากหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์น้อยเกินไป มันจะทำให้เครื่องอืดทันที รวมถึงหากเรามีซอฟต์แวร์ทำงานอยู่เบื้องหลังจำนวนมาก เปิดเว็บไซต์พร้อมกันหลายๆ Tabs แรมจะช่วยแบกภาระเหล่านี้เอาไว้ให้เราได้
แล้วเราควรมีแรมขนาดเท่าไหร่ล่ะ?
ทั้งนี้การเลือกแรมมาใช้ อย่าดูแค่ขนาดนะ แรมนั้นจะมีความเร็ว กำกับอยู่ด้วย 2133 / 2400 / 2666 / 2800 / 3000 / 3200 ยิ่งเร็วก็ยิ่งดี แต่ราคาก็จะสูงตามไปด้วย ทั้งนี้ก่อนซื้ออย่าลืมศึกษาสเปคของเมนบอร์ดที่เรามีอยู่ด้วยนะ ว่ารองรับแรมมาตรฐานไหน
เราใส่ GPU ไว้เป็นอันดับสองก็จริง แต่หากคุณเป็นเกมเมอร์ตัวจริงล่ะก็ นี่เป็นสิ่งแรกที่ควรพิจารณาเปลี่ยนเลย แม้ว่าซีพียูนุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันจะมีการ์ดจอแบบออนบอร์ดใส่เข้ามาให้แล้ว แต่ว่ามันมีประสิทธิภาพที่ไม่สูงพอต่อการเล่นเกมส์ 3 มิติ หรอกเชื่อสิ
และการ์ดจอยังสามารถนำไปใช้ในคอมฯ เครื่องใหม่ได้ด้วย เพราะพอร์ตเชื่อมต่อคงยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่เกมส์เท่านั้นนะ หากต้องการทำงานอย่างปั้นแบบโมเดล 3D ทำ 3D Animator การ์ดจอนี่เป็นส่วนสำคัญเลย
อีกทั้งการ์ดจอยังเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ขันนอตแค่ตัวเดียว แล้วถอดสลับการ์ดใบใหม่เข้าไปได้เลย
การที่เราจะเปลี่ยนหน่วยเก็บข้อมูลส่วนใหญ่ก็จะมีอยู่ 3 เหตุผล คือ พัง, พื้นที่ไม่พอ หรือไม่ก็อยากได้ความเร็วที่เพิ่มขึ้น
หากพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์เหลือน้อย ประสิทธิภาพในการทำงานของระบบจะลดต่ำลงพอสมควร อย่างน้อยเราควรเหลือพื้นที่บนหน่วยเก็บข้อมูลอย่างน้อย 10GB นะ
แล้วก็หากเราใช้หน่วยเก็บข้อมูลแบบจานแม่เหล็กอยู่ การเปลี่ยนมาใช้แบบ SSD ก็สามารถเพิ่มความเร็วให้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน เนื่องจาก SSD มีความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลที่เร็วกว่าหน่วยเก็บข้อมูลแบบจานหมุนมาก ทำให้การเรียกไฟล์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ทำได้เร็วกว่าเดิมเยอะ การเปิดเครื่อง, เปิดโปรแกรมต่างๆ จะเร็วกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด
CPU เปรียบเสมือนมันสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ การจะเปลี่ยนมันมีความยุ่งยากมากพอสมควร สำหรับคนที่ไม่เคยเปลี่ยนเองมาก่อน อาจจะรู้สึกว่าไม่กล้าทำ และยังต้องคำนึงถึงเมนเบอร์ดที่เรามีอยู่ด้วย ว่ารองรับกับ CPU ตัวใหม่ด้วยหรือเปล่า โดยมากแล้วหากเปลี่ยน CPU ทีจะต้องเปลี่ยนส่วนอื่นๆ เกือบยกชุด ของเดิมโดยมากจะใช้ได้แค่เคส, การ์ดจอ และ PSU เท่านั้น
อีกอย่างการเปลี่ยนซีพียูอาจไม่ทำให้เรารู้สึกประสิทธิภาพต่างจากเดิมมากนัก หากว่าพฤติกรรมการใช้งานของเราไม่ได้เน้นหนักไปที่การประมวลผล สิ่งที่จ่ายไปอาจจะไม่คุ้มเมื่อเทียบกับการอัพเกรดส่วนอื่นๆ ก่อน
นี่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่อาจทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หลายๆ โปรแกรมเมื่อออกเวอร์ชันใหม่ จะมีการปรับปรุงแก้ไขประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม มีเรื่องต้องระวัง โดยมากแล้วหากเป็นการอัพเดทเวอร์ชันแบบไมเนอร์ เช่น จาก 1.0 ไป 1.1, 1.2 อะไรพวกนี้ส่วนใหญ่แล้วประสิทธิภาพน่าจะดีขึ้น แต่หากเป็นการอัพเดทใหญ่แบบเมเจอร์ เช่นจาก 1.0 ไป 2.0, 3.0 เลย พวกนี้มักจะมีการเพิ่มความสามารถใหม่ๆ เข้ามา และทำให้มันใช้ทรัพยากรเครื่องในการทำงานสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ที่ว่านี้ รวมถึงระบบปฏิบัติการด้วย ดังนั้นก่อนจะอัพเดทระบบปฏิบัติการอาจจะชะลอการตัดสินใจ รอดูผลตอบรับจากคนที่อัพเดทไปแล้วก่อน ว่าอัพเดทแล้วส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานในระดับไหน
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |