ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

13 ทิปส์สำหรับผู้ใช้ Windows ที่หันมาใช้ macOS มีอะไรที่ควรรู้บ้าง ?

13 ทิปส์สำหรับผู้ใช้ Windows ที่หันมาใช้ macOS มีอะไรที่ควรรู้บ้าง ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 7,906
เขียนโดย :
0 13+%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+Windows+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+macOS+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

13 ทิปส์สำหรับผู้ใช้ Windows ที่หันมาใช้ macOS มีอะไรที่ควรรู้บ้าง ?

ผู้ใช้งาน Windows บางคนอาจจะประสบปัญหาทำงานใหม่แล้วต้องย้ายมาใช้งานเครื่อง Mac ซึ่งไม่เคยใช้มาก่อน หรือบางคนก็อยากจะลองใช้ดู แต่ดูแล้วเหมือนระบบ macOS จะใช้ยาก เอาจริงๆ มันใช้ง่ายกว่ามากเลยนะ

บทความเกี่ยวกับ อื่นๆ

เพราะงั้น ในวันนี้ทีมงานไทยแวร์จะมาอธิบายและแนะนำทิปส์ดีๆ ที่จะช่วยให้เพื่อนๆ เข้าใจ macOS ว่ามันแตกต่างยังไง มีส่วนไหนคล้ายกับ Windows บ้าง จะได้ปรับตัวและใช้งาน macOS ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ลืม Start ไปได้เลย

เพื่อนๆ คงเคยชินกับการใช้ปุ่ม Start Menu บน Windows แต่สำหรับ macOS มันไม่มีปุ่ม​ Start นั้นอยู่ เพราะทุกอย่างมันแยกกันหากต้องการจะเปิดใช้งานแอปพลิเคชัน (โปรแกรมบน macOS จะเรียกว่า Application) ก็เข้าผ่านปุ่ม LaunchPad (รูปจรวด) ในหน้านั้นจะมีให้เลือกเข้าใช้งานแอปฯ ต่างๆ ที่เราติดตั้งไว้ เลื่อนซ้ายขวาเพื่อดูแอปฯ เพิ่มเติมได้

เวลาจะค้นหาแอปฯ หรืออะไรต่าๆ ผ่าน Run บน macOS ก็จะใช้เป็น Spotlight แทนก็ต้องปรับตัวกันสักพัก

ปุ่ม Start บน Mac คือ LaunchPad

ปกติ Menu ไม่อยู่ในแอปฯ

อันนี้ก็เป็นเรื่องแปลกนะ ที่เวลาผู้ใช้งาน macOS เปิดโปรแกรมอะไรขึ้นมาสักอย่างเมนูต่างๆ จะไม่ได้ติดอยู่บนตัวโปรแกรม (แอปฯ) ซะทีเดียว เมนูจะไปอยู่บน Menubar ทางด้านบนแทน คำสั่งต่างๆ ของเมนูจะเปลี่ยนไปตามโปรแกรมที่เราใช้งาน ซึ่งนี่ก็เป็นข้อแตกต่างระหว่าง macOS และ Windows ใน Windows จะมีคำสั่ง Menu รวมอยู่ในอินเตอร์เฟซโปรแกรมอยู่เสมอ

Menu เมนูบน Mac

ย่อ ขยาย จอ แบบ Windows

ปุ่มย่อขยายหน้าต่างใช้งานตรงนี้คงทำให้ผู้ใช้งานสับสนได้ในตอนแรกๆ เพราะบน macOS จะใช้ "สี" แทนไอคอนย่อขยายหน้าจอต่างจาก Windows โดยจะสังเกตได้ว่าปุ่มตรงขอบหน้าต่างจะเรียกกันอยู่ทางด้านซ้ายแทนที่จะเป็นด้านขวาเหมือน Windows อีกทั้งไอคอนต่างๆ ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นสีใช้ฟังก์ชันต่างๆ เช่น

ปุ่มแดง = ปิดหน้าจอ | ปุ่มเหลือง = ย่อหน้าจอ | ปุ่มเขียว = ขยายจอเต็ม นั่นเอง

หากใครต้องการแบ่งจอสามารถกดค้างที่ "ปุ่มเขียว" จากนั้นลากซ้ายหรือขวาเพื่อ แบ่งหน้าจอเป็นส่วนคู่กับแอปฯ และหน้าต่างอื่นๆ ได้ตามที่ต้องการเลย

macOS จะใช้ "สี" แทนไอคอนย่อขยายหน้าจอต่างจาก Windows 

Dock ไม่ใช่ Taskbar นะ

ที่เห็นแอปฯ ต่างๆ เรียงกันอยู่ทางด้านล่างนั้นเรียกว่า Dock มันทำงานคล้ายๆ Taskbar แต่ไม่ใช่ซะทีเดียว โดยแอปฯ ส่วนใหญ่ที่เริ่มจากซ้ายตั้งแต่ Finder นั้นจะเป็นแอปฯ ที่เราได้ปักหมุดไว้ เปิดปิดเมื่อไหร่ก็ได้ไม่หายไปไหน ส่วนด้านขวาสุดจะเป็นแอปฯ ที่เราเพิ่งเปิดใช้งาน ไม่ได้ปักหมุดไว้ หรือที่รวมไฟล์รูป เอกสารต่างๆ ที่เพิ่งดาวน์โหลดและถังขยะ

ส่วนเวลาเราเปิดใช้งานแอปฯ อยู่จะสังเกตได้ว่ามันจะมีจุดสีขาวอยู่ใต้แอปฯ นั่นหมายความว่าแอปฯ กำลังทำงาน และเวลาเราเลื่อนเมาส์ไปยังแอปฯ ต่างๆ บน Dock มันจะทำการขยายไปตามจุดที่เราเลื่อน อันนี้ถือว่าสะดวกมากสวยงามและดูได้ง่าย

Dock ต่างอย่างไรกับ Taskbar

ควรรู้จัก Finder มากขึ้น

จริงๆ แล้ว การใช้งานทั่วไปบน Finder ก็ไม่ได้แตกต่างจาก File Explorer สักเท่าไหร่ แต่ที่ต่างนั่นก็คือ Sidebar ทางด้านข้างจะไม่โชว์เส้นทางของแหล่งที่เก็บไฟล์ มันเป็นเพียงแค่ Shortcuts เท่านั้น ถ้าต้องการจะให้ Finder โชว์ที่อยู่ไฟล์เวลาเราเปิดโฟลเดอร์เข้าไปหลายอัน เราสามารถทำได้โดยการกดปุ่มบนเครื่องมือ ทางด้านบน เลือกแสดงแบบ Columns มันจะโชว์ที่อยู่ไฟล์ในแต่ละส่วนได้ ส่วนการแสดงผลแบบอื่นก็จะมี Icons, List, และ Gallery เลือกใช้ได้ตามใจชอบ

ความสามารถพิเศษของ Finder คือมันสามารถจัดระเบียบไฟล์ด้วยสี Color codes และแท็ก Keyword Tags ได้ อันนี้มีประโยชน์จริงๆ จำแนกแยกสี ค้นหาไฟล์ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้นต้องลองใช้ดู

รู้จัก Finder มากขึ้น

รวมแจ้งเตือน Notification Center

ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่รวมการแจ้งเตือนหลายๆ อย่างเข้าไว้ด้วยกัน คล้ายๆ กับ Windows Action Center แต่น่าเสียดายที่บน macOS ยังไม่มีฟังก์ชันที่ใช้ในการปรับตั้งค่าด่วน อย่างการปรับแสงหน้าจอ, ลดเสียง, หรือ เปิดปิดการเชื่อมต่อต่างๆ ได้ (ส่วนตัวคิดว่าบน Mac ไม่ใส่มาในนี้เพราะ มันสามารถปรับผ่านคีย์บอร์ดได้เลยแบบสะดวกไม่ต้องกดปุ่ม fn เหมือนบน Windows)

การแจ้งเตือนที่จะโชว์ในนี้ก็จะมี วันที่ สภาพอากาศ ตารางเวลาของผู้ใช้ เราสามารถปรับ NIGHT SHIFT และ DO NOT DISTURB ผ่านส่วนนี้ได้ เพื่อถนอมสายตาและหยุดการแจ้งเตือนไม่ให้รบกวนเวลาทำงาน ส่วนอีกแท็บนึงก็จะมีการแจ้งเตือนต่างๆ ที่เข้ามาผ่าน Email และ SMS แถมยังเชื่อมต่อกับ iOS ที่เราใช้งานได้อีกด้วย

รวมแจ้งเตือน Notification Center บน macOS

ค้นหาผ่าน Spotlight และ Siri

ถึงแม้ macOS จะไม่มีช่องสำหรับการค้นหา Search ที่โชว์อยู่ตลอด เหมือนบน Windows ก็ตาม แต่บน macOS จะมีปุ่มแว่นขยาย และ Siri คำสั่งเริ่มต้นเรียกใช้ Spotlight กด Command ⌘ + Spacebar* เราสามารถพิมพ์ค้นหารายชื่อเอกสาร, เปิดใช้งานแอปฯ, ไฟล์ต่างๆ บนเครื่อง, หรือแม้กระทั่งค้นหาข้อมูลผ่าน Dictionary และ เว็บไซต์ต่างๆ ได้ อีกทั้งยังมี Siri ที่เราสามารถตั้งค่าเรียกใช้งานผ่านคำว่า "Hey Siri" ใช้สั่งการค้นหาได้เหมือน Spotlight หรือ Siri บน iPhone เลย

Spotlight ใช้งานได้ไวอยู่ในระดับที่ใช้งานได้จริง ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือบน macOS ที่สะดวกในการใช้งานเลยก็ว่าได้ บางทีกดเรียก Spotlight หรือพูดเรียก Siri ขึ้นมาใช้งาน ยังเร็วกว่าเลื่อนเมาส์หาข้อมูลหรือเปิดใช้แอปฯ เองเลยนะ

*ปุ่ม Command ⌘ + Spacebar ในบ้านเรานิยมใช้เป็นปุ่มเปลี่ยนภาษาแทน

ค้นหาผ่าน Spotlight และ Siri บน macOS

การติดตั้ง Apps นอก Store

ในส่วนนี้ก็จะคล้ายๆ กับการติดตั้งโปรแกรมบน Windows แต่โดยปกติแล้วการดาวน์โหลดแอปฯ บน macOS สามารถทำได้โดยการดาวน์โหลดผ่าน App Store จะมีก็แต่บางแอปฯ ที่เราต้องติดตั้งเอง (มีความเสี่ยงหากดาวน์โหลดไฟล์มาจากแหล่งที่ไม่ปลอดภัย) โดยการติดตั้งแอปฯ เองจะมาในรูปแบบไฟล์ DMG (Disk Image File) เมื่อเราคลิกเข้าไป มันจะทำการ Mount เปิดหน้าติดตั้งขึ้นมา ที่เราต้องทำก็เพียงแค่ ลากแอปฯ ที่เราเห็น ลงไปไว้ใน Application ที่รวมแอปฯ ทุกอย่างที่เราติดตั้งไว้

หรือบางทีก็จะมีไฟล์ PKG ที่เราต้องติดตั้งเองเมื่อคลิกเปิด ก็สามารถทำตามขั้นตอนการติดตั้งได้ตามปกติเลย ไม่มีอะไรยุ่งยาก แต่ทางที่ดีควรแน่ใจก็ว่าไฟล์ที่เราโหลดมานั้นปลอดภัย ก่อนจะทำการติดตั้งไฟล์ทุกครั้ง

การถอดการติดตั้ง Uninstall แอปฯ บน macOS นั้นเรียกได้ว่าง่ายมากๆ โดยเข้าไปที่โฟลเดอร์ Applications จากนั้นก็ลากไอคอนแอปฯ ที่ต้องการลากลงถังขยะได้เลย ถือเป็นการลบแอปฯ ได้ง่ายสุดๆ ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม บางทีอาจจะมีไฟล์บางอย่างหลงเหลือ เราก็สามารถติดตั้งแอปฯ ช่วยกำจัดไฟล์ขยะออกจากเครื่องมีให้เลือกใช้หลายตัวเลย

การติดตั้ง Apps นอก Store บน Mac

เรียนรู้การใช้ Trackpad

ต้องขอยอมรับว่า Trackpad บน macOS แตกต่างจาก Touchpad บนโน้ตบุ๊ค Windows ในหลายๆ เครื่องเลย ถ้าสัมผัสเองเพื่อนๆ ก็จะรู้ได้ว่าการเคลื่อนไหว Gestures ต่างๆ นั้นทำได้ดีมากให้ประสบการณ์การใช้งานที่ดี ซึ่งตรงนี้เมื่อเริ่มใช้งานแรกๆ อาจจะงง ว่าปุ่ม คลิกซ้ายขวา มันอยู่ตรงไหน เพราะปกติแล้วการคลิกขวาบน Trackpad จะต้องใช้สองนิ้วแตะลงไป ถึงจะเป็นการคลิกขวา แต่ถ้าใครไม่ถนัดก็สามารถตั้งค่าให้แตะเฉพาะมุมล่างซ้ายหรือขวาได้

สำหรับใครที่ใช้งานใหม่ๆ ก็แนะนำให้เรียนรู้ Gestures การสั่งงานของนิ้วก่อน โดยเข้าไปที่ ไอคอน Apple  > System Preferences > Trackpad ซึ่งในส่วนนี้จะมีคลิปแสดงท่าทางการใช้งาน ว่าใช้นิ้วแตะหรือเลื่อนแต่ละแบบมันมีความหมายยังไง ใช้ทำอะไรได้บ้าง หรือเข้าไปดูที่ More Gestures เพิ่มก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • ใช้ 2 นิ้ว เลื่อนซ้าย-ขวา เพื่อสลับหน้าเว็บไซต์
  • ใช้ 3 นิ้ว ตวัดซ้าย-ขวา เพื่อเลื่อนหน้าจอ Desktop
  • ใช้ 2 นิ้ว เลื่อนจากซ้ายสุดไปขวา เพื่อเปิด Notification Center
  • ใช้ 3 นิ้ว เลื่อนขึ้นบน เพื่อเปิด Mission Control
  • ใช้นิ้วโป้ง + 3 นิ้ว ขยุ่มมือขยายเข้าออก เพื่อเปิด-ปิด หน้า Launchpad
  • ใช้นิ้วโป้ง + 3 นิ้ว ขยายมือออกและเข้า เพื่อ แสดงหน้าจอ Desktop

Trackpad บน macOS แตกต่างจาก Touchpad บนโน้ตบุ๊ค Windows

ใช้งานโปรแกรมจาก Windows

แอปฯ บน macOS ก็มีที่ใช้งานแทนโปรแกรมบน Windows ได้อยู่หลายตัวเหมือนกัน อย่าง Pages แทน Microsoft Word / Photos แทน Gallery เป็นต้น แต่บางทีโปรแกรมที่ใช้งานได้เฉพาะ Windows ก็มีอยู่เหมือนกัน เพราะงั้นบน macOS จะมีระบบที่สามารถติดตั้ง Windows เพื่อใช้งานโปรแกรมต่างๆ หรือเล่นเกมส์ได้ ที่ใช้ได้อยู่หลักๆ จะมีสองแบบคือ

  • ติดตั้งแบบถาวร Boot Camp
  • ติดตั้งผ่าน Parallels

ซึ่งการติดตั้งผ่าน Boot Camp นั้นจะเป็นการติดตั้งแบบถาวรลงในเครื่อง ข้อดีคือคุณสามารถใช้งาน Windows ได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ข้อเสียคือ คุณจะเสียพื้นที่ของเครื่องไป และจำเป็นต้องรีสตาร์ทเครื่องเพื่อสลับระบบปฏิบัติการใหม่ทุกครั้ง

ส่วน Parallels นั้นจะเป็นการจำลองระบบปฏิบัติการ Windows หรือที่เรียกว่า Virtual Machine ข้อดีคือ ประหยัดเนื้อที่ ใช้งานโปรแกรม เปิดไฟล์ต่างๆ ได้เหมือน Windows แต่ข้อเสียคือ มันใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าแบบ Boot Camp

ทั้งนี้คุณสามารถเลือกใช้งานแบบที่เหมาะกับสไตล์การใช้ในชีวิตประจำวันของคุณเองได้ ถ้าใช้งาน Windows บางครั้งบางคราว ก็ติดตั้งแบบ Parallels แต่ถ้าทำงานที่จำเป็นต้องรันโปรแกรมบน Windows ก็ติดตั้งแบบ Boot Camp จะดีสุดครับ

macOS ติดตั้ง Windows ผ่าน Boot Camp

Touch Bar

ถ้าเรื่องเงินไม่ใช่ปัญหา และเพื่อนๆ มีโอกาสซื้อ Macbook Pro รุ่นที่มี Touch Bar แล้วล่ะก็ มันถือว่าเป็นตัวช่วยเสริมที่คุ้มอยู่นะ ถึงแม้ macOS ไม่ซัพพอร์ตจอทัชสกรีนแบบ Windows แต่ Touch Bar มาแทนในเรื่องฟังก์ชันคำสั่งเสริมแบบสัมผัสที่จะเปลี่ยนไปตามแอปฯ หรือหน้าจอต่างๆ ที่เราใช้งาน อย่างเช่นเข้าเว็บไซต์ ก็จะมีปุ่มค้นหา, บุ๊คมาร์กเว็บที่ชอบ หรือโปรแกรมรูปภาพ ก็จะโชว์ตัวอย่างภาพหลายๆ อันให้เลือก ส่วนหน้าต่างแชท ก็จะมีคำพูดแนะนำ หรือ Emoji ให้จิ้มใช้ได้เลย

โดยปกติแล้วแถบ Touch Bar จะมีปุ่ม ESC / ปุ่มปรับแสงหน้าจอ / ปรับเสียง และ Siri ส่วนอื่นๆ ก็จะมีปุ่มฟังก์ชัน F1-F12 และอื่นๆ นอกจากนี้มันยังรองรับการปรับแต่งปุ่มให้เข้ากับโปรแกรมและแอปฯ ต่างๆ ที่ใช้งานได้อีกด้วย ดีตรงที่ปรับแต่งได้

Touch Bar บน Macbook Pro

ปุ่มลัดที่คล้ายกัน

เอาจริงๆ ปุ่ม Shortcuts บน macOS ใช้ได้เหมือน Windows เพียงแต่ปุ่ม Control หรือ Ctrl ที่ใช้กันบ่อยๆ จะต้องเปลี่ยนเป็นปุ่ม Command ⌘ ในการสั่งการทำงานต่างๆ เช่น คัดลอกไฟล์แทนที่จะเป็นปุ่ม Ctrl+C หรือ Ctrl+V ให้ใช้เป็นปุ่ม Command ⌘ แทนเสมอ อย่างการย้อนกลับก็ใช้ปุ่ม ⌘+Z ได้เช่นกัน เพียงแต่จะใช้ปุ่ม ⌘+Y เพื่อยกเลิกคำสั่ง Undo ก่อนหน้าไม่ได้

บนเครื่อง Mac เวอร์ชันเก่าๆ จะมีปุ่ม Backspace แทนปุ่ม Delete (แต่ในปัจจุบันมีและใช้งานได้ปกติ) ซึ่งมันใช้ลบอักษรไม่ได้ถ้าหากเพื่อนๆ ต้องการจะลบตัวอักษรที่อยู่ตรงหน้าเมาส์ที่ใช้ ต้องกดปุ่ม fn ค้างไว้และจากนั้นกดปุ่ม Delete เพียงเท่านี้ก็จะลบได้

 ปุ่ม Shortcuts บน macOS ใช้ได้เหมือน Windows 

จับภาพ Screenshot ง่าย

การจับภาพ Screenshot บนเครื่อง Mac นั้นทำได้ง่ายกว่ามากๆ ในขณะที่ Windows รุ่นก่อนๆ ใช้งานได้ยุ่งยากกว่า จนในตอนนี้ Windows ก็มี Snip & Share เข้ามาเติมเต็มในการบันทึกภาพหน้าจอแล้ว

บนเครื่อง Mac นั้นการจับหน้าจอนั้นทำได้ง่ายๆ แถมบันทึกและใช้งานได้เลยโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม ทำได้ดังนี้

  • กดปุ่ม Command ⌘ + Shift + 3 เพื่อแคปทั้งหน้าจอ
  • กดปุ่ม Command ⌘ + Shift + 4 เพื่อเลือกแคปเฉพาะส่วน
  • กดปุ่ม Command ⌘ + Shift + 5 เพื่อเปิดตัวเลือกการแคปหน้าจอ
    • เลือกแคปทั้งหน้าจอ
    • เลือกแคปเฉพาะหน้าต่าง
    • เลือกแคปเฉพาะส่วน
    • บันทึกวิดีโอบนหน้าจอ
    • และการตั้งค่าอื่นๆ

หลังจากแคปหน้าจอเสร็จแล้วบน macOS เวอร์ชันใหม่ๆ จะมีหน้าต่าง Thumbnail เล็กๆ แสดงขึ้นบนหน้าจอ เราสามารถคลิกภาพที่เราเพิ่งบันทึก เพื่อทำการแก้ไข ปรับแต่งขนาด สีสัน วาด ไฮไลท์ ใส่ตัวหนังสือ และอื่นๆ พร้อมแชร์ได้เลยทันที ใช้งานได้สะดวกมากๆ สำหรับคนที่จำเป็นต้องแคปหน้าจอ ส่งตัวอย่างงาน อัปเดตให้คนอื่นๆ ได้แบบทันทีได้

การจับภาพ Screenshot บนเครื่อง Mac


ที่มา : sea.pcmag.com

0 13+%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+Windows+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+macOS+%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ดูแล : Moderator    สมาชิก
It was just an ordinary day.
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น