ปัจจุบันมีเกมต่างๆ ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมากมาย และปฎิเสธไม่ได้เลยว่าเกมมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเวลาว่าง หรือช่วงเวลาที่ต้องการผ่อนคลาย เกมมักจะเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ผู้คนนึกถึง แล้วทุกคนเคยสงสัยกันมั้ยว่าเกมที่เราเล่นกันอยู่ มีที่มายังไง ใช้อะไรในการสร้าง หากใครสงสัยวันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับ Unity หนึ่งในโปรแกรมยอดนิยมในหมู่นักพัฒนาเกม
Unity เป็นเครื่องมือเกม (Game Engine) หรือ โปรแกรมสร้างเกม ที่สามารถสร้างเกมได้ทั้งแบบ 2 มิติ (2D Game) และ 3 มิติ (3D Game) ได้ รองรับการทำงานบน Windows และ macOS แถมยังเป็นเกมที่สามารถใช้งานได้ทั้งบนอุปกรณ์พกพาอย่าง iPhone, iPad และ Android
ซึ่งถือเป็นโปรแกรมยอดนิยมสำหรับนักพัฒนาเกมเนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้ง่ายสำหรับมือใหม่ และมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อความต้องการของผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาเกม
Game Engine เป็นซอฟต์แวร์เพื่อใช้สร้างเกม ซึ่งสามารถสร้างได้ด้วยภาษาโปรแกรมที่หลากหลาย เช่น C, C++, JAVA เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือใช้สร้างชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบเกม ชิ้นส่วนนี้จะถูกนำไปประกอบเข้าด้วยกัน
ที่สำคัญเป็นโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดได้ฟรี สำหรับนักเรียน/นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป และสำหรับกลุ่มธุรกิจ หรือทีมพัฒนามืออาชีพก็จะมีให้เลือกแบบรุ่น Plus รุ่น Pro และ รุ่น Enterprise ซึ่งจะเป็นตัวที่เสียค่าใช้จ่าย แน่นอนว่าต้องมีฟังก์ชันการทำงานที่ดีกว่า แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับรุ่นฟรีที่มีให้ดาวน์โหลด เพราะฟังก์ชันการทำงานที่มีให้ก็เพียงพอต่อการพัฒนาเกมได้แล้ว
เข้าไปที่ Unity.com หรือ ดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ Thaiware จากนั้นกด Get started
หน้านี้เป็นหน้าสำหรับกลุ่มธุรกิจต้องเสียเงิน ให้เลือก Individual
จะเป็นหน้านี้ ซึ่งเป็นหน้าสำหรับนักเรียน/นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ให้เลือก Get started ตรง Personal
กด Start here
หน้านี้จะเป็นข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้ Unity แบบ Personal เมื่ออ่านทำความเข้าใจเสร็จ กด "ปุ่ม Agree and download" และติดตั้งโปรแกรม
เปิดโปรแกรมสร้างเกม Unity ขึ้นมา หน้าแรกจะได้แบบนี้ ให้กด New เพื่อเริ่มโปรเจคใหม่
จากนั้นจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ตั้งชื่อ เลือกที่เก็บโปรเจคของเรา รวมทั้งรูปแบบเกมที่จะสร้าง และกด CREATE
2D | เกม 2D จำนวนมากใช้กราฟิกแบบแบน ซึ่งไม่มีรูปทรงเรขาคณิตสามมิติเลย ภาพเหล่านั้นจะถูกวาดลงบนหน้าจอเป็นภาพแบนและกล้องของเกมไม่มีมุมมอง สำหรับเกมประเภทนี้ควรเริ่มแก้ไขในโหมด 2D |
3D | เกม 3D จะใช้กราฟิกแบบรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ ซึ่งเกมจะมองได้ทั้งแนวกว้าง และลึกทำให้เกมดูสมจริงขึ้น |
3D With Extras | สำหรับแอป 3 มิติที่ใช้คุณสมบัติแสดงภาพและการประมวลผลในตัวของ Unity โปรเจคประเภทนี้รวมถึงสแต็กหลังการประมวลผลใหม่ด้วย |
FPS Microgame | เกมยิงคนที่มาในรูปแบบ 3D ที่สามารถดัดแปลง และปรับแต่งได้ ทำ Creative Mods ให้สมบูรณ์มากขึ้น |
High Definition RP | เหมาะกับเกมที่ต้องการกราฟิกที่สมจริงรวมทั้งเพื่อจัดส่งเกมบนคอนโซลรุ่นปัจจุบันและฮาร์ดแวร์พีซีที่ทันสมัย |
Karting Microgame | เกมแข่งรถโกคาร์ทแบบ 3D ที่สามารถดัดแปลงและปรับแต่งได้ ทำ Creative Mods ให้สมบูรณ์มากขึ้น |
2D Platformer Microgame | เป็นแพลตฟอร์มเกม 2D สุดคลาสสิคที่สามารถดัดแปลงและทำด้วยตัวเอง ลองใช้ Creative Mods เพื่อปรับแต่งโปรเจค |
Universal Render Pipeline | เหมาะสำหรับ Render งานที่ต้องการความคมชัด ให้ภาพ Smooth ทั้งบน Mobile และ PC |
จะได้หน้าตาแบบนี้มาเริ่มทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของ Unity กันเลย
Toolbar เป็นแถบเครื่องมือที่มีไว้ควบคุมการทำงานที่สำคัญที่สุด ด้านซ้ายมีเครื่องมือสำหรับการจัดการมุมมองภาพและวัตถุภายในภาพ ตรงกลางคือการควบคุมการเล่นหยุดชั่วคราว ด้านขวาจะเป็นช่องทางเข้าถึง Unity Cloud Services และบัญชี Unity ตามด้วยเมนูการมองเห็นของ Layers
Hierarchy เป็นส่วนที่บอกลำดับชั้นของ Object ต่างๆ ที่อยู่ใน Scene นั้นๆ ซึ่งสามารถเพิ่ม/แก้ไข/ลบ ได้โดยไม่ กระทบกับ Object ที่อยู่ใน Project
Scene เป็นส่วนที่บ่งบอกว่าในฉากที่กำลังทำงาน มี Object อะไรบ้าง สามารถจัดการ Object ต่างๆ เช่น มุมกล้อง, แสง, เอฟเฟค หรือโมเดล 3 มิติ ได้ในส่วนนี้
Project เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บสิ่งต่างๆ ก่อนนำไปสร้างเกม เช่น สคริปท์ต่างๆ ที่ใช้กำหนดควบคุมตัวเกม โมเดลที่ใช้เป็นตัวละคร
Inspector เป็นส่วนที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติต่างๆ ของ Object ซึ่งสามารถแก้ไขคุณสมบัติต่างๆ ของ Object ด้วย
สำหรับบทนี้คงทำให้หลายคนรู้จักโปรแกรม Unity กันบ้างแล้ว ซึ่งหลายคนคงจะอยากรู้กันแล้วว่าเราจะสร้างเกมด้วยเจ้าโปรแกรมตัวนี้ได้อย่างไร หากใครอยากเรียนรู้ และเริ่มพัฒนาเกมด้วยตัวเองแล้วในบทความหน้าเราจะมาเริ่มสร้างเกมไปพร้อมๆ กัน
|
หนี Coding มาเขียนบทความ |
ความคิดเห็นที่ 3
6 ตุลาคม 2566 19:08:30
|
||
GUEST |
ทศพร
ขอชื่อไปใส่วิจัยได้มั้ยครับ
|
|
ความคิดเห็นที่ 2
19 กันยายน 2564 17:22:21
|
||
GUEST |
จิรายุ อามาตย์
ชอบจ่ะ
|
|
ความคิดเห็นที่ 1
2 มีนาคม 2564 19:07:33
|
||