หลายคนน่าจะเคยสังเกตเห็นว่าบนโน้ตบุ๊กของเรา มักจะมีช่องอยู่ช่องหนึ่งวางเรียงอยู่คู่กับพวกช่อง USB ช่อง HDMI อยู่ด้วย มองเข้าไปก็เห็นรูโบ๋ ไม่มีวงจรอะไรเลยสักนิด อาจจะมีการสกรีนรูปแม่กุญแจ, K-Lock หรือสัญลักษณ์อื่นๆ
เจ้าพอร์ตนี้เป็นพอร์ตที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้กัน บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีไว้ทำไม บทความนี้จะพาไปอ่านคำตอบกัน (ในภาพด้านล่างนี้ คือ รูขวาสุด)
ภาพจาก : https://flic.kr/p/Zt7wgJ
เรื่องนี้ต้องเล่าย้อนไปในยุคเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์เลย ช่วงประมาณ ค.ศ. 1980-1990 (พ.ศ. 2523-2533) ในยุคนั้นเนี่ย คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ IBM บางรุ่นจะมีระบบรักษาความปลอดภัยแบบฟิสิกส์ใส่เข้ามาด้วย เพื่อป้องกันการโจกรรมข้อมูลภายในเครื่อง รวมไปถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เองด้วย ซึ่งก็จะมีหลายเทคนิคที่ใช้กัน เช่น ระบบล็อกที่ทำให้เปิดเครื่องไม่ได้, กลไกตัดวงจรไฟฟ้าเพื่อไม่ให้ฮาร์ดไดร์ฟ และแป้นพิมพ์สามารถทำงานได้
ต่อมาในยุคหลัง ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) ตัวระบบปฏิบัติการเริ่มมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลขึ้นมาใช้งานแทนของเดิมที่เป็นแบบฟิสิกส์ อย่างไรก็ตาม ระบบล็อกแบบฟิสิกส์ก็ยังคงมีใช้งานอยู่ แต่เหลือจุดประสงค์แค่ป้องกันการขโมยไปเครื่องแทน ซึ่งนิยมเรียกกันว่า Kensington Locks
Kensington Locks (อีกชื่อคือ Kensington Security Slot หรือ K-Slot) เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น คอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน หรือแก็ดเจ็ต ออกแบบ และจดสิทธิบัตรโดย Kryptonite (ผู้ผลิตที่ล็อกจักรยาน) ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) ทาง Kensington Computer Products Group ได้กลายเป็นผู้ครอบครองสิทธิบัตร และทำการตลาดมาจวบจนถึงปัจจุบัน
หลักการทำงานของ Kensington Locks ไม่มีอะไรซับซ้อนมากนะ โดยอุปกรณ์ที่รองรับจะมี "รู" ขนาดเล็กอยู่บนตัวอุปกรณ์ (ตอนหลังมีอุปกรณ์เสริมเป็นแผ่นแปะเพื่อสร้างรูให้ใช้งานด้วย) แล้วใช้ที่ยึดโลหะสอดเข้าไปในรูเพื่อยึด โดยการจะปลดที่ยึดออกจำเป็นต้องใช้รหัสผ่าน หรือแม่กุญแจถึงจะปลดได้ ตัวยึดจะมาพร้อมกับสายคล้องที่เป็นเชือกยาง หรือพลาสติก สำหรับคล้องกับอุปกรณ์ชิ้นอื่นที่ยากต่อการเคลื่อนย้าย (เหมือนเวลาคุณล็อกจักรยานกับเสาไฟฟ้าริมทางนั่นแหละ)
ว่ากันตามตรง Kensington Locks ไม่ใช่ระบบป้องกันการโจรกรรมที่ดีมากนัก เพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่ก็ทำมาจากพลาสติก หรือโลหะบางๆ เท่านั้น การจะทำลาย "รูล็อก" เป็นเรื่องง่ายๆ หรือตัวสายคล้องก็สามารถใช้กรรไกร, คัตเตอร์ หรือคีมตัดให้ขาดได้ง่ายๆ
Kensington Locks ออกแบบมาสำหรับลดการโจรกรรมประเภทวิ่งราวว หรือแอบเนียนหยิบใส่กระเป๋ามากกว่า ทุกวันนี้โน้ตบุ๊กส่วนใหญ่ก็ยังให้ช่องนี้มาอยู่ แม้ผู้ใช้ทั่วไปอาจจะไม่ค่อยได้ใช้ แต่ถ้าสังเกตเวลาไปตามร้านค้า พวกโน้ตบุ๊ก และสมาร์ทโฟน ส่วนใหญ่ก็จะยึดกับตู้โชว์ด้วย Kensington Locks อยู่ดีนะ
อย่างภาพด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างการใช้งานใน Coworking space ที่เราอาจจะมีธุระต้องวางเครื่องทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง เช่นเข้าห้องน้ำ จะถือเครื่องไปด้วยก็ลำบาก Kensington Locks ก็จะมีบทบาทในจังหวะนี้
ภาพจาก : https://www.kensington.com/news/security-blog/the-complete-guide-to-devise-security/
จากปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) มาจนถึงปัจจุบัน ตัว Kensington Locks มีการพัฒนามาโดยตลอด แต่ที่เป็นเทคโนโลยีปัจจุบันก็จะมีอยู่ 5 แบบ ดังนี้ครับ
ภาพจาก : https://youtu.be/TanT7jPXpYU
ทีนี้ก็น่าจะหายสงสัยกันแล้วนะครับว่า รูที่อยู่บนเครื่องโน้ตบุ๊คของเรา มีไว้ทำไม :)
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 1
28 เมษายน 2565 16:31:01
|
||
GUEST |
ปาลิตา เจริญผล
หน้าจอล็อกเป็นกุญแจ
|
|