หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า OEM หรือสินค้า OEM ผ่านหู ผ่านตากันมาบ้างแล้ว และเข้าใจผิดไปว่าสินค้าแบบ OEM นั้นจะเป็นของลอกเลียนแบบ (ของก๊อป) หรือของด้อยคุณภาพ จึงมักหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าประเภทนี้ แต่ในความจริงแล้ว สินค้าประเภทนี้ก็เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้แต่เครื่องสำอาง และเฟอร์นิเจอร์บางชนิดเองก็เป็นสินค้า OEM เช่นกัน
โดยคำว่า "OEM" จริงๆ แล้วย่อมาจากคำว่า "Original Equipment Manufacturer" นั้นหมายถึงโรงงานที่ "รับจ้างผลิต" สินค้าตามที่ผู้ว่าจ้างระบุก่อนจะส่งกลับไปให้บริษัทดังกล่าวทำการตรวจเช็คคุณภาพสินค้า ประกอบร่างรวมกันและนำออกมาขายในนามแบรนด์ของตนเอง
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-vector/people-working-factory-landing-pages_6163215.htm#page=1&query=manufacturing&position=33
ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราใช้งานกันทุกวันอย่างสมาร์ทโฟนหรือโน้ตบุ๊คนั้นก็เป็นสินค้าประเภท OEM เช่นเดียวกัน เนื่องจากบริษัทเจ้าของแบรนด์นั้นไม่ได้มีกำลังมากพอที่จะสามารถผลิตชิ้นส่วนสินค้าได้ทั้งหมด จึงทำให้ต้องจ้างโรงงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะและมีกำลังผลิตมากในการผลิตชิ้นส่วนสินค้าออกมานั่นเอง (สมาร์ทโฟนเครื่องหนึ่งอาจใช้งานชิปเซ็ตของบริษัทหนึ่งแต่ใช้งานกระจกหน้าจอจากอีกบริษัทหนึ่ง เป็นต้น)
แต่สิ่งที่ทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับสินค้าประเภท OEM นั้น ส่วนมากเป็นเพราะการ แอบอ้าง ชื่อแบรนด์ต่างๆ เสียมากกว่า เพราะถึงแม้โรงงานจะสามารถผลิตสินค้าซ้ำออกมาคล้ายเดิมได้ แต่มันก็ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากแบรนด์เจ้าของผลิตภัณฑ์ จึงทำให้คุณภาพของสินค้าไม่คงที่หรือต่ำกว่ามาตรฐานนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม สินค้าประเภท OEM นั้นก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะอยู่แค่ผลิตภัณฑ์ที่สามารถจับต้องได้อย่างพวกฮาร์ดแวร์ต่างๆ เท่านั้น เพราะซอฟต์แวร์บางประเภทเองก็มี License แบบ OEM ให้ผู้ใช้งานกันด้วยเช่นกัน
สินค้า OEM, ODM และ OBM คืออะไร ? และแตกต่างกันอย่างไร ? หาคำตอบได้ที่นี่ : https://tips.thaiware.com/1504.html
ในส่วนของ OEM Software License นั้นจะเป็น สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ (Software License) ชนิดที่บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้ทำการ ขายสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ หรือลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ นั้นๆ ให้กับทางโรงงานที่ทำสินค้า OEM เป็นจำนวนมากในคราวเดียว เพื่อให้โรงงานเหล่านั้นได้สามารถ "ติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนเครื่อง" มากับตัวสินค้าโดยตรง
ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะเห็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ โน้ตบุ๊ค ยี่ห้อ A ติดตั้ง Microsoft Windows แท้ ถูกลิขสิทธิ์ มากับเครื่องเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นต้น
โดยผู้ใช้จะสามารถสังเกตง่ายๆ ได้จากสติกเกอร์ที่ติดอยู่บริเวณด้านล่างของตัวเครื่อง หรือกด Windows + R และพิมพ์คำสั่ง cmd จากนั้นพิมพ์คำสั่ง slmgr /dli ลงไป ก็จะเห็นว่ามีหน้า Windows Script Host ปรากฎขึ้นมาพร้อมรายละเอียดการใช้งาน Windows (เครื่องที่ใช้งานอยู่เป็น Windows 10 Pro แบบ OEM)
สำหรับซอฟต์แวร์ OEM License นั้น เงื่อนไขคือ คุณจะสามารถติดตั้งได้กับคอมพิวเตอร์ แค่เครื่องเดียว และต้องเป็น เครื่องเดียวกับเครื่องแรก ที่ติดตั้งด้วยนะ โดยซอฟต์แวร์ชนิดนี้จะจดจำลักษณะจำเพาะ ของ เมนบอร์ด (Mainboard) หรือ Motherboard ของเครื่องคอมพิวเตอร์เราเอาไว้นั่นเอง
โดยที่คุณสามารถเปลี่ยนสิ่งของ หรือ อุปกรณ์หลัก ที่เชื่อมต่อ ในเครื่อง ได้ 5 อย่าง ดังต่อไปนี้
ดังนั้นหลังจากที่คุณได้อ่านด้านบนแล้ว หลายคนอาจจะมีคำถามว่า ถ้าเกิด ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ของเราเกิดพังขึ้นมา ฟอเมตล้างเครื่องใหม่แล้ว ยังจะสามารถใช้ได้อีกครั้ง หรือใช้ได้เหมือนเดิมหรือเปล่า ? คำตอบคือ "ได้" แต่ถ้าเกิดอยากจะเปลี่ยน CPU หรือ Mainboard ให้แรงขึ้น เร็วขึ้น คำตอบคือ "ไม่ได้" และจะต้องซื้อ License ของซอฟต์แวร์นั้นใหม่เท่านั้น
คำถามต่อไปคือ แล้วถ้าเกิดว่าเราเอา USB Flash Drive (USB Thumb Drive) มาเสียบละ จะสามารถอ่านได้มั้ย คำตอบก็คือ ได้ เช่นกัน เพราะสิ่งนี้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อรอง (ไม่ใช่หลัก) นั่นเอง
ของการใช้งาน License ประเภทนี้คือมันจะราคาที่ถูกกว่าการซื้อ License แยกจากบริษัทโดยตรง เพราะจ่ายเงินซื้อแค่โน้ตบุ๊คเครื่องเดียวก็ได้รับ License ของ Windows ที่สามารถใช้งานได้เลยแบบอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องเสียเงินหลายต่อในการซื้อ License ของ Windows มาลงเครื่องและไม่เสี่ยงต่อการได้ Windows เถื่อนที่อาจมีปัญหาในการใช้งานในภายหลังอีกด้วย
ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเปลี่ยนอะไหล่ หรืออัปเกรดเครื่องได้ตามต้องการ เพราะ License ของ Windows แบบ OEM นั้นจะมีการบันทึก Product Key ลงบนเมนเบอร์ดของตัวเครื่อง จึงสามารถทำได้แค่การเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์หรือ RAM ของเครื่องได้เพียงเท่านั้น
ในขณะที่ License ของ Windows แบบซื้อแยกที่นำเอาไปลงในเครื่อง DOS หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆ จะมีให้เลือกทั้ง License แบบ OEM ที่ราคาย่อมเยา (สามารถใช้งานได้แค่เครื่องเดียวและมีข้อจำกัดเหมือน License แบบ OEM ที่ติดมากับเครื่อง)
และ License แบบ FPP (Full Package Product) ที่มีราคาสูงกว่า แต่มี Product Key ที่แยกออกต่างหาก ทำให้ผู้ใช้สามารถ "ย้ายเครื่อง" หรืออัปเกรดอุปกรณ์และเปลี่ยนอะไหล่ในเครื่องได้ตามต้องการ (ผู้ใช้ต้องถอนการติดตั้งในเครื่องเดิมก่อนทำการเปิดการใช้งาน หรือ Activate บนเครื่องใหม่จึงจะสามารถใช้งานได้)
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |
ความคิดเห็นที่ 2
21 กุมภาพันธ์ 2567 14:16:14
|
|||||||||||
GUEST |
aa
license window 7 pro แล้ว upgrade เป็น win 10 pro ได้ ประมาณ ปี เศษ แล้ว ขึ้น ข้อความให้ activate ใหม่ เป็ฯเพราะอะไร แล้ว ต้องทำหรือ ไม่
|
||||||||||
ความคิดเห็นที่ 1
13 มกราคม 2554 11:52:48
|
|||||||||||
GUEST |
..,l;,plpl
เมื่อติดตั้งแล้วอัปเดตวินโดว์หน้าจอเป็นสีดำแต่ยังใช้ได้มีวิธีแก้ให้หน้าจอหายดำไม่ครับ
|
||||||||||