สำหรับใครที่อาจจะเริ่มเขียนโค้ดเป็นครั้งแรก หรือแม้แต่โปรแกรมเมอร์มืออาชีพ บางทีคงเคยสับสนระหว่าง Visual Studio และ Visual Studio Code กันบ้างใช่ไหม ? อย่างตัวผู้เขียนเองก็เคยสับสนจนใช้ผิดโปรแกรม แม้ชื่อมันจะคล้ายกัน พัฒนา และเป็นเจ้าของโดยบริษัท Microsoft เหมือนกันถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการพัฒนาซอฟต์แวร์เช่นกัน แต่โปรแกรมทั้งสองต่างก็มีจุดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
และในบทความนี้จะพาทุกคนมาดูกันว่าซอฟต์แวร์ทั้งสองตัวนี้ Visual Studio และ Visual Studio Code คืออะไร ?, มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?, ต่างกันอย่างไร ? และเราควรเลือกใช้มันอย่างไรให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของมัน
Visual Studio เป็นซอฟต์แวร์ประเภท Integrated Development Environment (IDE) ที่ทรงพลัง และเครื่องมือครบครัน ตอบโจทย์นักพัฒนาโค้ดที่ต้องการสร้างแอปพลิเคชันหลากหลายประเภท มาพร้อมกับเครื่องมือมากมาย เช่น เทมเพลตโครงการ และระบบดีบัก (Debug) ที่มีประสิทธิภาพ
ภาพจาก : https://visualstudio.microsoft.com/
โดย Visual Studio เหมาะสำหรับนักพัฒนามืออาชีพที่ทำงานด้านงานพัฒนาแอปพลิเคชันบนเดสก์ท็อปเช่น Windows, อุปกรณ์มือถือ หรือเว็บไซต์ นอกจากนี้ ยังเหมาะอย่างสำหรับโปรเจกต์ซับซ้อนที่ต้องการการวิเคราะห์โค้ดเชิงลึก และความแม่นยำในการดีบัก (Debug) ปัญหาสูง
หลังจากที่เราได้รู้จัก Visual Studio กันไปแล้ว ทีนี้เรามาดูทางอีกฝั่งกันบ้าง Visual Studio Code หรือ VS Code เป็น โปรแกรมแก้ไขข้อความ (Text-Editor Software) คล้ายกับ Notepad ที่ยืดหยุ่น สามารถเขียน และรันโค้ดได้หลายภาษา ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานของนักเขียนโค้ด แม้จะมีฟีเจอร์น้อยกว่า Visual Studio แต่ VS Code ก็ชดเชยด้วยการเพิ่มฟีเจอร์ต่าง ๆ ผ่าน ส่วนขยาย (Extensions) ที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
ภาพจาก : https://distantjob.com/blog/visual-studio-vs-visual-studio-code/
VS Code ได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มนักพัฒนาเว็บไซต์ และผู้ที่ทำงานในโปรเจกต์ขนาดเล็ก เนื่องจากอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย และฟังก์ชันที่ครบครัน ด้วย UI ที่เรียบง่ายช่วยให้ประสบการณ์การเขียนโค้ดนั้นราบรื่น และไม่ซับซ้อน
VS Code มีจุดแข็งในเรื่องความยืดหยุ่น รองรับภาษาโปรแกรมหลากหลายผ่านส่วนขยายต่าง ๆ โดยมีการรองรับภาษายอดนิยมเช่น Java, TypeScript, และ Node.js แบบพื้นฐาน ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้อย่างสะดวก
Visual Studio เป็น Integrated Development Environment (IDE) ที่ครบครันสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ ส่วน Visual Studio Code (VS Code) เป็นโปรแกรมแก้ไขโค้ดที่เน้นปลั๊กอิน และการปรับแต่งตามการใช้งาน ทำให้ทั้งสองเหมาะกับการใช้งานที่ต่างกันอย่างชัดเจน โดยเราสามารถเทียบความต่างกันของทั้งสองซอฟต์แวร์ได้ดังนี้
คุณสมบัติ | Visual Studio Code | VS Code |
พื้นที่ดาวน์โหลด | ใช้พื้นที่เยอะ (2.3 GB. ถึง 60 GB.) | เบา ใช้พื้นที่น้อยกว่า 200 MB. |
แรม | แนะนำอย่างน้อย 16 GB. | ใช้ RAM เพียง 300 MB. |
ประสิทธิภาพ | ใช้ทรัพยากรเยอะ ทำงานช้ากว่า | เบา และเร็วกว่า |
อินเทอร์เฟซ | มีหลายหน้าต่าง อาจดูซับซ้อน | เรียบง่าย เน้นงานเขียนโค้ด และดีบัก |
เครื่องมือทดสอบ | ครบครันในเวอร์ชันเสียเงิน | รองรับการทดสอบยูนิตผ่านปลั๊กอิน |
การทำงานร่วมกัน | เชื่อมต่อกับ Azure DevOps และ TFS | รองรับการเขียนโค้ดร่วมแบบเรียลไทม์ผ่าน GitHub |
เว็บแอปพลิเคชัน | รองรับการพัฒนา ASP.NET Core และ Blazor | เน้นพัฒนาเว็บฟรอนต์เอนด์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ |
แอปเดสก์ท็อป | มีเทมเพลต และดีไซน์สำหรับ WPF, WinForms | เหมาะกับการใช้ Visual Studio Community สำหรับเดสก์ท็อป |
แอปบนคลาวด์ | รองรับ Azure, AWS, Google Cloud อย่างดี | รองรับเช่นกันแต่เบากว่า |
ดีบักเกอร์ | | ดีบักเบื้องต้น รองรับหลายภาษาผ่านปลั๊กอิน |
เวลาเริ่มโปรแกรม | ใช้เวลาเริ่มนานกว่า | เริ่มใช้งานได้ทันที |
ระบบปฏิบัติการ | รองรับ Windows เท่านั้น | รองรับทั้ง Windows, Mac, และ Linux |
รองรับภาษาโปรแกรม | มีภาษาในตัวเช่น C++, C#, Python, .NET, เป็นต้น | รองรับ JavaScript, TypeScript, และ Node.js เพิ่มภาษาอื่นได้ผ่านปลั๊กอิน |
การตัดสินใจเลือกใช้ระหว่าง Visual Studio และ Visual Studio Code ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยสำคัญก็จะมีดังนี้
เหมาะกับโปรเจกต์ที่ต้องการการสนับสนุนจาก Microsoft อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะโปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับภาษา HTML, CSS, JavaScript, C++, Python และ JSON จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Full-stack
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความยืดหยุ่น และรองรับการพัฒนาหลากหลายภาษาอย่างราบรื่น สามารถเพิ่มปลั๊กอินเพื่อรองรับภาษาเพิ่มเติมได้อย่างง่ายดาย
เหมาะกับโปรเจกต์ที่มีความซับซ้อนสูง เช่น การสร้าง Graphical User Interface (GUI) ที่มีความละเอียดอ่อน, โค้ดจำนวนมาก และการจัดการโปรเจกต์ที่ซับซ้อน อาจไม่เหมาะกับงานโปรแกรมมิงทั่วไปที่ไม่ต้องการการจัดการอะไรมากนัก
ตอบโจทย์โปรเจกต์ที่ไม่ซับซ้อนมาก เช่น การเขียนสคริปต์ และพัฒนาเว็บ ด้วยการทำงานที่รวดเร็ว และคล่องตัว จึงเหมาะสำหรับการเขียนโค้ดในชีวิตประจำวันนั่นเอง
มีส่วนขยายที่ครอบคลุม แม้จะไม่หลากหลายเท่า VS Code แต่สามารถรองรับการทำงานพื้นฐานได้ดี
มีคลังปลั๊กอินมากมาย ครอบคลุมฟังก์ชันหลากหลาย ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานได้มาก เหมาะกับผู้ที่ต้องการเครื่องมือที่ปรับแต่งได้
แม้จะมีฟีเจอร์ครบถ้วนแต่ใช้เวลาเปิดนานเนื่องจากความซับซ้อนของโปรแกรม ซึ่งอาจทำให้การคอมไพล์ และเปิดโปรเจกต์ใช้เวลานาน
เริ่มใช้งานได้อย่างรวดเร็วด้วยการใช้ทรัพยากรที่น้อย จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการเริ่มทำงานอย่างทันทีทันใด
ภาพจาก : https://unsplash.com/photos/a-computer-screen-with-a-bunch-of-code-on-it-ieic5Tq8YMk
การเลือกใช้ระหว่าง Visual Studio และ Visual Studio Code จึงขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะของโปรเจกต์ของเรา หากต้องการเครื่องมือที่รองรับ Microsoft อย่างเต็มที่ และมีฟีเจอร์ครบครันสำหรับโปรเจกต์ที่ซับซ้อน Visual Studio อาจตอบโจทย์ได้ดีที่สุด แต่ถ้าเรามองหาเครื่องมือที่เบา และยืดหยุ่น Visual Studio Code จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่านั่นเอง
|