ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดจากผลกระทบของ โรคระบาด อย่าง COVID-19 ก็เป็นโอกาสแจ้งเกิดของเทคโนโลยีบางตัวอยู่เหมือนกันนะ อย่าง แอปพลิเคชัน ZOOM ที่จะช่วยให้การประชุมงานทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเรื่องง่าย เติบโตอย่างก้าวกระโดดจนผู้พัฒนากลายเป็นมหาเศรษฐีรายใหม่ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน
แต่ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเทคโนโลยีประเภทหนึ่งที่มีมานานแล้วล่ะ ไม่ใช่ของใหม่แต่อย่างใด แต่ COVID-19 ได้เป็นตัวเร่งให้มันมีถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเร็วมากขึ้นกว่าเดิม นั่นก็คือเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization Technology)
Virtualization Technology เป็นเทคโนโลยีที่สามารถจำลองอุปกรณ์ต่างๆ, จำลองซอฟต์แวร์ หรือแม้แต่ระบบปฏิบัติการขึ้นมาได้ ซึ่งอาจจะเป็นการจำลองแค่เครื่องเดียว หรือหลายๆ เครื่องก็ได้
เพราะในสถานการณ์ โรคระบาด COVID-19 ที่ทำให้การเดินทางไปทำงานร่วมกันที่ออฟฟิศเป็นเรื่องที่ยากลำบาก และด้วยเหตุนี้เอง สถานที่ทำงานเสมือนจริง (Virtual Workspace) จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในภาวการณ์เช่นนี้ด้วยเช่นกัน
Virtual Workspace ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ Virtual Desktop Infrastructure (VDI) และ Desktop as a Service (DaaS) ทั้งคู่มีเป้าหมายเหมือนกัน คือ การช่วยให้ผู้ใช้งาน (End-users) สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากที่ไหนก็ได้ แล้วเทคโนโลยีทั้งสองแบบนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร เรามาทำความรู้จักพวกมันให้มากขึ้นกันได้ในบทความนี้กัน
Virtual Desktop Infrastructure (VDI) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้าง เดสก์ท็อปเสมือน (Virtual Desktop) จำลองอุปกรณ์พร้อมระบบปฏิบัติการขึ้นมาบนรีโมทเซิร์ฟเวอร์ โดยอาจจะใช้เซิร์ฟเวอร์เพียงตัวเดียว หรือกระจายไปยังหลายเซิร์ฟเวอร์ก็ได้
โดย VDI จะช่วยเข้ามาทลายข้อจำกัดของการทำงาน แทนที่จากเดิมจำเป็นต้องเข้าออฟฟิศไปใช้คอมพิวเตอร์ของตนเองที่ตั้งอยู่ในออฟฟิศ ก็สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ผ่าน Virtual Desktop นอกจากนี้ การใช้งานมัน ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์สเปกแรง แม้แต่สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ตก็สามารถใช้งาน Virtual Desktop ได้
เราสามารถนำ VDI มาติดตั้งไว้ในออฟฟิศของคุณเอง หรือฝาก Host ไว้ในศูนย์ข้อมูล (Data Center) ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ในการติดตั้ง, ซ่อมแซม, เปลี่ยนฮาร์ดแวร์, ดูแล และบำรุงรักษา จะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สนับสนุนงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Support) ที่คุณมีอยู่ในบริษัท
หากมองจากมุมของ DaaS แล้ว VDI ก็เหมือน "ปัญหาของคนอื่น" ถ้ามองในแง่พื้นฐานแล้ว มันก็จริงนะ ...
Desktop as a Service หรือ DaaS จริงๆ แล้วมันก็คือ VDI (ที่กล่าวมาในด้านบน) ที่ถูก Host ไว้กับผู้ให้บริการ Cloud อย่างเช่น Amazon, VMwarfe, Microsoft, Citrix หรือ Google เพราะว่าหากคุณใช้ DaaS ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดจะถูกบริหารจัดการโดยผู้ให้บริการ ดังนั้นผู้ใช้บริการจึงไม่ต้องมาปวดหัวว่าจะเอาตู้แร็ค (Rack Cabinet) ไปวางที่ไหน ?, ฮาร์ดแวร์เสียจะซ่อมอย่างไร ? และใครจะต้องทำหน้าที่บำรุงรักษาระบบ ?
โดยระบบ DaaS จะต้องสมัครสมาชิกกับผู้ให้บริการในการใช้งาน โดยทั่วไปจะมีการคิดค่าบริการเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ใช้ที่ลูกค้าต้องการ
และระบบ DaaS ในปัจจุบันจะนำเสนอการให้บริการอยู่สองรูปแบบใหญ่ ๆ แบบแรก คือ มีระบบพื้นฐานรองรับให้แล้ว แต่การตั้งค่าระบบให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ ติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติม ยังคงเป็นหน้าที่ของแผนกไอทีของบริษัทลูกค้าอยู่ดี ส่วนอีกแบบคือ มีระบบทุกอย่างเตรียมพร้อมแค่สมัครสมาชิก จ่ายเงิน เลือกแพ็คเกจตามความต้องการ มีทีมซัพพอร์ตช่วยให้การสนับสนุน
DaaS มีอยู่ 2 ประเภท โดยแตกต่างกันที่ลักษณะการทำงาน
Non-Persistent Desktop เป็นระบบจำลองคอมพิวเตอร์ (Virtual desktop) ที่จะรีเซ็ตข้อมูลทุกอย่างทันทีที่คุณออกจากระบบ ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะให้บริการบันทึกข้อมูลแค่บางอย่าง เช่น ข้อมูลผู้ใช้, ข้อมูลออนไลน์บางส่วน เช่น บุ๊คมาร์กของเว็บเบราว์เซอร์ เป็นต้น
เนื่องจากพวกซอฟต์แวร์ หรือการตั้งค่าต่าง ๆ จะถูกรีเซ็ตเมื่อออกจากระบบ Non-Persistent Desktop จึงเหมาะสำหรับการทำงานที่ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ยุ่งยาก หรืองานที่ทำผ่านเว็บแอปพลิเคชันได้
ในส่วนของ Persistent DaaS นั้น ข้อมูล และซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่คุณทำบน Virtual desktop จะถูกบันทึกค่าเอาไว้ทั้งหมด ใช้งานเหมือนเป็นอุปกรณ์ส่วนตัวอีกชิ้นของผู้ใช้เลย แค่มันอยู่บนคลาวด์เท่านั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ที่บันทึกไว้ หรือแม้แต่การตั้งค่าของซอฟต์แวร์ก็บันทึกไว้ให้เช่นกัน
ทำให้มันเหมาะกับการทำงานที่เป็นโครงการระยะยาว อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว DaaS ประเภทนี้ จะมีค่าใช้จ่ายที่ราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้ให้บริการต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรบนเซิร์ฟเวอร์มากกว่า Non-Persistent Desktop มาก สำหรับบริษัทที่ต้องการใช้ Persistent Desktop นอกจากค่าใช้จ่ายที่ต้องคำนึงถึงแล้ว อินเทอร์เน็ตก็ต้องมีความเร็วสูงด้วยเช่นกัน เพราะข้อมูลใน Virtual desktop มักจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
Virtual Desktop Infrastructure (VDI) คืออะไร ? | Desktop as a Service (DaaS) |
การบริหารจัดการ | |
|
|
แพลตฟอร์ม | |
|
|
ภูมิศาสตร์ | |
|
|
ความคล่องตัว และการปรับลด/ขยายขนาด | |
|
|
Single-Tenant vs Multi-Tenant | |
|
|
ความปลอดภัย | |
|
|
Data Backup | |
|
|
ค่าใช้จ่าย | |
|
|
VDI มีโมเดลในการทำงานแบบ Single-Tenant หมายความว่าระบบถูกออกแบบเพื่อปรับใช้ให้กับผู้ใช้เพียงรายเดียว โดยผู้ใช้หนึ่งรายนี้อาจจะมีขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งองค์กรที่มีพนักงานหลายร้อยคน
ส่วนใหญ่แล้ว องค์กรที่เลือกใช้ VDI จะเป็นองค์กรที่ต้องการอำนาจควบคุมโครงสร้างฮาร์ดแวร์ และทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์ได้ทั้งหมดด้วยตนเอง
ในทางกลับกัน DaaS ทำงานอยู่บนคลาวด์ เป็น Host ที่สามารถรองรับผู้เช่าบริการได้หลายรายภายในเซิร์ฟเวอร์เดียว ไม่ว่าระบบของผู้ใช้จะแตกต่างกันขนาดไหน สุดท้ายมันก็อยู่ในระบบคลาวด์เดียวกัน เหมือนแบ่งห้องทำงานให้มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกันได้ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานแต่ละคน
ทั้ง VDI และ DaaS ต่างนำเสนอประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์ทางไกลที่มีคุณภาพสูง อย่างไรก็ตาม ในการเลือกใช้งาน เราจำเป็นต้องวิเคราะห์ว่าแบบไหนที่เหมาะกับธุรกิจที่คุณทำ, ระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน, ขนาดขององค์กร ฯลฯ
หากคุณต้องการลองใช้งานคุณสมบัติของ VDI ก่อน การเลือก DaaS จะเป็นตัวเลือกที่ง่าย รวดเร็ว และต้นทุนต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม และเมื่อตัดสินใจใช้งานในระยะยาวแล้ว ค่อยพิจารณาลงทุนทำระบบ VDI ด้วยตนเองในภายหลัง
จำนวนของพนักงานก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรนำมาตัดสินใจ VDI ไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดเล็ก-กลาง ที่มีพนักงานจำนวนไม่มาก เพราะมันอาจจะไม่คุ้มค่าต่อเม็ดเงินที่ต้องลงทุนในการวางระบบ ในทางกลับกัน DaaS เหมาะกับธุรกิจทุกขนาด โดยเฉพาะองค์กรที่มีขนาดเล็ก จำนวนพนักงานไม่มาก
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |