ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

การแบ่งพาร์ทิชันให้ฮาร์ดไดร์ฟ (Hard Drive Partitioning) จำเป็นหรือเปล่า ? มาดูข้อดี-ข้อเสียกัน

การแบ่งพาร์ทิชันให้ฮาร์ดไดร์ฟ (Hard Drive Partitioning) จำเป็นหรือเปล่า ? มาดูข้อดี-ข้อเสียกัน
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-vector/server-room-rack-data-storage-coud-technology-data-center-database-icon_3629316.htm
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 19,462
เขียนโดย :
0 %E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9F+%28Hard+Drive+Partitioning%29+%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2+%3F+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

การแบ่งพาร์ทิชันให้ฮาร์ดไดร์ฟ (Hard Drive Partitioning)
จำเป็นหรือเปล่า ? มาดูข้อดี-ข้อเสียกัน

เมื่อเราซื้อคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดไดร์ฟ ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk - HDD) หรือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบ SSD (Solid-State Drive) ที่เป็นตัวใหม่มา ตามปกติแล้ว ในไดร์ฟจะมีเพียงหนึ่งพาร์ทิชันเท่านั้น และข้อมูลทุกอย่างจะถูกรวมไว้ใน Logical Sector เดียว (ถ้าไม่เข้าใจลองอ่านบทความนี้เพิ่มเติมดูนะครับ "พาร์ทิชันแบบ MBR กับ GPT คืออะไร ?")

บทความเกี่ยวกับ Partition อื่นๆ

ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ที่เราเจอ หากไดร์ฟมีขนาดใหญ่ ก็จะนิยมจับมันมาซอยย่อยออกเป็นหลายพาร์ทิชัน เช่น พาร์ทิชันนี้ไว้ติดตั้งโปรแกรม, พาร์ทิชันนี้ไว้ติดตั้งเกม, พาร์ทิชันนี้ไว้เก็บรูป ฯลฯ หรือจะแบ่งพาร์ทิชัน เอาไว้อันนึงสำหรับงาน อีกอันนึงสำหรับเก็บเรื่องส่วนตัว ก็แล้วแต่เลย

และอันที่จริงแล้ว ถ้าจะจัดระเบียบการเก็บไฟล์สร้างเป็นโฟลเดอร์ก็น่าจะเพียงพอแล้วนี่นา ดังนั้น เรามาวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย ของการแบ่งพาร์ทิชันกันหน่อยดีกว่า ...

เนื้อหาภายในบทความ

ข้อดีของการแบ่งพาร์ทิชันให้ฮาร์ดไดร์ฟ

เรามาเริ่มกันที่ข้อดีของการแบ่งพาร์ทิชันฮาร์ดไดร์ฟกันก่อนดีกว่า ว่าทำแล้วผู้ใช้จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง

ติดตั้ง Windows ใหม่ได้ง่ายกว่า

การที่เราแบ่งพาร์ทิชันเก็บไฟล์ระบบของระบบปฏิบัติการ Windows แยกออกจากพาร์ทิชันสำหรับเก็บข้อมูลส่วนตัวออก จะช่วยให้เราจัดการกับ Windows ของเราได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่างเช่น ในพาร์ทิชัน C: เราติดตั้ง Windows เอาไว้เพียงอย่างเดียว ส่วนพวกโปรแกรม และไฟล์ เอาไปเก็บไว้ในพาร์ทิชันอื่น ๆ หากวันใดวันหนึ่ง Windows เกิดมีปัญหาขึ้นมา เราก็สามารถฟอร์แมทข้อมูลในพาร์ทิชัน แล้วติดตั้ง Windows ใหม่อีกครั้ง โดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือสำรองไฟล์

สำรองข้อมูลได้โดยสะดวก

การสำรองข้อมูลเป็นเรื่องน่าปวดหัว แม้ว่าการเก็บไฟล์ไว้คนละพาร์ทิชันจะไม่ใช่วิธีการสำรองข้อมูลที่ถูกต้อง แต่มันก็ช่วยใหเราสำรองข้อมูลได้ง่ายขึ้นนะ

ก็เหมือนกับการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows ใหม่ ที่คุณสามารถฟอร์แมททั้งพาร์ทิชันเพื่อติดตั้งมันใหม่ เราสามารถ "โคลน" ข้อมูลทั้งพาร์ทิชันเอามาสำรองได้ ซึ่งเป็นเรื่องง่ายกว่าการมาจิ้มเลือกหาโฟลเดอร์ที่ต้องการสำรองข้อมูล

การแบ่งพาร์ทิชันให้ฮาร์ดไดร์ฟ (Hard Drive Partitioning)
ภาพจาก https://www.freepik.com/free-vector/transfer-files-concept-landing-page_5566766.htm

เพิ่มความปลอดภัยให้คอมพิวเตอร์

อาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่พาร์ทิชันช่วยเพิ่มโอกาสในการเอาตัวรอดจากมัลแวร์ได้ด้วยนะ ในทางทฤษฏีแล้ว หากมัลแวร์ฝังตัวลงในพาร์ทิชันของ Windows ได้สำเร็จแล้ว โอกาสที่จะกู้ไฟล์ในพาร์ทิชันดังกล่าวไปสำรองไว้ในพาร์ทิชันอื่นได้อย่างปลอดภัยนั้นน้อยมาก ในการกำจัดมัลแวร์ออกจากเครื่อง นอกเหนือไปจากการพึ่งพาโปรแกรมสแกนมัลแวร์แล้ว การฟอร์แมททิ้งแล้วติดตั้ง Windows ใหม่ก็เป็นอีกวิธีการที่ได้ผลดีเยี่ยม

อย่างไรก็ตาม มันก็ขึ้นอยู่กับประเภทของมัลแวร์ที่เราถูกโจมตีด้วย มัลแวร์บางชนิดไม่ได้โจมตีแค่เพียงพาร์ทิชันเดียว แต่สามารถกระจายตัวโจมตีได้ทั้งไดร์ฟเลย ดังนั้น ในประเด็นนี้ ทางที่ดีที่สุด คือ ต้องป้องกันไม่ให้ถูกโจมตีตั้งแต่แรกเลยจะดีกว่า

อ่านบทความ : วิธีป้องกันมัลแวร์ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้

  • วิธีป้องกัน Ransomware กับ 11 ขั้นตอน ป้องกันการโจมตีจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Ransomware
    https://tips.thaiware.com/1374.html
  • วิธีเซ็ต Windows Defender ให้สแกนหามัลแวร์ ในไฟล์ ZIP, RAR, CAB
    https://tips.thaiware.com/1223.html

บริหารจัดการไฟล์ได้ดีกว่า

หากคุณเป็นคนชอบจัดเก็บไฟล์ประเภทเดียวกันรวมกันไว้ในที่เดียว พาร์ทิชันช่วยให้การแบ่งพื้นที่มีความชัดเจนขึ้น เช่น แบ่งพาร์ทิชันหนึ่งไว้เก็บไฟล์วิดีโอ ในนั้นอาจจะมีการซอยโฟลเดอร์ออกเป็น หนัง, มิวสิกวิดีโอ, คลิปถ่ายเล่น ฯลฯ

ติดตั้งระบบปฏิบัติการหลายตัว

เหตุผลข้างต้นที่ได้กล่าวไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับการแยกพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ระบบปฏิบัติการ กับไฟล์ส่วนตัวเป็นหลัก แต่การแบ่งพาร์ทิชันไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่นั้น

ในกรณีที่เราอยากติดตั้งระบบปฏิบัติการตัวอื่น เช่น Windows เวอร์ชันอื่น, Linux ฯลฯ เราสามารถแยกพาร์ทิชันเพื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้ลงไปได้ แล้วเลือกใช้งานระบบปฏิบัติการที่ต้องการในตอนที่เปิดคอมพิวเตอร์

การแบ่งพาร์ทิชันให้ฮาร์ดไดร์ฟ (Hard Drive Partitioning)
ภาพจาก https://askubuntu.com/questions/230878/dual-boot-windows-8-and-ubuntu-with-windows-8-boot-manager

มีระบบไฟล์หลากหลาย

การจัดเก็บไฟล์ลงในฮาร์ดไดร์ฟ เราก็ต้องคำนึงถึงระบบไฟล์ด้วย ซึ่งก็มีอยู่หลายประเภท เช่นระบบไฟล์ NTFS, exFAT, FAT32, ext4 ฯลฯ แต่ละประเภทก็รองรับการใช้งานกับระบบปฏิบัติการแต่ละชนิดแตกต่างกันไป

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบไฟล์ได้ที่

ในกรณีที่เราต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างจากเรา การแบ่งพาร์ทิชันให้แต่ละพาร์ทิชันเป็นคนละระบบไฟล์จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับการทำงานได้เป็นอย่างมาก

ข้อเสียของการแบ่งพาร์ทิชันให้ฮาร์ดไดร์ฟ

พูดถึงข้อดีกันไปเยอะแล้ว มาพิจารณาถึงข้อเสียกันบ้าง เพราะในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ดี 100% อยู่แล้ว

อาจทำให้คุณมองข้ามปัญหาด้านความปลอดภัย

การ์มีพาร์ทิชันหลายตัวอาจนำพาไปสู่การสูญเสียข้อมูลได้จากความประมาท สมมติให้คุณแบ่งพาร์ทิชันในไดร์ฟออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเอาไว้ใช้งาน อีกส่วนเอาไว้สำรองข้อมูล คุณอาจจะรู้สึกว่ามันปลอดภัยแล้ว แต่ความจริงแล้ว การสำรองข้อมูลเอาไว้ในพาร์ทิชันอื่น นั้นค่อนข้างไร้ประโยชน์นะครับ เพราะสุดท้ายพาร์ทิชันทั้งหมดก็ยังอยู่ในฮาร์ดไดร์ฟตัวเดียวกันอยู่ดี สุดท้ายถ้าพังขึ้นมา จะพาร์ทิชันไหนก็เสียหายทั้งหมดอยู่ดี

ดังนั้น การสำรองข้อมูล ต้องพึงระลึกเอาไว้ว่า ต้องเก็บเอาไว้ในฮาร์ดไดร์ฟตัวอื่นนะครับ 

มีความซับซ้อน และเพิ่มโอกาสผิดพลาด

การมีหลายพาร์ทิชัน ทำให้การใช้งานมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น การเลือกตำแหน่งติดตั้งโปรแกรม และจัดเก็บไฟล์ โดยปกติแล้ว ระบบปฏิบัติการ Windows จะเลือกที่ไดร์ฟ C: เป็นค่าเริ่มต้นเสมอ 

หากเทียบกับการใช้งานแบบพาร์ทิชันเดียวแล้ว เรื่องการเลือกตำแหน่งจัดเก็บไฟล์ และโปรแกรม สำหรับผู้ที่มีหลายพาร์ทิชัน จัดว่าเป็นเรื่องน่ารำคาญพอสมควร 

ยุ่งยากในการบริหารพื้นที่ในไดร์ฟ

การใช้งานเพียงพาร์ทิชันเดียว เราไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงพื้นที่โดยรวมของไดร์ฟเลย มีเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น แต่หากเรามีหลายพาร์ทิชัน แล้วเราคำนวณพื้นที่ที่ต้องใช้ในแต่ละพาร์ทิชันไว้ไม่ตรงกับความต้องการ ปัญหายุ่งยากก็จะตาม

ปัญหาที่เจอกันบ่อย คือ ผู้ที่แบ่งพื้นที่ให้พาร์ทิชัน C: ไว้น้อยเกินไป เมื่อใช้งานไปนาน ๆ พื้นที่ก็ลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง มันอาจไม่มีพื้นที่เหลือพอต่อการอัปเดต windows, ใช้งานโปรแกรม ฯลฯ ในขณะที่พาร์ทิชันอื่นที่แบ่งไว้ มีพื้นที่เหลือเพียบ เพราะแบ่งไว้เยอะเกินไป

แม้ใน Windows จะมีเครื่องมือสำหรับให้เราใช้ในการลดขนาด (Shrink) และเพิ่มขนาด (Extend) พาร์ทิชันได้ แต่มันก็ไม่สะดวกเหมือนการใช้งานเพียงพาร์ทิชันเดียวอยู่ดี

การแบ่งพาร์ทิชันให้ฮาร์ดไดร์ฟ (Hard Drive Partitioning)

มันไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

บางคนแบ่งพาร์ทิชันเพียงเพราะต้องการแยกพื้นที่เก็บไฟล์ให้เป็นระเบียบ ซึ่งอันที่จริงแค่สร้างโฟลเดอร์ก็เพียงพอแล้ว ประโยชน์ของพาร์ทิชันที่เด่นที่สุดน่าจะเป็นการติดตั้งระบบหลายปฏิบัติการภายในไดร์ฟเดียว ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้

เมื่อเทียบกับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นมาเทียบกับการใช้งานเพียงพาร์ทิชันเดียว สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์มือใหม่แล้ว เราคิดว่าพาร์ทิชันเดียวเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

SSD (Solid State Drive) ทำให้ประโยชน์ของการแบ่งพาร์ทิชันลดลง

ในอดีตที่ HDD (Hard Disk Drive) เป็นพื้นที่เก็บข้อมูลยอดนิยม มันก็มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้การพาร์ทิชันมีความน่าสนใจ แต่ในปัจจุบันที่ SSD (Solid State Drive) มีราคาถูกลงมาก คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้ SSD กันหมดแล้ว เหตุผลของการแบ่งพาร์ทิชันจึงน้อยลงไปอีก

SSD (Solid State Drive) และ HDD (Hard Disk Drive) กับการแบ่งพาร์ทิชัน

HDD (Hard Disk Drive) มีการทำงานเชิงกลไก มันอาศัยแผ่นแม่เหล็ก (Platter) ในการบันทึกข้อมูล มีหัวอ่านที่เคลื่อนที่ไปบนแผ่นเพื่ออ่าน และบันทึกข้อมูล ทำการจัดเรียงข้อมูล (Disk Defragment) ในไดร์ฟ ให้เป็นระเบียบ สามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของ HDD ได้

นอกเหนือไปจากการจัดเรียงข้อมูลแล้ว  อีกหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ HDD คือ การแบ่งพาร์ทิชัน เพราะพาร์ทิชันหลัก (Primary) ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows จะอยู่ที่รอบนอกของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งเป็นจุดที่สามารถอ่านข้อมูลได้เร็วที่สุด ส่วนพวกข้อมูลที่ไม่จำเป็นจะถูกจัดเก็บไว้ในพาร์ทิชันอื่น ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านในของแผ่นแม่เหล็ก ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเริ่มต้นพร้อมทำงานได้เร็วขึ้น

ทั้งหมดที่เรากล่าวถึงในสองย่อหน้าด้านบนนี้ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการทำงานของ SSD (Solid State Drive) เลยแม้แต่น้อย เพราะ SSD สามารถเข้าถึงข้อมูลในทุกส่วนได้ในพริบตาผ่านสัญญาณไฟฟ้า จะเก็บไฟล์ไว้ในพารืทิชั่นไหนก็ไม่ส่งผลต่อการทำงาน


หวังว่าเมื่ออ่านถึงบรรทัดนี้แล้ว คุณผู้อ่านจะเข้าใจแล้วว่า สรุปควรจะแบ่งพาร์ทิชันหรือเปล่า


ที่มา : www.makeuseof.com

0 %E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AE%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9F+%28Hard+Drive+Partitioning%29+%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2+%3F+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น