ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

7 ขั้นตอน วางแผนไทม์ไลน์ (Timeline Management) หรือ การบริหารโครงการ (Project Management) ให้มีประสิทธิภาพ

7 ขั้นตอน วางแผนไทม์ไลน์ (Timeline Management) หรือ การบริหารโครงการ (Project Management) ให้มีประสิทธิภาพ
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-vector/student-using-laptop-library_6163221.htm
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 45,181
เขียนโดย :
0 7+%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C+%28Timeline+Management%29+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3+%28Project+Management%29+%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

การวางแผนไทม์ไลน์ (Timeline Management)
หรือ บริหารโครงการ (Project Management)

หากคุณกำลังกังวลว่าโปรเจคงานที่ต้องรับผิดชอบอยู่ ควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี ? จะสามารถดำเนินงานได้เสร็จตามกำหนดการณ์หรือเปล่า ? หากรู้สึกแบบนั้นอยู่ล่ะก็ แม้สิ่งที่กำลังกังวลมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นจริง แต่อย่าให้สิ่งรบกวนเหล่านั้นมาทำให้งานของคุณเกิดความล่าช้าขึ้นไปอีก

บทความเกี่ยวกับ Project Management อื่นๆ

การวางแผนไทม์ไลน์ (Timeline Management) หรือ บริหารโครงการ (Project Management) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถช่วยให้โปรเจคงานมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยมันจะช่วยให้คุณเห็นภาพว่ามีงานกี่ชิ้นที่ต้องทำ กำหนดการต้องเสร็จภายในวันที่เท่าไหร่ ซึ่งหากเราวางแผนไทม์ไลน์ออกมาได้ดี และทำตามแผนที่วางไว้ได้ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่โปรเจคของคุณจะไม่ประสบความสำเร็จ

บทความนี้จะมาแนะนำเทคนิคการวางแผนไทม์ไลน์ หรือ บริหารโครงการ ว่าควรเริ่มต้นอย่างไร ? ทำอย่างไรแผนถึงจะออกมาดี ? ถ้าสนใจล่ะก็ เชิญอ่านต่อได้เลยครับ

เนื้อหาภายในบทความ

  1. ร่างสรุปสิ่งสำคัญของโปรเจคออกมาก่อน (Draft the Important Things First)
  2. สร้างโครงสร้าง การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ (Create a Structure to Share the Responsibilities)
  3. วางกรอบเวลา (Set Timeframe)
  4. วางกำหนดการงานที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน (Schedule Dependent Task)
  5. ทำแผนภูมิแกนต์ (Create Gantt Chart)
  6. แบ่งปันแผนไทม์ไลน์ของโปรเจคให้ทุกคนในทีม (Share Project Timeline to all People in the Team)
  7. ปรับเปลี่ยนแผนเมื่อมีความจำเป็น (Change the Plan if Needed)

1. ร่างสรุปสิ่งสำคัญของโปรเจคออกมาก่อน
(Draft the Important Things First)

เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนที่มีส่วนร่วมในโปรเจคเข้าใจความสำคัญของงานที่มีอยู่ตรงกัน เราจึงควรร่างสรุปสิ่งสำคัญของโปรเจคออกมาก่อน จะคิดว่ามันเป็นแผนการสำหรับโปรเจคฉบับย่อให้เข้มข้นก็ได้ โดยมันควรจะตอบคำถามสำคัญต่อไปนี้ได้

  1. วัตถุประสงค์ของโปรเจค คืออะไร ?
  2. เป้าหมายของโปรเจค คืออะไร ?
  3. อะไร คือ ปัจจัยที่บ่งบอกความสำเร็จของโปรเจคนี้ ?
  4. ต้องใช้ระยะเวลาในการทำนานเท่าไหร่ ?
  5. งบประมาณที่ต้องใช้

ทั้งนี้ รายละเอียดควรมีความกระชับ ย่อสั้น แต่ได้ใจความสำคัญ  รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องใส่เข้ามา เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในโปรเจคมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนที่สุด

การวางแผนไทม์ไลน์ (Timeline Management) หรือ บริหารโครงการ (Project Management)
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-vector/marketing-group-working-presentation_4950246.htm

2. สร้างโครงสร้าง การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
(Create a Structure to Share the Responsibilities)

หลังจากสรุปสิ่งสำคัญของโปรเจคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณจะต้องสร้างแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ขึ้นมา โดยเจ้าแผนปฏิบัติการนี้ ถือเป็นโครงสร้างการแบ่งงาน (Work Breakdown Structure หรือ WBS) สิ่งที่คุณต้องร่างขึ้นมาไม่ใช่การระบุว่า ใครต้องทำอะไรบ้างแค่นั้นนะ แต่ควรให้น้ำหนักความสำคัญถึงสิ่งที่ผู้รับผิดชอบงานดังกล่าวต้องนำเสนอ และกำหนดจุดบอกความคืบหน้าของงาน (Milestones) ซึ่งกฏเกณฑ์สำคัญในการวางโครงสร้างการแบ่งงาน มีดังนี้

1. กฏ 100%

งานทั้งหมดที่จะใส่ไว้ในโครงสร้าง จะมีเฉพาะงานที่จำเป็นต่อการทำให้โปรเจคเกิดความสำเร็จได้เท่านั้น งานที่ไม่จำเป็น หรือมีความซ้ำซ้อนไม่ควรถูกนำมาใส่ไว้ในนี้ และหากมีงานย่อย จะต้องเป็นงานย่อยที่สำคัญต่องานหลักเท่านั้น

2. งานต้องแยกออกจากกันอย่างชัดเจน

อย่าให้มีงานชนิดเดียวกันซ้ำซ้อนเป็นอันขาด เพราะมันจะไปละเมิดกฏ 100% และทำให้การคำนวณทรัพยากรที่ต้องใช้ในการทำโปรเจคเกิดข้อผิดพลาดได้

3. เน้นผลลัพธ์ ไม่ใช่การกระทำ

คุณควรให้ความสำคัญกับการส่งมอบผลลัพธ์ ไม่ใช่การกระทำ ตัวอย่างเช่น หากคุณวางแผนที่จะสร้างบ้านผลััพธ์ที่สำคัญแรกสุด คือ การวางรากฐาน เสาเข็มที่หนักแน่น ส่วนการขุดดิน, ติดตั้งเสา ฯลฯ พวกนี้เป็นการกระทำที่อาจทำให้การวางแผนเกิดความไขว้เขวหลุดออกจากเป้าหมายหลักได้ ดังนั้นอย่าให้ความสนใจกับ "การกระทำ" มากนัก แต่ให้เน้นที่ "ผลลัพธ์" วางแผนให้ดีว่าต้องทำอย่างไร ถึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีตามต้องการ

4. รู้จักกฏ 8/80

กฏในข้อนี้ จะกำหนดว่ากำหนดระยะเวลาของงาน จะมีอยู่แค่ 2 รูปแบบ คือ งานที่ใช้เวลาทำน้อยกว่า 8 ชั่วโมง และงานที่ใช้เวลานานกว่า 80 ชั่วโมง โดยเมื่อแบ่งงานโดยวิธีนี้แล้ว งานที่ใช้เวลานานกว่า 80 ชั่วโมง เราจะนำมันมาย่อยอีกครั้งให้เป็นงานย่อยที่ใช้เวลาทำน้อยกว่า 8 ชั่วโมง อีกครั้งหนึ่ง

5. การมอบหมาย

การมอบหมายหน้าที่งานควรจะเจาะจงเป็นรายบุคคล หรือทีม และไม่ควรมีงานที่มีผู้รับผิดชอบ หรือทีมทับซ้อนกันด้วย

3. วางกรอบเวลา (Set Timeframe)

เมื่อเราออกแบบโครงสร้างการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเสร็จแล้ว ขั้นตอนถัดมาเราควรจัดสรรเวลาที่ใช้ต้องใช้ในแต่ละงาน สิ่งสำคัญ คือ งานนี้คุณไม่ควรนั่งเทียน คิดเอาเองว่าแต่ละงานต้องใช้เวลานานขนาดไหน แต่ควรเรียกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานนั้น ๆ มาปรึกษาหารือกัน เพื่อให้ได้ระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม กรอบเวลาที่วางไว้ควรมีความสมดุล ต้องมากพอที่จะทำให้งานดังกล่าวเสร็จได้ แต่ก็ไม่นานไปจนกรอบเวลาต้องนานจนใช้เวลาเต็มพิกัด เพื่อให้พอเหลือเวลาสำรองเผื่อไว้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

การวางแผนไทม์ไลน์ (Timeline Management) หรือ บริหารโครงการ (Project Management)
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-vector/blogging-isometric-concept-with-content-plan-making-process-3d-illustration_13749351.htm

4. วางกำหนดการงานที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน (Schedule Dependent Task)

ตอนนี้เรารู้แล้วว่าแต่ละงานต้องใช้เวลาทำนานขนาดไหน แต่มันก็มักจะมีงานที่ไม่สามารถเริ่มทำได้ทันทีอยู่ มันอ่าจเป็นงานที่ต้องได้รับช่วงต่อจากคนอื่น หรือมีปัจจัยอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น คุณมีงานทาสี แต่คุณจะเริ่มทาสีไม่ได้จนกว่าช่างจะก่อผนังเสร็จ อะไรทำนองนี้ โดยส่วนใหญ่จะมีงานลักษณะนี้อยู่ 4 รูปแบบ คือ

  1. จบแล้วถึงเริ่ม : งาน "ก" ต้องทำเสร็จก่อน ถึงจะสามารถเริ่มงาน "ข" ได้
  2. จบแล้วถึงจบ : งาน "ข" ไม่สามารถทำให้เสร็จได้ จนกว่า งาน "ก" จะเสร็จ
  3. เริ่มแล้วถึงเริ่ม : งานที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ไม่สามารถเริ่มต้นได้ จนกว่าอีกงานจะเริ่ม เช่น คุณไม่สามารถวางท่อประปาได้ จนกว่าช่างประปาจะตัดการส่งน้ำให้คุณก่อน
  4. เริ่มแล้วถึงจบ : งานที่ต้องเริ่มทำก่อน เพื่อให้อีกงานเสร็จสมบูรณ์ได้ เช่น ถ้าคุณต้องการอัปเกรดซอฟต์แวร์ คุณจำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ใหม่ให้เรียบร้อยก่อน ถึงจะสามารถเลิกใช้ซอฟต์แวร์ตัวเก่าได้

ในโปรเขคขนาดใหญ่ มักมีหลายงานที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน จุดนี้จะทำให้แผนงานมีความซับซ้อนมากขึ้น อาจจะลองทำ Flowchart ก่อน เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น

7 โปรแกรมทำ Flowchart ฟรี ที่น่าดาวน์โหลดมาใช้

5. ทำแผนภูมิแกนต์ (Create Gantt Chart)

เมื่อแผนทุกอย่างเป็นรูปเป็นร่าง ก็ได้เวลาจำลองภาพแผนไทม์ไลน์ ให้โปรเจคของเราออกมา ซึ่งก็มีเครื่องมืออยู่หลายชนิดที่นิยมใช้งานกัน แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart)

แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart) สามารถช่วยให้มองเห็นภาพรวมของโปรเจคได้อย่างชัดเจน และเข้าใจง่าย วันที่เริ่ม, วันที่จบ, จุดบอกความคืบหน้าของงาน (Milestones) ฯลฯ โดยแผนภูมิแกนต์ควรทำให้สามารถอัปเดต และปรับแต่งข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ด้วย

แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart)
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-vector/gantt-chart-flat-design_9925717.htm

6. แบ่งปันแผนไทม์ไลน์ของโปรเจคให้ทุกคนในทีม
(Share Project Timeline to all People in the Team)

หลังจากวางแผนไทม์ไลน์ หรือ บริหารโครงการ (Project Management) ให้เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมแบ่งปันแผนให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมในโปรเจคได้รับรู้โดยทั่วกันด้วย เพื่อให้ทุกคนเข้าใจความสำคัญ และบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบมากขึ้น และพวกเขาอาจจะมีความคิด หรือข้อโต้แย้ง ที่อาจนำมาปรับปรุงแผนการให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมได้ด้วย

7. ปรับเปลี่ยนแผนเมื่อมีความจำเป็น (Change the Plan if Needed)

แผนที่วางไว้ไม่ใช่กฏที่ห้ามแก้ไข มันควรเปลี่ยนแปลง อัปเดตแก้ไขตามสถานการณ์ที่จำเป็นได้ ซึ่งการที่เรามีกรอบเวลาที่ชัดเจน จะช่วยให้คุณมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ โดยรู้ว่าจะส่งผลกระทบต่องานไหนบ้าง

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องทำเมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยนแผน คือ ควรชี้แจงให้ผู้มีส่วนร่วมเข้าใจเหตุผล และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วยในทันทีที่แผนเกิดความเปลี่ยนแปลง


ก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้ต้องรับผิดชอบโปรเจค สามารถวางแผนไทม์ไลน์ หรือ บริหารโครงการ (Project Management) ได้ดียิ่งขึ้นนะครับ


ที่มา : www.makeuseof.com

0 7+%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C+%28Timeline+Management%29+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3+%28Project+Management%29+%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น