ในกรณีที่เราอาจจะเผลอลบไฟล์สำคัญไปแบบไม่ตั้งใจ อย่าเพิ่งคิดว่าไฟล์นั้นจะสูญหายไปตลอดกาล เพราะว่ายังมีหนทางกู้คืนไฟล์กลับมาได้ แล้ว วิธีการกู้ข้อมูลนั้นมีกี่วิธี ต้องทำอย่างไรบ้าง มีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ? บทความนี้เราหาคำตอบมาให้ มาดูกันเลย
วิธีการกู้ข้อมูลแบ่งออกไป 2 แบบหลัก ๆ นั่นก็คือ
หากพบว่าเผลอลบข้อมูลหรือไดรฟ์ใด ๆ ออกไปโดยไม่ตั้งใจ เบื้องต้นขอให้ ใช้โปรแกรมกู้ข้อมูล ซึ่งโปรแกรมกู้ข้อมูลเบื้องต้นนั้นมีให้เลือกมากมายหลายแบบ รวมถึงประเภทของข้อมูลที่ใช้วิธีการกู้คืนที่ต่างกัน ซึ่งแบ่งตามประเภทข้อมูลดังนี้
การกู้ข้อมูลทั่วไป เช่น ไฟล์เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ ส่วนใหญ่ก็ใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทาง โปรแกรมกู้ข้อมูลโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมกู้ข้อมูล Recuva ขั้นตอนการใช้งานก็ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงเลือกประเภทของไฟล์ที่ต้องการกู้คืน ตำแหน่งของไดรฟ์ โฟลเดอร์ของไฟล์นั้น ๆ ถ้าลืมหรือไม่แน่ใจ เลือกให้ค้นหาทุกโฟลเดอร์ ทุกไดรฟ์ในคอมพิวเตอร์ก็ได้
ดาวน์โหลดโปรแกรมกู้ข้อมูล Recuva
รูปตัวอย่าง โปรแกรมกู้ข้อมูล Recuva
ส่วนการกู้คืนพาร์ทิชัน (Partition Recovery) จะเป็นการกู้คืนไดร์ฟ (Drive) ที่หายไปในคอมพิวเตอร์ ให้กลับคืนมา โดยโปรแกรมที่เราขอแนะนำคือ โปรแกรมกู้พาร์ทิชัน EaseUS Data Recovery Wizard จากนั้น ให้เลือกพาร์ทิชัน ที่ต้องการกู้คืนแล้วทำการสแกนหาพาร์ทิชัน (Scan Partition) ซึ่งถ้าหากพาร์ทิชันนั้นยังไม่ถูกเขียนทับ ก็ยังมีโอกาสที่จะกู้ขึ้นมาได้
แต่โปรแกรมก็จะประเมินระหว่างสแกนด้วยว่าพาร์ทิชันนั้น ๆ มีความเสียหายในระดับใด โอกาสกู้กลับมาสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน
ดาวน์โหลดโปรแกรมกู้พาร์ทิชัน EaseUS Data Recovery Wizard
รูปตัวอย่าง โปรแกรมกู้พาร์ทิชัน EaseUS Data Recovery Wizard
หากการกู้ข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์หรือด้วยตัวเองนั้นไม่สำเร็จ ก็ถึงเวลาแล้วที่จะส่งอุปกรณ์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญจัดการ นั่นก็คือ ศูนย์กู้ข้อมูล (Data Recovery Center) ต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอน อุปกรณ์ การตรวจเช็คนั้นจะแตกต่างจากการกู้ข้อมูลด้วยซอฟต์แวร์มาก ๆ แล้วภายในศูนย์บริการกู้ข้อมูลนั้นเป็นอย่างไร ?
ที่ศูนย์รับกู้ข้อมูล แตกต่างจากการกู้ข้อมูลทั่วไปตรงที่มีเครื่องมือพิเศษ สำหรับเชื่อมต่อ (Link) เข้ากับอุปกรณ์โดยเฉพาะ เช่น สายสำหรับอ่านแถบบันทึกข้อมูลของ SD Card กรณีที่ตัวการ์ดเสียหาย เป็นรอยบุบหรือแตกหัก, อุปกรณ์อ่านชิปเก็บข้อมูล ในกรณีที่หัวอ่านเสียหายแต่ชิปส่วนเก็บข้อมูลยังอยู่ดี
นอกจากอุปกรณ์และเทคโนโลยีแล้ว ที่ศูนย์บริการยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้คืนข้อมูลโดยเฉพาะ นอกจากจะใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยแล้ว ฝีมือของบุคลากรก็ต้องเชี่ยวชาญไม่แพ้กัน เพราะอุปกรณ์ที่ถูกนำมากู้ข้อมูลจะถูกตรวจเช็คทุกชิ้นส่วน ใช้อุปกรณ์ตรวจสอบและประมวลผลผ่านโปรแกรมเฉพาะ
หากอุปกรณ์และหน่วยความจำไม่สามารถกู้ด้วยซอฟต์แวร์ได้แล้ว หรือพบว่าการแสดงผลข้อมูลนั้นผิดปกติ ก็ควรที่จะส่งอุปกรณ์ให้ผู้เชี่ยวชาญและศูนย์กู้ข้อมูล (Data Recovery Center) เพื่อทำการตรวจสอบ แล้วอาการแบบใดที่บอกว่า ควรส่งไปกู้ข้อมูลได้แล้ว
ข้อมูลเพิ่มเติม : ฮาร์ดดิสก์ใกล้พัง อาการเป็นอย่างไร ? กับ 5 สัญญาณเตือน
เนื่องจาก ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive - HDD) และ โซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid State Drive - SSD) เป็นชนิดของหน่วยความจำที่แตกต่างกัน ฉะนั้น วิธีการกู้ข้อมูลจึงมีความแตกต่างกัน เนื่องจากส่วนประกอบของทั้งคู่มีความแตกต่าง อย่าง HDD ก็จะต้องเช็คหัวอ่านและจานเก็บข้อมูล
ในขณะที่ SSD ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ชิปตัวควบคุม (Controller Chip) สำหรับควบคุมการทำงาน และชิปหน่วยความจำ (Memory) สำหรับเก็บข้อมูล จึงทำให้ขั้นตอนการกู้ไฟล์ อุปกรณ์ที่ใช้แตกต่างกันนั่นเอง
ข้อมูลเพิ่มเติม : Harddisk คืออะไร ? SSD คืออะไร ? และแตกต่างกันอย่างไร ?
ราคาในการกู้คืนไฟล์ (อ้างอิงจาก Crecover.com) ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
ซึ่งทางศูนย์บริการจะแจ้งราคาแก่ลูกค้าหลังจากตรวจเช็คอาการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งราคาจาก crecover.com เริ่มต้นที่ 2,000 บาท ต่อ ฮาร์ดดิสก์ ความจุน้อยกว่า 500 GB. ส่วนการตรวจเช็คอาการก่อนกู้ข้อมูล ไม่เสียค่าบริการแต่อย่างใด ยกเว้นว่าอุปกรณ์นั้น ๆ มีการเปิดฝาครอบจานหรือพบว่าผ่านการกู้ข้อมูลจากศูนย์บริการอื่นมาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายการกู้ข้อมูลของศูนย์บริการแต่ละแห่งไม่เท่ากันเสมอไป ขอแนะนำให้ส่งอุปกรณ์เพื่อประเมินความเสียหายเสียก่อน เพราะราคาของแต่ละกรณีจากศูนย์บริการอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเสียหายและขั้นตอนการกู้ข้อมูลว่ามีความซับซ้อนมากน้อยแค่ไหน
สำหรับวิธีการกู้ข้อมูลทั้งสองแบบ ขอแนะนำว่ารู้ไว้ใช้เมื่อเกิดเหตุจำเป็น ซึ่งมีทั้งวิธีการกู้ข้อมูลด้วยตนเองและการส่งศูนย์บริการ แต่ทางที่ดี ควรหมั่นสำรองข้อมูลไว้ในอุปกรณ์หรือพื้นที่เก็บไฟล์บนคลาวด์ (Cloud Storage) อื่น ๆ อยู่เสมอ เพราะไม่รู้ว่าอนาคตจะเกิดเหตุการณ์อะไรที่ทำให้ข้อมูลสูญหายโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งทางเลือกในการกู้ข้อมูลที่หายไป ขอแนะนำให้เป็นวิธีสุดท้ายจะดีกว่า
|
Web Content Editor ท่านหนึ่ง นิยมการเล่นมือถือเป็นชีวิตจิตใจ |