ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

RAM, HDD และ SSD แตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมตารางเปรียบเทียบ

RAM, HDD และ SSD แตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมตารางเปรียบเทียบ

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 49,906
เขียนโดย :
0 RAM%2C+HDD+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+SSD+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

RAM, HDD และ SSD แตกต่างกันอย่างไร ?

อย่างที่เราทราบกันดีว่าการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นจำเป็นที่จะต้องมี CPU ในการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ซึ่งข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์นี้ก็จะถูกจัดเก็บเอาไว้ใน “หน่วยความจำ” เพื่อรอให้ หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู (CPU - Central Processing Unit) นั้น ดึงข้อมูล (Fetch) ออกไปใช้งาน เพื่อประมวลผล ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั้นก็ประกอบไปด้วยหน่วยความจำชั่วคราวอย่างแรม (RAM) และ หน่วยความจำถาวรอย่างฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) หรือ อุปกรณ์เก็บข้อมูล SSD เป็นต้น

บทความเกี่ยวกับ Computer อื่นๆ

เนื้อหาภายในบทความ

RAM คืออะไร ?
(What is RAM or Random Access Memory ?)

แรม (RAM) ชื่อเต็ม ๆ ในภาษาอังกฤษของมันคือ "Random-Access Memory" ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงสมาร์ทโฟนด้วยเช่นกัน โดย RAM เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว ที่ต้องมีไฟเลี้ยงในการเก็บข้อมูล ซึ่งถ้าหากเราปิดเครื่อง ข้อมูลที่ถูกบันทึกอยู่บน RAM ก็จะหายไปหมดเลย

แต่ว่าข้อได้เปรียบของ RAM คือมันมีความเร็วในการอ่าน-เขียนข้อมูล (Read / Write Speed) ที่สูงมาก ถ้าเทียบกับ อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบ SSD ก็ยังถือว่าเร็วกว่ามาก ทำให้มันถูกใช้เป็นที่พักข้อมูล เพื่อเตรียมไว้ให้นำไปใช้ประมวลผลต่อได้อย่างราบรื่น เพราะหากให้ CPU ดึงข้อมูลจากไดร์ฟ HDD หรือ SSD มันจะรับ-ส่งข้อมูลได้ช้าเกินไป

โดย RAM เป็นที่เก็บข้อมูลของซอฟต์แวร์ที่กำลังทำงานอยู่ ทั้ง CPU, GPU หรือฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ที่ต้องการใช้งาน สามารถดึงข้อมูลที่ถูกพักไว้บน RAM ไปทำการประมวลผลต่อได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลบน RAM จะถูกเก็บเอาไว้จนกว่าที่ซอฟต์แวร์จะปิดการทำงาน หรือรีสตาร์ตตัวอุปกรณ์

ข้อมูลเพิ่มเติม : RAM คืออะไร ? รู้จักหน่วยความจำหลัก ที่คอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องขาดไม่ได้

RAM, HDD และ SSD แตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมตารางเปรียบเทียบ
ภาพจาก : https://www.wallpaperflare.com/chip-green-gold-circuit-dell-laptop-pc-memory-ram-computer-chip-wallpaper-ghvkv

HDD คืออะไร ?
(What is HDD or Hard Disk Drive ?)

ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive - HDD) หรือที่เรารู้จักกันสั้นๆ ว่า ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ลักษณะคล้ายเครื่องเล่นแผ่นเสียงขนาดเล็กที่อยู่ภายในคอมพิวเตอร์ เป็นกล่องเหล็กสี่เหลี่ยมที่ประกอบไปด้วยแผ่นจานเก็บข้อมูล (Platter) รวมทั้งมีหัวอ่านและเขียน (Read / Write Head) ข้อมูล คล้ายเข็มเล่นแผ่นเสียงอยู่ภายในอีกด้วย โดยปกติแล้ว HDD สำหรับ Desktop จะมีขนาดของอุปกรณ์ (Form Factor) อยู่ที่ประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนของโน้ตบุ๊คจะอยู่ที่ 2.5 นิ้ว

RAM, HDD และ SSD แตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมตารางเปรียบเทียบ
ภาพจาก : https://www.eassos.jp/tutorial/hard-drive/hard-disk-types.php

โดย HDD นั้นจัดว่าเป็นหน่วยความจำภายนอกที่ทำหน้าที่ จัดเก็บข้อมูลต่างๆ บนคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม (Program), ข้อมูลเอกสาร (Document), รูปภาพ (Image), หนังภาพยนตร์ (Movie) เกม (Game) หรือข้อมูลสำคัญอื่นๆ ภายในคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งข้อมูลที่ฮาร์ดดิสก์จัดเก็บเอาไว้นี้จะคงอยู่ภายในเครื่องจนกว่าเราจะลบทิ้งด้วยตนเอง (หรือโดน ไวรัสคอมพิวเตอร์ ลบทิ้งไป)

เช่นเดียวกับ RAM คือ ความจุของ HDD ที่มากก็ไม่ได้ช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นมากตามไปด้วย เพราะความจุของ HDD นั้นคือความสามารถในการบันทึกข้อมูล ส่วนปัจจัยที่ทำให้ HDD ทำงานได้มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับรอบ RPM (Revolutions Per Minute) ในการหมุนของแผ่นจานเก็บข้อมูล (ขึ้นอยู่กับความแรงของมอเตอร์ในการหมุนแผ่นจานเก็บข้อมูล) เพราะถ้าหากรอบหมุนมีจำนวนมากก็จะส่งผลให้ฮาร์ดดิสก์สามารถ อ่านและเขียนข้อมูล ได้ไวมากขึ้นและทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ข้อมูลเพิ่มเติม : HDD คืออะไร ? รู้จักฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ที่ใช้มาตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน

SSD คืออะไร ?
(What is SSD or Solid-State Drive ?)

เอสเอสดี (Solid-State Drive - SSD) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีการทำงานคล้าย HDD คือเป็นหน่วยความจำภายนอกของคอมพิวเตอร์ แต่ SSD จะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมที่ประกอบไปด้วยแผงวงจรที่มีน้ำหนักเบากว่า และไม่ต้องใช้

โดย SSD จะแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ SATA SSD ขนาด 2.5 นิ้ว (เท่ากับ HDD ของโน้ตบุ๊ก สามารถใช้งานแทนกันได้, SSD M.2 , PCIe และ mSATA ที่มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ต้องต่อเข้ากับเมนบอร์ด

RAM, HDD และ SSD แตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมตารางเปรียบเทียบ
ภาพจาก : https://www.deskdecode.com/what-is-solid-state-drive-and-how-it-works/

SSD อาจเรียกได้ว่าเป็น HDD เวอร์ชันอัปเกรด เพราะนอกจากจะมีน้ำหนักที่เบากว่าและใช้พลังงานที่น้อยกว่าจึงช่วยประหยัดแบตเตอรี่ได้มากกว่าการใช้ HDD แล้ว SSD ยังสามารถประมวลผลข้อมูลต่างๆ ได้ไวกว่าเนื่องจากใช้การบันทึกข้อมูลในรูปแบบ Flash Memory (หลักการการทำงานจะคล้าย ๆ กับ USB Flash Drive) อีกด้วย แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัดจึงทำให้หลายบริษัทยังคงเลือกใช้งาน HDD อยู่ดังเดิม

แต่บางบริษัทก็มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ทั้ง HDD และ SSD ร่วมกันในการ เก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน ออกไป และส่วนมากแล้วจะใช้ SSD ในการเก็บข้อมูลของ ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) อย่าง Windows และโปรแกรมต่างๆ ภายในเครื่อง ในขณะที่ไฟล์ข้อมูลเอกสารในรูปแบบอื่นๆ จะจัดเก็บอยู่ใน HDD แทน

ข้อมูลเพิ่มเติม : SSD คืออะไร ? รู้จักอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่เน้นเร็ว เงียบ ประหยัด ทนทาน

ตารางเปรียบเทียบความต่างระหว่าง RAM และ HDD
(RAM and HDD Comparison Table)

RAM HDD / SSD
หน่วยความจำภายใน หรือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลหลัก
(Primary Storage)
หน่วยความจำภายนอก หรือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลรอง
(Secondary Storage)
เก็บข้อมูลได้ชั่วคราวจนกว่าจะปิดโปรแกรม/เครื่อง
(Volatile Memory)
เก็บข้อมูลไว้ได้จนกว่าจะลบทิ้ง
(Non-Volatile Memory)
อ่านและเขียนข้อมูลได้เร็วกว่า อ่านและเขียนข้อมูลได้ช้ากว่า
มีผลต่อความเร็วของคอมพิวเตอร์ ไม่มีผลต่อความเร็วของคอมพิวเตอร์

สรุปแล้วควรเพิ่ม RAM หรือ HDD ดีกว่ากัน ?
(Which one is better to be upgraded between RAM and HDD ?)

สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานของผู้ใช้ หากต้องการเพิ่มความจุของข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์นั้นก็แนะนำให้ เลือกซื้อ SSD น่าจะดีกว่า เพราะ SSD นั้นมีความเร็วของการอ่าน/เขียนข้อมูลที่มากกว่า HDD อยู่มาก ทำให้การถ่ายโอนข้อมูลมาสำรองไว้ใน Virtual Memory หรือหน่วยความจำเสมือนของคอมพิวเตอร์นั้นมีความรวดเร็วกว่าและช่วยประหยัดเวลาในดึงข้อมูลมาสำรองไว้ได้มากกว่าการใช้ HDD

แต่หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ให้สามารถรองรับการทำงานเฉพาะทางอย่างการตัดต่อวิดีโอ/ภาพที่มีความละเอียดสูง การเรนเดอร์ไฟล์ 3D หรือการคำนวณข้อมูลสเกลใหญ่ๆ และการเรียกใช้ข้อมูลจำนวนมากในเวลาเดียวกันก็ควรเลือกอัปเกรด RAM ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การอัปเกรดคอมพิวเตอร์ก็ควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับสเปคของ CPU หรือจำนวช่องเสียบ (Slot) ของ RAM บนเมนบอร์ด และปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะถ้าหากเลือกซื้อ RAM และ HDD หรือ SSD ที่สเปกแรงขึ้นจากเดิมแต่ไม่ได้ตรวจเช็คในส่วนนี้ก่อนก็อาจเสียเงินเปล่าเพราะไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ หรืออาจดึงประสิทธิภาพโดยรวมของคอมพิวเตอร์ให้ลดต่ำลงกว่าเดิมได้เช่นกัน

RAM, HDD และ SSD แตกต่างกันอย่างไร ? พร้อมตารางเปรียบเทียบ
ภาพจาก : https://www.crucial.fr/articles/about-memory/how-to-upgrade-desktop-memory


ที่มา : www.backblaze.com , techtorium.ac.nz , www.geeksforgeeks.org , www.cnet.com , in.pcmag.com , www.gamingscan.com , www.avast.com , www.itpro.co.uk , www.intel.com

0 RAM%2C+HDD+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+SSD+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น