ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

ทำไมกู้ไฟล์ หรือ กู้ข้อมูลแล้ว ยังเปิดไม่ได้ เกิดจากสาเหตุอะไร ?

ทำไมกู้ไฟล์ หรือ กู้ข้อมูลแล้ว ยังเปิดไม่ได้ เกิดจากสาเหตุอะไร ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 19,182
เขียนโดย :
0 %E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7+%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89+%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ทำไมกู้ไฟล์ หรือ กู้ข้อมูลแล้ว ยังเปิดไม่ได้ เกิดจากสาเหตุอะไร ?

ปัจจุบันนี้มี โปรแกรมกู้ข้อมูล (Data Recovery Software) ให้เลือกใช้งานอยู่หลายเจ้า และแต่ละเจ้าก็มีความสามารถที่รองรับไฟล์แต่ละประเภทที่ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงความสามารถในการกู้ข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็แตกต่างกัน แต่การใช้โปรแกรมช่วยกู้ไฟล์ บางครั้งหลายคนพบว่าไฟล์นั้นเปิดไม่ติด และคิดว่าสาเหตุนั้นมาจากโปรแกรม

บทความเกี่ยวกับ กู้ข้อมูล อื่นๆ

แต่ที่จริงยังมีอีกหลายสาเหตุ ที่ทำให้ไฟล์ที่กู้กลับมาไม่สมบูรณ์ แต่หลายคนไม่ทราบ บทความนี้เราจะมาทุกคนตอบคำถามว่า อาการไฟล์เสียหลังกู้ข้อมูล สามารถเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง และเราจะมีวิธีรับมืออย่างไร หรือสามารถแก้ไขได้หรือไม่ ? มาหาคำตอบกันเลย ...

เนื้อหาภายในบทความ

ทำไมถึงกู้ไฟล์กลับมาแล้ว แต่ไฟล์เสีย ?

แน่นอนว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมกู้ไฟล์ต่าง ๆ ก็มีบอกคุณสมบัติชัดเจนว่าสามารถช่วยนำข้อมูลที่ถูกลบ หรือ เสียหายกลับมาได้ แต่บางคนยังพบเจอปัญหาอย่างการ กู้ไฟล์ไม่สำเร็จ หรือเปิดไม่ได้เสียอย่างนั้น สิ่งแรกเราสามารถตรวจสอบก่อนว่า โปรแกรมที่ใช้งานอยู่มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน และ รองรับไฟล์นามสกุลที่ต้องการหรือไม่ แต่ถ้าคุณสมบัติทั้งหมดผ่านแล้ว แต่ยังพบปัญหาอยู่ นั่นอาจมีความเป็นไปได้ ว่าความผิดปกติไม่ได้เกิดขึ้นจากซอฟต์แวร์ แต่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

อุปกรณ์เก็บข้อมูล ได้รับความเสียหายทางกายภาพ (Physically Damaged Storage Media)

ฮาร์ดแวร์ได้รับความเสียหายทางกายภาพ

ถ้าเกิดพังขนาดนี้เหมือนในหนัง เวลาคนร้ายทำลายหลักฐานข้อมูลทางดิจิทัล ต่อให้เป็น FBI หรือ แฮกเกอร์ที่เก่งแค่ไหน ก็ไม่สามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้สมบูรณ์แน่นอนครับ คงไม่ต้องพูดถึงการใช้โปรแกรมกู้ไฟล์เลย

อาการเซกเตอร์เสียบน อุปกรณ์เก็บข้อมูล (Bad Sector on Storage Media)

อาการ 'เซกเตอร์เสีย'

เข้าเรื่องจริงจังกันบ้าง...อาการเซกเตอร์เสีย (Bad Sector) คล้ายกับอวัยวะที่บกพร่องในร่างกายของฮาร์ดดิสก์ เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ทำงานโดยการเขียนและอ่านข้อมูลบนแผ่นกลม ๆ ที่หน้าตาเหมือนซีดีตามภาพ โดยจะแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ตามเส้นรอบวงระหว่างจุดศูนย์กลาง เรียกว่า เซกเตอร์ (Sector) และ แทร็ก (Track) 

อาการ 'เซกเตอร์เสีย'

เมื่อเซกเตอร์บางส่วนเริ่มเสียหายจากความร้อนหรือฝุ่น รวมถึงความผิดพลาดของระบบคอมพิวเตอร์เอง เราจะเรียกส่วนนั้นว่า "Bad Sector" หรือ "เซกเตอร์เสีย" อาการเซกเตอร์เสียสามารถเกิดได้เมื่อคุณใช้งานอุปกรณ์นั้นไปนาน ๆ ซึ่งจะส่งผลให้คอมพิวเตอร์มีอาการหน้าจอฟ้า, ฮาร์ดดิสก์มีเสียงแปลก ๆ, Windows บู๊ตไม่ขึ้น, ข้อมูลสูญหาย หรืออาการอื่น ๆ ตามมา 

เช่นเดียวกับเรื่องของการกู้ไฟล์ด้วยเช่นกัน เพราะหากมีแม้แต่โครงสร้างข้อมูลเพียงเศษเสี้ยวเดียวที่ถูกบันทึกลงในเซกเตอร์เสีย คุณจะพบว่าโปรแกรมสามารถตรวจเจอไฟล์และกู้กลับมาได้ แต่เอามาได้ไม่ครบทุกส่วน เหมือนได้ร่างกายกลับมาไม่ครบ 32 จึงเป็นสาเหตุที่กู้ไฟล์มาแล้วเปิดไม่ได้นั่นเองครับ

โดนเข้ารหัสจากมัลแวร์ต่างๆ (Encrypting Malware Attack)

โดนเข้ารหัสจากไวรัส และ มัลแวร์

ปัญหาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ล้วนหนีไม่พ้น มัลแวร์ (Malware) อย่าง ไวรัส (Virus) หรือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ชนิดต่างๆ เช่นเดียวกับการกู้ข้อมูล หลายสาเหตุที่กู้ข้อมูลกลับมาได้ แต่ไฟล์เสีย เกิดจากไวรัสบางตัวสามารถเข้ารหัสไฟล์ของคุณ และ ป้องกันการซ่อมแซมได้ด้วย ทางที่ดีคุณต้องเริ่มจัดการไวรัสเสียก่อน

การเขียนข้อมูลทับบน อุปกรณ์เก็บข้อมูล (Overwriting Data on Storage Media)

การเขียนข้อมูลทับบนอุปกรณ์เก็บข้อมูล

การกู้ไฟล์สำเร็จหรือไม่ ก็สามารถขึ้นอยู่กับเวลาด้วยเช่นกัน ถ้าเกิดมีการลบไฟล์ หรือ ข้อมูลออกไป ตามหลักแล้วข้อมูลนั้นจะยังไม่ถูกลบ แต่ระบบได้ทำสัญลักษณ์ "ช่องว่าง" ไว้ในพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ เพื่อรอการเขียนข้อมูลทับลงไปใหม่เท่านั้น และเมื่อมีการเซฟข้อมูลใหม่ ระบบจะตรวจหา "ช่องว่าง" และเขียนทับข้อมูลเดิม นั่นหมายความว่า ในเวลาที่ไฟล์ถูกลบ หรือ สูญหาย จะมีช่วงหนึ่งที่คุณสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้ในตอนที่มันยังไม่ถูกเขียนทับบนฮาร์ดดิสก์

ถึงแม้ว่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แฟลชไดร์ฟ (USB Flash Drive), อุปกรณ์เก็บข้อมูล SSD, ฮาร์ดดิสก์ภายนอก (External Harddisk) ต่าง ๆ จะมีกระบวนการทำงานไม่เหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือทุกอุปกรณ์ มีการเขียนทับข้อมูลลักษณะดังกล่าวที่คล้ายกัน และนี่คือสาเหตุหลัก ๆ ที่พบได้บ่อยเมื่อคุณทำการกู้ไฟล์และพบว่ากู้ไม่ได้ หรือ ไฟล์เสีย

การบันทึกข้อมูล แบบกระจัดกระจายบน อุปกรณ์เก็บข้อมูล (Excessive Fragmentation on Harddisk)

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น การทำงานของฮาร์ดดิสก์ จะบันทึกข้อมูลลงในเซกเตอร์ตามวงกลม ซึ่งในช่วงแรกก็จะเขียนข้อมูลเป็นแนวยาวต่อกันไปเรื่อย ๆ แต่เมื่อมีการเขียนข้อมูลทับกันบ่อย ๆ จะทำให้เกิดช่องโหว่บนพื้นที่เก็บข้อมูล เนื่องจากแต่ละข้อมูลมีโครงสร้างและขนาดไฟล์ไม่เท่ากัน ทำให้เวลาบันทึกใหม่มักมีส่วนที่เกินออกมา และระบบจะแยกส่วนไฟล์ไปบันทึกบนช่องว่างอื่น ๆ ทำให้เกิดการกระจายตัวของโครงสร้างไฟล์ และถ้าใช้งานไปนาน ๆ หมายความว่าไฟล์ของคุณ ไม่ได้เขียนเรียงติดกันบนฮาร์ดดิสก์ แต่กระจัดกระจายกันไป จนทำให้ระบบเขียนและอ่านข้อมูลยากขึ้น ส่งผลไปถึงการทำงานอื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์

การบันทึกข้อมูลแบบกระจัดกระจายบนอุปกรณ์
ฮาร์ดดิสก์ที่เกิดภาวะการกระจายตัวของไฟล์ (ภาพซ้าย) / ฮาร์ดดิสก์ที่บันทึกข้อมูลเรียงติดกันตามปกติ (ภาพขวา)

และการกู้ไฟล์ที่ไม่สมบูรณ์ ก็เกิดจากโครงสร้างไฟล์บนฮาร์ดดิสก์ที่กระจายตัวกัน ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าในการกู้ข้อมูลกลับมาอาจมีข้อผิดพลาด นั่นเอง 

อย่างไรก็ตามมีโปรแกรม เช่น 'Diskeeper' ซึ่งเป็นโปรแกรมประเภท Defragmentation ซึ่งช่วยให้คุณสามารถจัดระเบียบข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ใหม่ได้โดยการจับข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันมาเขียนเรียงต่อกัน และโปรแกรมประเภทนี้ก็มีหลายเจ้าให้ใช้งาน มันสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ และ ยังช่วยลดความเสี่ยงในการกู้ไฟล์ไม่สำเร็จได้อีกด้วย

พาร์ทิชันเสียหาย สูญหาย เผลอลบ (Damaged or Lost or Deleted Parition)

ผลที่เกิดขึ้นจาก พาร์ทิชัน (Parition) สูญหาย หรือ เผลอลบออกไป การกู้กลับมาได้ด้วยโปรแกรมยังมีโอกาสค่อนข้างสูง และได้ไฟล์กลับมาครบถ้วน เว้นเสียแต่คุณจะมีการแบ่งพาร์ทิชันใหม่หรือสร้างใหม่ให้มันเขียนทับของเดิมไปแล้ว แต่หากไม่ได้ทำที่กล่าวมา แต่กู้มาแล้วยังพบว่าเปิดไม่ได้ แน่นอนว่าอาจเป็นข้อบกพร่องที่ฮาร์ดแวร์ ที่เกิดจาก เซกเตอร์เสีย หรือ ไวรัส รวมถีงความเป็นไปได้ที่ไฟล์ระบบจะเสียด้วย

พาร์ทิชั่นเสียหาย

หลีกเลี่ยงความเสียหายอย่างไร ?

ความเป็นไปได้ที่จะกู้ไฟล์จาก ฮาร์ดแวร์ที่เสียหายอาจเป็นไปได้ยาก และขึ้นอยู่กับดวงผู้ใช้ด้วยเหมือนกัน บางคนสามารถกู้ข้อมูลได้กลับมาครบถ้วนสมบูรณ์แต่บางคนกู้มาแล้วไฟล์เสีย ทั้งที่ทำตามคำแนะนำ และ ลองใช้โปรแกรมเหมือนกันทั้งหมด ดังนั้น โปรแกรมกู้ข้อมูล และ โปรแกรมซ่อมไฟล์ที่น่าเชื่อถือ ก็สามารถช่วยคุณได้ตามความสามารถของมัน

ทางที่ดีควรเตรียมความพร้อมแต่เนิ่น ๆ และหมั่นเช็คสุขภาพของฮาร์ดแวร์อยู่สม่ำเสมอ เช่น ใช้โปรแกรมอย่าง CheckDrive (โปรแกรมเช็คสุขภาพ HDD ซ่อมฮาร์ดดิสก์ ฟรี) เป็นต้น หรือเราสามารถตรวจสอบใน PC เองง่าย ๆ ดังนี้

  • เปิด "This PC" 
  • และเลือกไดรฟ์ที่ต้องการเช่น C: > Properties 
  • กดคลิกขวาไปที่ Tools
  • เลือกกดที่ปุ่ม Check จากนั้นคลิก Scan
  • รอให้เสร็จและคุณจะทราบผลลัพธ์ 
สไลด์รูปภาพ

 หลีกเลี่ยงความเสียหายอย่างไร ?หลีกเลี่ยงความเสียหายอย่างไร ?หลีกเลี่ยงความเสียหายอย่างไร ?หลีกเลี่ยงความเสียหายอย่างไร ?

นอกจากนี้การติดตั้งซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสก็สำคัญเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการโจมตีจาก มัลแวร์ และ ไวรัส ไว้แต่เนิ่น ๆ รวมถึงหมั่นสำรองข้อมูลไว้ต่างอุปกรณ์เสมอ นั่นก็เป็นอีกวิธีที่พอจะป้องกันได้

เราจะหลีกเลี่ยงการเขียนข้อมูลทับได้อย่างไร ?

เรื่องการเขียนทับข้อมูลตอนนี้ทุกคนทราบแล้วว่า ระบบจะทำสัญลักษณ์บนพื้นที่ไฟล์ที่ถูกลบ และรอวันเขียนข้อมูลใหม่ทับของเก่าบนตัวฮาร์ดแวร์ เท่ากับว่าตราบใดที่ข้อมูลเก่ายังไม่โดนเขียนทับลงไปบนฮาร์ดแวร์ คุณก็ยังสามารถกู้กลับมาบนระบบได้ ดังนั้นหากต้องการหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการเขียนทับข้อมูล คุณสามารถทำตามคำแนะนำได้ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้งานอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลดังกล่าว ไม่บันทึก ไม่เซฟข้อมูลเก็บใหม่ลงไป
  • หากพบว่ามีไฟล์เสียหาย หรือหายไปจากคอม ถ้าเป็นไปได้พยายามอย่าใช้ PC เครื่องเดียวกัน ค้นหาวิธีแก้ไข
  • อย่าลงโปรแกรมกู้ข้อมูลบนพื้นที่ Drive เดียวกับที่ข้อมูลหาย
  • อย่ากู้ข้อมูลกลับมาไว้ในพื้นที่ Drive เดียวกับที่ข้อมูลหาย
  • อย่ากู้ข้อมูลด้วยระบบ Built-in Recovery CD / DVD ในระบบปฏิบัติการ Windows

สรุปเกี่ยวกับการกู้ข้อมูล

ข้อมูลทางดิจิทัลมีความสำคัญสำหรับทุกคน เราควรให้ความสนใจในการปกป้องมันไว้แต่เนิ่น ๆ เพราะเทคโนโลยีอย่างเครื่องมือกู้คืนไฟล์ อาจสามารถช่วย หรือ ไม่ช่วยอะไรเลยก็ได้ การได้ทราบสาเหตุต่าง ๆ และความเป็นไปได้ก่อน จะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณสามารถเตรียมการรับมือ และ เพิ่มโอกาสในการกู้ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ กลับมาได้อย่างปลอดภัย


ที่มา : hetmanrecovery.com , en.wikipedia.org , recoverit.wondershare.com , condusiv.com , www.minitool.com

0 %E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7+%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89+%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น