คนทั่วไปน่าจะคุ้นชินกับการเรียกรูปแบบตัวอักษรด้วยคำว่า "ฟอนต์" (Font) กันเป็นอย่างดี แต่จริง ๆ มันมีอีกคำหนึ่ง คือ "ไทป์เฟซ" (Typeface)" ทั้งสองคำนี้เป็นคำที่ปรากฏอยู่ในวงการพิมพ์มาอย่างยาวนาน และบ่อยครั้งที่มีการใช้สองคำนี้สลับกันโดยที่ไม่มีปัญหาเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเชิงเทคนิคแล้ว คำว่า "Font" และ "Typeface" นั้น มีความหมายที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในการทำงานระดับมืออาชีพ การใช้สองคำนี้แทนกันแบบผิด ๆ อาจทำให้ได้ผลลัพธ์งานที่ผิดพลาดไม่ตรงตามโจทย์ที่สื่อสารก็เป็นได้
ในบทความนี้เลยจะมาอธิบายความแตกต่างของคำว่า "Font" และ "Typeface" ให้เข้าใจกันมากขึ้น จะได้ใช้งานกันได้อย่างถูกต้อง
มาเริ่มต้นด้วยคำที่เราคุ้นเคยกันดีกว่า นั่นคือคำว่า "Font"
โดยคำว่า "ฟอนต์ (Font)" หมายถึง ความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักเส้น และขนาดของ Typeface การที่เราเลือกใช้งานตัวอักษรแบบตัวบาง (Light) ตัวหนา (Bold), ตัวเอียง (Italic), ขนาดตัวอักษร 8, 10,..., 16,18,... ฯลฯ อะไรพวกนี้ เราจะเรียกว่า Font นั่นเอง
Typeface นั้นคือชุดรูปแบบตัวอักษร โดยการออกแบบ Typeface อาจจะมี Font แค่รูปแบบเดียว หรือมี Font หลายรูปแบบก็ได้
เช่น Helvetica เป็นชื่อของ Typeface ซึ่งเวลาใช้งานเราก็จะเลือกรูปแบบ Font ได้ว่าจะใช้ Helvetica Bold หรือ Helvetica Italic ได้
ภาพจาก : https://mymodernmet.com/helvetica-typeface/
หากคุณอยู่ในวงการสิ่งพิมพ์ หรืองานออกแบบ คุณน่าจะเคยได้ยินกับคำว่า "ฟอนต์แบบ Serif" หรือ "ฟอนต์แบบ Sans Serif" กันมาบ้าง อันที่จริง ถ้าจะให้พูดให้ถูกต้อง เราควรจะเรียกว่า "ไทป์เฟซแบบ ..." จึงจะถูกต้อง
โดยในความเป็นจริงนั้น Typeface บนโลกใบนี้นั้น มีจำนวนมหาศาล แต่มันสามารถแบ่งออกเป็นได้ 5 รูปแบบใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
Serif เป็นรูปแบบ Typeface ที่เก่าแก่ที่สุด หากไปค้นหาภาพสิ่งพิมพ์เก่า ๆ จะพบว่าจะเป็น Serif ทั้งหมด แต่ถึงจะบอกว่าเก่า ปัจจุบันก็ยังเป็นรูปแบบ Typeface ที่ยังสามารถพบเห็นได้เป็นประจำ
สำหรับ Typeface แบบ Serif สามารถดูได้จากการที่มันมี "เท้า (Foot)" อยู่ในการออกแบบตัวอักษร ซึ่งคำว่า Serif นั้นแปลว่า เส้นขวางที่เท้าของตัวอักษรโรมัน และยังเป็นคำที่พ้องเสียงกับคำว่า "Schreef" ในภาษาดัตช์ที่แปลว่า "เส้น" อีกด้วย
Transitional Serifs
ภาพจาก : https://visme.co/blog/types-of-fonts/
Sans เป็นภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า "ปราศจาก" เมื่อรวมกับคำว่า "Serif" มันจึงสื่อถึงการออกแบบตัวอักษรที่ไม่มี "เท้า" นั่นเอง
หาก Serif เป็นรูปแบบ Typeface ที่ให้ความรู้สึกเก่าแก่ Sans Serif ก็เป็น Font ที่ออกแบบมาให้ดูมีความทันสมัย ไม่เชื่อลองดูตามเว็บไซต์ หรือโปสเตอร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ หรือในเว็บเบราว์เซอร์ที่คุณผู้อ่านกำลังใช้งานอยู่ ลองสังเกตเมนูต่าง ๆ ภายในโปรแกรม ก็จะเห็นว่าใช้ Font แบบ Sans Serif ทั้งหมด
Futara Sans Serif
ภาพจาก : https://visme.co/blog/types-of-fonts/
โดยพื้นฐานแล้ว Slab Serif เป็น Typeface แบบ Serif รูปแบบหนึ่ง แต่รูปแบบการออกแบบของมันได้รับความนิยมจนบางคนแยกมันออกมาเป็น Typeface แบบใหม่ขึ้นมา
Slab Serif ถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นของศตวรรธที่ 19 ที่สำนักพิมพ์ต้องการรูปแบบ Typeface ที่มีความเตะตาคนที่พบเห็น ซึ่งนักออกแบบก็เลยนำ Serif มาปรับปรุงให้เส้นตัวอักษรมีความหนามากกว่าปกติ
Slab Serif
ภาพจาก : https://visme.co/blog/types-of-fonts/
สำหรับ Typeface แบบ Script หรือที่หลายคนชอบเรียกกันว่า Font ลายมือ เป็น Typeface ที่ออกแบบมาให้เหมือนกับลายมือ มีความโค้งไม่ตรงทื่อเหมือนไทป์เฟซแบบตัวพิมพ์
แม้ว่าTypeface แบบ Script ส่วนใหญ่นั้น จะอ่านค่อนข้างยาก แต่ก็ให้ความรู้สึกที่สง่างามดูเรียบหรู มันจึงนิยมใช้ในพวกใบประกาศนียบัตร หรือบัตรเชิญเข้าร่วมงานต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีรายละเอียดข้อมูลมากนัก
Formal Script
ภาพจาก : https://visme.co/blog/types-of-fonts/
Decorative เป็น Typeface ที่ค่อนข้างใหญ่ และมีความหลากหลายมากที่สุด Typeface ประเภทนี้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานป้าย, พาดหัวประเด็นสำคัญ หรือใช้ในการพิมพ์ชื่อโครงการต่าง ๆ ที่ต้องการความโดดเด่น และหนักแน่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
Typeface ประเภทนี้มีอิสระในการออกแบบค่อนข้างสูงสมกับชื่อ Decorative ที่แปลว่า "ตกแต่ง" นักออกแบบอาจจะใส่ลายเส้น, ภาพการ์ตูน หรือลวดลายต่าง ๆ เข้าไปใน Typeface
Grunge
ภาพจาก : https://visme.co/blog/types-of-fonts/
หากคุณสนทนาเกี่ยวกับ Font และ Typeface อยู่ คุณอาจจะได้ยินคำว่า Typography ด้วย
โดยคำว่า "Typography" นั้นหมายถึงการออกแบบวิธีจัดวางตัวอักษร เพื่อให้งานออกแบบออกมีความสุนทรีย์สวยงาม และเหมาะสมกับข้อความที่ต้องการจะสื่อสาร ทั้งนี้ Typography ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่ออกแบบตัวอักษรขึ้นมาเอง ส่วนใหญ่เป็นเพียงคนที่ทำงานโดยใช้ Font และ Typeface ที่มีอยู่แล้ว
ตัวอย่างการ Typography ของ Aleksandar Popovski
ภาพจาก : https://dribbble.com/shots/7015147-The-Joker-Typography-Illustration
รู้จักคำว่า Typography กันไปแล้ว เราเลยคิดว่าควรจะเอ่ยถึงคำว่า "Calligrapher" ด้วย
Calligraphr หมายถึงการประดิษฐ์ตัวอักษร หน้าตาของ Typeface ต่าง ๆ ที่เราซื้อ หรือดาวน์โหลดมาใช้งาน ล้วนแต่ผ่านการออกแบบขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น โดยผู้ที่ออกแบบจะเรียกว่า Calligrapher ซึ่งผู้ออกแบบไม่จำเป็นจ้องออกแบบมาให้ครบทุกตัวอักษรก็ได้ บางคนก็ออกแบบตัวอักษรขึ้นมาใหม่เพื่อใช้กับงานที่ต้องการเพียงไม่กี่ตัว
คำว่าไทยแลนด์ ที่สามารถอ่านได้ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
ภาพจาก : https://www.facebook.com/bukbabor/posts/10225248484091743
ก็หวังว่า คุณผู้อ่านจะเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง Font กับ Typeface กันแล้วนะ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |