ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
THAIWARE.COM | ทิปส์ไอที
 

เปลี่ยนชีวิตหลังความตายให้เป็นดิจิทัล ตัวตายแต่โปรไฟล์ยังอยู่ (ตลอดไป…)

เปลี่ยนชีวิตหลังความตายให้เป็นดิจิทัล ตัวตายแต่โปรไฟล์ยังอยู่ (ตลอดไป…)

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 4,372
เขียนโดย :
0 %E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5+%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88+%28%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9B%E2%80%A6%29
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ตัวตายแต่โปรไฟล์ยังอยู่ (ตลอดไป…)

ชีวิตอมตะเป็นหนึ่งในสุดยอดความปรารถนาของมนุษย์

บทความเกี่ยวกับ Artificial Intelligence อื่นๆ

หรือจะเรียกว่าเป็น จุดที่สร้างความเจ็บปวด (Pain Point) อย่างหนึ่งที่ฝังใน DNA ของเราทุกคนก็ว่าได้ และแน่นอนว่าเมื่อมี Pain Point ที่ไหนเราก็จะเห็นสตาร์ทอัพที่นั่น เพราะ Pain Point คือโจทย์ธุรกิจที่รอการแก้ไข มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ตลอดหลายปีที่ผ่านมามีสตาร์ทอัพมากมายเรียงหน้าเสนอไอเดียแก้ปัญหา “คนไม่อยากตาย”

บทความนี้จะพาไปสำรวจสตาร์ทอัพที่สัญญากับเราว่าต่อไปนี้เราจะมีชีวิตอยู่ตลอดไป

เนื้อหาภายในบทความ

 

Humai จะพาเราไปมีชีวิตนิรันดร์
(Humai will lead us to eternal life)

ประมาณปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) สตาร์ทอัพจากออสเตรเลียชื่อ Humai หรือ "Human Resurrection through Artificial Intelligence" ประกาศว่าจะพัฒนาระบบที่ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญดังนี้ 

ส่วนการแช่แข็งสมองของผู้ต้องการมีชีวิตต่อไป

ด้วยเทคโนโลยี Cryonics หรือการเก็บรักษาร่างกายหรืออวัยวะด้วยอุณหภูมิต่ำ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ใครเคยดูสารคดีเรื่อง Hope Frozen (ค.ศ. 2020 / พ.ศ. 2563) ที่ครอบครัวเนาวรัตน์พงษ์แช่แข็งร่างของลูกสาว 2 ขวบที่จากไปด้วยโรคมะเร็งสมองก็คือเทคนิคนี้ครับ โดยทางครอบครัวหวังว่าวันข้างหน้าเมื่อเทคโนโลยีการแพทย์ดีขึ้น จะสามารถรักษามะเร็งสมองชนิดนี้ได้ เมื่อนั้นลูกสาวก็จะกลับมามีชีวิตได้อีกครั้ง

ส่วนปัญญาประดิษฐ์และนาโนเทคโนโลยีที่ใช้ในการสแกนบุคลิกภาพส่วนบุคคล

โดยระบบนี้จะสามารถบันทึกสไตล์การสนทนา ลักษณะท่าทาง พฤติกรรม การเคลื่อนไหวร่างกาย และเก็บสำรองข้อมูลเอาไว้ เทคโนโลยีนี้ ปัจจุบันก็พอมีให้เห็นบ้าง ลองนึกว่าถ้าเราเก็บข้อความจากทวิตเตอร์ของผู้ใช้มา แล้วเก็บตัวอย่างเสียงมาด้วยก็สามารถสร้างเป็น แชทบอท (Chatbot) ที่สนทนาด้วยเสียงได้แล้ว นอกจากนี้แล้ว เทคโนโลยี AI ยังสามารถเรียนรู้วิธีการพูดหรือเลียนแบบท่าทางของคนได้อีกด้วย

เป้าหมายสูงสุดของ Humai ที่จะสามารถสร้างร่างกายเทียมของคนขึ้นมาได้ทั้งร่าง

เพื่อทำการฝังสมองที่แช่แข็งไว้แล้วโหลดข้อมูลที่สำรองไว้ก่อนหน้า จากนั้นทำการปรับปรุงเซลล์สมองที่อาจเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาได้ เมื่อทำได้แล้วสมองก็จะสามารถสั่งงานร่างกายเทียมได้ด้วยความคิดนั่นเอง โดยทางทีมงานคาดว่าจะสามารถทำได้ภายในปี ค.ศ. 2045 (พ.ศ. 2588)

มนุษย์จะสามารถถอดสมองไปแช่แข็ง แล้วเอาความทรงจำไปเก็บไว้เพื่อกลับมามีชีวิตอีกครั้งได้หรือไม่คงต้องอดใจรออีกประมาณ 20 ปี แต่ล่าสุดตอนนี้เว็บของเขา อย่าง humaitech.com ก็ปลิวแล้ว ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กก็ปลิวแล้ว ก็อาจจะลุ้นยากหน่อยนะครับ

ก่อนตายกลายร่างเป็นมนุษย์ดิจิทัลด้วย Eternime
(Before death, transform into a digital human with Eternime)

ถ้าความฝันที่จะเก็บสมองไว้ดูจะไกลเกินเอื้อม การเก็บรักษาตัวตนของเราในรูปแบบดิจิทัลเพื่อเป็นมรดกให้ลูกหลานก็อาจดูเป็นไปได้มากกว่า ถ้าเราสามารถเก็บ รอยเท้าดิจิทัล (Digital Footprint) ของผู้ใช้หนึ่งได้มากพอ จากบริการโซเชียลมีเดียทุกค่าย ลองคิดดูว่าถ้าเราโพสต์ความคิดบนเฟซบุ๊ก ถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอบนอินสตาแกรม โหลดคลิปลงติ๊กต็อก ข้อมูลทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความของเราจะมีมากมายจน เทคโนโลยี AI จะสามารถแปลงสิ่งเหล่านี้เป็นร่างจำลองของเราในโลกดิจิทัลได้

สตาร์ทอัพ Eternime เสนอแนวคิดนี้และเริ่มพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) โดยแอป Eternime จะเป็น Chatbot ที่สวมบทนักชีวประวัติส่วนตัวของเรา คือนอกจากจะคอยเก็บข้อมูลจากแอปฯ อื่น ๆ ที่เราใช้แล้วยังสอดแทรกคำถามอื่น เช่นถ้าเราเพิ่มเพื่อนในเฟซบุ๊ก มันก็จะถามต่อว่าไปรู้จักกันที่ไหน การใช้แอป Eternime นั้นคล้าย ๆ กับการบันทึกไดอารีดิจิทัลไปเรื่อย ๆ และสุดท้ายมันก็จะสามารถเป็นตัวแทนของเราได้เมื่อเราจากไปนั่นเอง

ฟังดูก็น่าจะเป็นประโยชน์ เพราะทางผู้พัฒนาหวังว่าการเก็บรักษาเรื่องราวของเราไว้ในรูปแบบนี้จะช่วยให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ แทนที่เรื่องราวเหล่านั้นจะสูญหายไปตามกาลเวลา 

ไอเดียของแอปฯ นี้ก็กลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกตั้งแต่ตอนที่ผู้ก่อตั้งไปเข้าค่าย Entrepreneurship Development Program กับ MIT เพราะมันโดนใจผู้คนมากมายโดยเฉพาะคนที่กำลังจะสูญเสียคนที่รักและครอบครัวที่มีสมาชิกป่วยระยะสุดท้าย เพราะการเก็บความทรงจำของคนที่มีความหมายในชีวิตเราก่อนที่จะไม่มีโอกาสเป็นเรื่องที่มนุษย์ทั่วไปโหยหาอยู่เสมอ

แต่จากการสำรวจล่าสุด เว็บ eterni.me ก็ Redirect ไปที่บทความของผู้ก่อตั้งบน Medium เฟซบุ๊กก็นิ่งไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) แล้ว หาแอปพลิเคชันบน Google Play หรือ App Store ก็ไม่มี หรือไอเดียการสร้างร่างอวตารของเราไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อคนรุ่นหลังอาจจะยังท้าทายเกินไป น่าขนลุกเกินไปในปัจจุบัน ?

ต้อนรับแขกผู้ร่วมงานศพของเราด้วยตัวเองกับ StoryFile
(Welcome funeral guests with a Storyfile)

หากไอเดียการโอนข้อมูลสมองและการพัฒนาร่างเสมือนด้วย เทคโนโลยี AI ของ Humai ดูล้ำเกินไป แนวคิดการสร้างอวตารให้มีชีวิตต่อไปในโลกดิจิทัลของ Eternime ดูหลุดโลกเกินไปจริงไป ผมว่าแนวคิดของ StoryFile อาจตอบโจทย์คนที่อยากฝากเรื่องราวชีวิตของตัวเองไว้ให้ลูกหลานและญาติมิตรก็เป็นได้

StoryFile สตาร์ทอัพจากลอสแอนเจลิสใช้เทคโนโลยีฮอโลกราฟี (Holography) สร้างตัวตนเสมือนจริงโดยตั้งกล้องวิดีโอ 20 ตัวบันทึกขณะสัมภาษณ์ผู้ที่ต้องการใช้บริการ จากนั้นทีมงานก็จะลง Tag คำพูด บทสนทนาเพื่อสร้างให้ AI รู้ว่าแต่ละช่วงพูดถึงเรื่องอะไร นำภาพไปสร้างเป็นตัวตนเสมือนจริงของผู้ใช้กลายเป็นร่างจำลองที่สามารถตอบโต้กับคนจริงได้

แรกเริ่มเดิมที StoryFile เป็นโปรเจคที่พัฒนาเพื่อบันทึกความทรงจำของผู้รอดชีวิตจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และบุคคลสำคัญของโลก เช่นคุณ William Shatner ดาราจาก หนัง ภาพยนตร์ Star Trek ก็ได้ร่วมงานกับ StoryFile สร้างฮอโลแกรมของตัวเองไว้เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ชีวิตของตัวเองให้กับคนรุ่นหลัง เรื่องหนึ่งที่คุณ William พูดถึงก็คือเรื่องเทคโนโลยีฮอโลกราฟีนี่ละครับ เพราะ Star Trek เป็นภาพยนตร์ไซไฟ (Sci-Fi) ที่ทำให้เทคโนโลยีนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ Holodeck

ต้อนรับแขกผู้ร่วมงานศพของเราด้วยตัวเองกับ StoryFile
ภาพจาก https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-11113195/New-AI-tool-allows-mourners-conversations-dead-funeral.html

StoryFile ไม่ได้ใช้วิธีสร้างตัวปลอมแบบ เทคโนโลยี Deepfake เพราะทางทีมงานต้องการให้เทคโนโลยีนี้สะท้อนตัวตนที่ใกล้เคียงผู้ใช้งานตัวจริงมากที่สุด จุดเด่นของมันคือการให้เราตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเรา ตั้งแต่คำถามทั่วไป ความทรงจำในวัยเยาว์ จนไปถึงเรื่องที่ละเอียดอ่อนเช่นเรื่องผิดหวัง หรือเสียใจในอดีต

เมื่อได้เรื่องราวเหล่านี้มาผ่านกระบวนการสร้างเป็นฮอโลแกรมแล้ว มันจะถูกแสดงในงานศพของเจ้าของฮอโลแกรมเพื่อให้แขกผู้ร่วมงานได้สนทนาและทำความรู้จักตัวตนของผู้เสียชีวิต หรือพูดง่ายๆ ก็คือเราสามารถจะมาต้อนรับแขกที่มางานศพของเราได้นั่นละครับ

ที่จริง Use Case ของทาง StoryFile (storyfile.com) มีเยอะมาก นอกจากการบันทึกอัตชีวประวัติของคนทั่วไปหรือบุคคลสำคัญแล้ว ทางทีมงานเสนอว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อบันทึกเรื่องราวขององค์กรให้พนักงานและลูกค้าได้เรียนรู้ สร้างเป็นผู้แนะนำการแสดงผลงานในพิพิธภัณฑ์ แนะนำสินค้า สร้างเป็นประวัติส่วนตัวใน LinkedIn รวมถึงใช้ในการอบรมพนักงานหรือสร้างเป็นสื่อการสอนก็ยังได้ ในเว็บไซต์ของ StoryFile มีตัวอย่างการใช้งานให้ดูเยอะมาก

StoryFile เพิ่งจะเปิดให้บริการเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี่เองครับ ด้วย Solutions ที่หลากหลายและไม่ได้เน้นไปการขายไอเดียเรื่องชีวิตอมตะหรือตัวตนเสมือนจริงหลังความตาย การเก็บข้อมูลก็เพียงเข้าไปใน Studio ประมาณ 2 - 3 วัน แล้วทีมงานก็เอาข้อมูลไปดำเนินการต่อได้ จึงถือว่าเป็นบริการที่น่าจับตามอง

บทสรุป (Conclusion)

มนุษย์กับความต้องการมีชีวิตอมตะเป็นเรื่องที่อยู่คู่กันมานานแสนนาน ในยุคที่เราคาดหวังว่าเทคโนโลยีจะแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง เรื่องการต่ออายุให้นานที่สุดหรือการมีตัวตนต่อไปในโลกดิจิทัลจึงเป็นสิ่งที่คนเริ่มตั้งความหวัง

แต่สำหรับผมแล้ว คำพูดที่ว่า “เราเอาเวลาครึ่งหนึ่งของชีวิตคิดถึงเรื่องราวในอดีต และเอาเวลาอีกครึ่งหนึ่งคิดถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เราจึงไม่เหลือเวลาให้กับปัจจุบัน” ยังคงใช้ได้อยู่เสมอ 

เพราะถ้าเรามัวคิดแต่จะมีชีวิตที่เป็นอมตะในอนาคตที่ไม่รู้จะเป็นจริงได้หรือไม่ เราคงไม่เหลือเวลาให้กับปัจจุบันเพื่อใช้มันกับคนที่เราห่วงใย หรือทำในสิ่งที่เรามีความสุขแน่ ๆ


ที่มา : www.techtimes.com , www.ibtimes.co.uk , medium.com , www.dailymail.co.uk , www.amazon.com.au , www.youtube.com

0 %E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5+%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88+%28%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9B%E2%80%A6%29
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ผู้เขียน DATA STORYTELLING IN MARKETING ใช้ดาต้าเล่าเรื่องแบบมืออาชีพ | ครูมหาวิทยาลัยใกล้ๆ กรุงเทพที่สนใจเทคโนโลยี การศึกษา และสิ่งที่เป็นไปได้เมื่อเอาสองเรื่องนี้มารวมกัน
 
 
 

ทิปส์ไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น