กล้องติดรถยนต์ (Dashcam หรือ Car Camcorder) บางรุ่นนั้นจะมี "โหมดจอดรถ (Parking Mode)" ที่ให้ตัวกล้องติดรถยนต์สามารถทำงานได้ในขณะที่ดับเครื่องยนต์จอดรถ แต่เรามักจะไม่ได้ใช้งานกัน เพราะถ้าต่อสายไฟกับช่องจุดบุหรี่ หรือช่องจ่ายไฟทาง พอร์ต USB พอดับเครื่องยนต์แล้ว ก็มักจะไม่มีไฟเลี้ยง ถ้าตัวกล้องไม่ได้มีแบตเตอรี่ที่จุพลังงานได้ ก็หมดสิทธิ์ใช้งานไปเลยครับ
ในกรณีแบบนี้ ต้องใช้การต่อไฟตรงกับตัวแบตเตอรี่รถ และต้องมีอุปกรณ์เสริมเข้ามานั่นก็คือ "สายต่อตรง" (Hardwire Kit) ซึ่งสำหรับคนธรรมดา ๆ อย่างเราที่ไม่ได้มีความรู้ช่าง มันดูยุ่งยากมากเลย แต่ผู้เขียนบรรลุความยุ่งยากนั้นมาได้ :D เลยขอเอามาแชร์วิธีการกันหน่อย เพราะในเนื้อหาของ Thaiware.com ก็มี รีวิวกล้องติดรถยนต์ อยู่บ้างเหมือนกัน เผื่อได้เอาไปใช้งานนะ
สายต่อตรง หรือ Hardwire Kit เป็นสายไฟสำหรับใช้งานร่วมกับกล้องติดรถยนต์ที่มีฟังก์ชันโหมดจอดรถ (Parking mode) ซึ่งเป็นโหมดที่ให้กล้องติดรถยนต์ทำงานเมื่อดับเครื่องยนต์จอดรถ ซึ่งต้องใช้กระแสไฟเลี้ยงให้กล้องทำงาน อาจจะผ่านแบตเตอรี่ของตัวกล้องเอง หรือไฟจากตัวรถผ่านสายต่อตรง
โดยการทำงานของ Parking Mode จะขึ้นอยู่กับความสามารถของกล้องนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอัดวิดีโอเมื่อตรวจพบแรงสั่นสะเทือน ความเคลื่อนไหว หรืออัดวิดีโอตลอดเวลาขณะจอดรถ
ขอบคุณภาพจาก https://store.ddpai.com/products/type-c-ips-hardwire-kit
ตัวสายต่อตรง จะใช้แทนอะแดปเตอร์จ่ายไฟปกติของกล้องติดรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นหัวอะแดปเตอร์เสียบกับช่องจุดบุหรี่ หรือสายแบบ USB ในรุ่นใหม่ ๆ ก็ตาม โดยต่อไปยังกล่องฟิวส์ที่เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่แทน ซึ่งจากอะแดปเตอร์ที่คุ้นเคย จะเป็นสายไฟที่แยกออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
*สายต่อตรงมีหลายรูปแบบ บางรูปแบบอาจจะมาเฉพาะสาย DCC อย่างเดียว หรือ มาแค่สาย DCC กับ สาย Ground
สายต่อตรงที่แยกสายไฟออกเป็น 3 เส้น
อ่านเพิ่มเติม : ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และ ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) คืออะไร ? และ แตกต่างกันอย่างไร ?
สำหรับตัวอย่างที่เรานำมาทดสอบต่อสายตรงให้ดูจะเป็นสายต่อตรงแบบ 3 หัวได้แก่ สาย DCC, สาย ACC และสาย Ground ส่วนรถที่นำมาติดเป็น Honda Jazz GK 2019 นะครับ โดยรถแต่ละรุ่น แต่ละแบรนด์ จะมีหน้าตา ตำแหน่งของระบบต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน แต่ขั้นตอนการติดตั้งจะคล้ายกันนะครับ ผมจะแบ่งเป็นทีละขั้นตอนให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจกัน
สำหรับรถยนต์ Honda Jazz GK 2019 ตำแหน่งของกล่องฟิวส์ (Fuse box) ภายในรถจะอยู่ใต้พวงมาลัยฝั่งประตูคนขับ หน้าตาจะเป็นดังรูปด้านล่างนี้ (มีกล่องฟิวส์อีกจุดตรงกระโปรงหน้ารถด้วย แต่เราไม่ได้ใช้งานในกรณีนี้) ส่วนรถคันอื่น ๆ ลองเสิร์ชหาดูนะครับ บางคันต้องเปิดหน้ากาก มีฝาปิดเอาไว้อยู่ หรือหยิบคู่มือขึ้นมาดูประกอบก็ได้ เดี๋ยวต้องใช้ในขั้นตอนต่อไป
อย่างที่เกริ่นไปครับ สาย DCC จะต้องต่อกับช่องที่จ่ายไฟอยู่ตลอดเวลา (เช่น พวกไฟในรถที่เปิดได้ตลอด) ส่วน ACC ต้องต่อกับช่องที่จ่ายไฟเมื่อสตาร์ทรถ (เช่น วิทยุ หรือ ช่องจุดบุหรี่ เป็นต้น) และ Ground ต้องต่อกับตัวน็อตแถว ๆ นั้น เพื่อเชื่อมไปยังตัวถังของรถ
แถว ๆ กล่องฟิวส์ ปกติแล้วจะมีผัง Diagram เป็นไกด์ให้ครับ อย่างรถของเราจะอยู่ใต้ฐานพวงมาลัย คันอื่น ๆ อาจจะอยู่บนฝาที่ปิดกล่องฟิวส์ไว้ ทีนี้เปิดคู่มือที่เป็นรายละเอียดไว้ดูคู่กันครับ ในกรณีผู้เขียนคือ ผัง Diagram จะเรียงเป็นผังเดียวกับตัวกล่องฟิวส์
มองหาช่องนี้ก่อน เพราะถ้าเดี๋ยวเพื่อน ๆ ไปต่อช่อง Ground ทีหลัง ไฟมันจะวิ่งใส่นิ้วเอา ลองดูว่าน็อตที่ติดกับตัวถังรถที่ใกล้กับกล่องฟิวส์ที่สุดคืออันไหน กรณีของเราคือต้องเปิดฝาครอบด้านข้างพวงมาลัยออกมาอีก แต่เป็นน็อตที่ถอดง่ายที่สุดแล้ว ตรงนี้ถ้าไม่แน่ใจว่าใช้ได้มั้ย ? รอไปอ่านตรงหัวข้อ "เช็คไฟด้วยมิเตอร์วัดไฟ" ก่อน
น็อตข้างกล่องฟิวส์สำหรับต่อสายกราวด์
อันนี้ง่ายสุด "ช่อง ACC" จะระบุตรง ๆ ที่ตัวรายการเลย กรณีของเราคือ "ลำดับที่ 38" แถวที่ 3 ของกล่องฟิวส์ ได้แล้ว 1 ช่อง เทียบกล่องฟิวส์กับ Diagram แล้วมาร์กเอาไว้ก่อน
อันนี้ไม่ได้ระบุตรง ๆ ต้องลองเช็คดู กรณีของเรา เดาว่าเป็นลำดับที่ 13 "ช่องเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติมคอนโซลกลาง" เงื่อนไขของช่องนี้คือไฟต้องติดตลอดเวลา เราจึงต้องลองเช็คไฟก่อน
มีอุปกรณ์เช็คไฟหลายแบบให้ใช้นะ แต่อันนี้เราขอเป็นมิเตอร์วัดไฟ ก่อนอื่นเลยเปิดเครื่องไปที่โหมด 20V เพราะเราจะเช็คแบตเตอรี่รถยนต์ที่มีไฟอยู่ประมาณ 12-14 โวลต์ ไม่เกินนี้ เข็มสีแดงจะเอาไว้เช็คกระแสไฟ ส่วนเข็มสีดำจะเอาไว้เข็คกราวด์นะครับ ต้องจิ้มทั้ง 2 เข็มไฟถึงจะขึ้น
|
ถ้ามีกระแสไฟ หน้าจอจะขึ้นมาแบบนี้
ทีนี้เราจะได้ช่อง DCC กับ Ground แล้ว ต่อไปก็เช็คช่อง ACC บ้าง ถอดฟิวส์แล้วจิ้มวัดกระแสไฟดู เมื่อดับเครื่องอยู่ไฟจะไม่ติด พอสตาร์ทเครื่องไฟก็จะติดเช่นเดียวกับ DCC
ตัวอย่าง Hardwire Kit ที่เราเอามาจะมีปลายสายมาให้หลายแบบ สำหรับรถหลายรุ่น Honda Jazz ของเราใช้สายแบบ Mini เราก็นำมาต่อกับสาย ACC และ DCC ให้ตรงสีได้เลย ทีนี้ตรงหัวตัวเสียบจะมีช่องให้เสียบฟิวส์อยู่ เราเอาฟิวส์ที่มากับสายเสียบไว้ด้านบนของปลั๊ก ส่วนฟิวส์ที่ถอดมาจากกล่องฟิวส์ให้เสียบไว้ด้านล่าง จะได้ไม่หายไปไหน (ตัวบนจะถูกใช้งานแค่ตัวเดียว)
บน - ฟิวส์ที่มากับสายต่อตรง / ล่าง - ฟิวส์เดิมจากกล่องฟิวส์
จากนั้นเวลาเสียบ ให้เราเริ่มติดสาย Ground ก่อน (จะได้ไม่ช็อตอย่างที่บอก) จากนั้นค่อยมาต่อ DCC กับ ACC เราต้องเสียบขั้วบวกของหัวเสียบให้ตรงกับขั้วบวกของช่องในกล่องฟิวส์ (ที่เราทดสอบแล้วมีกระแสไฟ) โดยขั้วบวกของตัวเสียบจะเป็นขั้วที่ไกลจากตัวสาย
ต่อสาย DCC กับ ACC ในช่องที่เลือกไว้
พอต่อเรียบร้อย ก็นำสายไปเสียบกับกล้องติดรถยนต์แล้วลองใช้งานได้เลย จากนั้นก็เก็บสายตามขอบยางให้เรียบร้อยก็เป็นอันเสร็จ
|
... |